วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน เด็ก ออทิสติก เจริญอานาปานสติ เสพคำตถาคต ๓ ปี หาย




เด็ก ออทิสติก เจริญอานาปานสติ เสพคำตถาคต ๓ ปี หาย
ประมาณนาทีที่ 1.07 ::
********
#ระงับอาพาธโดยควรแก่ฐานะ
อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์
แล้วกล่าวสัญญา 10 ประการแก่เธอแล้ว
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์
ฟังสัญญา 10 ประการแล้วอาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอ
ก็จะระงับไปโดยควรแก่ฐานะ สัญญา 10 ประการ นั้นคือ
อนิจจสัญญา
อนัตตสัญญา
อสุภสัญญา
อาทีนวสัญญา
ปหานสัญญา
วิราคสัญญา
นิโรธสัญญา
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
อานาปานสติ
----
อาพาธสูตร
[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน 
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี 
ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ 
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล 
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว 
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า 
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ 
ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก 
ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์
เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด 
พระเจ้าข้า ฯ
-
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ 
ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา๑๐ ประการ
แก่คิริมานันทภิกษุไซร้ 
ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน 
เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น 
เป็นฐานะที่จะมีได้ 
-
สัญญา ๑๐ประการเป็นไฉน คือ 
อนิจจสัญญา ๑
อนัตตสัญญา ๑ 
อสุภสัญญา ๑ 
อาทีนวสัญญา ๑ 
ปหานสัญญา ๑ 
วิราคสัญญา ๑ 
นิโรธสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ 
สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ 
อนาปานัสสติ ๑ ฯ
-
ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี 
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง 
เวทนาไม่เที่ยง
สัญญาไม่เที่ยง 
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง 
วิญญาณไม่เที่ยง 
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ด้วยประการอย่างนี้ 
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ
-
ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี 
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
จักษุเป็นอนัตตา 
รูปเป็นอนัตตา
หูเป็นอนัตตา 
เสียงเป็นอนัตตา 
จมูกเป็นอนัตตา 
กลิ่นเป็นอนัตตา 
ลิ้นเป็นอนัตตา 
รสเป็นอนัตตา 
กายเป็นอนัตตา
โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา 
ใจเป็นอนัตตา 
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา 
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ในอายตนะทั้งหลาย 
ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้
ด้วยประการอย่างนี้ 
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ
-
ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล 
เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป 
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มด้วยของไม่สะอาด 
มีประการต่างๆ ว่า 
ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจตับ 
พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลดหนอง เลือด เหงื่อ 
มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ 
ด้วยประการดังนี้ 
ดูกรอานนท์นี้เรียกว่า อสุภสัญญา ฯ
-
ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี 
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก
เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ 
คือโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย
โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปากโรคฟัน โรคไอ 
โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม
โรคในท้องโรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด 
โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก
โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย 
โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม
โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน 
โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดี
เป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต
อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ 
อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม 
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ 
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ 
ด้วยประการดังนี้
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ
-
ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไม่ยินดี
ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป 
ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป 
ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว 
ย่อมไม่ยินดีย่อมละ ย่อมบรรเทา 
ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มี 
ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว 
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา 
ย่อมทำให้หมดสิ้นไป
ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า 
อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ
-
ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี 
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ 
ธรรมชาตินั่นประณีต คือ 
ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง 
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง 
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา 
ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสธรรมชาติ
เป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ 
ดูกรอานนท์ นี้ เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี 
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ 
ธรรมชาตินั่นประณีต คือ 
ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง 
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง 
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา 
ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ 
ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ 
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ
-
ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอุบาย 
และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น 
และเป็นอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น 
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง 
ดูกรอานนท์นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ
-
ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน 
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี 
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี 
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า 
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง(ลมหายใจ) หายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา)หายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้าย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ
-
ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว 
กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่คิริมานนทภิกษุไซร้
ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุ
จะพึงสงบระงับโดยพลัน
เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้
เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
-
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์
ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว 
ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ 
ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ 
ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน 
เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ 
ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น 
ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์
ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
หน้าที่ ๙๙ ข้อที่ ๖๐
--
http://etipitaka.com/read/thai/24/99/
--

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การปฏิบัติธรรมควรเริ่มต้นอย่างไร





การปฏิบัติธรรมควรเริ่มต้นอย่างไร ::

#กุศลกรรมบถ๑๐

#เทวคติ #มนุษยคติ #หรือสุคติอื่นใด #บรรดามี #ย่อมปรากฏ

------------

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง

ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง

ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่างนั้น

เป็นอย่างไรเล่า ?

----------------

#ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก

#ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง

๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ

๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด

๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ

๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก

#ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง

๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา

๙. อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา

๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก

----------------

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์

มีชีวิตให้ตกล่วง เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้

วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่

สัตว์ทั้งหลายอยู่.

(๒) ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ถือเอา

ทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี

ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย.

(๓) ละกาารประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก

การประพฤติผิดในกาม, (คือเว้นจากการประพฤติผิด) ในหญิง

ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ

ญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ใน

สินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้อง

มาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย

๓ อย่าง.จุนทะ ! ความสะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง นั้น

เป็นอย่าางไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละมุสาวาท เว้น

ขาดจากมุสาวาท ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่

ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี

ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำาไปเป็นพยาน ถามว่า

“บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น”

ดังนี้, บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้

เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น,

เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่

อามิสไรๆ ก็ไม่เป็น ผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.

(๒) ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด

ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจาก

ฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้

เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้

กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่

ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง

เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการ

พร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำาให้พร้อมเพรียงกัน.

(๓) ละการกล่าวคำาหยาบเสีย เว้นขาดจาก

การกล่าวคำาหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต

ให้เกิดความรัก เป็นคำาฟูใจ เป็นคำาสุภาพที่ชาวเมือง

เขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจา

เช่นนั้นอยู่.

(๔) ละคำาพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำาพูดเพ้อเจ้อ

กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำาจริง เป็นประโยชน์

เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง

มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางวาจา

๔ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็น

อย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วย

อภิชฌา คือเป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์

ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา”

ดังนี้.

(๒) เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำาริแห่งใจ

อันไม่ประทุษร้ายว่า “สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้

เป็นต้น.

(๓) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่

วิปริต ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล),

การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำาดี

ทำาชั่ว มี, โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกสัตว์ มี,

สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำา

ให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้ว

ประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางใจ ๓

อย่าง.

จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐.

จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐

ประการเหล่านี้ ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว แม้จะ

ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็น

คนสะอาด; แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่

จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด; แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็น

คนสะอาด, แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด; แม้

จะบำาเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่บำาเรอไฟ ก็เป็น

คนสะอาด; แม้จะไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด, แม้

จะไม่ไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด; แม้จะลงน้ำาใน

เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ลงน้ำาใน

เวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

เหล่านี้ เป็นตัวความสะอาด และเป็นเครื่องกระทำ

ความสะอาด.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วย

กุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุ

พวกเทพจึงปรากฏ หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓-๒๘๙/๑๖๕.

**************************************

อริยมรรค มีองค์ ๘

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ

คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปด

คือ

ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)

ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)

วาจาชอบ (สัมมาวาจา)

การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)

อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)

ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)

ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)

ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความ รู้ในทุกข์

ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์

ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,

นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม

ความดำริในการไม่พยาบาท

ความดำริในการไม่เบียดเบียน,

นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ

การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน

การเว้นจากการพูดหยาบ

การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,

นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์

การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,

นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้

ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย

สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,

นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้

ย่อมปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันบาปทั้งหลาย

ที่ยังไม่ได้บังเกิด;

-

ย่อมปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว;

-

ย่อม ปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่ยังไม่ได้บังเกิด;

-

ย่อม ปลูกความพอใจ

ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อความยั่งยืน

ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น

ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ

แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว,

นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ

นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ

นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ

นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ

นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,

นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย

สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่

เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง

อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน

ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น

ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่

เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้

มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

และได้เสวยสุขด้วยนามกาย

ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม

อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้

มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้ว แลอยู่

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้

และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน

เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่

อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่,

นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ

คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ปฐมธรรม หน้า ๒๙๕

(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=231&volume=10

--

#เจริญมรรคองค์ใด องค์หนึ่ง มรรคแปดบริบูรณ์

link ; อ่านพระสูตรเต็มๆ https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1605692172995653

*************

********

#กองกุศล และ #กองอุกุศล ที่แท้จริง

-----

#สติปัฏฐานสี่ #กองกุศลที่แท้จริง

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

--------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

---------------------------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

----------

#นิวรณ์๕ #กองอกุศลที่แท้จริง

#นิวรณ์๕ #ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

ภิกษุทั้งหลาย !

นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น 5 อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่

5 อย่าง อย่างไรเล่า ? 5 อย่าง คือ

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ( ง่วงเหงาซึมเซา )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ( ฟุ้งซ่านรำคาญ )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ( ลังเลสงสัย )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

-----------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว

จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน

หรือประโยชน์ผู้อื่น

หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

หรือจักกระทำให้แจ้ง

ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์

ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้

นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา

ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว

พัดพาสิ่งต่างๆ ไปได้

มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น

ด้วยเครื่องไถ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น

ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง

ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล

ไม่มีกระแสเชี่ยว

ไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้ นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว

จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน

หรือประโยชน์ผู้อื่น

หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

หรือจักกระทำให้แจ้ง

ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์

ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง ดังนี้

นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ต่อไปได้ตรัสโดยปฏิปักขนัย (นัยตรงข้าม)

คือ ภิกษุละนิวรณ์แล้ว

ทำญาณวิเศษให้แจ้งได้ ด้วยปัญญา

อันมีกำลังเหมือนแม่น้ำที่เขาอุดรูรั่ว

ทั้งสองฝั่งเสียแล้วมีกระแสเชี่ยวแรงมาก ฉะนั้น

-------------------------------

- อาวรณสูตร ปญฺจก. อํ. 22/72/51.

-----------

#นิวรณ์ ๕ กองอุกศล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕

เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ

...

กามฉันทนิวรณ์ ๑

พยาบาทนิวรณ์ ๑

ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑

วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย narutogetbird เมื่อ 2013-11-23 00:28

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕

เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ

...

กามฉันทนิวรณ์ ๑

พยาบาทนิวรณ์ ๑

ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑

วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

...

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

--------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

-------------

#อุปมานิวรณ์

[๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

#บุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน

การงานของเขาจะพึงสำเร็จผล

เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น

และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา

เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้

การงานของเราสำเร็จผลแล้ว

เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว

และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็น

#ผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก

บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย

สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น

บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย

เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก

บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้

เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้

และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความไม่มีโรคนั้น เป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึง

#ถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา

เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย

ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้

เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว

และเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีการพ้นจากเรือนจำ นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะ

#พึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน

ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา

เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น

พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น

#เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ

เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราเป็นทาส

พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น

ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้

เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง

ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว

ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ

#มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ #พึงเดินทางไกลกันดาร

หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า

สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้

บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี

เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ

เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก

มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น

บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้

เขาจะ

#พึงได้ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้

#ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้

#เหมือนโรค

#เหมือนเรือนจำ

#เหมือนความเป็นทาส

#เหมือนทางไกลกันดาร

และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน

#เหมือนความไม่มีหนี้

#เหมือนความไม่มีโรค

#เหมือนการพ้นจากเรือนจำ

เหมือนความเป็นไทยแก่ตน

เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

-------------------------

#รูปฌาน ๔

[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

ที่ละได้แล้วในตน

ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ

เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ

เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข

เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอทำกายนี้แหละให้

**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่าน**ด้วยปีติและสุข**เกิดแต่วิเวก

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

**พนักงานสรงสนาน

**หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด

**จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด

**แล้วพรมด้วยน้ำ

หมักไว้

ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด

ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ทำกายนี้แหละให้

**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่านด้วย**ปีติ**และ**สุข**เกิดแต่วิเวก

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ

**สามัญผลที่เห็นประจักษ์ **ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต

ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข

เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ

ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

ห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน

ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้

ทั้งในด้านตะวันออก

ด้านใต้

ด้านตะวันตก

ด้านเหนือ

ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล

แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว

จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น

ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด

ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ย่อมทำกายนี้แหละ

ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ

ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ**สามัญผลที่เห็นประจักษ์**

ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข

ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน

ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร

เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง

หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง

หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ

เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้

ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด

ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว

ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ

สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ

ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง

คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร

นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๖๘/๓๘๓ ข้อที่ ๑๒๔-๑๒๖

--------------

อ่่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

--------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

------------------------------------------

การเลือกคบ..คน..คบสัตบุรุษ.จะหายตาบอด


การเลือกคบ..คน...คบสัตบุรุษ
#เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
จะหายจากลักษณะตาบอด #ต้องคบสัตบุรุษ
***มิตรแท้***
********************
๒ นัยยะ คือ
๑. อริยมรรคมีองค์ ๘
๒. มิตรสหายที่ชวนเราประพฤติมรรคแปด
**************
จะหายจากลักษณะตาบอด #ต้องคบสัตบุรุษ
******
มาคัณฑิยปริพพาชก ได้กราบทูลว่า
"ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว, ท่านพระโคดมจะสามารถ เพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้า จะลุกขึ้นจากอาสนะนี้ ในลักษณะแห่งผู้หายตาบอดได้ไหม พระเจ้าข้า?".
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า…
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! ถ้าอย่างนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ,
เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใด…
ท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ,
เมื่อนั้น ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใด…
ท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว,
เมื่อนั้น ท่านจักรู้เอง เห็นเอง โดยแท้ ว่า…
#นี้คือโรค
#นี้คือหัวฝี
#นี้คือลูกศร
--- --- ----
มาคัณฑิยสูตร ม.ม. ๑๓/๒๘๕/๒๙๑, ตรัสแก่มาคัณฑิยปริพพาชก ที่กัมมาสทัมมนิคม แคว้นกุรุ.
โรค หัวฝี ลูกศร ทั้งหลาย ในกรณีนี้,
ย่อมดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ
(ในลักษณะเดียวกันกับข้อที่ว่า:-)
….เพราะความดับแห่งอุปาทานของเรานั้น
จึงมีความดับแห่งภพ;
เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ;
เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น.
….ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้", ดังนี้.
-----------------------------
#เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
-- -- -- -- -- -- -- -- --
#มาคัณฑิยสูตร
ดูกรมาคัณฑิยะ
เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.
#แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า
ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ
บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง
บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า
บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด.
เขารับผ้านั้นมาห่ม
#มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียน ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ชำระตาให้ใสได้
#เขาย่อมละความรัก ด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า
บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า
บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดดังนี้ มานานหนอ ฉันใด
#ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า
...ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้
...นิพพานนั้นคือข้อนี้.
ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้
ท่านนั้นก็จะละความกำหนัด
ด้วยสามารถความพอใจในขันธ์
ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น
#อนึ่งท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ
#เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ
เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น
#เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรานั้น
เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
[๒๙๑]
#ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว
ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอด ลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.
ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น
#ท่านควรคบสัตบุรุษ
เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ
เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
#เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
#เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้
โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้
#เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
......................................
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
***********
ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น #ท่านควรคบสัตบุรุษ
****************************
เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ
เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้
โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้
เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
http://etipitaka.com/read

[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการ
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ย่อมเจริญด้วยศีลที่ เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยสมาธิที่เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการนี้ ฯ
จบกรรมวรรคที่ ๔
http://etipitaka.com/read...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีความดำริชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความดำริชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีวาจาชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในวาจาชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีการงานชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในการงานชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีอาชีพชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในอาชีพชอบอีกด้วย
เป็นผู้มีความพยายามชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความพยายามชอบอีกด้วย
เป็นผู้ตั้งสติชอบด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในการตั้งสติชอบอีกด้วย
เป็นผู้ตั้งใจมั่นด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นในความตั้งใจมั่นอีกด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลนี้เราเรียกว่า
สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ ฯ
http://etipitaka.com/read...
E-Tipitaka | Read
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…#
***************
***มิตรแท้***
********************
๒ นัยยะ คือ
๑. อริยมรรคมีองค์ ๘
๒. มิตรสหายที่ชวนเราประพฤติมรรคแปด
#โลกใบเล็กของพุทธวจน #พุทธวจนสถาบัน "เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร" ต้องเน้นที่ "เพราะอาศัยเรา(อรหันตสัมมาสัมพุทธ)พระองค์นั้น "ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘"
------------
#การได้คบคนดี เป็นสัตบุรุษจะมีคุณ คือ ได้ฟังธรรม...ฯ
เจริญธรรม ๔ ประการมีปัญญาชำแรกกิเลส
[๑๖๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
คือ
การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังสัทธรรม ๑
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.
---
มรรค๘ กัลยาณมิตรเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรค
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อดวงอาทิตย์กำลังขึ้น
สิ่งที่มาก่อน เป็น นิมิตให้เห็นก่อน
คือการขึ้นมาแห่งอรุณ ฉันใด ;
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมีการเกิดขึ้นแห่ง
อริยอัฏฐังคิกมรรคของภิกษุ
สิ่งที่มาก่อน เป็นนิมิตให้เห็นก่อน คือ
กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร)
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือความหวังของภิกษุ
ผู้มีกัลยาณมิตร คือ
เธอจักเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคได้
จักกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้.
--------------------------
(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖/๑๒๙.
********
*****
อริยมรรค มีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปด คือ
ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความ รู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันบาปทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อม ปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อม ปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว, นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสตินำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้ว แลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่, นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ปฐมธรรม หน้า ๒๙๕
(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.
*********
******
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)(หลังฉัน watnapp)
[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ
แก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
-
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
#ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ
สัมมาทิฐิ
สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า
#สัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ
-
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
#สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี
บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
-
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ความเห็นชอบ
องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล
สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ
เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอนั้น
เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้
มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
-
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่ามิจฉาสังกัปปะ
รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ
ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน
นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ
-
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ
ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท
ดำริในความไม่เบียดเบียน
นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล
สัมมาสังกัปปะ ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ
เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้
มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉาวาจา
รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน
คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ
-
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
นี้ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา
เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้
มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะ
รู้จักสัมมากัมมันตะว่า สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น
เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร
นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ
-
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมากัมมันตะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
-
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ
เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะ
ของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมากัมมันตะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ
เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้
มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
-
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่ามิจฉาอาชีวะ
รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
-
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ
การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง
การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ
-
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ
-
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ
เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
-
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ
เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น
เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม
เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ
-
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล
พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐
-
[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น
ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
-
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้…
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้…
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้…
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้…
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้…
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้…
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้…
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้…
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้
ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล
จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐
ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ
อันเราให้เป็นไปแล้ว
สมณะ หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม
หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ
-
[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียน
คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้
การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ
อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น
ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว
-
ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ
เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้
การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ
อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท
ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ
ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน
ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ
นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๔๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๕๒-๒๕๕
*********
*****
***มิตรสหาย***
****************
[๒๐๒] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยการให้ปัน ๑
ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑
ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑
ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑
ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ
รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑
ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑
นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้
ทิศเบื้องซ้ายนั้น ชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ
ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๒๕๘/๔๑๘ ข้อที่ ๒๙๖
http://etipitaka.com/read…#
******************************
***มิตรดี สหายดี***
*******************
ดูกรอานนท์ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว
ดูกรอานนท์ นี่ภิกษุผู้มีมิตรดีพึง
ปรารถนา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
จักเจริญอริยมรรคมีองค์แปด
จักกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ ฯ
[๓๘๓] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด
ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้อย่างไร ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้
...ย่อมเจริญสัมมาทิฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน
...ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ...
...ย่อมเจริญสัมมาวาจา
...ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ
...ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ
...ย่อมเจริญสัมมาวายามะ
...ย่อมเจริญสัมมาสติ
...ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อัน อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ย่อมเจริญ อริยมรรคมีองค์แปด
ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ อย่างนี้แล ฯ
ดูกรอานนท์ โดยปริยายแม้นี้ พึงทราบว่า
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ฯ
ดูกรอานนท์ ด้วยว่าอาศัยเราเป็นมิตรดี
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็น ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเกิดได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้น จากความเจ็บป่วยได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจาก ความตายได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ
และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความโศก
ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจได้ ฯ
ดูกรอานนท์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไป
ในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ฯ
[๓๘๔] ดูกรมหาบพิตร เพราะเหตุนั้นแหละ พระองค์พึงทรงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกอย่างนี้แล ฯ
ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือ
ความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย
พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี พึงทรงอาศัย อยู่เถิด ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
หน้าที่ ๑๑๐/๒๘๙ ข้อที่ ๓๘๓-๓๘๔
http://etipitaka.com/read…#
***********************
***มิตรที่แท้จริง..คือ..อริยมรรคมีองค์ ๘.. พาไปนิพพาน..***
****************************************
[๑๐] ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
[๑๑] ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
นั้นพึงทราบโดยปริยายแม้นี้
ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ
ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร
ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น
พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๔/๔๖๙ ข้อที่ ๑๒-๑๕
**************