วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทาน ทมะ สัญญมะ ฯ สมบูรณ์ด้วยอานาปานสติอย่างไร



ทาน ทมะ สัญญมะ ฯ.สมบูรณ์ด้วยอานาปานสติอย่างไร 

Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ ศ 2562
---

พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจนวันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง

https://katin.watnapp.com/register/register.php

🙏🙏🙏
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลาย
ที่ตนได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญ เมตตาจิตตลอด ๗ ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปฉิบหายอยู่ เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระเมื่อกัปเจริญอยู่ เราย่อม เข้าถึงวิมานแห่งพรหมที่ว่าง 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต อนาคตและปัจจุบันโดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้ เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราได้เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่เป็น ขอบเขต เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวใยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเรา หนอแล 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก อย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรม ๓ ประการของเรา คือ ทาน ๑ ทมะ ๑ สัญญมะ ๑ ฯ 


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา ประพันธ์ดังนี้ว่า กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไปซึ่งมีสุข เป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติสงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิต ครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้ แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข ฯ

(ไทย)อิติวุ.ขุ.๒๕/๑๗๒/๒๐๐.

💞💞💞

CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน 

Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ ศ 2562

ถ่ายทอดคำตถาคตโดย
: พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/ATLQf80thdI


ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี 

http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book


ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี
ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด 


สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..
มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน 

https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา,
ปทุมธานี 12150 โทรศัพท์: 086 360 5768

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

มรรควิธีปฏิบัติเพื่อความเป้นอริยบุคคลแต่ละระดับในมุมของการละสังโยชน์



มรรควิธีปฏิบัติเพื่อความเป้นอริยบุคคลแต่ละระดับในมุมของการละสังโยชน์ Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ  2562 อาสาฬหบูชา

พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน

วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง

https://katin.watnapp.com/register/register.php

🙏🙏🙏

อ่านพระสูตรที่เกี่ยวข้องได้จาก blog พุทธวจน

https://buddhawajana252.blogspot.com/

link ;; คลิปนี้พร้อมพระสูตร



💞💞💞

CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน

Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา

ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี

https://youtu.be/-TYpKrEwCkw

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด

ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี

http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด

http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน

https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong

ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150

โทรศัพท์: 086 360 5768

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ความลังเล สงสัยแบบใดเป็นสังโยชน์ที่โสดาบันจะต้องละได้ Buddhakos media สน...



ความลังเล สงสัยแบบใดเป็นสังโยชน์ที่โสดาบันจะต้องละได้ 

Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา

🙏🙏🙏

พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง 

https://katin.watnapp.com/register/register.php

🙏🙏🙏
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย
: พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา,
ปทุมธานี 12150 โทรศัพท์: 086 360 5768

สังโยชน์สิบ
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้
มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ

สักกายทิฏฐิ,
วิจิกิจฉา,
 สีลัพพตปรามาส,
กามฉันทะ,
พยาบาท

เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

รูปราคะ,
อรูปราคะ,
มานะ,
อุทธัจจ,
อวิชชา

เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗ (ไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๖/๑๓ :

สังโยชน์ในอริยบุคคล 
[๘๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังมีอีกข้อหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ”
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคล
คือ พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคล
ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะพระองค์ว่า… 

บุคคลนั้น เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมในกาลเบื้องหน้า
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป
… 
บุคคลนั้น เป็นสกทาคามี (กลับมาคราวเดียว)
จะมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น
แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป
และเพราะ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลง
… 
บุคคลนั้น เป็นโอปปาติกะอานาคามี (ไม่ต้องกลับมาอีก)
จะปรินิพพานในภพนั้น เพราะทำสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างให้สิ้นไป
… 
บุคคลนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคลอื่น …”
 …ฯ…
 [๙๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์
 ถูกเขาถามอย่างนี้ ตอบอย่างนี้
จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว แลหรือ
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง แลหรือ
ชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม แลหรือ
ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน แลหรือ ? …” 

ถูกแล้ว สารีบุตร !
เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้ แก้อย่างนี้ นับว่า
เป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้วทีเดียว
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
ชื่อว่า กล่าวไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม
ทั้งการโต้ตอบ อันมีเหตุอย่างไรๆ
ก็มิได้มาถึงสถานะ อันควรติเตียน
…ฯ…
 (ไทย) ปา. ที. ๑๑/๘๓/๘๖. :

ละสังโยชน์สามและกรรมที่พาไปอบาย คือ โสดาบัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน).
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :-

ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ไม่ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ไม่ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล
เป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา. 

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :-

ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรต ผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ดังนี้แล.

พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๓๑ (ไทย)
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๐/๓๖๐.

พระอริยบุคคลละสังโยชน์ได้ต่างกัน
 ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก.
สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ :-

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้
มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้,
และมีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้. 

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้
ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้. 

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้
ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ทั้งยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิดอีกได้ด้วย,
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้. 

(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้
ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้ว
และยังละสังโยชน์ด้วยเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

 (ประเภทที่ ๑)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระสกิทาคามี นี้แล
เป็นผู้ยังละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายไม่ได้ทั้งหมด
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้
และ ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้. 

(ประเภทที่ ๒)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ทั้งหมด
แต่ยังละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่ได้
และ ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้. 

(ประเภทที่ ๓)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่างนี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ด้วย
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย
แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้. 

(ประเภทที่ ๔)
ภิกษุทั้งหลาย ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล
เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้
และยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก
มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๕๙๖.
 (ไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓๔/๑๓๑. :

ลักษณะที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ 
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้
เป็นการอันสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า.

ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.” 
อานนท  !  ในกรณีนี้

ปุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ
ไม่เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ไม่เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ : - 

เขามีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม แล้ว
อันสักกายทิฏฐิห่อหุ้มแล้ว อยู่ ;
เขา ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง
จนเขานำออกไปไม่ได้
จึงเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

(ในกรณีแห่งวิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามราคะ
และ พยาบาท (หรือปฏิฆะ)

ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ). 

อานนท์ ! ส่วน อริยสาวก

ผู้มีการสดับ
ได้เห็นพระอริยเจ้า
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ได้เห็นสัปบุรุษ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :-

 เธอมีจิตอัน สักกายทิฏฐิไม่กลุ้มรุม
อันสักกายทิฏฐิไม่ห่อหุ้ม อยู่.
อริยสาวกนั้นย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้น อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้
พร้อมทั้งอนุสัย.

(ในกรณีแห่ง วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามราคะ
และพยาบาท (หรือปฏิฆะ)

ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๙๐
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๔/๑๕๕. :

ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือ มรรค 

สงสัยใน มรรค ไม่ได้ เพราะมรรค คือหนทางแห่งการหลุดพ้น

 อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น แล้ว
จักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น :
นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;

เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก
ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน
แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น :
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้,

ฉันใดก็ฉันนั้น. ...... 
อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? 
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้

เพราะสงัดจากอุปธิ
เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงปฐมฌาน 
อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ;

เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
เป็นโรค
เป็นหัวฝี
เป็นลูกศร
เป็นความยากลำบาก
เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา)
เป็นของแตกสลาย
เป็นของว่าง
เป็นของไม่ใช่ตน.

เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้ว
จึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า
“นั่นสงบระงับ นั่นประณีต :
นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย
เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้

เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ
ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา
เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
 ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง
เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้
มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น
ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่า ปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น
แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน
ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ;
จนกระทั่งถึงข้อความว่า )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และ เพราะละทุกข์เสียได้
เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน
เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ
เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า
อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) ;
เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็ นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง
 เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น )
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า
“นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.
เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า
 “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. .
. . . ฯลฯ . . . .
(ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้
มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้
ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ
มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้
ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า
“อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่. .
. . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็ม ดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๔๑๑
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๕-๑๒๗/๑๕๖-๑๕๘. :

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การใช้ชีวิตของอริยบุคคลที่จะไม่เวียนวนอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไป 16 กรกฎาคม...



การใช้ชีวิตของอริยบุคคลที่จะไม่เวียนวนอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไป 

Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา

🙏🙏🙏
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน 
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง 
จองผ้ากฐินได้ที่...
https://katin.watnapp.com/register/register.php

🙏🙏🙏
💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย
: พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
 http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา,
ปทุมธานี 12150 โทรศัพท์: 086 360 5768 ๑๐.

อนุตตริยสูตร
 [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ 
สวนานุตตริยะ ๑ 
ลาภานุตตริยะ ๑ 
สิกขานุตตริยะ ๑ 
ปาริจริยานุตตริยะ ๑ 
อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก
หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลายทัสสนะนั้นมีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมี

ศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต
การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น 
มีความรักตั้งมั่น 
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว 
มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่าทัสสนานุตตริยะ 
ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ 

ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อฟัง 
เสียงกลองบ้าง
เสียงพิณบ้าง
เสียงเพลงขับบ้าง
หรือเสียงสูงๆต่ำๆ
ย่อมไปเพื่อฟังธรรม
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด

มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น 
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว 
มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ 

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ 

ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมได้ลาภ คือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง
หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง
หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น 
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมศึกษา ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง
รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง
หรือศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ
ย่อมศึกษาต่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งหมั่น 
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว 
มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง 
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ

 ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง
คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ
บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย 
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น 
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ

ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ 

ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อม ระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง
หรือการได้มากน้อย
ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธา ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย 
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น 
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง 
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ 
เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ 
ภิกษุเหล่าใดได้
ทัสสนานุตตริยะ 
สวนานุตตริยะ 
ลาภานุตตริยะ 
ยินดีในสิกขานุตตริยะ 
เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติ
ที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม 
ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท 
มีปัญญารักษาตน 
สำรวมในศีล 

ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์โดยกาลอันควร ฯ 

 จบอนุตตริยวรรคที่ ๓ พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๙๖ - ๒๙๙ ข้อที่ ๓๐๑

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อย่างไรถึงจะถือว่าดีที่สุด Buddhakos media สนทนาธรรม...

                                                    ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อย่างไรถึงจะถือว่าดีที่สุด   
        อยู่อย่างสำเร็จประโยชน์..ไม่คิดอดีต.ไม่หวังอนาคต.ปัจจุบันไม่ยึด""ผู้มีราตรหนึ่งเจริญ                    Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา

พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php

💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย :
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768

#อยู่อย่างสำเร็จประโยชน์..ไม่คิดอดีต.ไม่หวังอนาคต.ปัจจุบันไม่ยึด""ผู้มีราตรหนึ่งเจริญ
🙏🙏🙏
[๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขต พระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มี พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดง อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
 ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

 [๕๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว 
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่ มาถึง 
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว 
และสิ่งที่ ยัง ไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง 
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน 
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ 
บุคคลนั้นพึง เจริญธรรมนั้น เนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด 
พึงทำความเพียรเสียใน วันนี้แหละ 
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง 
เพราะว่าความ ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มี เสนาใหญ่นั้น 
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย 
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ 
มีความเพียร 
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและ กลางคืน
นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่ง เจริญ ฯ 

 [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
คือ รำพึงถึง ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

เราได้มีรูป อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วง แล้ว 
ได้มีวิญญาณ อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ

 [๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
คือ ไม่รำพึงถึง ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

เราได้มี รูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาล ที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ ล่วงแล้ว 
ได้มีวิญญาณ อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ

 [๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
คือ รำพึงถึง ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

ขอเราพึงมี รูปอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาล อนาคต 
พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต 
พึงมีสังขาร อย่างนี้ในกาลอนาคต 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ

 [๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
คือ ไม่รำพึง ถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า

ขอเรา พึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต 
พึงมีเวทนาอย่างนี้ใน กาลอนาคต 
พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต 
พึงมีสังขาร อย่างนี้ในกาล อนาคต
พึงมีวิญญาณ อย่างนี้ในกาลอนาคต 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

 [๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ

ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ 
เป็นผู้ไม่ได้เห็น พระอริยะ 
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ 
ไม่ได้ฝึก ในธรรมของพระอริยะ 
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ 
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ 
ไม่ได้ฝึก ในธรรมของ สัตบุรุษ

ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็น อัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
เล็งเห็นรูปในอัตตา บ้าง
เล็งเห็นอัตตาในรูป บ้าง

ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามี เวทนาบ้าง
เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในเวทนา บ้าง

ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความ เป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้างเล็งเห็นอัตตาในสัญญา บ้าง

ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
เล็งเห็นสังขาร ในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสังขาร บ้าง

ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็น อัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาใน วิญญาณบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

 [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ

อริยสาวก

ผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ 
เป็นผู้ได้ เห็นพระอริยะ 
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ 
ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ 
ได้เห็นสัตบุรุษ 
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ 
ฝึกดีแล้วใน ธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความ เป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็น อัตตาในรูปบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี เวทนาบ้าง
 ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
ไม่ เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
ไม่เล็งเห็นสัญญาใน อัตตาบ้าง
ไม่เล็ง เห็นอัตตาในสัญญาบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี สังขารบ้าง
ไม่เล็ง เห็นสังขารในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี วิญญาณบ้าง
ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
ไม่ เล็งเห็นอัตตา ในวิญญาณบ้าง

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

 [๕๓๔]
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว 
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ ยังไม่มาถึง 
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป แล้ว 
และสิ่งที่ยัง ไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง

ก็บุคคล ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น 
ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ ได้ 
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้น เนืองๆ 
ให้ปรุโปร่งเถิด 
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ 
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง 
เพราะว่าความผัดเพี้ยน กับมัจจุราชผู้มี เสนาใหญ่นั้น 
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย 
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ 
มีความ เพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน และกลางคืน 
นั้นแลว่า 
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวไว้ว่า
เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัย เนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล ฯ
 (ไทย)อุปริ.ม. ๑๔/๒๖๕/๕๒๖-๕๓๔

*กายคตาสติเป็นเสาหลักเสาเขื่อนของจิต*
พระพุทธเจ้า.ใช้อานาปานสติ.เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ 
ตั้งไว้..ในกาย..อาศัยเป็นวิหารธรรมได้
ตั้งไว้..ในเวทนา..ในส่วนของอุเบกขา..สุข ทุกข์ รีบละ รีบทิ้ง ตั้งไว้..
ในผู้รู้..คือ ให้รู้เฉยๆ
 ต้้งไว้..ในธรรม..คือ ให้เห็นอาการไม่เที่ยง จางคาย ดับไม่เหลือ สลัดคืน

วิหารธรรม ๔ อย่าง..ที่เที่ยวของจิต 
-- กายคตาสติ..
-การรู้ลมหายใจ
-การรู้ตามความเคลื่อนไหวอิริยาบถ
-สติอธิษฐานการงาน
-พิจารณาอสุภะ
-การเข้าฌาน ๑,๒,๓,๔ ---

[๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์
 ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร
 เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน
อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์
 ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจร คืออะไร? คือ

สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
 ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
 มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย 

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
 ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
 ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
 มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน
 อันเป็นโคจรของภิกษุ.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๘/๔๖๙ ข้อที่ ๖๙๘ - ๗๐๐ --

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ภพชาติ จะสั้นลงด้วยการฝึกสติกับสมาธิ เพราะเหตุใด

                                       ภพชาติ จะสั้นลงด้วยการฝึกสติกับสมาธิ เพราะเหตุใด                                                               Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562
                                      อาสาฬหบูชา
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน 
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง 
 https://katin.watnapp.com/register/register.php
🙏🙏🙏
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย :
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw

ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio

ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book

ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด

สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
 โทรศัพท์: 086 360 5768

โสดาบัน ๓ ประเภท
1.เอกพิชี มาเกิดยังภพมนุษย์เพียงครั้งเดียว 
2.โกลังโกละ ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ)
3.สัตตักขัตตุปรม ยังท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง

เสขสูตรที่ ๔ 
[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่ง กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉนคือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา สิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ ให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า เมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมด สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อ ยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และ เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึงยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบันเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือ ว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

 ***กำลังของพระเสขะ*** 
๑. อนนุสสุตสูตร
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุถึงบารมีอันเป็นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง ในธรรมที่ได้รู้ สดับแล้วในกาลก่อนจึงปฏิญาณได้ กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๕ ประการเป็นไฉน คือ
 กำลัง คือ ศรัทธา ๑
กำลัง คือ หิริ ๑
 กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
 กำลัง คือปัญญา ๑

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้ แล ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร
จบสูตรที่ ๑ 

๒. กูฏสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ 
กำลัง คือ ศรัทธา ๑
 กำลัง คือ หิริ ๑
 กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑
กำลัง คือ วิริยะ ๑
กำลัง คือ ปัญญา ๑
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดากำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอดเป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลังของ พระเสขะ ๕ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญา ก็เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉะนั้น เหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา จักประกอบด้วยกำลังคือศรัทธา ... กำลัง คือ หิริ ... กำลัง คือ โอตตัปปะ ...กำลังคือวิริยะ ... กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ 
- ไทย(ฉบับหลวง)๒๒/๙/๑๑-๑๒.

 วิภังคสูตรที่ ๑. (ความหมายของอินทรีย์ ๕) 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
 ● ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า #สัทธินทรีย์. 

● ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า #วิริยินทรีย์.

 ● ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูดที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า #สตินทรีย์.

 ● ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า #สมาธินทรีย์.

 ● ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนด ความเกิดความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า #ปัญญินทรีย์ .....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
 - พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕ ข้อที่ ๘๕๘-๘๖๓.

เครื่องวัดความเร็วในการบรรลุธรรมคือ อินทรีย์ ๕
ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ ภิกษุ ทั้งหลาย. !
ปฏิปทา ๔ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เป็นผู้มีปกติเห็น ความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร
มี สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน
ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า
: ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว 
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เป็นผู้มีปกติเห็น ความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร
มี สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ นั้นจึง
บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เพราะสงัดจาก กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึงบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน
(มีรายละเอียด ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง
บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ ความสิ้นอาสวะได้ช้า :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
เพราะสงัดจาก กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
จึงบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง
ภิกษุนั้นจึง บรรลุ อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.
จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

สังโยชน์สิบ
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

สักกายทิฏฐิ,
วิจิกิจฉา,
สีลัพพตปรามาส,
กามฉันทะ,
พยาบาท

เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

รูปราคะ,
อรูปราคะ,
มานะ,
อุทธัจจ,
อวิชชา

เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ. ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗ (ไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๖/๑๓

สังโยชน์ในอริยบุคคล 
[๘๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม
คือ” พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคล คือ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคล ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะพระองค์ว่า… 

บุคคลนั้น เป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน
เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมในกาลเบื้องหน้า
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป

… บุคคลนั้น เป็นสกทาคามี (กลับมาคราวเดียว) จะมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น
แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป
และเพราะ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลง

 บุคคลนั้น เป็นโอปปาติกะอานาคามี (ไม่ต้องกลับมาอีก)
จะปรินิพพานในภพนั้น เพราะทำสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างให้สิ้นไป
 … 
บุคคลนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคลอื่น
…” …ฯ…
 [๙๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์ ถูกเขาถามอย่างนี้ 
ตอบอย่างนี้ จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
แลหรือไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง แลหรือ
ชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม แลหรือ
ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน แลหรือ ?
 …”
 ถูกแล้ว สารีบุตร ! เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้ แก้อย่างนี้ นับว่า เป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ชื่อว่า กล่าวไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการโต้ตอบ อันมีเหตุอย่างไรๆ ก็มิได้มาถึงสถานะ อันควรติเตียน …ฯ…
 (ไทย) ปา. ที. ๑๑/๘๓/๘๖.

ละสังโยชน์สามและกรรมที่พาไปอบาย คือ โสดาบัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน).
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :-

ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ไม่ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ไม่ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา. 
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา. ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ :

- ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน);
ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรต ผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง);
ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย);
ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้ว
เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ดังนี้แล.
พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๓๑ (ไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๐/๓๖๐.

ลักษณะที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ 
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้ เป็นการอันสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.”
 อานนท  ! ในกรณีนี้

ปุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ
ไม่เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ไม่เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :

- เขามีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม แล้ว อันสักกายทิฏฐิห่อหุ้มแล้ว อยู่ ;
เขา ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง
จนเขานำออกไปไม่ได้ จึงเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

(ในกรณีแห่งวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และ พยาบาท (หรือปฏิฆะ)
ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ). 

อานนท์ ! ส่วน

อริยสาวกผู้มีการสดับ
ได้เห็นพระอริยเจ้า
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
ได้เห็นสัปบุรุษ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :

- เธอมีจิตอัน สักกายทิฏฐิไม่กลุ้มรุม อันสักกายทิฏฐิไม่ห่อหุ้ม อยู่.
อริยสาวกนั้นย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว,
สักกายทิฏฐินั้น อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้
พร้อมทั้งอนุสัย.
(ในกรณีแห่ง วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และพยาบาท (หรือปฏิฆะ)
ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).
 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๙๐ (ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๔/๑๕๕.

ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือ มรรค
 อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น
แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น :
นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;

เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน
แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้,
ฉันใดก็ฉันนั้น.
 ......
 อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? 
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ
เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
(ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ;

เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา)
เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึง
น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต :
นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้

เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็น
โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา
เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.

 อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร

จึง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
 .... ฯลฯ ....
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น
ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่า ปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น
แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน
ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้

เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และ เพราะละทุกข์เสียได้
เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน

เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้ โดยประการทั้งปวง
เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา

จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) ;
เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็ นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง
เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ) แล้วจึง
น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต :
นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.

เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ
(อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว

จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้ มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะ
ข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น
แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้,
จนกระทั่งถึงข้อความว่า)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว

จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็ม ดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . .
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๔๑๑
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๕-๑๒๗/๑๕๖-๑๕๘.

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อรูปภพ คือ อะไร Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ...


อรูปภพ คือ อะไร
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ  2562 อาสาฬหบูชา
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fkatin.watnapp.com%2Fregister%2Fregister.php%3Ffbclid%3DIwAR0qvSOfNpW85nrLnNWgkSt-qbVEMocEKXJwhayh1-IzqLJS-aT6lEPh32c&h=AT2-JuMpAumwwFAnUEN3bsSlBg8S4x6YcM8zoZcRvpIU84bRd-ooyfSq6YeleuFt8yKIZm8eSbQyOQLUaeDGYT2cTPA1FyAKmYR0g-nNs1ecEDj6VCGoqhf_u5BpT3bDoopdiRu-1Vla5e0K37edyme_5T6jDherLkCZPiM4Oy3T-aZIHB9mqPHv_U52HwAJ8ombw5C5RJV0-HppmXmu3SyZK5FHDMxnzBK3IEpe8lgF5KmVoigIJN_UfFXWMSnRLEKDwLSRZ3SPXDDaUAv1UPqUfeRcyN1V2mkn2XYBSn_ZGGGdkKDn0YL_OaYmM1RtZoVKUOjSV_Q1AFFqpmILvn2uzIhUXjByWUS4Ia8zne8jH2_E_0vs6tsUEfl_tzX-6MP6N4P5mogM-P8HYqRA9U8LZtVHz2KfvF33hG5dBKs7c5vJf4AkGvxHk6Fo2qYzL_4ROjHvmq1XGxRb4c9zbuY6GPxv3NqeZviHBr9vgfCvANmVi6FXxnf56vH7PyxGPnKk8US3DcsGI9W7pxRwlEpR3mq5TEGVX4f1p8YTERBdMzGsakDHJJZ3CkUnYAGfb_CZEEXNsw4R-a1omddUSPEoFP3U44BJuZ4Xd0PQEYyFUYDVi2Se2MEMQtwfzKHfneyMe1q_hntjmwd8vF9QSPG-GLKm1VOnfnLy8AmqZEYFwNVNIkAJehGSz-dpyCUZlw
💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
Buddhakos media สนทนาธรรมบ่ายวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ ศ 2562 อาสาฬหบูชา
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
https://youtu.be/-TYpKrEwCkw
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768

ภพคืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่า นี้คือ
:- กามภพ รูปภพ อรูปภพ.

2 ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ
ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ
ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภพภูมิ หน้า ๓ (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๙/๙๑. 

เครื่องนำไปสู่ภพ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้
 ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า ! 
และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น
เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า !

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี
 ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี
 นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี
 ตัณหา (ความอยาก) ก็ดี
 อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ)
 และอุปาทาน (ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส)
 อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย
 และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใดๆ

ในรูป
 ในเวทนา
 ในสัญญา
 ในสังขารทั้งหลาย 
และในวิญญาณ

กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’
ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้
 เพราะความดับไม่เหลือของ

กิเลส
 มีฉันทะ
ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง.
ภพภูมิ หน้า ๘ (ภาษาไทย)
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๒/๓๖๘.
 *********** ******

ความม่ีขึ้นแห่งภพ(นัยที่๑)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ–ภพ’ ดังนี้
ภพ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า!

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ

กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช

วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ

กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ

กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ภพภูมิ หน้า ๔ (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๒๑๑/๕๑๖.
********* *****

ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ 
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่
และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ
เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคล
ย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด 
ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด 
แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ 

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี 
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ถ้าว่าบุคคล
ย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย 
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย 
และย่อมไม่มีจิตฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย 

ในกาลใด ในกาลนั้น
สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์
เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย
เมื่ออารมณ์ไม่มี
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี 
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

ภพภูมิ หน้า ๙-๑๐ (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕. :
 **********

พี้นนาเลว..ธาตุอันทราบ.กามภพ. อกุศลกรรมบถ๑๐
#นรก #กำเนิดเดรัชฉาน #เปรตวิสัย #ทุคติใดๆ ปรากฎ..

กุศลกรรมบถ๑๐ #เทวคติ #มนุษยคติ #หรือสุคติอื่นใด #บรรดามี #ย่อมปรากฏ

------------ ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓-๒๘๙/๑๖๕. ********

****************************
รูปภพ.พื้นนาปานกลาง.
อารมณ์ของฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ เจริญ เมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา

#เจริญพรหมวิหาร=ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔
 (ก่อนฉัน watnapp 16 มกราคม เวลา 8:56 น.)
เมตตาเจโตวิมุตติ,= ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๑ กัป 
กรุณาเจโตวิมุตติ,=ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๒ กัป 
มุทิตาเจโตวิมุตติ,=ตติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๔ กัป 
อุเบกขาเจโตวิมุตติ =จตุตถฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดา อายุ ๕๐๐ กัป 

-- พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ ๒๗๕/๓๖๔ ข้อที่ ๕๗๔
http://etipitaka.com/read…
******

#ตายในสมาธิ #ตายในฌาน ๑ ๒ ๓ ๔

ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา อายุ ๑ กัป
ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ อายุ ๒ กัป
ตติยฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ อายุ ๔ กัป
จตุตถฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ อายุ ๕๐๐ กัป

-- #ตายจากเทวดา 
 -- ผู้ไม่ได้สดับ--ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง 
-ผู้ได้สดับ- ปรินิพพานในภพนั้น -- 

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กัปหนึ่ง เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา - ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง - ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

- อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

- อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข บุคคลนั้นพอใจชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่ ฯ

- อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่

 - ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
- พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๑๒๕/๒๔๐ ข้อที่ ๑๒๓
-- http://etipitaka.com/read…#

ลําดับแห่งการดับของสังขาร (อนุปุพพสังขารนิโรธ) 
ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลําดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้
คือ :-

เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ แล้ว อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ ;
เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๖๖.
(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒.

ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือ มรรค 
 อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด
เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น
แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น :
นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;

เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก
ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน
แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น :
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้,

ฉันใดก็ฉันนั้น. ...... 
อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? 
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ
เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ; เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้
เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ .... (ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่า ปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ .... ( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อนเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ.... ( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) ; เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็ นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น

ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. . . . . ฯลฯ . . . . (ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้ มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า) . . . . อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่
. . . . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็ม ดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . . อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย
หน้า ๑๔๑๑ (ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๒๕-๑๒๗/๑๕๖-๑๕๘.

  ***วิตก วิจาร ในปฐมฌาน*** 
ผู้ฉลาดในธาตุ 
ผู้ฉลาดในอายตนะ 
ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท

 🙏🙏🙏
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น อายตนะ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการ อย่างนี้ แล.
 - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๖-๘๐/๑๑๘-๑๒๔.

!!! ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ? !!!
[๒๓๗] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ ธาตุคือรูป ธาตุคือจักษุวิญญาณ ธาตุคือโสต ธาตุคือเสียง ธาตุคือโสตวิญญาณ ธาตุคือฆานะธาตุคือกลิ่น ธาตุคือฆานวิญญาณ ธาตุคือชิวหา ธาตุคือรส ธาตุคือชิวหาวิญญาณธาตุคือกาย ธาตุคือโผฏฐัพพะ ธาตุคือกายวิญญาณ ธาตุคือมโน ธาตุคือธรรมารมณ์ธาตุคือมโนวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ธาตุคือน้ำ ธาตุคือไฟ ธาตุคือลม ธาตุคืออากาศ ธาตุคือวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แลธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข ธาตุคือทุกข์ ธาตุคือ โสมนัส ธาตุคือโทมนัส ธาตุคืออุเบกขา ธาตุคืออวิชชา ดูกรอานนท์เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือเนกขัมมะ ธาตุคือพยาบาท ธาตุคือความไม่พยาบาท ธาตุคือความเบียดเบียน ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๓ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ธาตุคือรูป ธาตุคืออรูป ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๓ อย่าง แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
[๒๔๒] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหม ฯ พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๒ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
(บาลี ๑๔/๑๖๗/๒๓๗-๒๔๒)

!!! ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ !!!
[๒๔๓] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาด ในอายตนะด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือ จักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล อายตนะทั้งภายใน และภายนอกอย่างละ ๖ แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ฯ

!!! ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท !!!
[๒๔๔] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เมื่อเหตุนี้มีผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มีเพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะ สังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสอย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือจึงดับสังขารได้ เพราะสังขารดับจึงดับวิญญาณได้ เพราะวิญญาณดับจึงดับนามรูปได้ เพราะนามรูปดับจึงดับ สฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะดับจึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับจึงดับเวทนาได้ เพราะเวทนาดับจึงดับตัณหาได้ เพราะตัณหาดับจึงดับอุปาทานได้ เพราะอุปาทานดับจึงดับภพได้เพราะภพดับจึงดับชาติได้ เพราะชาติดับจึงดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสได้ อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฯ
(บาลี. ๑๔/๑๖๙/๒๔๓-๒๔๔.)