วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อริยญายธรรม


***อริยญายธรรม***
********************
- ธรรมะที่ทำคนธรรมดา-ให้เป็นอริยะ-
- ผู้ใดเห็นปฏิจสมุทปบาท..ผู้นั้นเห็นธรรม-
- ผู้ใดเห็นธรรม..ชื่อว่าเห็นเรา..ตถาคต-
******************** 
***มาตามเห็น...ตามรู้..ร่างที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้กันค่ะ
--- อาศัยเป็นยาน-เครื่องนำไป-เป็นที่พึง-ที่อาศัยได้--
-------------------------
***ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล.****
http://etipitaka.com/read?keywords=ปฏิจจสมุปบาท+&language=thai&number=253&volume=12
--------------------------
#ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

★ กฎอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.
………………………...
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุป ปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.

(ม.ม.๑๓/๓๕๕/๓๗๑, นิทาน.สํ.๑๖/๘๔/๑๕๔..) ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ หน้า 23, 663.

★ ปัจจยาการแม้เพียงอาการเดียว ก็ยังตรัสเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (อิทัปปัจจยตา)๑

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;

● คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
● คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
● คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา : อิทปฺปจฺจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัต ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อัน

● เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
● เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น,
● เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
● เป็น อิทัปปัจจยตา (อิทปฺปจฺจยตา) คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;

●●● ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;

● คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
● คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
● คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา : อิทปฺปจฺจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัต ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อัน

● เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
● เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น,
● เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
● เป็น อิทัปปัจจยตา (อิทปฺปจฺจยตา) คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;

●●● ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

๑ สูตรที่ ๑๐ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
*************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=ปฏิจจสมุปบาท+&language=thai&number=135&volume=14
**************
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น