วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562

ความคิด ความเชื่อ ในมุมของพระพุทธเจ้า ธรรมะที่ท่านพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ บรรลุโสดาบัน

                                  #ความคิดความเชื่อ ...ในมุมพระพุทธเจ้า..ธรรมะที่พระมหาอัครสาวกบรรลุโสดาบัน...

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
 พระตถาคตทรงแสดงเหตุ แห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
 พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.

 ธรรมะที่พระสารีบุตร และ พระโมคลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา
ได้ยินได้ฟังจนบรรลุ เป็นโสดาบัน

และเข้ามาบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา...
 2 อัครสาวกได้พบกับพระอัสชิ หนึ่งในปัจจวัคคี และได้ฟังธรรมจนได้เข้า มาบวชกับพระศาสดา..

*** ***
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา
 พระอัสสชิเถระ

 [๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์
พร้อมด้วย ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน.
ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ
ประพฤติ พรหมจรรย์อยู่ในสำนักสญชัยปริพาชก.
ท่านทั้งสองได้ทำกติกากันไว้ว่า
ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกคนหนึ่ง.
 ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า

ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสกแล้ว
ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์
มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส
มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ.

สารีบุตรปาริพาชกได้เห็นท่านพระอัสสชิ 
กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส
มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ
ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า 
บรรดาพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก
ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ 
ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า

ท่านบวชเฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน 
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร?

แล้วได้ดำริต่อไปว่า ยังเป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้
เพราะ ท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต
ผิฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆ
เพราะเป็น ทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ.
ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร ราชคฤห์
ถือบิณฑบาตกลับไป. จึงสารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูด 
ปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว
 ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
สารีบุตรปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคำนี้ กะท่านพระอัสสชิว่า
อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ท่านบวช เฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?

 อ. มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตร
เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เรา 
บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา
 และเรา ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

 สา. ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?

 อ. เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้
ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่าน ได้กว้างขวาง
แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ.

 สา. น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้อง การใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.

 *** พระอัสสชิเถระแสดงธรรม ***
 [๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้

:- ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม เหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้.

 *** สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม ***
 [๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทินว่า

สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา

ได้เกิดขึ้นแก่ สารีบุตรปริพาชก ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น
ท่านทั้งหลายจงแทง ตลอดบทอันหาความโศกมิได้
บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายังไม่เห็น
ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์.

 สารีบุตรปริพาชกเปลื้องคำปฏิญญา
 [๖๗] เวลาต่อมา สารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาโมคคัลลานปริพาชก.
โมคคัลลานปริพาชก ได้เห็นสารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้ถามสารีบุตรปริพาชกว่า
ผู้มีอายุ อินทรีย์ ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ท่านได้บรรลุอมตธรรมแล้วกระมังหนอ?

 สา. ถูกละ ผู้มีอายุ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว. โมค.
ท่านบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร ด้วยวิธีไร?

 สา. ผู้มีอายุ วันนี้เราได้เห็นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
มี มรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน
น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึง พร้อมด้วยอิริยาบถ
ครั้นแล้วเราได้มีความดำริว่า บรรดาพระอรหันต์หรือท่านผู้ได้บรรลุอรหัตมรรค ในโลก
ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้
แล้วถามว่า

ท่าน บวชเฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร

เรานั้นได้ยั้งคิดว่า ยัง เป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้
เพราะท่านยังกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้น 
เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆ เพราะเป็นทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ
ลำดับ นั้น พระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
ถือบิณฑบาตกลับไปแล้ว ต่อมา เราได้เข้า ไปหาพระอัสสชิ
ครั้นถึงแล้ว ได้พูดปราศรัยกับพระอัสสชิ
ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็น ที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เรายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ต่อพระอัสสชิว่า
อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ ผุดผ่อง

ท่านบวชเฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ? 

พระอัสสชิตอบว่า มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล
เรา บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า
ก็พระศาสดาของ ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า
 ก็พระศาสดาของ ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?
พระอัสสชิตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมา สู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ เรา ได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด
ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้องการ ใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.

 [๖๘] ผู้มีอายุ ครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้ ว่าดังนี้

:- ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
 พระตถาคตทรงแสดงเหตุ แห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
 พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.

 *** โมคคัลลานปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม ***
 [๖๙] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า 

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา

ได้เกิดขึ้นแก่ โมคคัลลานปริพาชก ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น
ท่านทั้งหลายจงแทงตลอดบทอันหาความ โศกมิได้
บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้ว
 หลายหมื่นกัลป์. สองสหายอำลาอาจารย์

 [๗๐] ครั้งนั้น โมคคัลลานปริพาชกได้กล่าวชักชวนสารีบุตรปริพาชกว่า
ผู้มีอายุ เรา พากันไปสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระศาสดาของเรา. สารีบุตรปริพาชกกล่าวว่า ผู้มีอายุ ปริพาชก ๒๕๐ คนนี้อาศัยเรา เห็นแก่เรา จึงอยู่ใน สำนักนี้ เราจงบอกกล่าวพวกนั้นก่อน พวกนั้นจักทำตามที่เข้าใจ. ลำดับนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพากันเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าว คำนี้ต่อพวกปริพาชกนั้นว่า ท่านทั้งหลาย เราจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาค นั้นเป็นพระศาสดาของเรา. พวกปริพาชกตอบว่า พวกข้าพเจ้าอาศัยท่าน เห็นแก่ท่านจึงอยู่ในสำนักนี้ ถ้าท่าน จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ พวกข้าพเจ้าทั้งหมด ก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน พระมหาสมณะด้วย. ต่อมา สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปหาท่านสญชัยปริพาชก ครั้นถึงแล้วได้เรียน ว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระ ศาสดาของพวกกระผม สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เราทั้งหมด ๓ คน จักช่วยกันบริหารคณะนี้. แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่สาม สารีบุตรโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ต่อสญชัยปริพาชกว่า ท่านขอรับ พวก กระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระศาสดาของพวกกระผม. สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เราทั้งหมด ๓ คน จักช่วยกันบริหารคณะนี้. ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพาปริพาชก ๒๕๐ คนนั้น มุ่งไปทางที่จะไปพระวิหาร เวฬุวัน. ก็โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากสญชัยปริพาชกในที่นั้นเอง. ทรงพยากรณ์พระอัครสาวก [๗๑] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นสารีบุตรโมคคัลลานะมาแต่ไกลเทียว ครั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนนั้น คือโกลิตะ และอุปติสสะ กำลังมานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยมของเรา ก็สหายสองคนนั้นพ้นวิเศษแล้ว ในธรรมอันเป็น ที่สิ้นอุปธิ อันยอดเยี่ยม มีญาณวิสัยอันลึกซึ้ง ยังมาไม่ทันถึงพระวิหารเวฬุวัน พระศาสดา ทรงพยากรณ์ ว่าดังนี้ สหายสองคนนี้คือ โกลิตะและอุปติสสะกำลัง มานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญ ชั้นเยี่ยมของเรา. เข้าเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท [๗๒] ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว ได้ซบเศียรลงที่พระบาทของผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอ พวกข้าพระพุทธเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอัน เรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

 พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
 พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
 ข้อที่ 64-72 หน้าที่ 56-60

 ***** กฏอิทัปปัจจยตา หรือ หัวใจปฏิจจสมุปบาท
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ นโหติ เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงดับไป

ม. ม. ๑๓/๓๕๕/๓๗๑.
 นิทาน.สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔,...ฯลฯ...

**** อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ”
 https://faq.watnapp.com/.../84-new-practice/130-01-01-0039

*** 🙏🙏🙏 ธรรมญาณ อันวยญาณ
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วย ธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้ สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของ อริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้างผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้างประกอบด้วยวิชชา ของพระเสขะ บ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิด ประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๓
พระไตรปิฎกฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๖
หน้าที่ ๕๕ ข้อที่ ๑๒๔ - ๑๒๕ 🙏🙏🙏

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

ภพภูมิ ระบบ สังสารวัฏ ทางไปของสัตว์ Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่...


สังสารวัฏ  การเวียนว่ายตายเกิด
🙏🙏🙏
ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง, เราและ
พวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน
ถึงเพียงนี้. ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะ
ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ
ความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ; เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาล
ยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

ภิกษุ ท. ! เมื่ออริยสัจ คือทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความดับไม่เหลือ
ของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, เป็นความจริงที่เราและ
พวกเธอทั้งหลาย รู้ถึง และแทงตลอดแล้ว ; ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาด
ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ; ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.

(สูตรอื่นได้ตรัสเหตุที่ทำให้ ต้องท่องเที่ยวไปสังสารวัฏ เพราะไม่รู้อริยธรรมสี่ ดังต่อไปนี้
ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรม ๔
ประการ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอด
กาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ธรรม ๔ ประการ อย่างไหนเล่า ? ภิกษุ ท. !
เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งอริยศีล.... ซึ่งอริยสมาธิ....
ซึ่งอริยปัญญา....ซึ่งอริยวิมุตติ.... เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยว
ไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
ภิกษุ ท. ! เมื่ออริยศีล, อริยสมาธิ, อริยปัญญา, และอริยวิมุตติ
เป็นธรรมที่เราและเธอรู้แล้วตามลำดับ แทงตลอดแล้ว; ตัณหาในภพก็ถูกถอนขึ้น
ขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพก็สิ้นไปหมด บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีกมิได้มี, ดังนี้.

- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑/๑.
****
💞💞💞
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php
🙏🙏🙏
อ่านพระสูตรที่เกี่ยวข้องได้จาก blog พุทธวจน
https://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;; คลิปนี้พร้อมพระสูตร
http://buddhawajana252.blogspot.com/2019/09/buddhakos-media_13.html
💞💞💞
CR.
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ ชุดาปาร์ค รีสอร์ท ขอนแก่น
https://www.youtube.com/watch?v=8iYcpcy1coc
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
💞💞💞

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

ทุกข์คืออะไร เราจะไม่ทุกข์ต้องทำอย่างไร อริยสัจ ๔ โดยสังเขป แสดงโดยการคว...


ทุกข์คืออะไร เราจะไม่ทุกข์ต้องทำอย่างไร อริยสัจ ๔ โดยสังเขป แสดงโดยการความยึดในขันธ์ ๕ Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ ชุดาปาร์ค รีสอร์ท ขอนแก่น
เราจะไม่ต้องทุกข์..ทำอย่างไร..
อริยสัจสี่โดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ห้า)
ทุกข์ คือ อะไร เหตุเกิด ความดับ.อุบายเครื่องสลัดออก...ทุกข์ สมุทัย..นิโรธ..มรรค..โดยย่อ..เต็มๆ..ไปฟังจากคลิปเต็มนะคะตาม CR.ด้านล่างคะ
🙏🙏🙏
**
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php
🙏🙏🙏
CR.
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ ชุดาปาร์ค รีสอร์ท ขอนแก่น
https://www.youtube.com/watch?v=8iYcpcy1coc
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
🙏🙏🙏
ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยาก
เกี่ยวกับพระองค์เอง

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบัดนี้ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า
“นี้ ทุกข์;
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;
นี้ ความดับแห่งทุกข์;
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์”
ดังนี้เถิด

ตามรอยธรรม หน้า ๖
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๔๘/๑๗๔๔
🙏🙏🙏
อริยสัจสี่โดยสังเขป
(ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ห้า)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ :- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง.

ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :-
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม (กามตัณหา),
ตัณหาในความมีความเป็น (ภวตัณหา),
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (วิภวตัณหา).
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ,
การพูดจาชอบ, การงานชอบ, การเลี้ยงชีพชอบ,
ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด.
ตามรอยธรรม หน้า ๑๓
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๒/๑๖๗๘-๑๖๘๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ :- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง.

ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :-
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม (กามตัณหา),
ตัณหาในความมีความเป็น (ภวตัณหา),
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (วิภวตัณหา).
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ,
การพูดจาชอบ, การงานชอบ, การเลี้ยงชีพชอบ,
ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด.
ตามรอยธรรม หน้า ๑๓
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๒/๑๖๗๘-๑๖๘๓.
🙏🙏🙏

ผู้ชื่นชมทุกข์

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดชื่นชมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชื่นชมรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้) ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ ผู้นั้นเรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้."

๑๘/๑๖-๑๗

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

"ดูก่อนภิกษุ

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

สังโยชน์ ๑๐ ย่อ ๓ อย่างไร Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตัก...


สังโยชน์ ๑๐ ย่อเหลือ ๓ อย่างไร 🙏ละนันทิ มรรควิธีเดียวยันนิพพานกันเลย(ท่านพระอาจารย์แสดงปาลีมี link เทียบบาลีให้ด้วยนะเผื่อใครอยากพูดตามท่านพระอาจารย์ไพเราะจริงๆ)🙏🙏(ท่านใดสนใจเน้นๆ แนะนำ พุทธวจน ฉบับอนาคามี ดาวน์โหลดได้ฟรีจากเวปวัดคะ.แนะนำให้ฟังเสียงอ่านของท่านภันเตเอเอ.เพราะพระสูตรจะก๊อปมาจากพระไตรปิฏกย่อ ก็ย่อตาม..แต่ท่านภันเตเอเอ..เมตตาอ่านให้เต็มๆ พระสูตร.และท่านภันเตเอเอทักษะการอ่าน สุคตวินโย สูงมากๆ จะเห็น ระบบ ระเบียบ แห่งถ้อยคำของสุคต ชัดเจนมากๆ จริงๆ แล้ว สุคตวินโย จำง่าย.การทรงจำเป็นธรรมมีอุปการะมากแห่งธรรมจริงๆ...เอ๊ายาวเป็นคนพูดมากตั้งแต่เมื่อไร!!!.😚😉😆😆😆.)

🙏🙏🙏
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ (กามโยคยุตฺโต)

(และ) ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ (ภวโยคยุตฺโต)

เป็น อาคามี

ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (กามโยควิสํยุตฺโต)

(แต่) ยังประกอบแล้วด้วยภวโยคะ (ภวโยคยุตฺโต)

เป็น อนาคามี

ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (กามโยควิสํยุตฺโต)

(และ) พรากแล้วจากภวโยคะ (ภวโยควิสํยุตฺโต)

เป็น อรหันต์

สิ้นอาสวะแล้ว.

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๓/๒๗๖.
🙏🙏🙏
สังโยชน์สิบ
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะ, พยาบาท
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจ, อวิชชา
เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗ 
(ไทย) ทสก. อํ.  ๒๔/๑๖/๑๓ :
🙏🙏🙏
ปุคคลวรรคที่ ๔

         [๑๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก๔ จำพวกเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
-
***ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
***ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
***ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
-
     อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
-
***ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
แต่
***ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
***ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
-
     อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
-
***ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
***ละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
***แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
-
     อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
***ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
***ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
***ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้ ฯ
-
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจำพวกไหน
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้
คือ
พระสกทาคามี
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
-
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
-
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้
คือ
พระอนาคามี
ผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
-
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
-
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
-
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
-
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้
คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
-
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ ฯ
-
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้
คือ
พระอรหันตขีณาสพ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
-
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล
มีปรากฏอยู่
ในโลก ฯ
🙏🙏🙏
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๓๔ ข้อที่ ๑๓๑
link:: โปรแกรมE-Tipitaka เทียบไทย - บาลี
http://etipitaka.com/compare/pali/thai/21/181/?keywords=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%BA%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4
🙏🙏🙏
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
**
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php
🙏🙏🙏
อ่านพระสูตรที่เกี่ยวข้องได้จาก blog พุทธวจน
https://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;; คลิปนี้พร้อมพระสูตร

💞💞💞
CR.
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
https://youtu.be/y6XJSdcBvNc
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
💞💞💞

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

มาตรฐาน ๓ อย่างที่คงตัวของโสดาบันบุคคล สำหรับข้อ ๔ ทาน ศีล ภาวนา บุญกิริ...

                                      มาตรฐาน ๓ อย่างที่คงตัวของโสดาบันบุคคล(สำหรับข้อ ๔ ทริก..การจำง่ายๆ ..ทาน ศีล ภาวนา บุญกิริยาวัตถุ ๓ ข้อใดข้อหนึ่ง นะเอง☺️

ท่านพระอาจารย์เมตตาเสริมเชื่่อมโยงพระสูตร.คติที่ไปให้ด้วย.เห็นเส้นทางชัดเจนเลย.🤩).
การจำง่ายๆ.โดยความเป็นวิทยาศาสตร์
(เหมือนกำลังพิสูจน์ทิฤษฏีในทางวิทยาศาสตร์มีตัวคงที่ด้วย!!!
😲..ท่านพระอาจารย์เมตตาชี้ประเด็น🙏🙏🙏
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม

** พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php

💞💞💞
CR. Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม https://youtu.be/y6XJSdcBvNc
 ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี
ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..
มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
💞💞💞