วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq ทิฏฐิ ๖๒ (ทิฐิ ๖๒) คืออะไร



ทิฏฐิ ๖๒ เป็นผลของการไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
https://www.youtube.com/watch?v=WCtD44C7x_s
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มี ธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย; ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง, เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า?
[ หมวด ๑ ปุพพันตกัปปิกวาท ๑๘ ประการ ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท มีปุพพันตานุทิฏฐิ [ทิฏฐิเป็นไปตามซึ่งขันธ์อันเป็นปุพพันตะ (ขันธ์ที่มีแล้วในกาลก่อน)] ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างต่างๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๑๘ ประการ. สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงบัญญัติอธิมุตติบทด้วยวัตถุ ๑๘ ประการเหล่านั้น?
(ก. สัสสตทิฏฐิ ๔ ประการ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกสัสสตวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ... (ต่อ ไปนี้จะตัดข้อความอันยืดยาวแห่งทิฏฐิหนึ่งๆให้เหลือเฉพาะแต่ใจความ นำมาเรียงลำดับติดต่อกันไปจนกว่าจะครบทั้ง ๖๒ ทิฏฐิวัตถุ และจัดเป็นหมวดย่อยๆ ตามลำดับหมวดดังที่มีอยู่ในพระบาลีนับตั้งแต่หมวด ก.ข้างบนนี้ไป):-
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่านในโลกนี้อาศัยความเพียรเผากิเลส...จึง มีเจโตสมาธิในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึงขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือระลึกได้ ๑ ชาติบ้าง,...ฯลฯ...หลายแสนชาติเป็นอเนกบ้าง;...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่า "อัตตาและโลกเป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป,แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ...เพราะว่า เราย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์ อันเคยอยู่ในกาลก่อนมีประการต่างๆเป็นอเนกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้. ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เป็นฐานะที่ ๑ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส...จึง มีเจโตสมาธิในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึงขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆเป็นอเนก คือระลึกได้ ๑ สังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...กระทั่ง สิบสังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่า "อัตตาและโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป, แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ...เพราะว่าเราย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้. ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๒ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส...จึง มีเจโตสมาธิในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึงขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือระลึกได้สิบสังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...กระทั่งถึงสี่สิบสังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่า "อัตตาและโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป, แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ... เพราะว่าเราย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้. ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๓ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่าน เป็นนักตรึกนักตรอง เขาย่อมกล่าวตามที่ความตรึกพาไป ความตรองแล่นไป ตามปฏิภาณของตนเอง ว่า "อัตตาและโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป, แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๔ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สม ณพราหมณ์ทั้งหลายเท่าใด เป็นพวกสัสสตวาท บัญญัติอัตตา และโลกว่าเป็นของเที่ยง สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด บัญญัติโดยอาศัยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ หรือว่าวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้, วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคต ย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอาแล้วอย่างนี้ ลูบคลำแล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น: ตถาคต ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรมอันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ซึ่งสิ่งที่ตถาคตรู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง, เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
(ข. เอกัจจสัสสติก - เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ ๔ ประการ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกเอกัจจสัสสติก-เอกัจจอสัสสติกวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยงบางอย่าง ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ:
…(อ่านเพิ่มเติมได้จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๓๒ – ๗๖๘)...
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๓๒ – ๗๖๘
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๔๐ - ๑๔๓
(ภาษาไทย) สี.ที. ๙/๑๑-๓๗/๒๖-๕๐.

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด



‪#‎ตอบแทนคุณบิดามารดา‬
ส่วนบุตรคนใด
‪#‎ยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา‬ ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา 
‪#‎ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล‬ ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา 
‪#‎ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ห้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา‬
‪#‎ยังมารดาบิดาทรามปัญญา‬ ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา
----
https://www.youtube.com/watch?v=VjQiTb9PBZM
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว
และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ
พระพุทธองค์ตรัสว่า
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน
ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง
พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ
มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี
และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้น
ด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ
และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น
พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ
อันเป็นอิสราธิปัตย์
ในแผ่นดินใหญ่อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้
การกระทำกิจอย่างนั้น
ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
---
เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก
บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
---
ส่วนบุตรคนใด
#ยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา
#ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา
#ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ห้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
#ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา
----
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว
และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ
---
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรรมเก่าของพระอรหันต์





#รับวิบากกรรมในชาตินี้ ดีกว่า #ตกนรก
#พระองคุลิมาลบรรลุพระอรหัต
[๕๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาล 
หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว 
เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่นานนัก 
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด พรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ 
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ 
ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว 
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว 
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ดังนี้. 
-
ก็ท่านพระองคุลิมาล
ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่ง
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
--
[๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า 
ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว 
ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. 
ก็เวลานั้นก้อนดิน ... ท่อนไม้ ... 
ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไป
แม้โดยทางอื่น
ก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล 
ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก 
โลหิตไหล
บาตรก็แตก 
ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด 
-
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. 
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตร
ท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล 
ครั้นแล้วได้ตรัส
กะท่านพระองคุลิมาลว่า 
-
เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ 
เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ 
เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุ 
จะให้เธอพึงหมกไหม้อยู่ในนรก
ตลอดปีเป็นอันมาก 
ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก 
ตลอดพันปีเป็นอันมาก
ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๓๖๕/๕๑๘ ข้อที่ ๕๓๒-๕๓๓
http://etipitaka.com/read?keywords=องคุลีมาล++บิณฑบาต&language=thai&number=358&volume=13#
https://www.youtube.com/watch?v=5k2Hm77dIVc

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

"ภูเขาเวปุลล" พุทธวจน



"ภูเขาเวปุลล" พุทธวจน ถ่ายทอดคำตถาคต โดย พอจ.คึกฤทธิ์
https://youtu.be/VmPw0XjjMw0
เวปุลลปัพพตสูตร
[๔๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้ ฯ
[๔๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น
เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพตนี้ได้ชื่อว่า ปาจีนวังสะสมัยนั้นแล หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า ติวรา หมู่มนุษย์ชื่อติวรา มีอายุประมาณสี่หมื่นปีหมู่มนุษย์ชื่อติวราขึ้นปาจีนวังสบรรพตเป็นเวลา ๔ วัน ลงก็เป็นเวลา ๔ วัน สมัยพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่าวิธูระ และสัญชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแล อันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นกระทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้วสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
[๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้มีชื่อว่าวงกฏ สมัยนั้นแล
หมู่มนุษย์มีชื่อว่า โรหิตัสสะ มีอายุประมาณสามหมื่นปีมนุษย์ชื่อว่าโรหิตัสสะขึ้นวงกฏบรรพตเป็นเวลา ๓ วัน ลงก็เป็นเวลา ๓ วันสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมนะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่าภิยโยสและอุตตระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแลอันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นทำกาละไปแล้วและพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
[๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพตนี้มีชื่อว่าสุปัสสะ สมัยนั้น
แล หมู่มนุษย์มีชื่อว่าสุปปิยา หมู่มนุษย์ชื่อสุปปิยามีอายุประมาณสองหมื่นปี หมู่มนุษย์ที่ชื่อว่าสุปปิยาขึ้นสุปัสสบรรพต เป็นเวลา ๒ วัน ลงก็เป็นเวลา ๒ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป ได้มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่าติสสและภารทวาชะดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแลอันตรธานไปแล้วมนุษย์เหล่านั้นกระทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
[๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล ภูเขาเวปุลละนี้มีชื่อเวปุลละทีเดียว ก็บัดนี้
หมู่มนุษย์เหล่านี้มีชื่อว่ามาคธ หมู่มนุษย์ที่ชื่อมาคธมีอายุน้อย นิดหน่อย ผู้ใดมีชีวิตอยู่นานผู้นั้นมีอายุเพียงร้อยปี น้อยกว่าก็มี เกินกว่าก็มี หมู่มนุษย์ชื่อมาคธขึ้นเวปุลลบรรพตเพียงครู่เดียว ลงก็เพียงครู่เดียว และบัดนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็เราแลมีสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะดูกรภิกษุทั้งหลาย ชื่อแห่งบรรพตนี้จักอันตรธาน หมู่มนุษย์เหล่านี้จักทำกาละ และเราก็จักปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ไม่น่าชื่นใจอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
[๔๖๑] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง
ตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่าปาจีนวังสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อติวระ วงกฏบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อโรหิตัสสะ สุปัสสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อสุปปิยาและเวปุลลบรรพต
ของหมู่มนุษย์ชื่อมาคธะ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นแลเสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับไปเป็นสุข ดังนี้ ฯ
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

"โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในมี ๑๐ ประการ" พุทธวจน



"โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในมี ๑๐ ประการ" พุทธวจน ถ่ายทอดคำตถาคต โดย พอจ.คึกฤทธิ์
https://youtu.be/pvFsdgEXcyk
ปเวสนสูตร
[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในมี ๑๐ ประการ ๑๐
ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาในโลกนี้ประทับอยู่กับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในที่นั้น พระมเหสีเห็นภิกษุนั้นแล้วย่อมทรงยิ้มแย้มหรือภิกษุเห็นพระมเหสีแล้วยิ้มแย้มก็ดีพระราชาก็จักทรงสงสัยในอาการนั้นอย่างนี้ว่า คนทั้ง ๒ นี้คงได้ทำแล้ว หรือจักทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปสู่พระราชวังชั้นในข้อที่ ๑ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงมีกิจมาก มีกรณียมาก เสด็จไปหาหญิงคนใดคนหนึ่งแล้ว
ทรงระลึกไม่ได้ หญิงนั้นย่อมตั้งครรภ์ด้วยพระราชานั้นพระราชาก็จักทรงสงสัยในการตั้งครรภ์นั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๒ ฯ
อีกประการหนึ่ง รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งในพระราชวังชั้นในหายไปพระราชาก็จักทรง
สงสัยในการที่รัตนะหายไปนั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้วใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๓ ฯ
อีกประการหนึ่ง เรื่องลับอันเป็นภายในในพระราชวังชั้นในแพร่งพรายออกภายนอก
พระราชาก็จะทรงสงสัยในการที่เรื่องลับแพร่งพรายออกภายนอกนั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้วใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๔ ฯ
อีกประการหนึ่ง ในพระราชวังชั้นใน บิดาย่อมปรารถนาเพื่อจะฆ่าบุตรหรือบุตรย่อม
ปรารถนาเพื่อจะฆ่าบิดา คนทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นจะสงสัยอย่างนี้ว่าเว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่
เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๕ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูง คน
ทั้งหลายไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่าพระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิตกรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๖ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งสูงไว้ในตำแหน่งต่ำ คน
ทั้งหลายไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่าพระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิตกรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๗ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงส่งกองทัพไปในกาลอันไม่ควร คนทั้งหลายไม่พอใจในการที่ส่งกองทัพไปนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๘ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลอันควร แล้วรับสั่งให้กลับเสียใน
ระหว่างทาง คนทั้งหลายไม่พอใจการให้กองทัพกลับเสียในระหว่างทางนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๙ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระราชวังชั้นในเป็นที่คับคั่งด้วยช้าง คับคั่งด้วยม้าคับคั่งด้วยรถ มีรูป
เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ซึ่งเป็นของไม่สมควรแก่บรรพชิตดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๑๐ ดูกรภิกษุทั้งหลายโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการนี้แล ฯ
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เสียงอ่านพระสูตรสำหรับผู้เจ็บไข้ ใกล้เสียชีวิต


พุทธวจน : เสียงอ่าน..พระสูตร..สำหรับผู้เจ็บไข้ ใกล้เสียชีวิต



#พระสูตรสำหรับผู้ป่วย‪ 
#‎ศรแห่งความโศก‬ ‪#‎ฐานะ๕ประการ‬
---
link ;; พระสูตร อานิสงส์ฟังธรรมก่อนตาย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1592996564265214&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=3&hc_location=ufi
---
link ;; เสียงอ่านหนังสือ พุทธวจน อานาปานสติ
https://www.youtube.com/watch?v=JDzh1ZZQKAw
--
https://www.youtube.com/watch?v=U25frAuYPW8
๘. ฐานสูตร
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ 
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน 
คือฐานะว่า
• ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑
• ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑
• ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา[ของเรา] อย่าตาย ๑ 
• ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑
• ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑
-
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม 
หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา 
ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป 
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว 
เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า
● ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น แก่ไป 
โดยที่แท้
สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป 
การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น 
ส่วนเราเอง 
ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว 
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรทุบอก คร่ำครวญ 
หลงงมงาย 
-
แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน 
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม 
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก 
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ 
แม้พวกมิตรพึงเสียใจ 
-
ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว 
เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ 
หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ 
ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว 
ย่อมทำตนให้เดือดร้อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง 
-
● สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ...
● สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมตายไป ...
● สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ...
● สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป
-
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว 
เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า 
ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น
ฉิบหายไป โดยที่แท้ 
สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง 
ที่มีการมาการไปการจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น 
ส่วนเราเอง 
ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว 
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก 
คร่ำครวญหลงงมงาย 
-
แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน 
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก 
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ 
แม้พวกมิตรพึงเสียใจ 
-
ดังนี้เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว
เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ 
หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกลูกศร
คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน
• ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ส่วนว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา 
ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป 
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว 
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 
ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นแก่ไป
โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา 
ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา 
การไปการจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น 
ส่วนเราเอง 
ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว 
พึงเศร้าโศกลำบาก ร่ำไร ทุบอก 
คร่ำครวญ หลงงมงาย 
-
แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน 
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม 
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก 
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ 
แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ 
-
ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา 
แก่ไปแล้วอริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก 
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก คร่ำครวญ 
ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร 
คือ ความโศกที่มีพิษเป็นเครื่องเสียบแทง
ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน 
อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร 
ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง
-
• ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ...
• สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป...
• สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ...
• สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป 
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นว่า
ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง 
ที่มีการมา การไปการจุติการอุปบัติ 
ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง 
ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว 
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก 
คร่ำครวญ หลงงมงาย 
-
แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน 
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก 
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ 
แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ 
ดังนี้
-
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว 
อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศกไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร 
ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย 
นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร 
คือ ความโศกที่มีพิษ อันเป็นเครื่องเสียบแทง
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำให้เดือดร้อน 
อริยสาวกผู้ไม่มีความโศกปราศจากลูกศร 
ย่อมดับความทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล
-
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม 
หรือใครๆในโลกไม่พึงได้ ฯ
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ 
อันใครๆ ย่อมไม่ได้เพราะการเศร้าโศก
เพราะการคร่ำครวญ พวกอมิตรทราบว่าเขาเศร้าโศก 
เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ ก็คราวใด บัณฑิตผู้พิจารณารู้เนื้อความ 
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหมด คราวนั้น 
พวกอมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปรกติของบัณฑิตนั้น 
ยิ้มแย้มตามเคยย่อมเป็นทุกข์ 
บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วยประการใดๆ
-
เพราะการสรรเสริญ 
เพราะความรู้ 
เพราะกล่าวคำสุภาษิต 
เพราะการบำเพ็ญทาน 
หรือเพราะประเพณีของตนก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ 
ด้วยประการนั้นๆ 
ถ้าพึงทราบว่าความต้องการอย่างนี้อันเรา
หรือผู้อื่นไม่พึงได้ไซร้
ก็ไม่ควรเศร้าโศก 
ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่
ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๘
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๔๘/๔๐๗ ข้อที่ ๔๘
••••••••••••••••••
‪#‎สังสารวัฏ‬..น้ำตา..น้ำในมหาสมุทรทั้ง 4
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ 
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน 
น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา 
คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ 
เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ 
กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า 
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ 
ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ 
เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ
เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ 
โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า 
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ 
ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ
โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย 
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น 
ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ 
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ 
เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า 
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย 
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... 
ของพี่ชายน้องชาย พี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... 
ความเสื่อมแห่งญาติ ...ความเสื่อมแห่งโภคะ ... 
ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน 
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น 
ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค 
คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ 
เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า 
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร 
เพราะว่า
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ก็เหตุเพียงเท่านี้ 
พอทีเดียว
เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง 
พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๗๘/๒๘๘ ข้อที่ ๔๒๔-๔๒๖
http://etipitaka.com/read
--------------------
พระสูตรที่สาม..
‪#‎เพราะไม่รู้อริยสัจ‬ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ
ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง, เราและ
พวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน
ถึงเพียงนี้. ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะ
ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ
ความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ
ทุกข์ ; เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาล
ยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
; ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
--------------------
พระสูตรที่สี่
อานนท์ ! ตถาคตได้บอกแล้วมิใช่หรือ ว่าสัตว์
จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น, สัตว์จะได้
ตามปรารถนา ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า, ข้อที่สัตว์จะหวัง
เอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับ
เป็นธรรมดา ว่าสิ่งนี้อย่าฉิบหายเลยดังนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะ
ที่มีได้ เป็นได้.
มู. ม. ๑๒/๑๖๓/๑๙๒, มหาวาร. สํ ๑๙/๒๘๗/๙๖๓.
สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่
ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต
ทั้งที่มั่งมี และ ยากจน
ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า.
เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว
ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ
ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น
วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว
เราจักละพวกเธอไป
สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี
มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี
ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด
ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
มหา. ที. ๑๐/๑๔๑/๑๐๘.
------------------------
‪#‎พระสูตรที่ห้า‬
ภิกษุทั้งหลาย ! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ 
ฉลาดในเรื่อง โลกอื่น, เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะ
อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร,
เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยู
ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู.
ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.
ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่
ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง
และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด
ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง.
ประตูนครแห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว
เพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษม.
กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว
ทำให้หมดพิษสงแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูมด้วยปราโมทย์
ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.
-บาลี มู.ม. ๑๒/๔๒๑/๓๙๑.
-------------------------- ---------------------------------

พุทธวจนเพื่อความสิ้นทุกข์ดับไม่เหลือ



‪#‎ศรแห่งความโศก‬

‪#‎ฐานะ๕ประการ‬

https://www.youtube.com/watch?v=U25frAuYPW8

๘. ฐานสูตร

[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร

พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือฐานะว่า

• ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑

• ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑

• ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา[ของเรา] อย่าตาย ๑

• ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑

• ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑

-

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป

เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า

● ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น แก่ไป

โดยที่แท้

สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป

การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น

ส่วนเราเอง

ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย

-

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน

แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม

แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก

แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ

แม้พวกมิตรพึงเสียใจ

-

ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว

ย่อมทำตนให้เดือดร้อน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

-

● สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ...

● สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมตายไป ...

● สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ...

● สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป

-

เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว

เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น

ฉิบหายไป โดยที่แท้

สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง

ที่มีการมาการไปการจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น

ส่วนเราเอง

ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว

พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก

คร่ำครวญหลงงมงาย

-

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน

แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม

แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก

แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ

แม้พวกมิตรพึงเสียใจ

-

ดังนี้เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว

เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ

หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกลูกศร

คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน

• ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ส่วนว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป

เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นแก่ไป

โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา

การไปการจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น

ส่วนเราเอง

ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว

พึงเศร้าโศกลำบาก ร่ำไร ทุบอก

คร่ำครวญ หลงงมงาย

-

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน

แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม

แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก

แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ

แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ

-

ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

แก่ไปแล้วอริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก

ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก คร่ำครวญ

ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร

คือ ความโศกที่มีพิษเป็นเครื่องเสียบแทง

ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน

อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร

ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง

-

• ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ...

• สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป...

• สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ...

• สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป

เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นว่า

ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง

ที่มีการมา การไปการจุติการอุปบัติ

ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง

ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว

พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก

คร่ำครวญ หลงงมงาย

-

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน

แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม

แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก

แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ

แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ

ดังนี้

-

เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว

อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศกไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร

ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย

นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร

คือ ความโศกที่มีพิษ อันเป็นเครื่องเสียบแทง

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำให้เดือดร้อน

อริยสาวกผู้ไม่มีความโศกปราศจากลูกศร

ย่อมดับความทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล

-

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆในโลกไม่พึงได้ ฯ

ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้

อันใครๆ ย่อมไม่ได้เพราะการเศร้าโศก

เพราะการคร่ำครวญ พวกอมิตรทราบว่าเขาเศร้าโศก

เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ ก็คราวใด บัณฑิตผู้พิจารณารู้เนื้อความ

ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหมด คราวนั้น

พวกอมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปรกติของบัณฑิตนั้น

ยิ้มแย้มตามเคยย่อมเป็นทุกข์

บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วยประการใดๆ

-

เพราะการสรรเสริญ

เพราะความรู้

เพราะกล่าวคำสุภาษิต

เพราะการบำเพ็ญทาน

หรือเพราะประเพณีของตนก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ

ด้วยประการนั้นๆ

ถ้าพึงทราบว่าความต้องการอย่างนี้อันเรา

หรือผู้อื่นไม่พึงได้ไซร้

ก็ไม่ควรเศร้าโศก

ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่

ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๘

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๘/๔๐๗ ข้อที่ ๔๘

••••••••••••••••••