วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2558



#สัญญา อยู่ตรงไหนของปฏิจจสมุปบาท

#การอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของ วิญญาณ กับ นามรูป (อย่างละเอียด)

ประมาณนาทีที่ <<10.50>> https://www.youtube.com/watch?v=dJQeNGSF9kg

***ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น***

**********************************

ภิกษุ ท. ! ผู้เข้าไปหา... เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ;

ผู้ไม่เข้าไปหา...เป็นผู้หลุดพ้น.



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณ ที่มีรูปเป็นอารมณ์

มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนา

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้.

เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์

มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์

มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;



ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์

มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิ(ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ

ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.



ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า



“เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ



โดยเว้นจากรูป

เว้นจากเวทนา

เว้นจากสัญญา

และเว้นสังขาร” ดังนี้นั้น,

นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.



ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ

ในเวทนาธาตุ

ในสัญญาธาตุ

ในสังขารธาตุ

ในวิญญาณธาตุ

เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว ; เพราะละราคะได้

อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง

ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.

วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม

หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ;

เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น

เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ;

เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ;

เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ;

ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.



อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑

ภาค ๓ ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ

คือความดับไม่เหลือของทุกข์

หน้าที่ ๖๘๓



***********************

#กระจายเสียซึ่งผัสสะ

#พิจารณาองค์ประกอบของผัสสะให้เห็นตามความเป็นจริง

#พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

#อริยสาวก #ไม่ยุบ #ไม่ก่อ

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง.

สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้นแม้ปัจจัยอันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)

๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,

ก็มีนัยเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย

มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย

(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย !

บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ):

แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้

ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

_สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.

หนังสือ พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๙๐-๙๓

__________________

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์


อาการจิต..ในสายปฏิจจสมุปบาท..ระหว่าง..ตัณหา.>> .อุปาทาน..
#ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. 
๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?
๙ อย่าง คือ :-
เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่(มจฺฉริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น(อารกฺโข);
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ; 
กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม 
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” 
การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย: 
ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล 
ชื่อว่าธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1702095013355368
ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๙
(บาลี) นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๗.
http://etipitaka.com/compare/pali/thai/23/413/?keywords

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บรรยายธรรมนอกสถานที่ ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จ ชลบุรี



#เหตุการณ์ออกผนวช..จากพระโอษฐ์

ประมาณนาทีที่.. << >> https://www.youtube.com/watch?v=MQc6D_AeUJE&feature=share



“….ราชกุมาร ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น

โพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในใจว่า “ชื่อว่าความสุขแล้ว ใคร ๆ

จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี” ดังนี้

-

ราชกุมาร ! ครั้นสมัยอื่นอีก

เรานั้นยังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด

บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัย,

เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วย,

กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่,เราได้ปลงผม

และหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว....”



((ออกผนวชเมื่อพระชนม์ ๒๙))



“….ดูก่อนสุภัททะ ! เรามีอายุได้ สามสิบหย่อนหนึ่งโดยวัย, ได้ออก

บรรพชา แสวงหาว่า “อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นกุศล” ๓ ดังนี้”

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๓๖ ข้อที่ ๔๘๙

--

http://etipitaka.com/read/thai/13/336/?keywords=%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B9%89%20%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2

--


วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

kiddee 20140831



อุปธิ กลับ อุปาทาน คลิปพุทธวจนบรรยายโดยพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ที่คิดดีคลีนิค วันอาทิตย์ ที่ 31 สิงหาคม 2557 ประมาณนาทีที่ 1.25 https://www.youtube.com/watch?v=Sji9pXeUZGM
--
#เหตุเกิดของ อุปธิ และ อุปาทาน คือตัณหา
"อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด,
มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด,
มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด,
และมีตัณหาเป็นแดนเกิด;
เมื่อตัณ หามีอยู่ อุปธิก็มีอยู่, เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิก็ไม่มี, ดังนี้แล.
*****************************************
ตามที่ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่กัมมาสทัมมนิคม แคว้นกุรุ
(นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๐/๒๕๔-๒๖๒)…. …
--
ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า
ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล
มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรภิกษุ
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล
มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ
ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕
ก็อันนั้น หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรภิกษุ
อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕
ก็อันนั้น หามิได้ และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้
แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน.
๑๐. ปุณณมสูตร..บางส่วน
--
#หมดอุปาทานก็ปรินิพพาน
พุทธวจน – การปรินิพพานในปัจจุบัน
คหบดี ! รูปทั้งหลาย ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียงทั้งหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลาย ที่ดมด้วยจมูกก็ดี รสทั้งหลาย ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่
และภิกษุก็ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น วิญญาณของภิกษุนั้น ก็ไม่อาศัย ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ไม่มีสิ่งนั้นๆ เป็นอุปาทาน
คหบดี ! ภิกษุผู้หมดอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน
คหบดี ! นี่แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะความหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับเย็นแล้วที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ ก็เป็นการสมควรที่จะกล่าวว่า ภิกษุเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรมนี้ นั่นแล.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๘/๑๙๒
สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๗/๒๔๔
--

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมผ่านระบบ VDO CONFERENCE กับ USA St Louis ค่ำวันศุกร์ที่ 14 สิง...



***สัพเพ ธัมมา อนัตตา*** นิพพานไม่เป็นทั้ง อัตตา และ อนัตตา

****************************

https://www.youtube.com/watch?v=XuJQpWjfp8M

"รูปัง อะนิจจัง,

เวทนา อะนิจจา,

สัญญา อะนิจจา,

สัญญาไม่เที่ยง;

สังขารา อะนิจจา,

วิญญานัง อะนิจจัง,

รูปปัง อนัตตา,

รูปไม่ใช่ตัวตน;

เวทะนา อนัตตา

สัญญา อนัตตา

สังขารา อนัตตา,

วิญญาณัง อนัตตา,

สัพเพ สังขารา อนิจจา,

สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ,"

---

พระสูตรที่ ๑

********************************************************************

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณ ะย่อมมี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม

ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว

คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)

คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)

คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา)

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น

ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว

ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้

ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง

ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้

กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็น

ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น

อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น

เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น

เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น

เป็น อิทัปปัจจยตาคือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)

---

พระสูตรที่ ๒

ตรัสข้อความอย่างเดียวกันกับพระสูตรแรก แต่ทรงเปลี่ยนจาก กฏอิทัปปัจจยตา

เป็น สัพเพสังขาราอนิจจัง สัพเพสังขาราทุกขา สัพเพธัมมาอนัตตา

*******************************************************************

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม

ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว

คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)

คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)

นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้

(ตัดอิทัปปัจจยตาออก)



ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น

ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว

ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้

ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง

ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ

เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง”ดังนี้

(ในพระสูตรข้างบน จะตรัสเป็นเพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี แทน)



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม

ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว

คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)

คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)

นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า

“สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ดังนี้

(ตัดอิทัปปัจจยตาออก)



ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น

ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว

ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้

ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง

ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า

“สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์ ”ดังนี้

(ในพระสูตรข้างบน จะตรัสเป็นเพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี แทน)



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม

ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว

คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)

คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)

นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า

“ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา” ดังนี้

(ตัดอิทัปปัจจยตาออก)



ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น

ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว

ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้

ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง

ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า

“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ดังนี้

(ในพระสูตรข้างบน จะตรัสเป็นเพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี แทน

ไม่ได้มีคำส่วนนิพพานเกี่ยวข้องกับพระสูตร สองพระสูตรนี้เลย)

--

แหล่งที่มา :

http://webboard.watnapp.com/forum.php?mod=viewthread&tid=1921

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2558



‪#‎ฤทธิ์ของอริยะ‬ พระศาสดารับรองคำพูดของพระสารีบุตรถือว่าเป็น พุทธวจน ด้วย ประมาณนาทีที่ <<47.30>> https://www.youtube.com/watch?v=KJZ_IixN2ok&spfreload=10

[๙๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม

คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายอิทธิวิธี

อิทธิวิธี ๒ อย่างเหล่านี้ คือ

๑. ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ

ไม่เรียกว่าเป็นของ พระอริยะ มีอยู่ ฯ

๒. ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ

เรียกว่าเป็นของพระอริยะ มีอยู่ ฯ

-

๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ

ที่ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะนั้น เป็นไฉน

คือสมณะหรือพราหมณ์บางคนใน โลกนี้

อาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส

อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น

อาศัยความประกอบเนืองๆ

อาศัยความไม่ประมาท

อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโต

สมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว

เขาได้บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ

คือคนเดียวเป็นหลาย คนก็ได้

หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้

ทำให้ปรากฎก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้

ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้

ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้

เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้

เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้

ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์

มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้

ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

นี้ฤทธิ์ที่ประกอบ ด้วยอาสวะ

ประกอบด้วยอุปธิ

ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะ ฯ

-

๒. ส่วนฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ

ที่เรียกว่าเป็นของพระอริยะ นั้นเป็นไฉน

คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูล ว่าไม่ปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าไม่ปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูล

และไม่ปฏิกูลนั้น ว่าไม่ ปฏิกูลอยู่

-

ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้น

ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

-

ถ้า หวังอยู่ว่า

เราพึงละวางสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นเสีย

แล้ววางเฉยมีสติ สัมปชัญญะ

ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูลนั้นเสีย

มีสติสัมปชัญญะอยู่

นี้ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ

ที่เรียกว่า เป็นของพระอริยะ

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

นี้เป็นข้อธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายอิทธิวิธี

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น

เมื่อทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น

ก็ ไม่มีข้อธรรมอื่นที่จะต้องทรงรู้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น

ซึ่งไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ อื่นที่รู้ยิ่งแล้ว

จะมีความรู้ยิ่งขึ้นไปกว่าพระองค์ในฝ่ายอิทธิวิธี ฯ

-

[๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

สิ่งใดอันกุลบุตรผู้มีศรัทธา

ปรารภความเพียร

มีความเพียรมั่น

จะพึงถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ

ด้วยความเพียรของบุรุษ

ด้วยความ บากบั่นของบุรุษ

ด้วยความเอาธุระของบุรุษ

สิ่งนั้นอันพระผู้มีพระภาคได้บรรลุเต็มที่แล้ว

อนึ่ง พระผู้มีพระภาค

ไม่ทรงประกอบความพัวพันด้วยความสุขในกามซึ่งเป็นของเลว

เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน

ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

และไม่ทรงประกอบการทำตนให้ลำบากเป็นทุกข์

ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงได้ฌาน ๔

อันล่วงกามาวจรจิตเสีย ให้อยู่สบายในปัจจุบัน

ได้ตามประสงค์ ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก

ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า

ดูกรท่านสารีบุตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่ ได้มีในอดีต

ท่านที่มีความรู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม

เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่าไม่มี

ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่น ที่จักมีในอนาคต

ท่านที่มีความรู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณจักมีไหม

เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี

ถ้าเขาถามว่า สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาค

ในสัมโพธิญาณมีอยู่ไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้

ข้าพระองค์ก็พึงตอบว่าไม่มี

ถ้าเขา ถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่ได้มีในอดีต

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับ

พระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม

เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์

พึงตอบว่ามีอยู่ ถ้าเขาถามว่า

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่จักมีในอนาคต

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาค

ในสัมโพธิญาณจักมีไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้

ข้า พระองค์พึงตอบว่า มีอยู่ ถ้าเขาถามว่า

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน

ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม

เมื่อเขา ถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี

ก็ถ้าเขาถามข้าพระองค์ว่า เหตุไรท่านจึงตอบ

รับเป็นบางอย่าง ปฏิเสธเป็นบางอย่าง เมื่อเขาถาม

อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบเขาว่า

นี่แน่ท่าน ข้อนี้ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์

ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต

เป็นผู้มีความรู้ เสมอเท่ากับเราในสัมโพธิญาณ

ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ ได้รับเรียนมา

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอนาคต

จักเป็นผู้มีความรู้เสมอเท่ากับเราในสัมโพธิญาณ

ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา เฉพาะพระพักตร์

ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า

ข้อที่พระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์

จะเกิดพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น

ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส นั่นเป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ ฯ

-

[๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อข้าพระองค์ถูกเขาถามอย่างนี้ ตอบ อย่างนี้

จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วแล ไม่ ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริงแลหรือ

ชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่ ธรรมแลหรือ

ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ

มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน แลหรือ ฯ

-

ถูกแล้วสารีบุตร เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้

แก้อย่างนี้นับว่าเป็นผู้กล่าวตามพุทธพจน์

ที่เรากล่าวแล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง

ชื่อว่าแก้ ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม

ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ

ก็มิได้มาถึงสถานะ อันควรติเตียน ฯ

-

[๙๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว

ท่านพระอุทายีได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา

ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา

มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้

แต่ไม่ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฎ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้เห็น

ธรรมแม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของพระองค์นี้ในตนแล้ว

พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยว ประกาศ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา

ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา

มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์

มีอานุภาพมากอย่างนี้

แต่ไม่ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ฯ

-

ดูกรอุทายี เธอจงดูความมักน้อย

ความสันโดษ ความขัดเกลาของตถาคต

ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้

แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ

เพราะเหตุนั้นถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

ได้เห็นธรรมแม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของเรานี้ในตนแล้ว

พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยวประกาศ

ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น

-

ดูกรอุทายี เธอ จงดูความมักน้อย ความสันโดษ

ความขัดเกลาของตถาคต

ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพ มากอย่างนี้

แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ ฯ

-

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า

เพราะเหตุนั้นแล สารีบุตร

เธอพึงกล่าวธรรมปริยายนี้เนืองๆ

แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้ง หลายในธรรมวินัยนี้

ดูกรสารีบุตรความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในตถาคต

ซึ่งจัก ยังมีอยู่บ้างแก่โมฆบุรุษทั้งหลาย

พวกเขาจักละเสียได้ เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ฯ

-

ท่านพระสารีบุตร ได้ประกาศความเลื่อมใสของตนนี้

เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค

ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น

คำไวยากรณ์นี้ จึงมีชื่อว่า "สัมปสาทนียะ" ดังนี้แล ฯ

จบ สัมปสาทนียสูตร ที่ ๕

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑

สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๘๗ ข้อที ๙๐

---

http://etipitaka.com/read/thai/11/87/?keywords=%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B0

พอจ เมตตาอธิบายการที่เราเป็นผู้ได้สดับได้สั่งสมสุตตะในคำตถาคตจะได้ประโยช...



#น้ำเต้าขมอันระคนด้วยยาพิษ

ประมาณนาทีที่ 23.07 https://www.youtube.com/watch?v=5KAdO2LlwTE&spfreload=10

[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมอันระคนด้วยยาพิษ.

บุรุษที่รักชีวิต  ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาถึงเข้า

ประชุมชนบอกเขาว่าดูกรบุรุษผู้เจริญ

น้ำเต้าขมนี้  ระคนด้วยยาพิษ

ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด

น้ำเต้าขมนั้น จักไม่อร่อยแก่ท่านผู้ดื่ม

ทั้งสี  ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย

หรือจักถึงทุกข์ปางตาย.

-

บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำเต้าขมนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง.

ก็ไม่อร่อย เพราะสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง

ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย

แม้ฉันใด

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้

ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน

และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

-

[๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม

ถึงพร้อมด้วยสีกลิ่น และรส แต่ระคนด้วยยาพิษ.

บุรุษที่รักชีวิต ไม่อยากตาย

รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึงเข้า.

ประชุมชนก็บอกเขาว่า

ดูกรบุรุษผู้เจริญ ภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม

ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส

แต่ละคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด

ภาชนะน้ำหวานนั้น จักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม

ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส

ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย

หรือจักถึงทุกข์ปางตาย

บุรุษนั้นไม่พิจารณา

ภาชนะน้ำหวานนั้นแล้ว

ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส

ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย

หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย

 แม้ฉันใด

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้

ที่มีสุขในปัจจุบัน

แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

-

[๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ.

บุรุษที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเข้า.

ประชุมชนบอกเขาว่า

ดูกรบุรุษผู้เจริญ มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ นี้

ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด

มูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม

ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ก็แต่ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว

จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง

ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น

ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้

ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน

แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

-

[๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส

และน้ำอ้อย เขาระคนเข้าด้วยกัน.

บุรุษผู้เป็นโรคลงโลหิตมาถึงเข้า

ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ

นมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยนี้ เขาระคนรวมกันเข้า

ท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ยานั้นจักชอบใจ

แก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส

และท่านครั้นดื่มเข้าแล้ว จักมีสุข.

บุรุษนั้นพิจารณายานั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง

ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มเข้าแล้ว

ก็มีสุข แม้ฉันใด

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้

ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

ว่ามีอุปมา

ฉันนั้น.

-

[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน

ในอากาศอันโปร่งปราศจากเมฆ

ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ในท้องฟ้า

กำจัดมืออันมีในอากาศทั้งสิ้นย่อมส่องสว่าง

แผดแสงไพโรจน์ แม้ฉันใด

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน

และมีสุขเป็นวิบากต่อไป กำจัดแล้วซึ่งวาทะของประชาชน

คือ สมณะ และพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น

ย่อมสว่างรุ่งเรือง ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิต

ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

จบ มหาธรรมสมาทานสูตรที่ ๖

--

http://etipitaka.com/read/thai/12/405/…

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๔๐๕ ข้อที่ ๕๓๐ - ๕๓๑

พุทธวจน faq สมถะ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร



สังวร สำรวมอินทรีย์

ทำให้จิตมีอารมณ์อันเดียว ทำให้เกิดสมาธิ

พระศาสดาให้ทำควบคู่กับการมีปัญญาเห็นเกิิดดับ

https://www.youtube.com/watch?v=D7xyldx7EBw

---

#เจริญอัฏฐังคิกมรรค

#สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป



[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ

นี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า



#มีสติปัฏฐาน ๔

#สัมมัปปธาน ๔

#อิทธิบาท ๔

#อินทรีย์ ๕

#พละ ๕

#โพชฌงค์ ๗

ถึงความเจริญบริบูรณ์



บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้

#คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป



เขาชื่อว่า

#กำหนดรู้ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

#ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

#เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญา อันยิ่ง

#ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่

ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์

คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณเหล่านี้

ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

คืออวิชชา และภวตัณหาเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

คือสมถะและวิปัสสนาเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน

คือวิชชาและวิมุตติเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

---------------------

#ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค)

ภิกษุ ท.! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง

ที่ บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย.



สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ

การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วย

#ความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)

อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ

เป็นของชาวบ้าน

เป็นของชั้นบุถุชน

ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,

และ

#การประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก(อัตตกิลมถานุโยค)



อันนำมาซึ่งความทุกข์ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.



ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)

ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว

เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ

เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ

เป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ความรู้อันยิ่ง

เพื่อความตรัสรู้พร้อม

เพื่อนิพพาน.



ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง

ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่างนั้น

เป็นอย่างไรเล่า ?



ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ

ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ

ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง.

แปดประการคืออะไรเล่า ? คือ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง)

สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง)

สัมมาวาจา(การพูดจาที่ถูกต้อง)

สัมมากัมมันตะ (การทำงานที่ถูกต้อง)

สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง)

สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง)

สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง)

สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง).



ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

-มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย ๙

---------------------------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่่องธรรมะที่จะดับความรุ่มร้อนในจิตได้คืออย่างไร?



**ดับความร้อน..ดับผัสสะ..** ละนันทิ จิตหลุดพ้น**

*************************

https://www.youtube.com/watch?v=R_7rvdTLRec&list=LL-68WAo39zQU9d_p2AxGsXw&index=3

"ของร้อน"

***********

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

จักษุ(ตา)เป็นของร้อน

รูป(แสงสีต่างๆ)ทั้งหลายเป็นของร้อน

วิญญาณอาศัยจักษุ(สภาพรู้ทางตา)เป็นของร้อน

สัมผัสอาศัยจักษุ(การที่ตา + แสงสีต่างๆ + สภาพรู้ทางตามาประจวบกันเรียกว่าผัสสะทางตา)เป็นของร้อน

ความเสวยอารมณ์ (เวทนา)

เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

แม้นั้นก็เป็นของร้อน

(สภาพสุขบ้างทุกข์บ้างหรือไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ที่เกิดขึ้นเพราะมีการเห็นเป็นสาเหตุ อันนี้ก็เป็นของร้อน)

ร้อนเพราะอะไร?

เรากล่าวว่า

ร้อนเพราะไฟคือราคะ

เพราะไฟคือโทสะ

เพราะไฟคือโมหะ

ร้อนเพราะความเกิด

เพราะความแก่และความตาย

ร้อนเพราะความโศก

เพราะความรำพัน

เพราะทุกข์กาย

เพราะทุกข์ใจ

เพราะความคับแค้น.

(เพราะไฟคือกิเลส ทำให้ต้องร้อนด้วยการเวียนว่ายตายเกิด เวียนพบเวียนพราก)

โสต(หู)เป็นของร้อน

เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

ฆานะ(จมูก)เป็นของร้อน

กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน

รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

กายเป็นของร้อน

โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย)ทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

มนะ(ใจ)เป็นของร้อน

ธรรม(สิ่งที่มากระทบใจ)ทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ (ทรงกล่าวนัยเดียวกัน)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ...ฯลฯ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด

เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น

เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า

ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว

พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี

ก็แล

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่

จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น

พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

************************************

อาทิตตปริยายสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๔๙/๓๐๔ ข้อที่ ๕๕

----

http://etipitaka.com/read/thai/4/49/?keywords=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

---

#กระจายเสียซึ่งผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง.

สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้นแม้ปัจจัยอันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)

๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,

ก็มีนัยเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย

มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย

(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย !

บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ):

แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้

ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

_สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.

หนังสือ พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๙๐-๙๓

--

#ผู้ได้ชื่อว่า #อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)

ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –

ไม่เป็นที่ชอบใจ -

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.



อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ

– ไม่เป็นที่ชอบใจ

- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน

อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า

#อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย

ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.



(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ

กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา

โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย

และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ

ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย

ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก

ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)



อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑

--------------------------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์ หลังฉัน 2 2015 07 31



#อัตตวาทุปาทาน คือตัววิญญาณ 2 พระสูตร..ที่สอดรับกัน..

เรื่องลึกซึ่ง ละเอียด  ปราณีต  กระทำไว้ในใจให้แยบคาย ประมาณนาทีที่ 37.20

 https://www.youtube.com/watch?v=o5RwOGb0byk&feature=share

#อุปาทานสี่

ภิกษุ ท. ! อุปาทานมี ๔ อย่าง เหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?

สี่อย่างคือ :-

๑. กามุปาทาน ความถือมั่นใน กาม

๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นใน ทิฎฐิ

๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นใน ศีลพรต

๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นใน วาทะว่าตน.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อุปาทานสี่อย่าง.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๘/๓๓๗.

   กามุปาทาน ..ถือมั่นในกามอันเกิดจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ..

   ทิฏฐุปาทาน..ถือมั่นใน ความคิด ความเชื่อ

   สีลัพพตุปาทาน.. ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส , ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย

   อัตตวาทุปาทาน..การยึดมั่นว่ามีตัวตน

-

‪#‎สิ่ง‬ ‪#‎สิ่งหนึ่ง‬

ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้:“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง

ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง

เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่ม­ีที่สุด

แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดย­รอบ,นั้นมีอยู่.

ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง”

นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม

ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ.

นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”.



บาลี เกวัฏฏสูตร สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓.

ตรัสแก่เกวัฏฏะคหบดี ที่ปาวาริกัมพวัน เมืองนาลันทา.

-

‪#‎ปัญญาสติ‬ กับ ‪#‎นามรูปดับ‬ เพราะ ‪#‎วิญญาณดับ‬

---

"ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว

ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น คือปัญญาและสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด;

ปัญญาและสติกับนามรูปนั้นจะดับไปในที่ไหน?

----

ดูก่อนอชิตะ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใด เราจะแก้ปัญหา

ข้อนั้นแก่ท่าน : นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด,

ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น ก็ย่อมดับไปในที่นั้น,

เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ แล.

----

- สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๐/๔๒๕. - จูฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๐-๒๑/๘๐,๗๕


วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558


#เพียงบทเดียว 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มี ธรรมที่ลึก 
ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม 
เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต 
ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก 
เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย;
ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง,
เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญ
เราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
--
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๓๒ – ๗๖๘
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๔๐ - ๑๔๓
(ภาษาไทย) สี.ที. ๙/๑๑-๓๗/๒๖-๕๐.
--
http://etipitaka.com/read/thai/9/11/

สนทนาธรรมผ่านระบบ vdo conference พุทธวจนสถาบัน usa



คำสอนของพระศาสดา..จะทำให้เรา..ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว..จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร

ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

‪#‎โสดาปัตติมรรค‬ ๒ จำพวก https://www.youtube.com/watch?v=Li53rR0NF6E

ก. สัทธานุสารี

ภิกษุ ท. ! ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ

เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยน

เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไป

ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;

บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)

หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)

ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว

จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร

ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ข. ธัมมานุสารี

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่ง

โดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการ

อย่างนี้;

บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)

หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ(ภูมิแห่งสัตบุรุษ)

ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว

จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร

ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อนาคามี ๕ ระดับ ปรินิพพานภายหลังกายแตกทำลาย



**อนาคามี ปรินิพพาน ภายหลังกายแตกทำลาย**‪

ประมาณนาทีที่ 1.46 https://www.youtube.com/watch?v=Kt5wVUwN868

#‎อนาคามี‬ ๕ จำพวก

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg

ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ

และอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน

เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง

ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

-

-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;

link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…

--

เชื่อมโยงกับพระสูตรข้างบน..บุคคล ๔ จำพวก



[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้



๑. เป็น สสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน

ด้วย ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบันเทียว

( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม สสงฺขารปรินิพฺพายี )



๒. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี

( บาลี : กายสฺส เภทา สสงฺขารปรินิพฺพายี )



๓. บางคนเป็น อสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน

ด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบัน

( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม อสงฺขารปรินิพฺพายี )



๔. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี

( บาลี : กายสฺส เภทา อสงฺขารปรินิพฺพายี )



๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม

● มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล

● มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี

● พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง

● และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน



● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา

● ทั้งอินทรีย์๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของ

เธอปรากฏว่าแก่กล้า



● เธอย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันเทียว

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ แก่กล้า



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ



๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี อย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ



● อินทรีย์ ๕ ประการคือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ...ของเธอปรากฏว่าอ่อน



● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อ่อน



ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ



๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน อย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุจตุตถฌาน



● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา ... ปัญญา



● อินทรีย์๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า



● เธอเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า



ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ



๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ



● แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า อ่อน



● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน



ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



__________



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๔๗/๒๔๐ ข้อที่ ๑๖๙.

พุธวจน การได้พระอนาคามี ๕ ระดับ ภายหลังกายแตกทำลาย



**การได้พระอนาคามี ๕ ระดับ ภายหลังกายแตกทำลาย**

********************************************************

ประมาณนาที ที่ 1.46 https://www.youtube.com/watch?v=Kt5wVUwN868

‪#‎อนาคามี‬ ๕ จำพวก

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg

ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ

และอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน

เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง

ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

-

-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;

link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…

--

บุคคล ๔ จำพวก



[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้



๑. เป็น สังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน

ด้วย ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบันเทียว

( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม สสงฺขารปรินิพฺพายี )



๒. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี

( บาลี : กายสฺส เภทา สสงฺขารปรินิพฺพายี )



๓. บางคนเป็น อสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน

ด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบัน

( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม อสงฺขารปรินิพฺพายี )



๔. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี

( บาลี : กายสฺส เภทา อสงฺขารปรินิพฺพายี )



๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม

● มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล

● มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี

● พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง

● และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน



● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา

● ทั้งอินทรีย์๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของ

เธอปรากฏว่าแก่กล้า



● เธอย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันเทียว

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ แก่กล้า



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ



๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี อย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ



● อินทรีย์ ๕ ประการคือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ...ของเธอปรากฏว่าอ่อน



● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อ่อน



ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ



๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน อย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุจตุตถฌาน



● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา ... ปัญญา



● อินทรีย์๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า



● เธอเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า



ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ



๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างไร



ภิกษุในธรรมวินัยนี้

● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ

● บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ



● แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า อ่อน



● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี

● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน



ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



__________



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๔๗/๒๔๐ ข้อที่ ๑๖๙.

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย_2015-02-09



#อนาคามี ๕ จำพวก

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg



ปุริสคติสูตร

             [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ

และอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน

เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-  

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง

ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-            

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

-

-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;

link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/?keywords=%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

--