#ฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ
อานนท์ ! ฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ มีประการเท่าไร ?
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !มีห้าประการ พระเจ้าข้า ! ”
๕ ประการ เป็นอย่างไร ?
๕ ประการ คือ
๑--
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงปฐมฌาน … เข้าถึงทุติยฌาน … เข้าถึงตติยฌาน …
เข้าถึงแล้วแลอยู่
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ” นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ (อนุสฺสติฏฺานานิ)
เมื่อภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน (ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราย)
๒--
อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุ กระทำไว้ในใจซึ่งอาโลกสัญญา
อธิษฐานทิวาสัญญา ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น,
กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น เธอมีจิตอันเปิดแล้ว
อันไม่มีอะไรห่อหุ้ม ย่อมมีการเจริญจิตที่มีความสว่างนั้นอยู่
ด้วยอาการอย่างนี้
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !” นี้เป็นเป็นฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ
เมื่อภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
๓--
อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุ พึงพิจารณาเห็นกายนี้
จากพื้นเท้า ขึ้นไปเบื้องบน จากปลายผมลงมาเบื้องต่ำ
อันมีหนังห่อหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยสิ่งไม่สะอาด
มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ลำไส้
ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ น้ำดี เสมหะ หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้.
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !” นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ
เมื่อภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อการละซึ่งกามราคะ
๔--
อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุ พึงพิจารณาเห็นซากศพ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ว หนึ่งวันบ้าง
สองวันบ้าง สามวันบ้าง กำลังพองขึ้น มีสีเขียวน่าเกลียด
มีหนองไหล น่าเกลียด ฉันใด เธอนั้น พึงน้อมซึ่งกายนี้
เข้าไปเปรียบกับกายนั้น อย่างนี้ว่า
แม้กายนี้แลย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะอย่างนั้น
ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ หรือว่า
พึงพิจารณา เห็นซากศพ ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงกา
นกตะกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอก หรือ
อันหมู่หนอนชนิดต่างๆ กำลังกัดกิน อยู่นั้น …
หรือว่า ร่างกระดูกที่มีเนื้อเลือด … ร่างกระดูกปราศจากเนื้อเลือด
แต่ยังมีน้ำเลือด … ร่างกระดูก ปราศจากเนื้อเลือด
แต่ยังมีเอ็น … ท่อนกระดูก กระจัดกระจายไป คนละทาง … ฉันใด
เธอนั้น พึงน้อมซึ่งกายนี้ เข้าไปเปรียบกับกายนั้น อย่างนี้ว่า
แม้กายนี้แล ย่อมมีอย่างนั้น เป็นธรรมดา มีภาวะอย่างนั้น
ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !” นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ
เมื่อภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อการถอนอัสมิมานะ
๕--
อีกประการหนึ่ง
เมื่อภิกษุ เข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขา เข้าถึงแล้วแล้วแลอยู่เถิด
ดังนี้แล้วไซร้;
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !” นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ
เมื่อภิกษุเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้วอย่างนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อการแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก
-----
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !” เหล่านี้แล
ฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๕ ประการ
ดีละ ดีละ อานนท์ ! ถ้าเช่นนั้น
เธอจงจำฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ ข้อที่ ๖ นี้ไว้ คือ
๖--
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่
มีสตินั่งอยู่ มีสติสำเร็จการนอน มีสติอธิษฐานการงาน
อานนท์ ! นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ
เมื่อภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
#ย่อมเป็นไปเพื่อการได้สติสัมปชัญญะ
----------
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๒๓๙
(ภาษาไทย) ฉกก. อํ. ๒๒/๒๙๔/๓๐๐.
--------
https://www.youtube.com/watch?v=xbhl-EkejQg
-----
https://www.youtube.com/watch?v=xbhl-EkejQg
-----
อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น