#โลกธรรมแปดกระทบเรา.อย่าไปสนใจอะไร..ชีวิตนี้น้อยนัก
#ธรรมดาของโลก
มีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ
สุข และ ทุกข์
แปดอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในหมู่มนุษย์
ไม่ยั่งยืนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
ผู้มีปัญญา มีสติ รู้ความข้อนี้แล้ว
ย่อมเพ่งอยู่ในความแปรปรวน
เป็นธรรมดาของโลกธรรมนั้น.
อฏฐก. อํ. ๒๓/๑๕๙/๙๖.
#ชีวิตมนุษย์ #อุปมาหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว #ไม่ตั้งอยุ่นาน #แม้ฉันใด ชีวิตมนุษย์นั้น ไม่ตั้งอยู่นาน รีบหา "ทรัพย์ ทางธรรม"
#ชีวิตมนุษย์
#อุปมาหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว
#ไม่ตั้งอยุ่นาน #แม้ฉันใด
ชีวิตมนุษย์นั้น ไม่ตั้งอยู่นาน
รีบหา "ทรัพย์ ทางธรรม"
อย่าปล่อยชีวิตที่เกิดมาไปตาม"
••• ยถากรรม? ••• (บาลี : ยถากมฺมํ )
--
#อรกานุสาสนีสูตร
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว
ศาสดาชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิ
ปราศจากความกำหนัดในกาม
ก็อรกศาสดานั้นมีสาวกหลายร้อยคน
เธอแสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า
ดูกรพราหมณ์
""" ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดหน่อย
รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้ว
จะไม่ตายไม่มี """
ดูกรพราหมณ์
"หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา ย่อมแห้งหายไปได้เร็ว
••• ไม่ตั้งอยู่นาน ••• แม้ฉันใด"
""" ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน """
นิดหน่อย รวดเร็ว
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด
ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ
ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์
มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรพราหมณ์ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ
ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา
ไหลไปไกล กระแสเชี่ยว พัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัด
ไปได้ ไม่มีระยะเวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด
แต่ที่แท้แม่น้ำนั้นมีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา
ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุรุษมีกำลัง อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น
แล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนก้อนเขฬะฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกะทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน
ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้น
เหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือด
ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า
ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้น
เหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้น
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงควรแก่การมีสามี
ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธ ๖ อย่างเท่านั้น
คือ เย็น ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อรกศาสดานั้น
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนตั้งอยู่นาน
มีอาพาธน้อยอย่างนี้ จักแสดงธรรมให้สาวกฟังอย่างนี้ว่า
ดูกรพราหมณ์ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย
นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์เพราะสัตว์ที่เกิด
มาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้
เมื่อจะกล่าวโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์
ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
● ในปัจจุบันนี้ คนที่มีอายุอยู่ได้นาน
ก็เพียงร้อยปีหรือน้อยกว่านั้นบ้าง เกินกว่าบ้าง
ก็คนที่มีอายุอยู่ถึงร้อยปี ย่อมอยู่ครบ ๓๐๐ ฤดู
คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๐๐ ฤดู ย่อมอยู่ครบ ๑,๒๐๐ เดือน
คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ เดือน ฤดูร้อน ๔๐๐
เดือน ฤดูฝน ๔๐๐ เดือน
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๑,๒๐๐ เดือน ย่อมอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ
ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือนฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน
คนที่มีอายุอยู่ครบ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน
ย่อมอยู่ครบ ๓๖,๐๐๐ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑,๒๐๐ ราตรี
ฤดูร้อน ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูฝน ๑,๒๐๐ ราตรี
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี
ย่อมบริโภคอาหาร ๗๒,๐๐๐ เวลา คือ
ฤดูหนาว๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ เวลา
ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ เวลา พร้อมๆ กับดื่มนม
มารดาและอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร ใน ๒ ประการนั้น
● อันตรายแห่งการบริโภคอาหาร
มีดังนี้ คือ คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร
คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภค
อาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่บริโภคอาหาร
เพราะไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร
••• ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราได้กำหนดอายุ ประมาณแห่งอายุ ฤดู ปี เดือน
กึ่งเดือน ราตรี วัน การบริโภคอาหาร
และอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร
ของมนุษย์ผู้มีอายุร้อยปี ด้วยประการดังนี้แล้ว
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลายกิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์เอื้อเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวก
กิจนั้นเรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
ขอเธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ
อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย
นี้คืออนุศาสนีของ
เราสำหรับเธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๑๐๗/๓๗๙ ข้อที่ ๗๑
•••••••••••••••••••
ธนสูตรที่ ๒
●●● [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
๑.• ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑
๒.• ศีล ๑
๓.• หิริ ๑
๔.• โอตตัปปะ ๑
๕.• สุตะ ๑
๖.• จาคะ ๑
๗.• ปัญญา ๑
๑.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระ
อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือ
ศรัทธา ฯ
๒.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ
๓.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริตละอายต่อการถูกต้อง
อกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ
๔.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ
สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว
ต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่าทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ
๕.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ
เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ
๖.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ
ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่า
ทรัพย์คือจาคะ ฯ
๗.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ
เป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่าทรัพย์คือปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
●●● ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ
ชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของ
ผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา
ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๖
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๔/๓๗๙ ข้อที่ ๕-๗
●●●●●●●●●●●●
https://www.youtube.com/watch?v=ZssWVzDSBT0
https://www.youtube.com/watch?v=ZssWVzDSBT0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น