วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

โยคะ๔

โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กามโยคะ ๑
ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายก็กามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความ
เยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกามความเร่าร้อนเพราะกาม ความ
หยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกามในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากาม
โยคะ กามโยคะเป็นดังนี้ ก็ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด
ความดับคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัด
ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะ
ภพ ในภพทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าภวโยคะ กามโยคะ ภวโยคะเป็นดังนี้ก็ทิฏฐิโยคะ
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับคุณ โทษ และอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะ
ทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิ
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะเป็นดังนี้ ก็อวิชชา
โยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้
ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่อง
เศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและ
มรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการ
เหล่านี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความ
พรากจากกามโยคะ ๑ ความพรากจากภวโยคะ ๑ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑ ความพรากจากอวิชชา
โยคะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่ง
ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขา
รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม ความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะความพรากจากกามโยคะเป็น
ดังนี้ ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลายตามความ
เป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่น
เพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยาน
อยากเพราะภพ ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ ความพรากจาก
กามโยคะความพรากจากภวโยคะ เป็นดังนี้ ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลิน เพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความ เร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงในทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิทั้งหลายย่อม ไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากกามโยคะความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากอวิชชาโยคะ ความพรากจาก กามโยคะ ความพรากจากภวโยคะความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ บุคคลผู้พรากจากอกุศล ธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์ เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ นี้แล ฯ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่ สงสาร ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและ ภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอก อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้ พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๙ - ๑๑ ข้อที่ ๑๐.

บทสวด แก้ความหวาดกลัว : พุทธวจนฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจ...





💞💞💞ชวนสวดมนต์(เช้า-เย็น)คำพระพุทธเจ้า💞💞💞
บทสวด แก้ความหวาดกลัว : พุทธวจนฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต
คลิปเพจ
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=9LNDvLc0KwY
ดาวน์โหลดไฟล์เสียงเต็มๆ ได้ที่ :
http://watnapp.com/audio/view_category/77/2009
ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
บทสวดแก้ความหวาดกลัว
อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ
ภิกขะโว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายอยู่ในป่า
หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่างก็ตาม
อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากัง
โน สิยา
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวก็จะไม่พึงมีแก่พวกเธอทั้งหลาย
โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง
นะราสะภัง
แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้เจริญแห่งโลก เป็นผู้ประเสริฐ
แห่งนรชน มิได้ไซร้
อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง
สุเทสิตัง
ก็พึงระลึกถึงพระธรรม
อันเป็นเครื่องนำ ออกจากทุกข์
ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด
โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง
สุเทสิตัง
แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระธรรม
อันเป็นเครื่องนำ ออกจากทุกข์
ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว มิได้ไซร้
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง
อะนุตตะรัง
ก็พึงระลึกถึงพระสงฆ์
ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าเถิด
เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ
ภิกขะโว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย
ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส
นะ เหสสะตีติ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
จักไม่มีเลย ดังนี้.




มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๗/๑๔๑๒.

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บทสวด ระลึกถึง พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ : : พุทธวจนฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม อ...





🙏บทสวด ระลึกถึง พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ : : พุทธวจนฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต 🙏
คลิปเพจ + พระสูตร
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1544511298949774/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=jspbMGYkQXk
ดาวน์โหลดไฟล์เสียงเต็มๆ ได้ที่ :
http://watnapp.com/audio/view_category/77/2009
ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
----
👼👼👼บทสวด ระลึกถึงพระพุทธเจ้า : พุทธวจนฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต🙇🙇🙇
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1538899289510975/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=50RP4u7i46U&feature=youtu.be
ดาวน์โหลดเสียงอ่านเต็มๆ ได้จาก link; 
http://watnapp.com/audio/view_category/77/2007
ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
🙏🙏🙏 บทสวดระลึกถึงพระพุทธเจ้า 🙏🙏🙏
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปัชชะติ
ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
ภะคะวา
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
โส อิมัง โลกัง
ตถาคตนั้น ทำ ให้แจ้งซึ่งโลกนี้
สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง๎ สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง
กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์
สะยัง อภิญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม
โส ธัมมัง เทเสสิ
ตถาคตนั้น แสดงธรรม
อาทิกัล๎ยาณัง
ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัล๎ยาณัง
ไพเราะในท่ามกลาง
ปะรโิยสานะกัล๎ยาณัง
ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณังปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสติ
ประกาศพรหมจรรย์ คือ
แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้
อุปริ. ม. ๑๔/๑๗/๑๖.
---
บทสวด ระลึกถึงพระธรรม:: พุทธวจนฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต 
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1542197439181160/
คลุปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=EWl5ux1DUj4&feature=youtu.be
ดาวน์โหลดไฟล์เสียงได้เต็มๆ ที่ ::
http://watnapp.com/audio/view_category/77/2008
ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
😇บทสวดระลึกถึงพระธรรม
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
สํ. มหาวาร. ๑๙/๔๒๗/๑๔๑๒
---
👼บทสวด ระลึกถึงพระสงฆ์ : พุทธวจนฉบับ ๑๐ สาธยายธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต 👼
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/permalink/1543594342374803/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=kcGTUFflMFs
ดาวน์โหลดไฟล์เสียงเต็มๆ ได้ที่ :
http://watnapp.com/audio/view_category/77/2009
ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::
http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)
http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)
http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)
http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)
บทสวดระลึกถึงพระสงฆ์
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม
เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คีือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั้น แหละ คือสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำ มาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย
เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำ อัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๗/๑๔๑๒.