วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อย่างไรถึงจะถือว่าดีที่สุด Buddhakos media สนทนาธรรม...

                                                    ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อย่างไรถึงจะถือว่าดีที่สุด   
        อยู่อย่างสำเร็จประโยชน์..ไม่คิดอดีต.ไม่หวังอนาคต.ปัจจุบันไม่ยึด""ผู้มีราตรหนึ่งเจริญ                    Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา

พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php

💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย :
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768

#อยู่อย่างสำเร็จประโยชน์..ไม่คิดอดีต.ไม่หวังอนาคต.ปัจจุบันไม่ยึด""ผู้มีราตรหนึ่งเจริญ
🙏🙏🙏
[๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขต พระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มี พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดง อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
 ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

 [๕๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว 
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่ มาถึง 
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว 
และสิ่งที่ ยัง ไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง 
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน 
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ 
บุคคลนั้นพึง เจริญธรรมนั้น เนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด 
พึงทำความเพียรเสียใน วันนี้แหละ 
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง 
เพราะว่าความ ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มี เสนาใหญ่นั้น 
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย 
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ 
มีความเพียร 
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและ กลางคืน
นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่ง เจริญ ฯ 

 [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
คือ รำพึงถึง ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

เราได้มีรูป อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วง แล้ว 
ได้มีวิญญาณ อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ

 [๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
คือ ไม่รำพึงถึง ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

เราได้มี รูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาล ที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ ล่วงแล้ว 
ได้มีวิญญาณ อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ

 [๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
คือ รำพึงถึง ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

ขอเราพึงมี รูปอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาล อนาคต 
พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต 
พึงมีสังขาร อย่างนี้ในกาลอนาคต 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ

 [๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
คือ ไม่รำพึง ถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

ขอเรา พึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต 
พึงมีเวทนาอย่างนี้ใน กาลอนาคต 
พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต 
พึงมีสังขาร อย่างนี้ในกาล อนาคต
พึงมีวิญญาณ อย่างนี้ในกาลอนาคต 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

 [๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ

ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ 
เป็นผู้ไม่ได้เห็น พระอริยะ 
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ 
ไม่ได้ฝึก ในธรรมของพระอริยะ 
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ 
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ 
ไม่ได้ฝึก ในธรรมของ สัตบุรุษ

ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็น อัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
เล็งเห็นรูปในอัตตา บ้าง
เล็งเห็นอัตตาในรูป บ้าง

ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามี เวทนาบ้าง
เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในเวทนา บ้าง

ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความ เป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้างเล็งเห็นอัตตาในสัญญา บ้าง

ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
เล็งเห็นสังขาร ในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสังขาร บ้าง

ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็น อัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาใน วิญญาณบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

 [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ

อริยสาวก

ผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ 
เป็นผู้ได้ เห็นพระอริยะ 
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ 
ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ 
ได้เห็นสัตบุรุษ 
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ 
ฝึกดีแล้วใน ธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความ เป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็น อัตตาในรูปบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี เวทนาบ้าง
 ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
ไม่ เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
ไม่เล็งเห็นสัญญาใน อัตตาบ้าง
ไม่เล็ง เห็นอัตตาในสัญญาบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี สังขารบ้าง
ไม่เล็ง เห็นสังขารในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี วิญญาณบ้าง
ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
ไม่ เล็งเห็นอัตตา ในวิญญาณบ้าง

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

 [๕๓๔]
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว 
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ ยังไม่มาถึง 
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป แล้ว 
และสิ่งที่ยัง ไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง

ก็บุคคล ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น 
ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ ได้ 
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้น เนืองๆ 
ให้ปรุโปร่งเถิด 
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ 
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง 
เพราะว่าความผัดเพี้ยน กับมัจจุราชผู้มี เสนาใหญ่นั้น 
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย 
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ 
มีความ เพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน และกลางคืน 
นั้นแลว่า 
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวไว้ว่า
เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัย เนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล ฯ
 (ไทย)อุปริ.ม. ๑๔/๒๖๕/๕๒๖-๕๓๔

*กายคตาสติเป็นเสาหลักเสาเขื่อนของจิต*
พระพุทธเจ้า.ใช้อานาปานสติ.เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ 
ตั้งไว้..ในกาย..อาศัยเป็นวิหารธรรมได้
ตั้งไว้..ในเวทนา..ในส่วนของอุเบกขา..สุข ทุกข์ รีบละ รีบทิ้ง ตั้งไว้..
ในผู้รู้..คือ ให้รู้เฉยๆ
 ต้้งไว้..ในธรรม..คือ ให้เห็นอาการไม่เที่ยง จางคาย ดับไม่เหลือ สลัดคืน

วิหารธรรม ๔ อย่าง..ที่เที่ยวของจิต 
-- กายคตาสติ..
-การรู้ลมหายใจ
-การรู้ตามความเคลื่อนไหวอิริยาบถ
-สติอธิษฐานการงาน
-พิจารณาอสุภะ
-การเข้าฌาน ๑,๒,๓,๔ ---

[๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์
 ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร
 เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน
อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์
 ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจร คืออะไร? คือ

สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
 ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
 มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย 

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
 ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
 ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
 มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน
 อันเป็นโคจรของภิกษุ.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๘/๔๖๙ ข้อที่ ๖๙๘ - ๗๐๐ --

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น