วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ปฏิจสมุปบาท สังสารวัฏ มค.55 พุทธวจน



พระอาจารย์แจกแจง..เรื่องกรรมที่ควรทราบ..กรรมที่เป็นอจินไตย..และเรื่องอจินไตย ประมาณนาทีที่ 1.26

https://www.youtube.com/watch?v=86Q27k0xknI

‪#‎เรื่องที่ไม่ควรคิด‬

‪#‎อจินติตสูตร‬

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้

อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด

พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน

อจินไตย ๔ ประการ เป็นไฉน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑

ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑

วิบากแห่งกรรม ๑

ความคิดเรื่องโลก ๑

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อจินไตย ๔ ประการนี้แล

ไม่ควรคิด

เมื่อบุคคลคิด

พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า

เดือดร้อน ฯ

จบสูตรที่ ๗

-

(องฺ.จตกฺก.21/76/104)

--

#กรรมที่ควรทราบ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น

-

เราอาศัยอะไรกล่าว ..

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

-

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ..

ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

-

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ..

กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี

ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี

ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี

ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี

ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี

นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

-

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ

เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ ..

กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑

กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑

กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑

นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม

-

ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ..

ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ

-

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ..

สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม

---

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม

เหตุเกิดแห่งกรรม

ความต่างแห่งกรรม

วิบากแห่งกรรม

ความดับแห่งกรรม

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ

--

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส

เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกรรมฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน_2015-04-26



ถ้ายังละสิ่งที่ควรละไม่ได้...รูป..เสียง..กลิ่น..รส..(กามคุณ๕ ยังไม่ได้)..ก็จะฟังธรรมะชั้นลึก..ที่ละเอียด..ลึกซึ่ง..ปราณีต..ไม่เข้าใจ..เป็นธรรมดา..ประมาณนาทีที่ 57

เข้าใจกฎอิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท จะเข้าใจเรื่องกรรม,ภพชาติ,โลกนี้โลกห...



พาหิยะ ! เมื่อใดเธอ
เห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น,
ได้ฟังเสียงแล้ว สักว่าฟัง,
ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย, ก็สักว่าดม, ลิ้ม, สัมผัส,
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว;
เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี.
เมื่อใด “เธอ” ไม่มี;
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้,
ไม่ปรากฏในโลกอื่น,
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.

มรรควิธีที่ง่าย หน้า ๗๔
(ภาษาไทย) อุ. ขุ. ๒๕/๕๘/๔๙
--
สักแต่ว่า...(นัยที่ ๒)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา
เป็นคนแก่คนเฒ่ามานานผ่านวัยมาตามลำดับ.
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ
ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ
ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงเป็นทายาท
แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”.
-
มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
รูปทั้งหลาย อันรู้สึกกันได้ทางตา
เป็นรูปที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น
ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี
ที่ท่านคิดว่าท่านควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว
ความพอใจก็ดีความกำหนัดก็ดี
ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น ย่อมมีแก่ท่านหรือ ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”.
(ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถามและการทูลตอบในทำนองเดียวกันนี้
ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อของสิ่งที่นำมากล่าว
คือในกรณีแห่งเสียงอันรู้สึกกันได้ทางหู
ในกรณีแห่ง กลิ่นอันรู้สึกกันได้ทางจมูก
ในกรณีแห่ง รสอันรู้สึกกันได้ทางลิ้น
ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะอันรู้สึกกันได้ทางผิวกาย
และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์อันรู้สึกกันได้ทางใจ).
มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน
พึงเห็น พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น;
ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น;
ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน;
ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)
จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก;
ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ)
ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรมเหล่านั้น :
เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้ว สักว่าเห็น,
สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน,
สิ่งที่รู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก,
สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง,ดังนี้แล้ว;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มีเพราะเหตุนั้น;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะเหตุนั้น,
เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้นๆ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้นๆ,
เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต
อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้
ได้โดยพิสดารดังต่อไปนี้ :-
เห็นรูปแล้ว สติหลงลืม
ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่าน่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว
เสวยอารมณ์นั้นอยู่ ความสยบมัวเมาย่อมครอบงำบุคคลนั้น.
เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกประการ
ย่อมเจริญแก่เขานั้น.
อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา.
เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่ายังไกลจากนิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง
ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).
บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย
เห็นรูปแล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่
ความสยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น.
เมื่อเขาเห็นอยู่ ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง
เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปๆ ไม่เพิ่มพูนขึ้น
เขามีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,
เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้ต่อนิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ
ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต
อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้
ได้โดยพิสดารอย่างนี้ พระเจ้าข้า !”.
พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น
ว่าเป็นการถูกต้อง.
ท่านมาลุงก๎ยบุตรหลีกออกสู่ที่สงัด
กระทำความเพียรได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในศาสนานี้.

มรรควิธีที่ง่าย หน้า ๗๕
(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๗๓-๗๗/๑๓๒-๑๓๙
---
‪#‎ผู้ได้ชื่อว่า‬ #อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)
ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)
เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);
แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.
(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –
ไม่เป็นที่ชอบใจ -
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ
– ไม่เป็นที่ชอบใจ
- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน
อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า
‪#‎อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย‬
ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.
(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย
และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ
ทรงตรัสอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ
กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,
กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,
กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย
ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,
กรณีโผฏฐัพพะ
เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,
กรณีธรรมารมณ์
เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก
ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)
อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑
--------------------------------

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน-กรรมเก่า กรรมใหม่ เข้าใจเรื่องกรรมอย่างไรจึงจะหลุดพ้นได้?



#กรรมเป็นธาตุตามธรรมชาติ

https://www.youtube.com/watch?v=JkobUAptcOg&feature=youtu.be

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น

-

เราอาศัยอะไรกล่าว ..

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

-

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ..

ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

-

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ..

กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี

ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี

ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี

ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี

ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี

นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

-

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ

เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ ..

กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑

กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑

กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑

นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม

-

ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ..

ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ

-

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ..

สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม

---

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม

เหตุเกิดแห่งกรรม

ความต่างแห่งกรรม

วิบากแห่งกรรม

ความดับแห่งกรรม

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ

--

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส

เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกรรมฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

-----

๙. นิพเพธิกสูตร

--

กรรม คืออะไร

พระศาสดาทรงตรัสว่า กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

นิยามของคำว่ากรรม ที่พระศาสดาทรงบัญญัติ คือ เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม





กรรมอันบุคคลเจตนาแล้วย่อมกระทำด้วย กาย วาจา ใจ (ดังนั้นกรรมทางใด ที่กระทำโดยไม่เจตนา ย่อมไม่มี)

เหตุเป็นแดนเกิดของกรรม คือ ผัสสะ และความดับแห่งกรรม คือ การดับแห่งผัสสะ

[ผัสสะ (สัมผัส) อาศัยตาด้วย ๑ อาศัยรูปด้วย ๑ จึงเกิด จักขุวิญญาณ ๑ (เป็นต้น)

การถึงพร้อมด้วยธรรม ๓ ประการนี้ จึงเรียกว่า จักขุสัมผัส หรือ ผัสสะทางตา (เป็นต้น)]

วิญญาณ ๖ อันได้แก่

จักขุวิญญาณ(รู้แจ้งทางตา)

โสตวิญญาณ(รู้แจ้งทางหู)

ฆานะวิญญาณ(รู้แจ้งทางจมูก)

ชิวหาวิญญาณ(รู้แจ้งทางลิ้น)

กายวิญญาณ(รู้แจ้งทางสัมผัสทางกาย)

มโนวิญญาณ(รู้แจ้งทางธรรมารมณ์-เวทนา สัญญา สังขาร)

วิญญาณใดนี้ ย่อมมีที่ตั้งอาศัย

การจะบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ของวิญญาณใดๆ

โดยเว้นจาก รูป(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส), เวทนา,สัญญา,สังขาร นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

วิญญาณ(ใด)  อาศัยรูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์

มีรูปเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย มีนันทิ(ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้

(สิ่งที่วิญญาณเข้าไปตั้งอาศัย พระศาสดาทรงเรียกสิ่งนั้นว่า ภพ คือ สถานที่เกิดของวิญญาณ หรือ อารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร รวมเรียกภพเหล่านี้ว่า นามรูป เมื่อวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพแล้ว กล่าวว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น(ตอนที่วิญญาณยังไม่ได้เข้าไปตั้งอาศัย ภพ ก็มีของมันอยู่อย่างนั้น ก็เรียกว่า สถานที่เกิดของวิญญาณ เท่านั้น แต่พอวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยอยู่ ก็เรียกบัญญัติใหม่ว่า ความมีภพได้เกิดขึ้น)

นั้นคือวิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้มีอยู่ในที่ใดๆ

การก้าวลงแห่งนามรูป(รูป เวทนา สัญญา สังขาร)ก็มีอยู่ในที่นั้นๆ

(วิญญาณย่อมตั้งอาศัยในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเมื่อมีความน้อมไปหาภพ(ใด)แล้ว)

เมื่อการก้าวลงแห่งนามรูป มีอยู่ในที่ใด การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น

การเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมี



เมื่อบุคคลคิดถึงสิ่งใดอยู่(เจตนา) ดำริถึงสิ่งใดอยู่

และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดอยู่

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ของวิญญาณ

เมื่อวิญญาณตั้งขึ้นเฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ภพย่อมมี





พระศาสดาทรงอุปมา

เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ

ผืนนา เปรียบเหมือนภพ

น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ

เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา

เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ

เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ

เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ด้วยความกำหนัดและความเพลิน



ส่วนอีกอุปมาหนึ่ง เมล็ดพืช เปรียบเหมือนวิญญาณ

เนื้อนาเปรียบเหมือน กรรม

ยางในเมล็ดพืชเปรียบเหมือนตัณหา

เมล็ดพืชตกลงไปบนเนื้อนา

เปรียบได้กับวิญญาณตั้งอาศัยอยู่ในกรรม

เมล็ดพืชถึงความเจริญงามไพบูลย์ได้ด้วยยางในเมล็ดพืช

เปรียบเหมือนกับตัณหาเป็นเชื้อแห่งการเกิดขึ้น(ใหม่) ชื่อว่าความมีภพเกิดขึ้น

ดังนั้น กรรม อันเป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ ก็คือ ภพ อันเป็นที่ที่วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ได้ (กรรม = ภพ)



เช่น ตาไปเห็นรูป วิญญาณทางตาเข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป อันเป็นวิสัยที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยตาแล้ว กล่าวว่า

วิญญาณอาศัยรูปตั้งอยู่ รูปคือภพของวิญญาณ และ การเกิดขึ้นใหม่ของภพ ชื่อว่ากรรม(ใหม่)ได้เกิดขึ้น





กรรม นั้นแบ่งได้เป็น

กรรมเก่า อันได้แก่ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นกรรมเก่า

เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้

กรรมใหม่ อันได้แก่ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดของกรรมใหม่

การประจวบพร้อมด้วยองค์ ๓ นี้เรียกว่า ผัสสะ เช่น

ตา ไป เห็น รูป หากจักขุวิญญาณ(เข้าไปตั้งอาศัย) เข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป

อันเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยตาแล้ว ผัสสะทางตาย่อมถึงการเกิดขึ้น



(มีกรณีที่ ตา มอง รูป แต่ วิญญาณ( จิต หรือ มโน) ไม่ได้เข้าไปอยู่ในคลองแห่งจักขุ

ผัสสะย่อมไม่เกิด การหมายรู้ทางตาไม่มี(ขาดจักขุวิญญาณ) จึงไม่ถึงการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๓ )



เพราะมีผัสสะ จึงเกิดเวทนา

เพราะมีเวทนา จึงมีตัณหา

เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน

เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (กรรม)

เพราะมีภพ ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมี

ดังนั้น การปรากฏแห่งวิญญาณ(ใด) มีใดที่ใด

ชื่อว่าการปรากฏแห่งภพ (กรรม) ชาติ ชรา มรณะ ย่อมมีในที่นั้น



ความดับไปแห่งกรรม มีได้เพราะความดับไปแห่งผัสสะ



พิจารณาการเกิดขึ้นแห่งผัสสะอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพย่อมมีเพราะ

อาศัยการน้อมไปแห่งวิญญาณ

ด้วยอาศัยตัณหานี้ใด อันทำความเกิดใหม่ให้เป็นปกติ

เป็นไปกันกับด้วยความกำหนัด(ราคะ) เพราความเพลิน(นันทิ) มักเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์ (ภพ-กรรม)

นี้เป็นเครื่องเข้าไปตั้งอาศัย เครื่องถึงทับ เป็นอนุสัยแห่งจิต

ที่เข้าไปมีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร อันเป็นภพ(กรรม) ของจิต(วิญญาณ)



หากจะดับกรรม คือ ภพอันทำความเกิดใหม่

ก็ต้องดับที่ผัสสะ คือเหตุเกิดของกรรม



เธอย่อมกระจายเสียให้ถูกวิธี

พระศาสดาจึงทรงให้กระจายเสียซึ่งผัสสะ

ให้พิจารณาเห็นถึงองค์ประกอบทั้ง ๓ นั้น

อาศัยกันและกันในการเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ดับลงไปได้) ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

สิ่งที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้นเป็นผัสสะเป็นของที่ไม่เที่ยง

แล้วผัสสะจะเป็นของเที่ยงแต่ไหน

และสิ่งที่เป็นผลตามมาจากผัสสะเป็นปัจจัยก็ย่อมเป็นของไม่เที่ยง



มรรควิธี

ดังนั้นการพิจาณาสิ่งที่ประจวบกันพร้อมเป็นผัสสะ(ได้แก่ สังขารทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนนั้น

จะต้องเป็นผู้ที่เห็นซึ่งอริยสัจ ๔ คือ

เห็นการเกิดขึ้น และดับไปของสังขารทั้งหลาย เช่น

เห็นความเกิดและดับของ

ในจักษุ

ในจักขุวิญญาณ

ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ



เมื่อเห็นตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้แล้ว จึงพิจารณาเห็น

จักษุ

จักขุวิญญาณ

และธรรมที่รู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ปฏิปทานี้เป็นความดับไม่เหลือซึ่งสักกายะ(คืออุปาทานในขันธ์ทั้งหลาย)

เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิน จึงมีความสิ้นไปแห่งอุปาทาน



เมื่อเห็นด้วยปัญญา ตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้แล้ว

ขันธ์ ธาตุ  อายตนะ มีอยู่ประมารเท่าไร

ย่อมไม่มั่นหมายซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น

ย่อมไม่มั่นหมายใน ขันธ์ ธาตุอายตนะนั้น

ย่อมไม่มั่นหมายโดยความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น

และย่อมไม่มั่นหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะนั้น ว่าของเรา

นี้เป็นปฏิปทาเพื่อเพิกถอนความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง



เมื่อ ราคะ ที่มีอยู่ใน รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์  อันบุคคลละได้แล้ว

วิญญาณย่อมไม่มีที่ตั้งอาศัย ก็ไม่เจริญงอกงาม

ดับลงไปได้เพราะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

เมื่อวิญญาณไม่มีอยุ่ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมดับไปในที่นั้น

ที่ใดที่ไม่มีวิญญาณและนามรูป ที่นั้นคือความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย

เป็นความดับไปไม่เหลือแห่งทุกข์

จะป่วยกล่าวไปใยถึงการดับแห่งกรรม

---

‪#‎มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม‬ ๔

‪#‎คติที่ไปของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ‬ คือ นรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน

‪#‎แก้กรรมด้วยมรรคแปดเท่านั้น‬

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากตัวเองบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นและตนเองบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆโดยปราศจากเหตุผล

**

นิทานสัมภวะ(แดนเกิด)แห่งกรรมทั้งหลายเกิด จากผัสสะ

และกัมมนิโรธ(ความดับกรรม)แห่งกรรมทั้งหลาย

ย่อมมีเพราะความดับไปแห่งผัสสะ

**

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้

ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?" ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำ เฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทน า (ความ รู้สึกต่ออารมณ์)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้

ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณ หา (ความอยาก)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้

หากเราได้กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า

"ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า

"ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย

ชรา มรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย

จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

.

.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๑/๒๘๘ ข้อที่ ๓๑-๓๗

..

http://etipitaka.com/read…#

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมผ่านระบบ video conference กับ กลุ่มพุทธวจน จ...



#วิธีดับโกรธของพระปุณณะ

พระปุณณเถระฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว

ต้องการไปจำพรรษาที่สุนาปรันตชนบท

ถิ่นที่ชาวบ้านมีความดุร้าย ขี้โกรธ เป็นนิสัยประจำ

พระพุทธเจ้าตรัสให้ตระหนักว่านิสัยคนที่นั่นดุร้าย

หากเขาด่าบริภาษาเอาเธอจะทำอย่างไร?

พระปุณณะทูลตอบวิธีที่ท่าน

จะปฏิบัติต่อคนเหล่านั้น

ด้วยขันติ ทมะ อุปสมะ และการมองโลกในแง่ดี (ด้วยความเมตตากรุณา)

ท่านทูลตอบดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้าผู้คนชาวสุนาปรันตะจะด่าบริภาษข้าพระองค์

ข้าพระองค์ก็จะใส่ใจว่าผู้คนชาวสุนาปรันตะเหล่านี้

เป็นผู้เจริญดีหนอ

ที่ผู้คนเหล่านั้นไม่ได้ตีข้าพระองค์ด้วยมือ..."

-

หากตีด้วยมือก็คิดว่ายังดีที่เขาไม่ปาด้วยก้อนดิน

...หากปาด้วยก้อนดินก็คิดว่ายังดีที่เขาไม่ตีด้วยท่อนไม้

...หากตีด้วยท่อนไม้ก็คิดว่ายังดีที่เขาไม่แทงด้วยมีด

...หากแทงด้วยมีดก็คิดว่ายังดีที่เขาไม่ถึงกับฆ่าให้ตาย

...หากฆ่าให้ตายก็คิดว่าดีแล้วที่เราไม่ต้องหาอาวุูธมาปลิดชีพตัวเอง

ทรงชื่นชมว่า

เธอประกอบด้วยทมะ (การฝึกตน)

และอุปสมะ (ความสงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึก)

เธอสามารถไปอยู่ที่นั่นได้

ท่านไปถึงที่นั่น

และบรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์ภายในพรรษานั้นเอง๑

______________________

๑ ดู ม.อุ. ข้อ ๗๕๔-๗๖๔

https://www.youtube.com/watch?v=C_4wICrpe1I

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

พอจ เมตตาตอบคำถามคนเราเกิดมาทำไม



เกิดมาเพราะ เหตุปัจจัย  ดับไปเพราะเหตุปัจจัย(ปฏิจจสมุปบาท)

เกิดมาแล้วจะทำอะไรดี

ให้แสวงหานิพพาน  การแสวงหาที่ประเสริฐ

พอจ เมตตาให้ผู้ใหม่ที่เคยตั้งกระทู้กล่าวบริภาษได้ขอขมา



‪#‎หลักตัดสินธรรมวินัย‬ ๔ ประการ
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า 
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระหัวหน้า
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร
เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า
ใน อาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร
เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
เธอ ทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร
เทียบเคียงดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
พึงลงสันนิษฐานว่า
-
“นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน
และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย.
-
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า
-
“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน
และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”.
-
-เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส… นี้ไว้.
ปฐมธรรม หน้า ๒๖๓
(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๑๐๒-๑๐๓/๑๑๓-๑๑๖.
https://www.youtube.com/watch…

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์_2015-04-25



ชาคริยานุโยคคือส่วนประกอบของความเพียร

(16 ชั่วโมงต่อวัน)



ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้

ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจาก

อาวรณียธรรม (กิเลสที่กั้นจิต)

ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง

ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี,

ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์ (คือ)

ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น,

ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว

ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม

ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง อีก.

ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล

ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๑๔๑

ตามรอยธรรม หน้า ๕๕

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๖/๓๑๙. :

http://etipitaka.com/read/thai/18/196/

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์_หลังฉัน_2015-04-24



พระโสดาบันนั้น มีคุณธรรมอย่างไร ****

ศีล 5 และมีพระรัตนะตรัยมั่นคงไม่หวั่นไหวเท่านั้น

พระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระสารีบุตรว่า สารีบุตร ประชุมชนที่อยู่ในที่นี้ ใครบ้างที่เป็นพระโสดาบัน .

พระสารีบุตรไม่กล้าตอบ จึงทูลให้พระองค์ทรงเฉลยเอง ทรงตรัสว่า

ใครก็ตามที่ตรวจสอบตนเองดูแล้วว่า ศีล 5 มั่นคง

และมีความเลื่อมใสในพระรัตนะตรัยมั่นคง

ใคร ๆมาทำให้เปลี่ยนใจไปนับถืออย่างอื่นไม่ได้

มีศีลที่พระอริยะสรรเสริญ

นี่คือเป็นพระโสดาบันแล้ว

ถึงกระแสแห่งพระนิพพานแล้ว

(รักษาศีล 5 ได้โดยไม่ต้องพยายามรักษา

คือมีศีล 5 โดยไม่ต้องไปสมาทาน

รับจากใครๆ มีศีล 5 มั่นคงภายในตน)

สาธุๆๆ สิ่งที่น่าคิดคือ ไม่เคยตรัสเรื่อง ญาณ 16 เลย

มีคำสอนเป็นร้อยเป็นพันพระสูตร

ไม่มีคำว่าโสฬสญาณ ที่เป็นญาณ 16

อันเป็นเครื่องวัดพระโสดาบัน ญาณ 16 อยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ที่พระเถระเขียนทีหลังนี่เอง

ส่วนที่พระพุทธเจ้าตรัสโดยตรงก็ไม่มีคำนี้

มีแต่เน้นไปที่ ศีล 5 และมีพระรัตนะตรัยมั่นคงไม่หวั่นไหวเท่านั้น

Cr.พระอาจารย์สุโข กตปุญโญ

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน-ไม่อยากตกต่ำทั้งในชาตินี้และชาติหน้าทำอย่างไร?





พุทธวจน-ไม่อยากตกต่ำทั้งในชาตินี้และชาติหน้าทำอย่างไร?
https://www.youtube.com/watch?v=cYFPAJZHvKY&feature=youtu.be
#กรรมที่ทำให้ได้รับผลเป็นความไม่ตกต่ำ
ภิกษุ ท. ! แต่ชาติที่แล้วมาแต่อดีต
ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนาตลอด ๗ ปี 
จึงไม่เคยมาบังเกิดในโลก
มนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และวิวัฏฏกัปป์
ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์นั้น
เราได้บังเกิดในอาภัสสรพรหม
ในระหว่างกาลอันเป็นวิวัฏฏกัปป์นั้น
เราก็ได้อยู่พรหมวิมานอันว่างเปล่าแล้ว.
----
ภิกษุ ท. ! ในกัปป์นั้น
เราได้เคยเป็นพรหมได้เคยเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่
ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด
เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด.
-----
ภิกษุ ท. ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง
เราได้เคยเป็นราชาจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจรดมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นที่สุด
เป็นผู้ชนะแล้วอย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ประกอบด้วยแก้วเจ็ดประการ
นับด้วยร้อย ๆ ครั้ง,ทำไมจะต้องกล่าวถึงความเป็นราชาตามธรรมดาด้วย.
-----
ภิกษุ ท. ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่
ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ที่ทำให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
ถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้น ๆ.
----
ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล
ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้
มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้,
-----
วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง ในครั้งนั้น คือ :-
(๑) ผลวิบากแห่งทาน การให้
(๒) ผลวิบากแห่งทมะ การบีบบังคับใจ
(๓) ผลวิบากแห่งสัญญมะ การสำรวมระวัง ดังนี้.
อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.


วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์_หลังฉัน_2015-04-17





#ระงับอาพาธโดยควรแก่ฐานะ
อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์
แล้วกล่าวสัญญา 10 ประการแก่เธอแล้ว
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์
ฟังสัญญา 10 ประการแล้วอาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอ
ก็จะระงับไปโดยควรแก่ฐานะ สัญญา 10 ประการ นั้นคือ
อนิจจสัญญา
อนัตตสัญญา
อสุภสัญญา
อาทีนวสัญญา
ปหานสัญญา
วิราคสัญญา
นิโรธสัญญา
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
อานาปานสติ
----
- อาพาธสูตร ทสก. อํ. 24/115 – 120/60.

พุทธวจน faq อานาปานสติ โดย ภันเตมาร์ค Breathing Meditation by The Buddha





‪#‎อานาปานสติภาวนา‬(เสียงภาษาอังกฤษ)
https://www.youtube.com/watch?v=zfWBWk5ONsw
‪#‎ผู้ฝึกมาเป็นอย่างดีจะรู้ลมหายใจสุดท้ายของตัวเอง‬
จิตสุดท้าย คือ ภพภูมิต่อไป..
‪#‎ถ้าจักอนุเคราะห์‬ ญาติสาโลหิต ตถาคตให้อนุเคราะห์โดยการให้รู้อริยสัจสี่
[๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด 
เพราะอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว 
ทำให้มากแล้ว 
ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. 
ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?
ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี 
อยู่ในเรือนว่างก็ดี 
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง 
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. 
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว 
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น 
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจออก 
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.
ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ 
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ 
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล 
เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ 
ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง 
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว 
ย่อมดับไป 
หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว 
ดับไปไม่ได้ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว 
ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๑๖/๕๑๘
---------
อัสสาสะ - ลมหายใจเข้า
ปัสสาสะ - ลมหายใจออก

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

live 20150406 1



รัชกาลที่ 1

ทรงสังคายนาพระไตรปิฎก

ทรงโปรดให้พระเถระผู้ทรงคุณวุฒิทรงจำพระไตรปิฎก จำนวน 218 รูป

และฆราวาสที่เป็นราชบัณฑิตอีก 32 คน

ประชุมทำสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์

sapanphud 20150406





ปาฏิหาริย์ สาม

เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
๓ อย่างอะไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :-
๑. อิทธิปาฏิหาริย์
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์
๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์
(๑) เกวัฏฏะ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีประการต่าง ๆ :
ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่
กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่
ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปใน
อากาศว่าง ๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ใน
อากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วย
ฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหม
โลกได้. เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการ
แสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่
ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธา
เลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี มีอยู่ ภิกษุ
นั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น. เกวัฏฏะ ! ท่านจะ
เข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าว
ตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”
เกวัฏฏะ!
เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
อิทธิปาฏิหาริย์.

(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็น
อย่างไรเล่า?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึก
ของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น
ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่าน
มีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. ... ฯลฯ ...
กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส
ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้น ๆ
ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฎฎะ ! ท่านจะ
เข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบ
ผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ?
“พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”
เกวัฏฏะ !
เราเห็นโทษในการแสดง อาเทสนาปาฏิหาริย์
ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
อาเทสนาปาฏิหาริย์.

(๓) เกวัฏฏะ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้นเป็น
อย่างไรเล่า?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึก
อย่างนี้ ๆ อย่าตรึกอย่างนั้น ๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ ๆ
อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้น ๆ, จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้ ๆ แล้ว
แลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกได้อย่างไม่มี
ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น –
ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ
และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตร
คหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบ
ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง
มาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน
จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
หมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร
เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่น
ต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่และวงศ์ญาติน้อยใหญ่
ปลงผมและหนวด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วย
ความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
โคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษ
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบ
แล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์,
ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ, มีความสันโดษ.
เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์
มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วาง
ท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
กรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส
ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน
ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัด
ตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหล่านี้
อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่ง
อาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิด ญาณหยั่งรู้
ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำใสที่ไหล่เขาไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งใน
ที่นั้น, เขาเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง
อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียกใจ
อย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลา
ทั้งหลายเหล่านี้หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้;
ฉันใดก็ฉันนั้น. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เรา
ได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้
ตามด้วย.
สี. ที. ๙/๒๗๓ – ๒๗๖/ ๓๓๙ – ๒๔๒.

live 20150404 1



---
‪#‎สิบพระสูตรที่ชาวพุทธต้องรู้‬
๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ 
เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง 
กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ
ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ 
ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิต
เป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ 
อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), 
เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), 
เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), 
ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), 
อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐.
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี 
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ 
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, 
ตลอดเวลาระหว่างนั้น 
ตถาคตได้กล่าวสอน
พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด 
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด 
ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอัตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : 
กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่.
เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, 
พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม 
เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น
นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง 
ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป 
เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่
เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต 
จักมีภิกษุทั้งหลาย, 
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต 
เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง 
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่. 
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง 
จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. 
-
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ 
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน 
มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว 
เป็นคำกล่าวของสาวก, 
เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,
เธอจักฟังด้วยดี
จักเงี่ยหูฟัง 
จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น 
ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ 
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓,
-
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด 
ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ 
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน 
มีอักษรสละสลวย 
มีพยัญชนะอันวิจิตร 
เป็นเรื่องนอกแนว 
เป็นคำกล่าวของสาวก 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ 
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต 
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ 
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; 
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน 
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า 
“ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.
-
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. 
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, 
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
-
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อ 
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา 
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณ ีนี้คือ ภิกษ ุทั้งหลายในบริษัทใด, 
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา
-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง 
คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง 
โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ
สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา 
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, 
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง
ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ 
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน 
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร 
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก, 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ 
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. 
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว 
ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน 
ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า 
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. 
-
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ 
ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ 
ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. 
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า 
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ 
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา 
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, 
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย 
มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, 
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. 
ส่วน สุตตันตะเหล่าใด 
อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง 
เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, 
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ 
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง 
ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง 
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. 
พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว 
ก็สอบถามซึ่งกันและกัน
ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า 
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. 
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ 
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ 
บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. 
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้ 
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น 
คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา 
(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป :
ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
-
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย 
จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ 
จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, 
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, 
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ 
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
-
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น 
ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น 
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ 
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว 
ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) 
เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) 
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). 
-
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ 
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) 
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย! นี้แล 
เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน 
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน 
เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน 
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 
กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
-
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง 
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก 
ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก 
ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก 
ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น 
ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง 
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
-
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต 
คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ 
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) 
พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน 
เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, 
เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป 
สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) 
มีที่อาศัยสืบกันไป. 
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม 
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า 
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า 
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๒ (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า 
ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ 
พร้อมด้วยปาโมกข์ 
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า 
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า 
ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก
เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา 
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า 
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า 
ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง
เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา 
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า 
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม 
ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น 
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี 
แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร 
เทียบเคียงดูในวินัย 
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ 
เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ 
พึงลงสันนิษฐานว่า 
“นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” 
เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย 
-
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น 
สอบลงในสูตรก็ได้ 
เทียบเข้าในวินัยก็ได้ 
พึงลงสันนิษฐานว่า 
“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” 
เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส.. นี้ไว้
อุปริ. ม. ๑๔/๕๓/๔๑
-
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า 
‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว 
พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. 
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. 
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี 
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย 
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา
-
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี 
ใครก็ตามจักต้อง
-
มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; 
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
เป็นอยู่ 
-
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, 
ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.
-
มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘
-
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ 
มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า 
เป็นบุรุรษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... 
เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... 
เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
---
ฟังพุทธวจนล้วนๆ ได้ที่ www.watnapp.com