วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

เคอร์ฟิว โควิด 19 ชาวพุทธเราอยู่กันอย่างไร จะไม่เดือดร้อนกาย ไม่เดือดร้อ...



#เคอร์ฟิว โควิด 19 ชาวพุทธเราอยู่กันอย่างไร..
ไม่เดือดร้อนกาย ไม่เดือดร้อนใจ พึงตน พึงธรรมได้
Cr. https://www.youtube.com/watch?v=BnUNR0gCT3c&t=1296s
เต๋าหดหัว แขน ขาไว้ในกระดอง
ให้ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนเต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหา.กินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง ในเวลาเย็น
เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่ แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว(หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕)
เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว
เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้วได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา
เวลานั้นเราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใดเต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น
สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้วก็คิดว่า
บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุเหล่านี้บ้าง เพราะฉันนั้นแล
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ฟังเสียงด้วยหู...
ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น...
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่
เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาสหลีกจากท่านทั้งหลายไป
ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๗/๓๒๐.
(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๒/๓๒๐
🙏🙏🙏
(เครื่องวัดความดี/ไม่ดี)
กุศลกรรมบท ๑๐
จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง
ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง
ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง
จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา
มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่.
(๒) ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย.
(๓) ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม,
(คือเว้นจากการประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ ญาติรักษา อันธรรมรักษา
เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องมาลัย)
ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง.
จุนทะ ! ความสะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท
ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี
ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี
อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า
“บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้,
บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น,
เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น
หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็ไม่เป็น ผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.
(๒) ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด
ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้
หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น
แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน
อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น
เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง
เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน.
(๓) ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ
กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก
เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน
เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่.
(๔) ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ
กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์
เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง
มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา.
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.
จุนทะ ! ความสะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็น อย่างไรเล่า ?
(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา คือ เป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า
“สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้.
(๒) เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่ประทุษร้ายว่า
“สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้ เป็นต้น.
(๓) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่วิปริต ว่า
“ทานที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล),
ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่ว มี,
โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกสัตว์ มี,
สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น
ด้วยปัญญาโดยชอบเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้.
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐.
จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว
แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด;
แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด;
แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด;
แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด;
แม้จะไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่ไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด;
แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด
แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เหล่านี้ เป็นตัวความสะอาด และเป็นเครื่องกระทำความสะอาด.
จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุ
พวกเทพจึงปรากฏ หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.
(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓-๒๘๙/๑๖๕.
================================
อกุศลกรรมบท ๑๐
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง
ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง
ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง.
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ :-
(๑) เป็นผู้มีปกติทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต
(๒) เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให้ คือวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านหรือในป่าก็ตาม เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
(๓) เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม (คือประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิงหรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง.
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ :-
(๑) เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จ ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวไม่เห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
(๒) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกกัน หรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจยินดี เพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก
(๓) เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น
(๔) เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาล ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ :-
(๑) เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง) เป็นผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้
(๒) เป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไปในทางประทุษร้าย ว่า “สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงเดือดร้อน จงแตกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีอยู่เลย” ดังนี้เป็นต้น
(๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) , ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) , การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) , ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี, มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี, โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถสิบ.
จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถทั้งสิบประการเหล่านี้เป็นเหตุ นรกย่อมปรากฏ กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือว่าทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในนรก.
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๕/๑๘๙. — ที่ พุทธวจนสถาบันเชียงราย

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562

โดยหลักการทำงานของธรรมธาตุนี้ ผีีเข้า ผีอำ ฯลฯ สามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ ...



💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป วัดนาป่าพง
https://www.youtube.com/channel/UCfos2v7ANVBaw29i2KWlQpQ
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
เส้นทาง จาก google maps
https://www.google.co.th/…/data=!3m1!4b1!4m9!4m8!1m1!4e1!1m…
💞💞💞

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สัตว์ ขันธ์ ๕ อสังขตะ วิราคะ สนทนาธรรมวันเสาร์ที่ 2019 12 07



💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป วัดนาป่าพง
https://www.youtube.com/channel/UCfos2v7ANVBaw29i2KWlQpQ
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
เส้นทาง จาก google maps
https://www.google.co.th/maps/dir/13.5855589,100.7708817/วัดนาป่าพง+เบอร์โทร/@13.7961851,100.567231,11z/data=!3m1!4b1!4m9!4m8!1m1!4e1!1m5!1m1!1s0x311d77bd7bfc268d:0xa52470ba005a6a05!2m2!1d100.8232944!2d14.0103766
💞💞💞

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ผู้ที่บันดานทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรา กาย วาจา ใจ ของเราเองนะเอง ...



ผู้ที่บันดาลทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรา [กาย วาจา ใจ ของเราเองนะเอง] Buddhakos media สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ ศ 2562
***ถ้าการอ้อนวอนสำเร็จ ในโลกนี้จะมีใครเสื่อมจากอะไรได้***
CR. Buddhakos media สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ ศ 2562
https://www.youtube.com/watch?v=IgQqyeU4V1o&t=4358s
*****
#ถ้าการอ้อนวอนแล้วสำเร็จ #จะมีอะไรเสื่อมจากอะไรได้
๓. อิฎฐสูตร
[๔๓] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
ดูกรคฤหบดี
#ธรรม ๕ ประการนี้
#น่าปรารถนา
#น่าใคร่
#น่าพอใจ
หาได้โดยยากในโลก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
#อายุ ๑
#วรรณะ ๑
#สุขะ ๑
#ยศ ๑
#สวรรค์ ๑
ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก ฯ
ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก
เรามิได้กล่าวว่า
#จะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน
#หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา
ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
หาได้โดยยากในโลก
#จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน
#หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้
#ในโลกนี้
#ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร
-----------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๔๒ ข้อที่ ๔๒ - ๔๓
-------------
---------------
เหตุสำเร็จความปรารถนา
****
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว
พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด”
ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น
อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว
พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด”
ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น
อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว
พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาลเถิด”
ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น
อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาล.
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๗/๓๑๘.

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ในหนึ่งวันเราอยู่ด้วยวิหารธรรมใด กุศล หรือ อกุศล Buddhakos media สนทนาธร...


เราสามารถเปลี่ยนการส่งผลของกรรมได้ สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม ในหนึ่งวันเราอยู่ด้วยวิหารธรรมใด กุศล หรือ อกุศล  Buddhakos media สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 27
สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม(เก่า).กุศลมูล อกุศลมูล.ผลักดันให้เราเกิดพฤติกรรมในปัจจุบันกรรมใหม่จะเป็นดำหรือขาว ขึ้นอยู่กับเราเลือกปฏิบัติเอง
🙏🙏🙏
CR. Buddhakos media สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์ที่ 27
 https://youtu.be/h45gS14V9co
****บุคคล ๓ จำพวก***
**********************
***คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา ฯ
*****
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติบุคคล ๓ จำพวกนี้
ออกเป็นส่วนละ ๓ อีกหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สามารถ อานนท์

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี
อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้น
ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
กุศลมูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้

***บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***

เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้วลุกโพลงสว่างไสว
อันบุคคลเก็บไว้บนศิลาทึบ
เธอพึงทราบไหมว่า
ถ่านไฟเหล่านี้จักไม่ถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์ตกไปในเวลาเย็น เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างจักหายไป ความมืดจักปรากฏ ฯ

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลาเสวยพระกระยาหารของราชสกูลใน
เวลาเที่ยงคืน เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างหายไปหมดแล้ว ความมืดได้ปรากฏแล้ว ฯ

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
กุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง
ด้วยประการอย่างนี้

***บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***

ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรอานนท์
ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

ดูกรอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี
อกุศลธรรมก็ดี
ของบุคคลนี้มีอยู่

สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ
อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
อกุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง
ด้วยประการอย่างนี้

***บุคคลนี้จักไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***

เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้ว
ลุกโพลงสว่างไสว
อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง
หรือบนกองไม้แห้ง
เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์กำลังขึ้นมาในเวลารุ่งอรุณ เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดจักหายไป แสงสว่างจักปรากฏ ฯ

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลาเสวยพระกระยาหารของราชสกูลในเวลาเที่ยงวัน เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดหายไปหมดแล้วแสงสว่างได้ปรากฏแล้ว ฯ
อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า
อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่
อกุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง
ด้วยประการอย่างนี้

***บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา***
ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
กุศลธรรมก็ดี
อกุศลธรรมก็ดี
ของบุคคลนี้มีอยู่
สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ อย่างนี้ว่า
อกุศลธรรมของบุคคลนี้
แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี
บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่มีโทษ
เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว
จักปรินิพพานในปัจจุบันทีเดียว

เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เย็น มีไฟดับแล้ว
อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง
เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯ

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศล
ธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้ แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพานในปัจจุบันทีเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรอานนท์ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณเป็น
เครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้

ดูกรอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกข้างต้น
***คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เกิดในอบาย ตกนรก

ในบุคคล ๖ จำพวกนั้น
บุคคล ๓ จำพวกข้างหลัง
***คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา
***คนหนึ่งเป็นผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๘

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๖๒/๔๐๗ ข้อที่ ๓๓๓
*********************************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=อรุณ&language=thai&number=363&volume=22#
*********************************
ฟังพุทธวจนบรรยายได้ที่ www.watnapp.com

ในหนึ่งวันเราอยู่ด้วยวิหารธรรมใด กุศล หรือ อกุศล Buddhakos media สนทนาธร...

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

มโนปวิจารคือ เวทนาทางจิต หมายความว่าอย่างไร Buddhakos media งานถวายผ้ากฐ...

                                             มโนปวิจารคือ เวทนาทางจิต หมายความว่าอย่างไร
Buddhakos media งานถวายผ้ากฐินบ่ายวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ ศ 2562
CR. Buddhakos media งานถวายผ้ากฐินบ่ายวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ ศ 2562 https://www.youtube.com/watch?v=EtIUpMoh5nk&t=10s

🙏🙏🙏 🙏🙏🙏
สฬายตนวิภังคสูตร โดยละเอียด ((วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559))

 #ผัสสะเป็นปัจจัย #จึงเกิดเวทนา 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(อายตนะภายใน)
และรูป(อายตนะภายนอก) เกิดจักษุวิญญาณ(วิญญาณ ๖)

 -------
 ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ คือผัสสะ 
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) 
เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา)
 มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา)
 (ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวธรรม)
 (ฉฉักกสูตร, ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)

 --- คลิปยูทูป
 https://youtu.be/WScZpPkJWF4

 ๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)
 [๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
 อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว 
พระผู้มี พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
 พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น
 จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
 ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ฯ -

 [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
 พวกเธอพึงทราบ

อายตนะภายใน ๖
 อายตนะภายนอก ๖
 หมวดวิญญาณ ๖
 หมวดผัสสะ ๖
 ความนึกหน่วงของใจ ๑๘
 ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น
พวกเธอจงอาศัย ทาง ดำเนินของสัตว์นี้
 ละทางดำเนินของสัตว์นี้

 และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ 
อันเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
 ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
 นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์ ฯ -

 [๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่

 - อายตนะคือจักษุ
 อายตนะคือโสต
 อายตนะคือฆานะ
 อายตนะคือชิวหา
 อายตนะคือกาย
 อายตนะคือมโน

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น
เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ

 อายตนะภายนอก ๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ -

 อายตนะคือรูป
 อายตนะคือเสียง
 อายตนะคือกลิ่น
 อายตนะคือรส
 อายตนะคือโผฏฐัพพะ
 อายตนะคือธรรมารมณ์

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าพึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น
เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ --

 [๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น
เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ -

 จักษุวิญญาณ
 โสตวิญญาณ
 ฆานวิญญาณ
 ชิวหาวิญญาณ
 กายวิญญาณ
 มโนวิญญาณ

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่นเราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -- 

[๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น
เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ -

 จักษุสัมผัส
 โสตสัมผัส
 ชิวหาสัมผัส
 กายสัมผัส
 มโนสัมผัส

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยสัมผัสดังนี้กล่าวแล้ว ฯ - 

[๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

** เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
 นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
 นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

** เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
** เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
** เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
** เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
** เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

 ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็น   **ที่ตั้งแห่งโสมนัส
 นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็น               **ที่ตั้งแห่งโทมนัส
 นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็น               **ที่ตั้งแห่งอุเบกขา

ฉะนี้ เป็นความนึกหน่วง
 ***ฝ่ายโสมนัส ๖
 ***ฝ่ายโทมนัส ๖
 ***ฝ่าย อุเบกขา ๖

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น
เราอาศัยความนึกหน่วงดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

 โสมนัสอาศัยเรือน ๖
 โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
 โทมนัสอาศัยเรือน ๖
 อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖

ฯ - [๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น
 โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ

 บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ 
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ 
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ
 หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน 
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว
 ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
 โสมนัสอาศัยเรือน

 บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ... 
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... 
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ... 
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...

 -- บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน 
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ 
ประกอบด้วยโลกามิสโดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ 
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อนอันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว
ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
โสมนัสอาศัยเรือน

 เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ - 
[๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น
โสมนันอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
 แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
 รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
 โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
 โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ

 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ... 
-บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล 

แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
 ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา 
ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
 โสมนัสอาศัย เนกขัมมะ

 เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ - 
[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ
- บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
 อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้
 เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้ เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้วแปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส
โทมนัสเช่น นี้นี่เราเรียกว่า
โทมนัสอาศัยเรือน

 - บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
- บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
- บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ... 
-บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ... 
-บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์
ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ 
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ 
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อนอันล่วงไปแล้ว
 ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส
โทมนัสเช่นนี้นี่ เราเรียกว่า
 โทมนัสอาศัยเรือน

เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ -
 [๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
 คือ

-บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
 แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า 
รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
 มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
 แล้วย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
 เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน อนุตตรวิโมกข์ 
ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
 ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
 โทมนัสเช่นนี้นี่เรา เรียกว่า
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของเสียงทั้งหลาย นั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของกลิ่นทั้งหลาย นั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรสทั้งหลาย นั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของโผฏฐัพพะ ทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของธรรมารมณ์ ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น 
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
 ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
 เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ 
ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
 ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
 โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

 เหล่านี้โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ -
 [๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น
อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
 คือ

เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
 เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น 
เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน

 -เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
- เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
- เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
- เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
- เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

 ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
 ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ 
เป็นคนหนาแน่นอุเบกขาเช่นนี้นั้น
ไม่ล่วงเลย ธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน

เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ -
 [๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
 คือ
 บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
 แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

 รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
 ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น
 ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของโผฏฐัพพะ ทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล 

แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
 ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น 
อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้เพราะฉะนั้น
 เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

 เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ๖
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น
เราอาศัยทาง ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -
 [๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น
พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้
 ละทางดำเนินของสัตว์นี้

 นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย
คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือ ล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ

อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ
 อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ โทมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้

 - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 แล้วละคือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆได้
 เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คือ อิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ -

 [๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆก็มี
อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน
คือ อุเบกขา ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
 นี้อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
 อาศัยอารมณ์ต่างๆ

 ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ
อุเบกขาที่มี
 อาศัยอากาสานัญจายตนะ
 อาศัยวิญญาณัญจายตนะ
 อาศัยอากิญจัญญายตนะ
 อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
 นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
 อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี ความเป็นต่างๆ
 อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
 อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
 เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า

ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น
 พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้
 ละทางดำเนินของสัตว์นี้
นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
 ที่ พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น
 เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู
 แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
 นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
 ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
และ ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
 ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม
 และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑
 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน หมู่ ฯ - 

[๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
 ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
 อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
 นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
 เหล่าสาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี
 ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
 และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
 บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา - 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม
 ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม 
เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว
 เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒
 ที่พระอริยะเสพซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
 เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ -

 [๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
 ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
 อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
 นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ 
เหล่าสาวกของศาสดานั้นย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ 
ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
 ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่

 - ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓
 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ 
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดา
 ควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ - 

[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง
 ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก
หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่ ควรฝึก
อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน
 คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ 
โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ ฝึกโคขับให้วิ่ง
 ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศ ตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้

แต่บุรุษที่ควรฝึก
 อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
 - ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง๘ ทิศ คือ
 ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้นี้ทิศที่ ๑

 ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒ 

ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓

 ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจ
 นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔

 ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ 
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕

 ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะ อยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง 
เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ 

ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่
 เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗

 ย่อมเข้าสัญญา เวทยิตนิโรธอยู่
 เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก
 อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่งย่อมวิ่งไปได้ ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก
 บุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยม กว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
 นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
 ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
 พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล ฯ
 จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
 _______________ --
 พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
 สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
 หน้าที่ ๓๐๑ ข้อที่ ๖๑๗ - ๖๓๗ ---
 http://etipitaka.com/read/thai/14/301/…
 --- 🙏🙏🙏