วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq นามกาย



#กายสักขีบุคคลเป็นไฉน (นามกาย)?

พระไตรปิฏก เล่ม ๒๑  พระสุตตันตปิฏก เล่มที่ ๑๒

อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

https://www.youtube.com/watch?v=us6F5ldHePU&feature=share

--

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ถูกต้องวิโมกข์ขั้นละเอียด

คืออรูปสมบัติ

ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่

และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป

เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา

-

บุคคลนี้เราเรียกว่า กายสักขีบุคคล

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า

กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้

ข้อนี้เป็นเพราะเหตุใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุเช่นนี้ว่า

ไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร

คบหากัลยาณมิตร

ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่

พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์

อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ต้องการให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ดังนี้

เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

--

กายสักขี แปลอีกอย่างหนึ่งคือหมายถึง ผู้มี กาย(อะไรตามที่ตรัสนั้น) เป็นสังขีพยานด้วยการประจักษ์ชนิดที่ปลอดอิสระจากนิวรณ์ทั้ง ๕ และ ฯลฯ

-

เช่น

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นกายสักขี (ท่านพุทธทาสแปลว่า ผู้มีการเสวยสุขด้วยนามกายเป็นพยาน) เป็นอย่างไรเล่า?

-

ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ถูกต้องวิโมกข์ทั้งหลาย อันไม่เกี่ยวกับรูป เพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ ด้วนนามกาย (ด้วยจิต+สติในสมาธิแบบนั้นๆ- ผมเสนอเอง) แล้วแลอยู่

-

อหนึ่ง อาสวะทั้งหลายบางเหล่า ของเขานั้น ก็สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา (ขั้นอริยบุคคลในะรรมวินัยนี้ แต่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะตรัสว่า อาสวะบางเหล่า ฯ)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นกายสักขี

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ยังมีอะไรๆ (อวิชชาอันเป้นอนุสัยขั้นอรหัตตผลมั๊ง) ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท ฯลฯ



(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๖๖)



อีกพระสูตรเป็น ผู้กายสักขี ตามคำของพระอานนท์.นวก อํ ๒๓/๔๗๒/๒๔๗



สรุป

กายสักขี = มีกายเป็นพยาน

แก้ไขเมื่อ 06 ม.ค. 50 13:28:09



จากคุณ : เซนเถรวาท

--

(ต่อ)

กายสักขี จึงมี ๒ แบบ (ในกรณีนี้..นอกตำรา) คือ

-

(๑) กานสักขี แบบที่ โยคีอื่นเขาทำได้ เช่น

อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส นั่นแหละครับ

-

(๒) กายสักขี แบบโยคีพุทธ เช่น ลูกศิษย์ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส มาประพฤติพรมจรรย์ เป็นสาวกของพระพุทธองค์ ..ตามที่ตรัส หรือตามที่พระอานน์ท์กล่าว

-

สรุปว่า

กายสักขี คำแรกของกระทู้้ ตรงกับ ข้อที่ ๑ และ ๒

-

ส่วนกายสักขีคำหลัง ก็คือ กายสักขี ที่คือ พระโสดา -อนาคา (ผู้เป็นตามข้อที่ ๑ และ ๒)..ตามที่ตรัสว่า ..เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา...กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้

-

สรุปสั้นๆ

กายสักขี คืออรูปฌานจิตนั่นเอง

-

หมายเหตุ

เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา (สัมมาญาณะ ตามสัมมัตตะ ข้อที่ ๙)..แล้ว ยังต่อตามมาด้วย หลุดพ้น (สัมมาวิมุตติ ..สัมมัตตะข้อที่ ๑๐)

-

จากคุณ : เซนเถรวาท -

--

[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้

โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ

ปฐมฌาน และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้น

ด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มี-

*พระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...

และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วย

อาการนั้นๆ ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัส

กายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุอากาสานัญจายตนะ ... และอายตนะนั้น

มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ ดูกร

อาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย

ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป

เพราะเห็นด้วยปัญญา และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้อง

อายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

จบสูตรที่ ๒ -

--

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร

การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้

เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้

เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลผู้สัทธาวิมุตตนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระ-

*อรหันต์ บุคคลผู้เป็นกายสักขี ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือ

พระอนาคามี ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดา

บุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ ไม่ใช่จะทำ

ได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ เป็นผู้

ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ บุคคลผู้สัทธาวิมุตตเป็นพระสกทาคามี หรือ

พระอนาคามี และแม้บุคคลผู้กายสักขีก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี

ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวก

นี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่าไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย ฯ

จบสูตรที่ ๑ -

--

ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระ

สารีบุตร บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ กาย

สักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑ บุคคล ๓ จำพวกนี้แล

มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ กระผมชอบใจบุคคลกายสักขี

ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมาธินทรีย์ของ

บุคคลนี้มีประมาณยิ่ง



ตอบละครับ...เพราะสมาธินทรีย์ของ

บุคคลนี้มีประมาณยิ่ง



จากคุณ : Chuck

--

ทั้งสามท่านชอบใจไปท่านละอย่าง...

พระบรมศาสดาไม่ได้ตรัสว่าดีกว่า ดีน้อยกว่า...

ก็พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน...



จับใจความได้อย่างนี้ครับ...



จากคุณ : Chuck

--

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

14 เสียงอ่านหนังสือ เดรัจฉานวิชา ชุดใหม่



เสียงอ่านหนังสือ เดรัจฉานวิชา กล่าวนำโดยพระอาจารย์คึกฤทธิ์

เสียงอ่าน โดย คุณศันสนีย์ นาคพงษ์ สุดยอดมาก อนุโมทนา สาธุๆๆ คะ

https://www.youtube.com/watch?v=YhQkh9n9c9c

พุทธวจน ต้าน เดรัจฉานวิชชา



Marut Achavanantakul

#ไม่อยากเชื่อ  แต่อย่างไรก็อนุโมทนา สาธุ  สาธุ  สาธุคะ ทำได้ดีมากๆ  คะ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

3D Drawing TATHAGATA | พระตถาคต 3D



#สิบพระสูตรที่ชาวพุทธต้องรู้

https://www.youtube.com/watch?v=fXNVsTZbtTU

๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ
เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง
กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ
ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่
ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิต
เป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้
อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก),
เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก),
เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก),
ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก),
อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐.
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ,
ตลอดเวลาระหว่างนั้น
ตถาคตได้กล่าวสอน
พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอัตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว :
กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่.
เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ,
พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม
เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น
นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง
ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่
เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต
จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง
จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำกล่าวของสาวก,
เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,
เธอจักฟังด้วยดี
จักเงี่ยหูฟัง
จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น
ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓,
-
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด
ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำกล่าวของสาวก
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า
“ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.
-
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้,
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
-
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อ
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณ ีนี้คือ ภิกษ ุทั้งหลายในบริษัทใด,
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา
-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง
คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง
โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ
สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่,
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง
ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว
ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน
ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.
-
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้
ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้
ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด,
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่,
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วน สุตตันตะเหล่าใด
อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง
เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง
ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถามซึ่งกันและกัน
ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้
บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น
คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป :
ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
-
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย
จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ
จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว,
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
-
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น
ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว
ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค)
เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค).
-
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค)
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย! นี้แล
เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
-
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้
เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก
ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก
ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก
ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
-
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต
คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท)
พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน
เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ,
เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป
สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์)
มีที่อาศัยสืบกันไป.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๒ (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ
พร้อมด้วยปาโมกข์
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก
เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง
เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม
ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร
เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ไม่ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
พึงลงสันนิษฐานว่า
“นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด”
เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
-
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ได้
พึงลงสันนิษฐานว่า
“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”
เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส.. นี้ไว้
อุปริ. ม. ๑๔/๕๓/๔๑
-
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว
พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้.
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา
-
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตามจักต้อง
-
มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
เป็นอยู่
-
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา,
ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.
-
มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘
-
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้
มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุรษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย....
เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...
เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.

พุทธวจน faq สัญญาเวทยิตนิโรธ กับการสิ้นอาสวะ



‪#‎ขันธ์ทั้งหลายดับลงไปในสัญญาเวทยิตนิโรธไม่ใช่ฐานะ‬
Cr.คุณคมสันห้องแบ่งปันธรรม วัดนาป่าพง
https://www.youtube.com/watch?v=GFMZIvwc4tk
เนื่องจากในเฟสบุคมีการถกกันถึง
เรื่องจิตตสังขารดับไปในสัญญาเวทยิตนิโรธ
มีคนกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า
‪#‎ขันธ์ทั้งหลายก็ดับลงไปในสัญญานั้น‬
ผมขออนุญาตโพสข้อความที่อ้างอิงดังกล่าวนี้
และขอโอกาสกล่าวถึงเรื่องนี้ ดังนี้ครับ
--
ขอตอบคุณอานนท์ด้วยพระสูตรว่า
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ...
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสการบรรลุโอกาสในที่แคบ
(ปัญจาลสูตร)
-
จากพระสูตรที่พระอานนท์กล่าวถึงคำพระพุทธเจ้า
การบรรลุโอกาสในที่แคบมีได้ตั้งแต่ในปฐมฌาน
จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
-
‪#‎ด้วยการเห็นด้วยปัญญาถึงการมีอยู่ของสัญญา‬
และการดับไปของสัญญานั้นในสมาธิแต่ละสมาธิ
ชื่อว่าเห็นถึงความไม่เที่ยงและดับไปได้ของสัญญานั้นๆ
เมื่อเห็นซ้ำอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ไถ่ถอน ทำให้สิ้นสุดไป
-
ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
เพราะความเบื่อหน่าย
เพราะความคลายกำหนัด
เพราะความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะ
ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น
อยู่แล้วไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า
"ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม"
(ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานปฺปตฺโต)
-
อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า
'ตทังคนิพพานตทังคนิพพาน' ดังนี้.
-
อาวุโส! ตทังคนิพพานนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?"
(พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).
อาวุโส !
ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม
เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่.
อาวุโส ! ตทังคนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุ
มีประมาณเท่านี้แล
เมื่อกล่าว โดยปริยาย.
(ในกรณีแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถาฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-
ญายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ
เนวสัญญานาสัญญายตนะมีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนอง
เดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌาน
ทุกประการและในฐานะ
-
เป็นตทังคนิพพาน โดยปริยาย.
-
ส่วนสัญ ญาเวทยิตนิโรธซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น
กล่าวไว้ในฐานะเป็นตทังคนิพพาน
โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ อีโมติคอน smile
-
อาวุโส !นัยอื่นอีกมีอยู่ :
ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่.
อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ.
อาวุโส!ตทังคนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
เมื่อกล่าวโดยนิปปริยาย. นวก. อํ. ๒๓/๔๗๕/๒๕๔
--
จากพระสูตรที่คุณอานนท์อ้างถึง มีดังนี้ครับ
ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้
เป็นธรรมมีในกาย เนื่องด้วยกาย
ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
จึงเป็นกายสังขาร
บุคคลย่อมตรึกย่อมตรองก่อนแล้ว
จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร
จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา
เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้นสัญญาและเวทนา
จึงเป็นจิตตสังขาร
-
เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ
[๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า
ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรม
คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
อย่างไหน ย่อมดับไปก่อน?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น
กายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง
-
จากที่พระสูตรกล่าวว่า สัญญาและเวทนา
เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร
เป็นสิ่งที่ถูกต้องว่า สัญญา และ เวทนา
เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
หากจะใช้ตรรกะก็คือว่า
สัญญาและเวทนาเป็นส่วนหนึ่งของจิตตสังขาร
จิตที่เข้าไปตั้งอาศัยในสัญญาและเวทนา
กล่าวว่าเป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
(ภิกษุณีกำลังแยก สัญญาและเวทนาออกจากจิต
ในจิตตสังขารโดยใช้คำว่า มีในจิต เนื่องด้วยจิต )
--
‪#‎ขอโอกาส‬
การปรุงแต่งนี้ว่า
สัญญาโดยความเป็นตน ตนมีในสัญญา เป็นตน
เวทนาโดยความเป็นตน ตนมีในเวทนาเป็นตน
กล่าวว่าเป็นจิตตสังขาร(สังขารขันธ์ปรุงแต่งจิตหรือวิญญาณ)
ดังนั้นการประจวบถึงพร้อมด้วยจิตตสังขารนี้
จึงประกอบไปด้วย
เวทนา สัญญา (เป็นส่วนของจิตตสังขาร)
และ สังขาร วิญญาณ (เป็นเครื่องทำให้ถึงพร้อม)
-
คุณอานนท์เหมารวมคำว่า จิตตสังขาร ดับ
คือ สัญญาและเวทนา สังขาร วิญญาณดับนั้น ไม่ถูกต้อง
-
เพรานางทินนาภิกษุณีกล่าวนำไว้ก่อนแล้วว่า
สัญญาและเวทนา เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร
-
... เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ...
จิตตสังขารดับทีหลัง
จากคำกล่าวของนางทินนาภิกษุณี
ไม่ได้หมายถึงสังขารและวิญญาณดับไป
แต่จิตตสังขารที่กล่าวไว้แต่ต้น
คือ ส่วนสัญญาและเวทนา
นี้เป็นจิตตสังขารที่ดับไปในสัญญาเวทยิตนิโรธ
-
วิญญาณย่อมถูกสังขารปรุงแต่งต่อไปว่า นี้เป็นเรา
-
เพราะความไม่ยินดี หมดซึ่งอุปาทานในขันธ์
บุคคลเป็นผู้มีสติออกจากสมาธิ
แล้วเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า
ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
อุปาทานในขันธ์นั้นไม่เป็นความติดตามของบุคคลนั้น
ย่อมไม่ยินดี ไถ่ถอน ถึงความสิ้นสุดไป
กระทำให้ไม่มีเหลือ แล้วมีจิตที่น้อมไปสู่
วิเวก วิราคะ อาศัยนิโรธ เป็นไปเพื่อความสลัดคืน
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานในขันธ์
ย่อมถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบได้อีก
ความหลุดพ้นมีอันไม่เสื่อมสูญ
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไม่มีภพใหม่อีก
---
ที่กล่าวว่าจิตตสังขารดับหมด ก็กล่าวผิดจากพุทธวจน
--
เจโตวิมุตติที่กำเริบคือ มิจฉาเจโตวิมุตติ เท่านั้น
(คือนิพพานของพวกเดียรถีย์เหล่าอื่น
ที่คิดว่าเขานั้นก็มีนิพพานของเขา)
-
พระศาสดาทรงตรัสว่าเจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี
-
เมื่อบรรลุเจโตวิมุตติแล้วการจะกล่าวว่ากลับกำเริบนั้น
ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ยกเว้น เจโตวิมุตติของสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเท่านั้น
ที่คิดว่านี้เป็นนิพพานของเขาแล้วแต่หากใช่ไม่
-
ที่กล่าวว่าพระสารีบุตรมีสติเข้า-ออกในสมาธิเนวสัญญาฯ
ยังควรกล่าวต่อไปว่าเพราะล่วงเนวสัญญาพึงเข้าสู่สัญญาเวทยิตฯ
ไม่ได้หยุดอยู่ที่เนวสัญญา ตามที่คุณสุพลกล่าวไว้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป
เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้นครั้น
แล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว
ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่าด้วยประการ
นี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว
ย่อมเสื่อมไปเธอไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่ายังมีธรรมเครื่องสลัด ออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่าผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
(อนุปทสูตร)
--
คำกล่าวนี้ถูกต้องตามพุทธวจนครับ
เมื่อเป็นผู้มีสติออกจากสมาธิผัสสะถึงความเป็นของว่าง
เพราะความดับไปแห่งเวทนาในกาลก่อน ผัสสะย่อมดับไป
คำกล่าวว่าไม่มีอะไรในสัญญาเวทยิตนิโรธ
--
จึงไม่ถูกต้องตามพุทธวจนเ
พราะนามรูปพร้อมทั้งวิญญาณ
ตั้งอยู่เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้
เพราะหากวิญญาณไม่เข้าไปตั้งอาศัยในนามรูปแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งชาติ ชรา มรณะ
จะไม่พึงมีขึ้นได้ เรื่องที่จะต้องรู้ด้วยปัญญา
(เพื่อให้เห้นถึงอริยสัจเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ)
-
พระศาสดาก็ทรงตรัสไว้แล้วว่าก็มีเพียงเท่านี้คือ
นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่
เพื่อการบัญยัติซึ่งความเป็นอย่างนี้นั่นเอง
ดังนั้นหากคุณสุพลคิดว่าทุกสิ่งดับไปหมด
แล้วปัญญาจะเกิดขึ้นมาเมื่อไรสิ่งใด
เป็นที่เข้าและออกจากสมาธิ ในเมื่อทุกสิ่งดับไปหมด
--
พระสูตรที่จะนำมากล่าว
ก็เป็นพระสูตรเดียวกับที่คุณอานนท์ยกกล่าวไว้
สัญญาและเวทนาเป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร
สัญญาและเวทนาเป็นธรรมที่จิตเข้าไปตั้งอาศัยอยู่(มีใน,เนื่องด้วย)
เพราะอาศัยซึ่งสังขารเป็นธรรมเครื่องปรุงแต่งจิตว่า
สัญญาและเวทนา นี้เป็นเรา(อัสมีติ)
---
ในเมื่อคิดว่าขันธ์ทั้งหลายดับไปหมดแล้ว
ในสัญญาเวทยิตฯ และยังไม่ใช่นิพพาน
จนกว่าจะมีการเข้าและออกจากสมาบัติ
แล้วเห็นแจ้งด้วยปัญญา จึงจะนิพพาน
ผมจะถามคุณอานนท์ย้อนกลับว่า
หากความคิดของคุณอานนท์เป็นจริง
สภาวะนั้นในสัญญาเวทยิตฯ ชื่อว่าเป็น สุญญตา
จะมีสิ่งใดที่คุณอานนท์กล่าวว่าจะมีการเข้า มีการออก อีกครับ
สติ ปัญญา เป็นสิ่งที่ดับไปหมดแล้ว
(คลองแห่งการเรียกและบัญญัติซึ่งธรรมทั้งหลายมีได้
เพราะขันธ์๕ นามรูป-วิญญาณ)
ตามความคิดของคุณอานนท์
กล่าวว่าจะเห็นด้วยปัญญานั้นไม่พึงมีได้
นิพพานนั้นจะมีได้อย่างไร
--
คุณอานนท์ใช้คำผิดครับ
คุณอานนท์ควรใช้คำว่า
วิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยอยู่ใน
รูปเวทนา สัญญา สังขาร ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอาศัยได้
โดยมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร นั้นเป็นอารมณ์
-
และจากที่คุณสมชายกรุณายกพระสูตรนั้น
พระศาสดาทรงตรัสว่าสังขาร(นั้นเป็นคำที่มีประมาณกว้าง)
ย่อมปรุงแต่งขันธ์ทั้งหลาย จิตนั้นพระศาสดาทรงตรัสว่า
ภิกษุ ท.! ทำ ไมเขาจึงกล่าวกันว่า วิญญาณ ?
ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง (วิชานาติ)
เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ
-
ดังนั้นวิญญาณหรือที่เรียกว่าจิตนั้น
การกล่าวว่าไปปรุงแต่งขันธ์ทั้งหลายนั้น
ย่อมชื่อว่ากล่าวตู่คำพระศาสดาด้วยถ้อยคำที่ตนถือเอาผิด
เพราะตนเองจับฉวยเอาผิดในธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว
--
เพราะผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้แล้วเท่านั้น
ย่อมกล่าวอะไรเป็นอะไรได้
ไม่ใช่เป็นการตีความเอาเองจากพุทธวจนเพียงอย่างเดียว

พุทธวจน faq พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนเรื่อง วิภวตัณหา อย่างไร



[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ



ทุกขอริยสัจ



ทุกขสมุทยอริยสัจ



ทุกขนิโรธอริยสัจ



ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.







[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?



ควรจะกล่าวว่า อายตนะ ภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน? คือ อายตนะคือตา หู จมูก ลิ้น กาย อายตนะคือใจ นี้เรียก ว่า ทุกขอริยสัจ.







[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?



ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.







[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?



ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่ง ตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกข นิโรธอริยสัจ.







[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?



อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.







[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้



ทุกขอริยสัจ



ทุกขสมุทยอริยสัจ



ทุกขนิโรธอริยสัจ



ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.











(ไทย)มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๓/๑๖๘๔-๑๖๘๙

https://www.youtube.com/watch?v=xw4PBEmdN7U

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน 2_2015-05-03



นาท จันหอม ขอโอกาสครับ
ปุจฉา..ฯ ผู้ที่บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสัตตาวาส หรือ ?
--
Cr.Boonrat Toncharoen สำหรับคำถาม ของผู้ตั้งกระทู้ 
เชิญพิจารณาจากพระสุตรนี้ ๖. นิโรธสูตร
‪#‎สัญญาเวทยิตนิโรธ‬..ไม่เป็นทั้ง..วิญญาณฐิติ.และ สัตตาวาส ๙ ที่อยู่ของสัตว์
(สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีที่เกิด..สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็น อายตนะ แต่ไม่ได้เป็นภพ) link;; พระอาจารย์แสดงธรรม ประมาณนาทีที่ 45.32
https://www.youtube.com/watch?v=RoilVWEGQv0&feature=share
--
๖. นิโรธสูตร
[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิถึงพร้อมด้วยปัญญา
.............พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
.............พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้
.............ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้
.............เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา
.............เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า
พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
เสริมว่า พระสูตรนี้ เมื่อพระสารีบุตร กล่าวจบ พระอุทายี คัดค้าน ถึง ๓ ครั้ง
แล้วเหล่าภิกษุทั้งหลายเข้าไปพบพระผู้มีพระภาค เล่าเนื้อความทั้งหมด พระผู้พระภาค ไม่ตรัสแก้ไข แต่ตรัสตำหนิเหล่าภิกษุ ที่คัดง้างคำของพระสารีบุตร นั้นย่อมแสดงว่า พระองค์รับรองคำของพระสารีบุตร
หากใครต้องการศึกษาพระสูตรเต็ม เชิญเข้าไปอ่านตามที่อ้างอิงไว้ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=RoilVWEGQv0&feature=share

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเอาเงินใส่ซองผ้าป่า จะทำให้คุณสมบัติโสดาบันบกพร่องหรือไม่?



‪#‎การบำรุงที่ประเสริฐ‬
https://www.youtube.com/watch?v=Ln12a-XYK5I
ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง 
บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำบำรุงสมณะหรือพราหมณ์
-
ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว
-
... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
-
การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่า
การบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
แห่งสัตว์ทั้งหลาย ...
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า
ปาริจริยานุตตริยะ
--
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๙๖-249 ข้อที่ ๓๐๑

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จิตและเจตสิกอยู่ในขันธ์ห้าหรือไม่?



คำถาม

1.เจตสิก คืออะไร มีความหมายอย่างไร

2.เจตสิก ทำงานอย่างไร

3.เจตสิก ในพุทธวจน มีกี่ดวง

4.เจตสิก มีความสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อประกอบในการปฏิบัติ ด้วยหรือไม่

5.เจตสิก เกี่ยวข้องกับการเจริญสติปักฐาน 4 เพื่อความพ้นทุกข์ ด้วยหรือไม่

---

https://www.youtube.com/watch?v=114jV8TT_tU

Cr.คุณคมสัน ห้องแบ่งปันธรรม วัดนาป่าพง

เจตสิกที่พระองค์ตรัสว่า เป็นคำที่ใช้ร่วมกับคำอื่น เช่น

เจตสิกมฺปิ

เจตสิกํ ทุกฺข

เจตสิกํ อสาต

อาภิเจตสิกาน

เจตสิกฺจ

ซึ่งคำ“เจตสิก” จะมีความหมายคล้ายกันคือ

หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดทางใจ

โดยมีความแยกสภาวธรรมนี้ต่างจากทางกายเป็นความเปรียบเทียบ

หากท่านสนใจจริงๆ ให้ไปค้นหา โดยพิมพ์คำว่า เจตสิก ในการค้นหาภาษาบาลี

และลองเทียบเคียงกับภาษาไทย โดยอาศัยการแปลอักษรแบบตัวต่อตัว

จะได้ความรู้จากตรงนี้ครับ

--

คำถาม

1.เจตสิก คืออะไร มีความหมายอย่างไร

เป็นสภาวะธรรมอันเนื่องด้วยจิต

2.เจตสิก ทำงานอย่างไร

ไม่มีการทำงานของเจตสิก เพราะเป็นสภาวะธรรมอันเกิดจากจิต(ผู้รู้แจ้งในอารมณ์) เข้าไปตั้งอาศัยแล้วในนามรูป จึงเกิดสภาวะเจตสิกเหล่านี้ขึ้น

3.เจตสิก ในพุทธวจน มีกี่ดวง

เท่าที่ภันเตโตโตค้นหาได้ในพุทธวจน มี กล่าวคำว่า เจตสิก ๙ แห่ง เจตสิกไม่ได้ถือการนับว่าเป็นดวง

4.เจตสิก มีความสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อประกอบในการปฏิบัติ ด้วยหรือไม่

อาการใดของจิตอันเกิดจากการตั้งอาศัยแล้วในนามรูป อาการเหล่านั้น พึงรู้ได้ด้วยสติ เป็นธรรมเครื่องกั้นกระแสแห่งธรรมทั้งหลายอันเกิดขึ้นแก่จิต แล้วนำกลับเข้ามาสู่กาย อันเป้นเสาเขื่อนเสหลักแห่งจิต เพราะจิตนั้นเป็นธรรมชาติที่เกิดและดับไปตลอดวันตลอดคืน ยากที่จะเห็นถึงความไม่เที่ยง แต่กายนี้ ที่เป็นเครื่องอยู่ของจิต แม้เสื่อมไปเพราะคงอยู่ไม่ได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ มีความคับแค้น เป็นไปเพื่ออาพาธ แปรปรวนไปได้ ก็ยังจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงถึงความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนของเราของสิ่งที่เรียกว่า กาย เห็นได้ง่ายกว่าจิต นี้เป็นการเห็นถึงอริยสัจ ๔ อันเป็นสิ่งที่มนุษย์เกิดมาต้องรู้เป็นอันดับแรก

5.เจตสิก เกี่ยวข้องกับการเจริญสติปักฐาน 4 เพื่อความพ้นทุกข์ ด้วยหรือไม่

เจตสิกนั้น เป็นสภาวะธรรมอันเกิดเนื่องด้วยจิต หากเข้าไปประกอบกับคำอื่นๆ ก้เป็นการขยายความหมายของคำที่มาร่วมประกอบนั้นโดยเป้นอาการที่เกิดขึ้นจากจิตนั้นครับ เช่น เจตสิกํ ทุกฺข แปลว่า ทุกขเวทนาอัน

เกิดขึ้นในจิตกระทบเข้าแล้ว

--

ส่วนที่สาวกบัญญัติขึ้นมาเองนั้น เจตสิกเป็นดวงๆมีหลายๆดวงนั้น

นั่นไม่ใช่เป้นสิ่งที่ต้องเงี่ยโสตลงฟัง

เป็นคำแต่งใหม่ ไม่ควรฟังด้วยดี และตั้งจิตไปเพื่อจะรู้ทั่วถึงคำเหล่านั้น

พึงละทิ้งไปเสียครับ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือซึ่งทุกข์เลย

ควรมาศึกษาอริยสัจ ๔ นะครับ

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq คำเรียก อาวุโสและภันเต



‪#อาวุโส #ภันเต‬

[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า

ดูกรอานนท์

บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า

ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว

พระศาสดาของพวกเราไม่มี

ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด

เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ

ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็น ศาสดาของพวกเธอ

โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ดูกรอานนท์

บัดนี้

พวกภิกษุยัง เรียกกันและกันด้วยวาทะว่า อาวุโส

ฉันใด โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ไม่ควรเรียกกัน ฉันนั้น

ภิกษุผู้แก่กว่า พึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือโคตร

หรือโดยวาทะว่า อาวุโส

แต่ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภันเต หรืออายัสมา

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐

สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๑๒๓ ข้อที่ ๑๔๑ - ๑๔๒

https://www.youtube.com/watch?v=-W2iF-OyHyU&feature=share

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน-วัตตโกตูหลมงคลคืออย่างไร?



วัตตโกตูหลมงคล

เป็นมงคลภายนอก ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่นคือเป็นข้อปฎิบัติทางกายทางวาจา ตามความเห็นความเชื่อของชนเหล่าอื่น

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมรู้ชัดว่าความมุ่งหมายในศาสดาอื่นนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะพึงมีได้

ไม่อาจหวังการเข้าถึงความบริสุทธิ์ด้วยโกตุหลมงคล

ย่อมเป็นผู้เคารพยำเกรง และ ศรัทธาหยั่งลงมั่นอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ผู้มาสู่ทิฏฐิเป็นผู้มีความเห็นว่าสุขทุกข์นั้นเป็นธรรมอันมีผัสสะเป็นเหตุเกิด นี้เรียกว่า พระโสดาบัน

เป็นผู้ได้สดับในธรรม ถึงแล้วซึ่งกระแสแห่งธรรมที่ได้สดับแล้วนั้น

พระโสดาบันเป็นผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม เที่ยงแท้ต่อพระสัทธรรม

มีญาณ(ความรู้)ที่ไม่มีในคนทั่วไป เป็นผู้เห็นธรรมทั้งหลายที่เกิดมาแต่เหตุและความดับไปแห่งเหตุนั้น

ย่อมรู้ชัดซึ่งความไม่เที่ยงแห่งสังขารใดๆ

พระโสดาบันละซึ่งวัตตโกตูหลมงคลได้ด้วยอาการนี้

https://www.youtube.com/watch?v=H1UF2pGfJnA

พุทธวจน faq มิจฉาทิฐิหรือความเห็นที่ผิด เกี่ยวกับเรื่องกรรม มีอะไรบ้าง



#‎มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม‬ ๔

‪#‎คติที่ไปของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ‬ คือ นรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน

‪#‎แก้กรรมด้วยมรรคแปดเท่านั้น‬

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากตัวเองบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นและตนเองบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆโดยปราศจากเหตุผล

**

https://www.youtube.com/watch?v=Eg9uGyBDfR8&list=PL6nMBlgRW-y7NHqRWc9P_Y_rBc-IgWNS2

นิทานสัมภวะ(แดนเกิด)แห่งกรรมทั้งหลายเกิด จากผัสสะ

และกัมมนิโรธ(ความดับกรรม)แห่งกรรมทั้งหลาย

ย่อมมีเพราะความดับไปแห่งผัสสะ

**

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้

ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?" ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำ เฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทน า (ความ รู้สึกต่ออารมณ์)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้

ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณ หา (ความอยาก)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้

หากเราได้กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า

"ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า

"ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย

ชรา มรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย

จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

.

.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๑/๒๘๘ ข้อที่ ๓๑-๓๗

..

http://etipitaka.com/read…#

--

ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด

ดูกรนายคามณี

ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ

นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง

ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ

---

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๓๑๔/๔๐๒ ข้อที่ ๕๘๙-๕๙๑

http://etipitaka.com/read…

--

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq เกิดมาไม่ได้พบพุทธวจน พบแล้ว แต่กลับเป็น ผู้เห็นอยู่ย่อมไม่เห็น



#เห็นอยู่ย่อมไม่เห็น

https://www.youtube.com/watch?v=Ht55ggOgGjA

ดูกรจุนทะ ได้ยินว่า อุทกดาบสรามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไร จึงชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นพื้น แห่งมีดโกนอันลับดีแล้ว แต่จะไม่เห็นคมแห่งมีดโกนนั้น



ดูกรจุนทะ ข้อนี้อันอุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็น



ดูกรจุนทะ ก็คำนี้ นั้นแล อันอุทกดาบสรามบุตรกล่าวแล้ว เป็นคำเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของ ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะหมายเอา มีดโกน เท่านั้น



ดูกรจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนั้นใดแลว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็นดังนี้ บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไร จึงชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นอยู่อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์อันสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วย อาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดา กล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็น พรหมจรรย์อันท่านผู้เป็นศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล



ในคำนั้น บุคคลพึงนำคำนี้ว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น ออกเสีย บุคคลเห็นอยู่ ซึ่งพรหมจรรย์ นั้นอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลพึง นำคำนี้ว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้นเข้าไว้ในคำนั่น บุคคลเห็นอยู่ซึ่งพรหมจรรย์นั้น อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่าพึงมี ดังนี้



ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลชื่อว่า ย่อมไม่เห็นพรหมจรรย์นั่น นี้แหละเรียกว่า



"บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็น"



ดูกรจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวพรหมจรรย์ อันสมบูรณ์ด้วยอาการ ทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศดีแล้วดังนี้ บุคคลเมื่อกล่าวโดย ชอบพึงกล่าว พรหมจรรย์นั่นนี้ว่า พรหมจรรย์อันสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศดีแล้ว ดังนี้ ฯ











(ไทย) ปา. ที. ๑๑/๙๙/๑๐๗.

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเจริญพุทธานุสติ [มรรควิธีที่ลัดสั้นตรง ทำให้เห็นเกิดดับและเข้าถึงวิมุ...



#เจริญพุทธานุสติ  #ไม่ใช่การท่องบริกรรมชื่อตถาคต

อนุสสติภาวนา เป็นสิ่งที่เจริญได้ในทุกอริยบท

**********************************************

https://www.youtube.com/watch?v=NgfjFq94SO0&list=LL-68WAo39zQU9d_p2AxGsXw&index=17

มหานาม เธอพึงตามระลึกถึงตถาคตว่า

แม้เพราะเหตุอย่างนี้อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

เป็นผู้ใกลจากกิเลส

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เป้นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นผู้ที่สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เ

ป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.

มหานาม สมัยใด อริยสาวกตามระลึกถึงตถาคตอยู่

สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้น ไม่มีราคะกลุ้มรุม

ไม่มีโทสะกลุ้มรุม ไม่มีโมหะกลุ้มรุม

สมัยนั้น จิตของเธอนั้น เป็นจิตดำเนินตรงไปทีเดียว

มหานาม อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภตถาคต

ย่อมได้ความรู้สึกต่ออรรถ(อตถเวท)

ย่อมได้ความรู้สึกต่อธรรม(ธมมเวท)

ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม

เมื่อปราโมทย์แล้ว ปิติย่อมเกิด

เมื่อใจมีปิติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับย่อมเสวยสุข

เมื่อมีสุข จิตย่อมมีสมาธิ

มหานาม เธอพึงเจริญพุทธานุสตินี้ แม้เมื่อเดินอยู่

พึงเจริญแม้เมื่อยืนอยู่

พึงเจริญแม้เมื่อนั่งอยู่

พึงเจริญแม้เมื่อนอนอยู่

พึงเจริญแม้เมื่อกำลังทำงานอยู่

พึงเจริญแม้เมื่อนอนเบียดบุตรอยู่บนที่นอน

เอกาทสก.อํ.๒๔/๓๖๑/๒๑๙.

(ในกรณีแห่งการเจริญธัมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกัน)

...................................................

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq จิตหดหู่ แก้อย่างไร



อัคคิสูตร | เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.

คลิปแสดงธรรมโดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

Fanta Chaleeporn

17 มกราคม · มีการแก้ไข ·  ·

https://www.youtube.com/watch?v=BM5FqHXPwV0

‪#‎เจริญโภชฌงค์ตามกาล‬

ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี

(ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐)

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้

ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย

สมัยใด จิตหดหู่

สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน

เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน?

สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน

สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน

เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน?

พวกอัญญเดียร์ถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว

จักแก้ไม่ได้เลย

และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์

ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้

เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต

หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็สมัยใด จิตหดหู่

สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตหดหู่

จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อย

ให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด

ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น

บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟดวงน้อย

ให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?

ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย

สมัยใด จิตหดหู่

สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตหดหู่

จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็สมัยใด จิตหดหู่

สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตหดหู่

จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อย

ให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง

ไม้แห้ง เอาปากเป่าและไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น

บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อย

ให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?

ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย

สมัยใด จิตหดหู่

สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตหดหู่

จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน

สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น

ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น

เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่

เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง

ไม้แห้งเอาปากเป่า

และ ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น

บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?

ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด

จิตฟุ้งซ่าน

สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตฟุ้งซ่าน

จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน

สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตฟุ้งซ่าน

จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่

เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ

และโรยฝุ่นลงในกองไฟใหญ่นั้น

บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้น

ได้หรือหนอ?

ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย

สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน

สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะจิตฟุ้งซ่าน

จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

เรากล่าว

‪#‎สติแลว่ามีประโยชน์ในที่ทั้งปวง‬.

-

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๘/๕๖๘.

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=138&volume=19

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq อุปมาเรื่องใบไม้ในกำมือมีแง่มุมอย่างไร และผู้ที่มักยกอุปมานี...



#ใบไม้นอกกำมือ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์

ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด

ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็น

ไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นเพื่อความรู้พร้อม

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน, ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวสอน.

--https://www.youtube.com/watch?v=Ir1HeUwff_c

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกำใบไมสีสปา

ที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินขึ้นมาหน่อยหนึ่ง

แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า :

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร,

ใบไม้สีสปาที่เรากำขึ้นหน่อยหนึ่งนี้มาก

หรือว่าใบไม้สีสปาที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมีมาก ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ !

ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคทรงกำขึ้นหน่อยหนึ่งนั้นเป็น ของน้อย

ส่วนใบไม้ยังอยู่บนต้น สีสปาเหล่า นั้นย่อมมีมาก”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น

ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่ง

แล้วไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วนที่นำมาสอน.



ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่า เราจึงไม่กล่าวสอนธรรมะส่วนนั้นๆ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ธรรมะส่วนนั้นๆ

ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์

ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด

ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็น

ไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นเพื่อความรู้พร้อม

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน, ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวสอน.



ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะอะไรเล่า เป็นธรรมะที่เรากล่าวสอน ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะที่เรากล่าวสอน คือ ข้อที่ว่า

ความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ,

เหตุเป็นที่เกิดของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ,

ความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ, ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ .

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุไรเล่า ธรรมะส่วนนี้เราจึงนำมากล่าวสอน ?



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าธรรมะส่วนนี้ ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์

เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย

เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ

เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน,

เพราะเหตุนั้นแล เราจึงนำมากล่าวสอน.



พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๘๔

(ไทย)มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๔/๑๗๑๒

พุทธวจน faq การเจริญพุทธานุสติ



พุทธานุสสติ

https://www.youtube.com/watch?v=TtVgS9iJLG0

มหานาม ! เธอ พึงตามระลึกถึงตถาคตว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.



มหานาม ! สมัยใด อริยสาวกตามระลึกถึงตถาคตอยู่; สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้น ไม่มีราคะกลุ้มรุม ไม่มีโทสะกลุ้มรุม ไม่มีโมหะกลุ้มรุม, สมัยนั้นจิตของเธอนั้น เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว



มหานาม ! อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภตถาคต ย่อมได้ความรู้สึกต่ออรรถ (อตฺถเวท) ย่อมได้ความรู้สึกต่อธรรม (ธมฺมเวท) ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ.



มหานาม ! เธอ พึงเจริญพุทธานุสสตินี้แม้เมื่อเดินอยู่ พึงเจริญแม้เมื่อยืนอยู่ พึงเจริญแม้เมื่อนั่งอยู่ พึงเจริญแม้เมื่อนอนอยู่ พึงเจริญแม้เมื่อกำลังทำงานอยู่ พึงเจริญแม้เมื่อนอนเบียดบุตรอยู่บนที่นอน.



(ไทย) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๐๘/๒๑๙.

(บาลี) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๖๐/๒๑๙.