วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัมมาอาชีวะ



สัมมาอาชีวะ..การเลี้ยงช­ีพถูกต้องที่ตถาคตสอน

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ

การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง

การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ

นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ

-

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ

สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ

ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑

สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ

เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ

-

[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ

เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

-

[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ

เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น

เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก

มีจิตหาอาสวะมิได้

พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ

ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

-

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ

เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น

เป็นสัมมาวายามะ ฯ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่

สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ

สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม

เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ

-

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๔๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๕๒-๒๕๕

-

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา

ทรงตรัสไว้กับพระราชาดังนี้ต่อไปนี้



มหาศีล



[๑๑๔] ๑.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่าง สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ทายอวัยวะ

ทายนิมิต

ทายอุปบาต

ทำนายฝัน

ทำนายลักษณะ

ทำนายหนูกัดผ้า

ทำพิธีบูชาไฟ

ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน

ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ

ทำพิธีซัด รำบูชาไฟ

ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ

ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ

ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ

ทำพิธีเสกเป่า บูชาไฟ

ทำพลีกรรมด้วยโลหิต

เป็นหมอดูอวัยวะ

ดูลักษณะที่บ้าน

ดูลักษณะที่นา

เป็นหมอ ปลุกเสก

เป็นหมอผี

เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน

เป็นหมองู

เป็นหมอยาพิษ

เป็นหมอแมลงป่อง

เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด

เป็นหมอทายเสียงนก

เป็นหมอทายเสียงกา

เป็นหมอทายอายุ

เป็นหมอเสกกันลูกศร

เป็นหมอทายเสียงสัตว์

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.



[๑๑๕] ๒.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ทายลักษณะแก้วมณี

ทายลักษณะผ้า

ทายลักษณะไม้พลอง

ทายลักษณะศาตรา

ทายลักษณะดาบ

ทายลักษณะศร

ทายลักษณะธนู

ทายลักษณะอาวุธ

ทายลักษณะสตรี

ทายลักษณะบุรุษ

ทายลักษณะกุมาร

ทายลักษณะกุมารี

ทายลักษณะทาส

ทายลักษณะทาสี

ทายลักษณะช้าง

ทายลักษณะม้า

ทายลักษณะกระบือ

ทายลักษณะโคอุสภะ

ทายลักษณะโค

ทายลักษณะแพะ

ทายลักษณะแกะ

ทายลักษณะไก่

ทายลักษณะนกกระทา

ทายลักษณะเหี้ย

ทายลักษณะตุ่น

ทายลักษณะเต่า

ทายลักษณะมฤค

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.



[๑๑๖] ๓.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า

พระราชาจักยกออก

พระราชาจักไม่ยกออก

พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด

พระราชาภายนอกจักถอย

พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด

พระราชาภายในจักถอย

พระราชาภายในจักมีชัย

พระราชาภายนอกจักปราชัย

พระราชาภายนอก จักมีชัย

พระราชาภายในจักปราชัย

พระราชาองค์นี้จักมีชัย

พระราชาองค์นี้จักปราชัย

เพราะเหตุ นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๑๗] ๔.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ พยากรณ์ว่า

จักมีจันทรคราส

จักมีสุริยคราส

จักมีนักษัตรคราส

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง

ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง

ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง

จักมีอุกกาบาต

จักมีดาวหาง

จักมีแผ่นดินไหว

จักมีฟ้าร้อง

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง

จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น อย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้

มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้

แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้

ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง จักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้

แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๑๘] ๕.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ พยากรณ์ว่า

จักมีฝนดี

จักมีฝนแล้ง

จักมีภิกษาหาได้ง่าย

จักมีภิกษา หาได้ยาก

จักมีความเกษม

จักมีภัย

จักเกิดโรค

จักมีความสำราญหาโรคมิได้

หรือนับคะแนน

คำนวณ นับประมวล

แต่งกาพย์ โลกายศาสตร์

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๑๙] ๖.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล

ให้ฤกษ์วิวาหมงคล

ดูฤกษ์เรียงหมอน

ดูฤกษ์ หย่าร้าง

ดูฤกษ์เก็บทรัพย์

ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์

ดูโชคดี

ดูเคราะห์ร้าย

ให้ยาผดุงครรภ์

ร่ายมนต์

ให้ลิ้นกระด้าง

ร่ายมนต์ให้คางแข็ง

ร่ายมนต์ให้มือสั่น

ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง

เป็นหมอ ทรงกระจก

เป็นหมอทรงหญิงสาว

เป็นหมอทรงเจ้า

บวงสรวงพระอาทิตย์

บวงสรวงท้าวมหาพรหม

ร่ายมนต์พ่นไฟ

ทำพิธีเชิญขวัญ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๒๐] ๗.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ทำพิธีบนบาน

ทำพิธีแก้บน

ร่ายมนต์ขับผี

สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน

ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย

ทำชายให้กลายเป็นกะเทย

ทำพิธีปลูกเรือน

ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่

พ่นน้ำมนต์

รดน้ำมนต์

ทำพิธีบูชาไฟ

ปรุงยาสำรอก

ปรุงยาถ่าย

ปรุงยา

ถ่ายโทษเบื้องบน

ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง

ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ

หุงน้ำมันหยอดหู

ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์

ปรุงยาทากัด

ปรุงยาทาสมาน

ป้ายยาตา

ทำการผ่าตัด

รักษาเด็ก

ใส่ยา ชะแผล

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย

เพราะศีลสังวร

นั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์

ผู้ได้มุรธาภิเษก

กำจัดราชศัตรูได้แล้ว

ย่อมไม่ประสบภัย

แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น

สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ

เพราะศีลสังวรนั้น

ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้

ย่อมได้เสวยสุข

อันปราศจากโทษในภายใน

ดูกรมหาบพิตร

ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยศีล.



จบมหาศีล.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๖๔/๓๘๓ ข้อที่ ๑๑๔-๑๒๑ —

--

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น

สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน

ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล

พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘

จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐

-

[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น

สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน

ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้

ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี

เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น

ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว

และกุศลธรรมเป็นอเนก

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ

-

ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้…

ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้…

ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้…

ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้…

ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้…

ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้…

ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้…

ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้…

ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้

ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนกบรรดามี

เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว

และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล

จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐

ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ

อันเราให้เป็นไปแล้ว

สมณะ หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม

หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ

-

[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียน

คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้

การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ

อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น

ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

-

ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ

เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ

เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง

พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้

การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ

อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น

ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท

ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ

ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน

ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ

นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

-

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๔๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๕๒-๒๕๕

--

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka ;

http://etipitaka.com/read/thai/14/145/

--

https://www.youtube.com/watch?v=VqJXa5Uj6Nc

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์_หลังฉัน_2015-06-26



กามคุณ๕ ภูเขาลูกใหญ่..กามคุณ๕ บดบัง ธรรมะชั้นลึกมองไม่ออก

ติดด้วยมานะสังโยชน์เบื้องสูง..รู้แล้ว เป็นแล้ว..ไม่เข้าใจเป็นธรรมดา

พระสูตรอย่าคิดว่าเท่านี้เท่านั้นจริง  สิ่งอื่นเปล่า.ใช้ตลอด..คำตถาคตมีถูกหลายถูก.

ประมาณนาทีที่ 9.40 https://www.youtube.com/watch?v=_w8KVBhEdm0

ทันตภูมิสูตร

ดูกรอัคคิเวสสนะ

เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือ นิคม

สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว

จูงมือกันเข้า ไปยังที่ตั้งภูเขา

ครั้นแล้วสหายคนหนึ่ง ยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง

อีกคนหนึ่งขึ้นไป ข้างบนภูเขา

สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง

เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้น

อย่างนี้ว่า

-

แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น

เพื่อนเห็นอะไร

-

สหายคนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย

เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค

และ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า

แน่ะเพื่อน ข้อที่เพื่อนยืน บนภูเขา

แล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

นั่นไม่ใช่ ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย

-

สหายที่ยืนบนภูเขา

จึงลงมายังเชิงเขาข้างล่างแล้ว

จูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น

ให้สบายใจครู่หนึ่งแล้ว

เอ่ยถาม สหายนั้นว่า แน่ะเพื่อน

เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเพื่อนเห็นอะไร

สหายคนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย

เรายืนบนภูเขาแล้วแลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค

และ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า

แน่ะเพื่อน เราเพิ่งรู้ คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า

เพื่อนเอ๋ย ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขา

แล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค

และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย

เดี๋ยวนี้ เอง

-

และสหายคนขึ้นไปทีหลังก็พูดว่า

เราก็เพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า

แน่ะ เพื่อน เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค

และสระโบกขรณีที่น่า รื่นรมย์

เดี๋ยวนี้เหมือนกัน

สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูดอย่างนี้ว่า

สหายเอ๋ย ความ เป็นจริง

เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้

จึงไม่แลเห็นสิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด

-

ดูกร อัคคิเวสสนะ

ฉันนั้นเหมือนกันแล

พระราชกุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่

ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุมไว้แล้ว

พระราชกุมารชยเสนะนั้นแล

-

ยังอยู่ท่ามกลางกาม

ยังบริโภคกาม

ถูกกามวิตกกิน

ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา

ยังขวนขวายในการแสวงหากาม

จักทรงรู้ หรือทรงเห็น

หรือทรงทำให้แจ้ง

ซึ่งความข้อที่เขารู้

เขาเห็น

เขาบรรลุ

เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ

นั่นไม่ ใช่ฐานะที่มีได้

-

ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าอุปมา ๒ ข้อ

นี้จะพึงทำเธอให้แจ่มแจ้งแก่

พระราชกุมารชยเสนะได้

พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ

และเลื่อมใส

แล้วจะพึงทำอาการของบุคคล

ผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์ ฯ

----

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๐๕ ข้อที่ ๓๘๘ - ๓๘๙

--

http://etipitaka.com/read/thai/14/205/…

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำเป็นเสียก่อน ก็ตายเปล่า



การรู้อริยสัจ รีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ
https://www.youtube.com/watch?v=UbshBEDyCy4
https://www.youtube.com/watch?v=r6tuk56NrQA
[สาธยายโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล]
“อริยสัจสี่” พระพุทธเจ้าอุปมาขนาดว่า ไฟไหม้ผมบนศรีษะของโยม 
โยมทำอะไรก่อน?
ดับไฟไหม้ก่อนใช่มะ พระพุทธเจ้าบอกยังไม่ต้องดับ 
มารู้อริยสัจสี่ก่อน
ตายแล้วไม่ไปนรก นี่โยมดูพระพุทธเจ้าบอกนี่ 
“ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี 
บุคคลนั้นควรจะทำอย่างไร ?” 
ทุกคนจะตอบแบบโยมหมดเลย 
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี
สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ 
ฉันทะ วายามะ
อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี 
สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).”
“ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ 
จะไม่เอาใจใส่กับเสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดี
ที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ ; 
แต่จะรู้สึกว่า
สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง
ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) 
อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)
สติ และสัมปชัญญะ 
เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง 
ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้เฉพาะ.”
-
ทุกข์ 
สมุทัย(เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์) 
นิโรธ(การดับทุกข์) เพราะอะไร
พระพุทธเจ้าบอกว่า 
เหตุผลในพระสูตรอื่นพระพุทธเจ้าบอกอีกว่า
เพราะการที่เธอตายเพราะสิ่งๆนั้น 
อาจจะพาเธอไปนรกเลยก็ได้ เพราะเธอทุกข์ทรมาน 
และเธอไม่มีวิธีดับความทุกข์ทรมานขณะนั้น
แต่ถ้าเธอรู้อริยสัจสี่ก่อน 
โยมทุกข์ทรมานขนาดไหน
โยมก็สำรวมจิตให้สงบได้
เอาตัวรอดได้แล้ว 
กายแตกทำลายก็แตกทำลายไป 
แต่เราเข้ามรรคผลนิพานได้
หรือเราเข้าไปสู่สัมปรายภพ 
สัมปรายภพ ภพภูมิที่ดีได้ ไปสู่สุขติภพได้
มันต่างกันเยอะ
-
ความสำคัญคือรอดพ้นจาก อบาย ทุคติ วินิบาตนรกให้ได้
เพราะว่าถ้าหล่นไปแล้ว ยิงยาวเลยนะ
โอกาสที่จะขึ้นมาเป็นมนุษย์นี่ยาก
แล้วพระพุทธเจ้าบอกเลยว่า 
ท่านไม่เห็นการจองจำอื่นใดที่ทารุณ เจ็บปวด โหดร้าย
เท่ายิ่งกว่าการถูกจองจำในนรกกำเนิด ดิรัจฉาน เปรตวิสัย
เพราะฉะนั้นกับแค่ไฟไหม้ผมบนศีรษะเนี่ย 
เดี๋ยวๆ มารู้อริยสัจสี่ก่อน
เพราะมันยังมีอะไรที่ร้อนกว่านั้น ไฟในนรกร้อนกว่า 
เดี๋ยวจะร่วงลงไป
เดี๋ยวจะเสียใจ อย่าไปเยี่ยมเลย
เพราะฉะนั้นอริยสัจสี่เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องรู้เร่งด่วนอันดับหนึ่ง
ถ้าตกลงไปแล้วนี่กว่าจะขึ้นมามันยาก
-
ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี 
บุคคลนั้นควรจะทำอย่างไร ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! 
เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, 
เพื่อจะดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี 
สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ 
ฉันทะ วายามะ
อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี 
สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).”
ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) 
วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ 
จะไม่เอาใจใส่กับเสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ ; 
แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง
ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ 
อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)
สติ และสัมปชัญญะ 
เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง 
ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้เฉพาะ.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ 
อริยสัจคือ ทุกข์ 
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ 
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
-
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ 
เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์เป็นอย่างนี้, 
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, 
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 
เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๗.

การรู้อริยสัจ รีบด่วนกว่าการดับไฟ



การรู้อริยสัจ รีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ

https://www.youtube.com/watch?v=UbshBEDyCy4

[พุทธวจน]

ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้น

ควรจะทำอย่างไร ?



“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, เพื่อจะ

ดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ

อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).”



ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับ

เสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ ; แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง

ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)

สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้

เฉพาะ.



อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้

เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้

ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.



ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน

เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง

ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.



- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๗.



[สาธยายโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล]



“อริยสัจสี่” พระพุทธเจ้าอุปมาขนาดว่า ไฟไหม้ผมบนศรีษะของโยม โยมทำอะไรก่อน?

ดับไฟไหม้ก่อนใช่มะ พระพุทธเจ้าบอกยังไม่ต้องดับ มารู้อริยสัจสี่ก่อน



ตายแล้วไม่ไปนรก นี่โยมดูพระพุทธเจ้าบอกนี่ “ภิกษุ ท. !

เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้น

ควรจะทำอย่างไร ?” ทุกคนจะตอบแบบโยมหมดเลย “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !

เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี

สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ

อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).”



“ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับ

เสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ ; แต่จะรู้สึกว่า

สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง

ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)

สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้

เฉพาะ.”



ทุกข์ สมุทัย(เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์) นิโรธ(การดับทุกข์) เพราะอะไร

พระพุทธเจ้าบอกว่า เหตุผลในพระสูตรอื่นพระพุทธเจ้าบอกอีกว่า

เพราะการที่เธอตายเพราะสิ่งๆนั้น อาจจะพาเธอไปนรกเลยก็ได้

เพราะเธอทุกข์ทรมาน และเธอไม่มีวิธีดับความทุกข์ทรมานขณะนั้น

แต่ถ้าเธอรู้อริยสัจสี่ก่อน โยมทุกข์ทรมานขนาดไหนโยมก็สำรวมจิตให้สงบได้

เอาตัวรอดได้แล้ว กายแตกทำลายก็แตกทำลายไป แต่เราเข้ามรรคผลนิพานได้

หรือเราเข้าไปสู่สัมปรายภพ สัมปรายภพ ภพภูมิที่ดีได้ ไปสู่สุขติภพได้

มันต่างกันเยอะ

-

ความสำคัญคือรอดพ้นจาก อบาย ทุคติ วินิบาตนรกให้ได้

เพราะว่าถ้าหล่นไปแล้ว ยิงยาวเลยนะ

 โอกาสที่จะขึ้นมาเป็นมนุษย์นี่ยาก

แล้วพระพุทธเจ้าบอกเลยว่า

ท่านไม่เห็นการจองจำอื่นใดที่ทารุณ เจ็บปวด โหดร้าย

เท่ายิ่งกว่าการถูกจองจำในนรกกำเนิด ดิรัจฉาน เปรตวิสัย

เพราะฉะนั้นกับแค่ไฟไหม้ผมบนศีรษะเนี่ย

เดี๋ยวๆ มารู้อริยสัจสี่ก่อน

เพราะมันยังมีอะไรที่ร้อนกว่านั้น ไฟในนรกร้อนกว่า

เดี๋ยวจะร่วงลงไป

เดี๋ยวจะเสียใจ อย่าไปเยี่ยมเลย

เพราะฉะนั้นอริยสัจสี่เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องรู้เร่งด่วนอันดับหนึ่ง

ถ้าตกลงไปแล้วนี่กว่าจะขึ้นมามันยาก

-

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน 1_2015-06-21



*ใครอยากรักษาอัตภาพมนุษย์.หมั่น.รักษาอุโบสถแปดประการ*

*นาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน*

ประมาณนาทีที่ <<4.50>>https://www.youtube.com/watch?v=6dUhKzu9Oes

นาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน

[๑๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา

เกลียดกำเนิดนาค จึงนาคนั้นได้

มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ

เราจึงจะพ้นจากกำเนิดนาค

และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เร็วพลัน.

ครั้นแล้วได้ดำริต่อไปว่า

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล

เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์

กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม

หากเราจะพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

-

ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกำเนิดนาค

และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน

-

ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่ม

แล้วเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา.

ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชาอุปสมบท.

สมัยต่อมา พระนาคนั้น

อาศัยอยู่ในวิหารสุดเขตกับภิกษุรูปหนึ่ง.

ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้ว

ออกไปเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง.

ครั้นภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว.

พระนาคนั้นก็วางใจจำวัด.

วิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู.

ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.

ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วยตั้งใจจักเข้าวิหาร

ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู

เห็นขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง ก็ตกใจ

จึงร้องเอะอะขึ้น.

    ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า

อาวุโส ท่านร้องเอะอะไปทำไม?

    ภิกษุรูปนั้นบอกว่า อาวุโสทั้งหลาย

วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู

ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.

    ขณะนั้น พระนาคนั้น ได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น

แล้วนั่งอยู่บนอาสนะของตน.



ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านเป็นใคร?

    น. ผมเป็นนาค ขอรับ.

    ภิ. อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้เพื่อประสงค์อะไร?

    พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาค.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์

ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น

ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น

แล้วได้ทรงประทานพระพุทธโธวาทนี้แก่นาคนั้นว่า

-

พวกเจ้าเป็นนาค

มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา

ไปเถิดเจ้านาค

จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘

แห่งปักษ์นั้นแหละ

ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค

และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน.

-

ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า

ตนมีความไม่งอกงามในพระธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา

ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค

มีสองประการนี้ คือ

-

เวลาเสพเมถุนธรรมกับนางนาค ผู้มีชาติเสมอกัน ๑

เวลาวางใจนอนหลับ ๑

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค

๒ ประการนี้แล





    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน

คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท

ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๔

วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๑๔๓ ข้อที่ ๑๒๗

-

http://etipitaka.com/read/thai/4/144/?keywords=%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84

-

ประมวลภาพ งานรัก ศรัทธา ตถาคต-ประชุมธรรมะนานาชาติ 2558



 ••• บัว ๓ เหล่า ••• ..พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสตรงกันย้อนหลังไป 91 กัปป์

ประมาณนาทีที่ <<7.35>>  https://www.youtube.com/watch?v=jP_7V3P2mzM

จากพระสูตรราชกุมาร สมัยพระพุทธเจ้าของเรา

หรือ ..แม้พระพุทธเจ้าครั้งก่อน ๆๆ

เช่น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ก็ "บัว ๓ เหล่า"

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๓๗๑/๔๖๙ ข้อที่ ๑๕๑๓-๑๕๒๖.

••••••••••••••••••••••••

( พระสูตร บัว ๓ เหล่า 2 พระสูตร อ้างอิง )

ท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม

[๕๑๐] ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม

ทราบความปริวิตกแห่งใจของ อาตมภาพด้วยใจแล้ว

ได้มีความปริวิตกว่า ดูกรท่านผู้เจริญ

โลกจะฉิบหายละหนอ เพราะจิต

ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไป เพื่อแสดงธรรม. ครั้นแล้ว

ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลก

มาปรากฏข้างหน้าของ อาตมภาพ

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ออก

หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น. ลำดับนั้น

ท้าวสหัมบดีพรหม ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้

กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด

ขอ พระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด

สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่

ย่อมจะเสื่อม เพราะไม่ได้ฟังธรรม

สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่.

ดูกรราชกุมาร ท้าวสหัมบดีพรหม

ได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว

ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า

ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดกันแล้ว

ไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏใน ชนชาวมคธทั้งหลายมาก่อนแล้ว

 ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค

อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด

ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้ฟังธรรม

ที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน

 ตรัสรู้แล้วเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มี

 เมธาดี มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก

จงเสด็จขึ้นปัญญาปราสาทอันแล้วด้วยธรรม

ทรงพิจารณาดู ประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก

อันชาติชราครอบงำแล้ว

เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหินล้วน

พึง เห็นประชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ทรงชนะ สงครามแล้ว

 ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร ผู้ไม่เป็นหนี้

ขอจงเสด็จ ลุกขึ้นเที่ยวไปในโลกเถิด

ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่.



เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า



[๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา

และอาศัย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.

เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัว หลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ



● บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้

● บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ

● บางเหล่าตั้งขึ้น พ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด



ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพ ได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่ กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดง ธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๔๘/๕๑๘ ข้อที่ ๕๑๐-๕๑๑

พุทธประวัติ จากพระโอษฐ์ หน้า 223

-

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า.

พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์].

••••••••••••••••••••••••



[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งได้

ทราบพระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีด้วยใจ

แล้วจึงดำริว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหายเสียละหนอ

ผู้เจริญ ทั้งหลาย โลกจะพินาศเสียละหนอ

เพราะว่า พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี

ได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยเสียแล้ว

มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ท้าวมหาพรหมนั้นหายไปในพรหมโลก

มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

เหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้

หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่ ได้เหยียดออกไว้ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ท้าวมหาพรหมกระทำผ้าอุตตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดินประนมมือไป

ทางที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี

ประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคต จงทรงแสดงธรรม

ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่

เพราะ มิได้ฟังธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป

ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นกราบทูลเช่นนี้

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นว่า ดูกรพรหม

แม้เราก็ได้ดำริแล้วเช่นนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงแสดงธรรม

ดูกรพรหม แต่เรานั้นได้คิดเห็นดังนี้ว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้

เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก

สงบประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียดรู้ได้เฉพาะบัณฑิต

ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย

เบิกบานแล้วในอาลัย

ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย

เบิกบานแล้วในอาลัย ยาก ที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้

คือ ปัจจัยแห่งสภาวะธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุบาท)

ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือ พระนิพพาน

ซึ่งเป็นที่ระงับ แห่งสังขารทั้งปวง

เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

คลายความ กำหนัด ดับทุกข์ ก็และเราพึงแสดงธรรม

แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม ของเรา

นั้นพึงเป็นความลำบากแก่เรา

นั้นพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา

ดูกรพรหมคาถาที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

ซึ่งเรามิได้สดับมาแล้วแต่ก่อนหรือได้แจ่มแจ้งแล้วดังนี้ บัดนี้

ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก ฯลฯ

-

ดูกรพรหม เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้

จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย

มิได้น้อมไปเพื่อจะแสดงธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ท้าวมหาพรหม

นั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีดังนั้น... ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม

ท้าวมหาพรหมนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรม

ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่

เพราะมิได้ฟังธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป

ผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังจักมีอยู่ดังนี้



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

● พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

ทรงทราบการทูลเชิญของพรหมแล้วทรงอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์

จึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี

เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุก็ได้ทรงเห็น หมู่สัตว์

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีใน จักษุมาก

บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน

 บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม

บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกจะพึงให้รู้แจ้ง

ได้ยากบางพวกเป็นภัพพสัตว์ บางพวกเป็นอภัพพสัตว์

บางพวกมักเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย ฯ

ในกออุบล หรือกอบัวหลวง

หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือ

ดอกบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้



● บางเหล่า ยังจมอยู่ภายในน้ำ

● บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ

● บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำมิได้ติดใบ แม้ฉันใด



ภิกษุทั้งหลาย

หมู่สัตว์ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสีทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุ

ทรงเห็นก็ฉันนั้นเหมือนกัน

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย

บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลี

ในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์ แก่กล้า

บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก

มีอาการทราม บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย

บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นภัพพสัตว์

บางพวกเป็นอภัพพสัตว์ บางพวกมักเห็นปรโลก

และโทษโดยความเป็นภัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหม

ทราบพระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

 ด้วยใจ แล้วจึง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

....



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๒๙/๒๖๑ ข้อที่ ๔๒-๕๖.

••••••••••••••••

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน_2015-06-20



*การที่เราเกิดมา อะไรคือ..สิ่งที่เราต้องแก้ไขในชีวิต.อย่าให้เรื่องทางโลก.ชักจูงเราออกไป..จนกระทั้งลืมเรื่องหลักของชีวิต..คือ..การพ้นจาก..ความแก่..ความเจ็บ.ความตาย.**ความทุกข์ของปุถุชน** https://www.youtube.com/watch?v=6KB8V6DTBzM ‪

3 พระสูตร..

1.ฐานะ๕ประการ*..‬‪

2.เพราะไม่รู้อริยสัจ‬ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ*

3.การรู้อริยสัจ๔ ...เร่งด่วนกว่า..การดับไฟ..ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ*

*สร้างเหตุ  ในการบรรลุธรรม*

1.การได้ฟังธรรมตถาคตเนื่องๆ*

2.กระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง ฯลฯ รู้แจ้ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือ มีศีล ทุศีล ราคะกล้า  มักโกรธ ฟุ้งซาน..

3. อบรมจิต อบรมปัญญา..อานาปานสติ..สมถะ วิปัสนา.

๘. ฐานสูตร

[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร

พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน คือฐานะว่า

• ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑

• ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑

• ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา[ของเรา] อย่าตาย ๑

• ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑

• ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น

แก่ไป โดยที่แท้สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง

ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ

ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง

ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน

แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม

แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก

แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้

เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก

คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว

ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ดังนี้

-

จบสูตรที่ ๘

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๘/๔๐๗ ข้อที่ ๔๘

••••••••••••••••••

‪#‎เพราะไม่รู้อริยสัจ‬ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ

ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง,

เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ

ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้.

ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เพราะ ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์,

อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ

ความดับไม่เหลือของทุกข์

และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;

เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ

ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

; ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.

---

#การรู้อริยสัจ๔ ...

#เร่งด่วนกว่า..#การดับไฟ..#ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ...



#สัตติสตสูตร

#ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ๔



[๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย



เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว

จะควรกระทำอย่างไร?



ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว

ควรจะกระทำความพอใจ

ความพยายาม

ความอุตสาหะ

ความไม่ย่นย่อ

ความไม่ท้อถอย

สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า

เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.



พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุคคลพึงวางเฉย

ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้

แล้ว



#พึงกระทำความพอใจ

#ความพยายาม

#ความอุตสาหะ

#ความไม่ย่นย่อ

#ความไม่ท้อถอย

#สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า

#เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔

#ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง



อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ

ทุกขอริยสัจ ฯลฯ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ

เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๔๓๖/๔๖๙

ข้อที่ ๑๗๑๘-๑๗๑๙



http://etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=19&p1=435&lang2=pali&commit=►#

--

*มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น*

-

[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ

แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล

-

ฟังเนืองๆ

คล่องปาก

ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

-

อันบุคคลพึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

-

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ

ธรรมเหล่านั้น

เป็นธรรมอันภิกษุนั้น

ฟังเนืองๆ คล่องปาก

ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

-

เธอมีสติ หลงลืมเมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

-

บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ

-

ผู้มีความสุขในภพนั้น

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑

แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ

ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น

ฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

-

บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ

ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต

แสดงธรรมแก่เทพบริษัท

เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า

ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด

นี้คือธรรมวินัยนั้น

-

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง

เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง

เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า

เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ

ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด

-

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...

บทแห่งธรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต

ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน

เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด

นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์

เขาเดินทางไกล

พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า

เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า

เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ

ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด

-

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...

บทแห่งธรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า

ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า

เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน

เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์

สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน

บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง

สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า

สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ

เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้

เราระลึกได้ ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๑๙๑

-

http://etipitaka.com/read/thai/21/186/…

-

#อานิสงส์ของสุตตะ

อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน



และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง



บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยความเห็น



ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ...



อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน



แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง



บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยความเห็น



ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม...



เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้

ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต



อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย

อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล



เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ...



-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๗/๗๕.



...................................................

คลิกอ่านพระสูตร

http://etipitaka.com/read?keywords=มิคสาลาสูตร&language=thai&number=122&volume=24

-

#กรรมแม้ประมาณน้อย...ไปนรกได้แล้ว

----------------------------------------

-เป็นผู้ไม่อบรมกาย

-ไม่อบรมศีล

-ไม่อบรมจิต

-ไม่อบรมปัญญา

-มีคุณน้อย -มีอัตภาพเล็กมีปรกติ

-อยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กน้อย

บุคคลเห็นปานนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย

บาปกรรมนั้นก็ นำเขาเข้านรก

-----------------------------------

โลณกสูตร

[๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

บุรุษนี้ทำบาปไว้อย่างไรๆ เขา จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้

โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ

ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

บุรุษนี้ทำกรรม ที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ

เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ

เมื่อเป็น เช่นนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้

โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อม ปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย

บาปกรรมนั้นก็นำ เขาเข้านรก

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้

ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแหละ

บาปกรรม นั้นย่อมให้ผลทันตาเห็น

แต่ส่วนน้อย ไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะส่วนที่มาก

บุคคลเช่นไร ทำบาป กรรมแม้เล็กน้อยบาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

-เป็นผู้ไม่อบรมกาย

-ไม่อบรมศีล

-ไม่อบรมจิต

-ไม่อบรมปัญญา

-มีคุณน้อย -มีอัตภาพเล็กมีปรกติ

-อยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กน้อย

บุคคลเห็นปานนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย

บาปกรรมนั้นก็ นำเขาเข้านรก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเช่นไรเล่า

-ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน

-บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อยไม่ปรากฏ

-ปรากฏเฉพาะส่วนมาก

ดูกรภิกษุทั้ง หลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

-เป็นผู้อบรมกาย

-อบรมศีล

-อบรมจิต

-อบรมปัญญา

-มีคุณไม่น้อย -มีอัตภาพใหญ่

มีธรรมเป็นเครื่องอยู่หาประมาณมิได้

บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้น

เหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น

แต่ส่วนน้อยไม่ปรากฏ

ปรากฏเฉพาะแต่ส่วนมาก

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย

เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน

น้ำในขันเพียงเล็กน้อยนั้น พึงเค็มดื่มกินไม่ได้

เพราะก้อนเกลือโน้นใช่ ไหม

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าใช่พระเจ้าข้า ฯ

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ

ภิ. เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย ฉะนั้นน้ำนั้นจึงเค็ม

ดื่มไม่ได้ เพราะก้อนเกลือนี้ พระเจ้าข้า ฯ

พ. เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นไฉน

แม่น้ำคงคาพึงเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะก้อนเกลือโน้นหรือไม่ ฯ

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ

ภิ. เพราะในแม่น้ำคงคานั้น มีห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น

ห้วงน้ำใหญ่นั้นจึงไม่เค็ม ดื่มได้ เพราะก้อนเกลือโน้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเล็กน้อย

เช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น

ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วน มาก ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง

ถูก จองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง

ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง

ส่วนบุคคลบางคน ในโลกนี้ไม่ถูกจองจำ

แม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ

ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ

ไม่ถูกจอง จำแม้เพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะ

ก็บุคคลเช่นไรเล่า ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง

ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง

ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นคนขัดสน มีสิ่งของของตนน้อย มีโภคทรัพย์น้อย

บุคคล เช่นนี้ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง

ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง

ถูก จองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง

บุคคลเช่นไรเล่า ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ

ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ

ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์เหลือเฟือ มีโภคะมากมาย บุคคลเช่นนี้

ย่อมไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ

ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ

ไม่ถูก จองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ

ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อย

บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้

ได้ทำ บาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้นเหมือนกัน

บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น ส่วนน้อยไม่ปรากฏ

ปรากฏเฉพาะแต่ส่วนมาก ฯลฯ ฯ

--

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนสามารถที่จะฆ่า

หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา

หรือทำตามที่ตนปรารถนาบางคนไม่สามารถที่จะฆ่า

หรือ จองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของ แกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า

สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา

หรือทำ ตามที่ตนปรารถนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้

เป็นคน ขัดสน มีสิ่งของของตนน้อย มีโภคทรัพย์น้อย

เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้

สามารถที่ จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ

หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า

ไม่สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา

หรือทำตามที่ตนปรารถนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้

เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะเหลือเฟือ

เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา

เจ้าของ แกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่า

หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตาม ที่ตนปรารถนา

ความจริงเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น

อันคนผู้ประนมมือย่อมจะขอเขาได้ว่า ข้าแต่ท่าน

ขอท่านจงให้แกะหรือทรัพย์ที่เป็นมูลค่าของแกะแก่ฉันเถิด

แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือน กัน

ภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย

บาปกรรมนั้นย่อมนำ เขาเข้านรก

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้

ได้ทำบาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้นเหมือนกัน

บาป กรรมนั้นย่อมให้ผลทันตาเห็น

ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วนมาก ฯลฯ ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไรๆเขาจะต้อง

เสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้

โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ

ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

บุรุษนี้ทำกรรมที่ จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ

เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น

ด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็น เช่นนี้

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้น

ย่อมมีได้โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อม ปรากฏ ฯ

--

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๓๗/๒๙๐ข้อที่ ๕๔๐

http://etipitaka.com/read…#

พุทธวจน faq ปัญญาจะเกิดได้เพราะจิตละสิ่งใดเป็นประจำ และด้วยวิธีใด



.นั้งรู้ลมหายใจ..จะฉลาด

https://www.youtube.com/watch?v=BtWoyLECGvE

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อได้ปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่ง ปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก

ย่อม เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง

ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง

ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาเร็ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

ธรรมข้อ หนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล

บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ...

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ฯ

(ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐ / ๔๔ / ๒๓๔

http://etipitaka.com/read/thai/20/44/

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย

และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมละเสียได้

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล

บุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย

และอกุศลธรรม ขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว

กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล

บุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ

(ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐ / ๔๓ / ๒๒๘-๒๒๙

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=43&volume=20

--

เมื่อเจริญอานาปานสติ ก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรง

สติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก:

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;



เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร

ให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้

รำงับอยู่ หายใจออก”;

เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน

ส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ ย่อมละความระลึกและ

ความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้

เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอ

ก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น

เป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.



ภิกษุ ท. ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ



กายคตาสติสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๔/๒๙๔.

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน มิตรแท้ มิตรเทียมดูอย่างไร



*มิตรเทียม & มิตรแท้*
https://www.youtube.com/watch?v=3PIudN5KkRY
***มิตรเทียม***
[๑๘๖] ดูกรคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
-
คนนำสิ่งของๆ เพื่อนไปถ่ายเดียว [คนปอกลอก] ๑ 
คนดีแต่พูด ๑ 
คนหัวประจบ ๑ 
คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑ 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ฯ
-
[๑๘๗] ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียม
มิตรโดยสถาน ๔ คือ 
-
เป็นคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑ 
เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๑ 
ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ 
คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑ 
ดูกรคฤหบดีบุตรคนปอกลอก 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรเป็นแต่คนเทียมมิตร 
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
[๑๘๘] ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน ๔ คือ 
เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑ 
อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึงมาปราศรัย ๑
สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ 
เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง [ออกปากพึ่งมิได้] ๑
ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
[๑๘๙] ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียม
มิตรโดยสถาน ๔ คือ 
ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว [จะทำชั่วก็คล้อยตาม] ๑ 
ตามใจเพื่อนให้ทำความดี [จะทำดีก็คล้อยตาม] ๑ 
ต่อหน้าสรรเสริญ ๑
ลับหลังนินทา ๑ 
ดูกรคฤหบดีบุตรคนหัวประจบ 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
[๑๙๐] ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน ๔ คือ 
ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย 
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ 
ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ๑ 
ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ๑ 
ชักชวนให้เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ 
ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย 
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรเป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา 
ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว 
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
[๑๙๑] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
มิตรปอกลอก ๑ 
มิตรดีแต่พูด ๑
มิตรหัวประจบ ๑ 
มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑ 
ว่าไม่ใช่มิตรแท้ ดังนี้แล้ว
พึงเว้นเสียให้ห่างไกล 
เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัย ฉะนั้น ฯ
-
*มิตรแท้*
[๑๙๒] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
มิตรมีอุปการะ ๑ 
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ 
มิตรแนะประโยชน์ ๑ 
มิตรมีความรักใคร่ ๑ 
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี [เป็นมิตรแท้] ฯ
-
[๑๙๓] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ 
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ
รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ 
รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ 
เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ 
เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า 
[เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก] ๑ 
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ 
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
[๑๙๔] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ 
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔
คือ บอกความลับ [ของตน] แก่เพื่อน ๑ 
ปิดความลับของเพื่อน ๑ 
ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑
แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑ 
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
[๑๙๕] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ 
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ 
ห้ามจากความชั่ว ๑ 
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ 
ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ 
บอกทางสวรรค์ให้๑ 
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
[๑๙๖] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ 
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ 
ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ 
ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ๑ 
ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ 
สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑ 
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
-
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว 
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
[๑๙๗] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
มิตรมีอุปการะ ๑ 
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ 
มิตรแนะประโยชน์ ๑ 
มิตรมีความรักใคร่ ๑ 
ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว 
พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น 
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล 
ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ
เมื่อบุคคลออมโภคสมบัติอยู่เหมือนแมลงผึ้งผนวกรัง 
โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น 
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ 
ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว 
พึงแบ่งโภคสมบัติออกเป็นสี่ส่วน 
เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ พึงใช้สอยโภค
สมบัติด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน 
พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย 
หมายว่าจักมีไว้ในยามอันตราย ดังนี้ ฯ
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๔๒ ข้อที่ ๑๘๖ - ๑๘๗
--
http://etipitaka.com/read/thai/11/142/…