วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โพชฌงค์ ๗ จาก อานาปานสติสูตร





#กาย  #เวทนา  #จิต  #ธรรม #รู้ลมหายใจเข้าออก...สู่วิมุตติ
--
#กาย  #เวทนา  #จิต  #ธรรม #รู้ลมหายใจเข้าออก...สู่วิมุตติ
--

‪#‎สติปัฏฐาน๔‬
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ 
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร 
จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้ ?
------------------------ 
‪#‎หมวดกายานุปัสสนา‬
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด 
ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, 
เมื่อหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; 
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, 
เมื่อหายใจ ออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า 
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ 
มีความเพียรเผากิเลส 
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว 
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก 
ว่าเป็นกายอันหนึ่ง ๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ 
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ 
มีความเพียรเผากิเลส 
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก 
ออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
---------------------------
‪#‎หมวดเวทนานุปัสสนา‬
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า 
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า 
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส 
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก ทั้งหลายว่า 
เป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น 
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนา 
ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
----------------------------
‪#‎หมวดจิตตานุปัสสนา‬
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า 
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า 
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส 
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
-------------
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ 
ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว 
ไม่มีสัมปชัญญะ.
-----------
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น 
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ 
มีความเพียรเผากิเลส 
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ 
ในสมัยนั้น.
----------------
‪#‎หมวดธัมมานุปัสสนา‬
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า 
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ 
หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ
หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า 
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, 
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
-----------
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า 
เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ 
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ 
มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น 
เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว 
เพราะเธอเห็นการละอภิชฌา และโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
-------------------------
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น 
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.
-------
พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๓๐
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=156&volume=14
------

โพชฌงค์ ๗

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  
 สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
      เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่  
ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง 
ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ 
ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง 
ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
      เธอ เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง 
ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่   
ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง 
ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา 
ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว   
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
      ปีติปราศจากอามิส 
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด 
ปีติปราศจากอามิส
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว   
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
      ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด 
ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว   
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
      ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว   
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
      ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว   
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ......... ฯลฯ ...........
      [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้   
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ 
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ 
อาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... 
ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... 
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ... 
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... 
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์  
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ 
อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ 
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล 
ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๔
link ;; พระสูตร สติ สัมปชัญญะรอคอยการตาย พร้อมคลิปพระอาจารย์
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1672138086351061

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คลิปบรรยาย เรื่องความจริง ๓ แง่มุม
http://media.watnapahpong.org/…/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3…
‪#‎วิธีการตาม‬.. ‪#‎รักษาไว้‬...‪#‎ซึ่งความจริง‬ (สจฺจานุรกฺขณา)
‪#‎การตาม‬ ‪#‎รู้ซึ่ง‬ ‪#‎ความจริง‬ (สจฺจานุโพโธ)
#การตาม ‪#‎บรรลุ‬.. ‪#‎ถึงซึ่งความจริง‬ (สจฺจานุปตฺติ)
-----------------------
‪#‎พยากรณ์การรักษาสัจจะ‬
[๖๕๖] พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า
ศรัทธาของเราอย่างนี้ ดังนี้
ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า
***สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า****
ดูกรภารทวาชะ
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน
ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ ...
มีการฟังตามกัน ...
มีความตรึกตามอาการ ...
มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ
เขากล่าวว่า
การทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้
ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติ
การตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
กา. ท่านพระโคดม การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็ง
การรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
ท่านพระโคดม ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการตรัสรู้สัจจะ?
--------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๔๕๓/๕๑๘ ข้อที่ ๖๕๖
---------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
---------------------------
‪#‎การตามรู้ซึ่งความจริง‬ (สจฺจานุโพโธ)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)
มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ
ตามรู้ซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้
เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี
หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่
ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น
เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น
ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ลำดับนั้น เขา :-
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี
ศรัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย
อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,
เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,
ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน
ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ
(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.
ภารท๎วาชะ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
-------------------
‪#‎การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง‬
(สจฺจานุปตฺติ)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง
ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ
ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ
การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ
ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
ภารท๎วาชะ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.
--------------
-----------------------------------------
http://media.watnapahpong.org/…/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3…

อานาปานสติภาวนา

#‎อานาปานสติภาวนา‬
[๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด 
เพราะอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว 
ทำให้มากแล้ว 
ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. 
ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?
ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี 
อยู่ในเรือนว่างก็ดี 
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง 
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. 
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว 
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น 
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.
ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ 
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ 
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล 
เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ 
ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง 
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว 
ย่อมดับไป 
หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว 
ดับไปไม่ได้ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว 
ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๑๖/๕๑๘
---------
อัสสาสะ - ลมหายใจเข้า
ปัสสาสะ - ลมหายใจออก

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-พุทธวจนสนทนา-ที่ๆ ควรเที่ยวของจิต



#สติระลึกรู้
#คิดอะไรไม่ออกอยู่กับลมหายใจเข้าไว้

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทางเสื่อมแห่งโภคะ



‪#‎ทางเสื่อมแห่งโภคะ‬
[๑๗๘] อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดีบุตร
‪#‎การประกอบเนืองๆ‬ ซึ่ง

‪#‎การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย‬
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑
การประกอบเนืองๆ ซึ่ง
‪#‎การเที่ยวไปในตรอกต่างๆ‬ ในกลางคืน
เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑
การประกอบเนืองๆ ซึ่ง
‪#‎การคบคนชั่วเป็นมิตร‬
เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑
การประกอบเนืองๆ ซึ่ง
‪#‎ความเกียจคร้าน‬
เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ
[๑๗๙] ดูกรคฤหบดีบุตร
โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา คือ
สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖ ประการนี้ คือ
ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง ๑
ก่อการทะเลาะวิวาท ๑
เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑
เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ๑
เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย ๑
มีบทที่ ๖ คือ เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ๑
ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบ
เนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา คือ
สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๐] ดูกรคฤหบดีบุตร
โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่ง
การเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน ๖ ประการเหล่านี้ คือ
ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว ๑
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา บุตรภรรยา ๑
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ ๑
เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑
คำพูดอันไม่เป็นจริง ในที่นั้นๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น ๑
อันเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากแวดล้อม ๑
ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ
ซึ่งการเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน เหล่านี้แล ฯ
[๑๘๑] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการเหล่านี้ คือ
รำที่ไหน ไปที่นั่น ๑
ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น ๑
ประโคมที่ไหนไปที่นั่น ๑
เสภาที่ไหนไปที่นั่น ๑
เพลงที่ไหน ไปที่นั่น ๑
เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น ๑
ดูกรคฤหบดีบุตรโทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพ เหล่านี้แล ฯ
[๑๘๒] ดูกรคฤหบดีบุตร
โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่ง
การพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท ๖ ประการเหล่านี้ คือ
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑
ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑
ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑
ถ้อยคำของคนเล่นการพนัน ซึ่งไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑
ถูกมิตรอมาตย์หมิ่นประมาท ๑
ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย
เพราะเห็นว่า ชายนักเลงเล่นการพนัน
ไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยา ๑
ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการ
พนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ
(ไทย) ปา. ที. ๑๑/๑๓๙/๑๗๘.
(บาลี) ปา. ที. ๑๑/๑๙๖/๑๗๘.
http://etipitaka.com/read?language=pali&number=196&volume=11