วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ทุกๆ สัมผัส เป็นกรรมใหม่ สร้างสัมผัสดีๆ อยู่ในกรอบ อนุตตริยะ ๖ การบำรุง...



ทุกๆ สัมผัส เป็นกรรมใหม่ สร้างสัมผัสดีๆ อยู่ในกรอบ อนุตตริยะ ๖ การบำรุงของอริยะ[[อาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 61]][[มิถุนายน61/8]]
https://youtu.be/qcFPMhdv0ho
ฟังพุทธวจนเนืองๆ ไปแต่ทางเจริญไม่ไปทางเสื่อมถึงแต่ความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม(ฟังนำไปปฏิบัติพระพุทธเจ้าพูดจากการปฏิบัติของท่านเอง)
(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๗๙/๑๔๘🙇‍♂️🙇‍♂️
🙇‍♂️การบำรุงของ ((ปุถุชน & อริยะ))***
***
[๓๒๑] อนุตตริยะ ๖ อย่าง
๑. ทัสสนานุตตริยะ [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
๒. สวนานุตตริยะ [การฟังอย่างยอดเยี่ยม]
๓. ลาภานุตตริยะ [การได้อย่างยอดเยี่ยม]
๔. สิกขานุตตริยะ [การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม]
๕. ปาริจริยานุตตริยะ [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม]
๖. อนุสสตานุตตริยะ [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม]
--
๑๐. อนุตตริยสูตร (ภาวะอันยอดเยี่ยม)
[๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน คือ
ทัสสนานุตตริยะ ๑
สวนานุตตริยะ ๑
ลาภานุตตริยะ ๑
สิกขานุตตริยะ ๑
ปาริจริยานุตตริยะ ๑
อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง
ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก
หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลายทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต
หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า
ทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ
--
ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไปเพื่อฟัง
เสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรม
ของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิดดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าว
ว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความ
รักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความ
รักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
--
ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมได้ลาภ
คือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า
ลาภนี้นั้นเป็นของเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่งย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้
นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เรา
เรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
--
ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษา
ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อม
ศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิดดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เรา
ไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมี
ศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง
อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการ
ศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งหมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ
เลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ
แล้วนี้เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขา
นุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ
--
ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
บำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำบำรุงสมณะหรือพราหมณ์
ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า
การบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การ
บำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ...เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า
ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยา
นุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
--
ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
ระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์
ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการ
ระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่งย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การระลึก
ถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี
ศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ
ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ ยินดีใน
สิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก
เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญา
รักษาตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์
โดยกาลอันควร ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๙๖-249 ข้อที่ ๓๐๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น