วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559




ตรวจสอบความเป็นโสดาบันของตนเอง



ตรวจสอบความเป็นโสดาบันของตนเอง ::
สนทนาธรรมเช้าวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ::
****
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน

นัยที่ ๑

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ (โดยธรรมชาติ) ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ :-
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นของสุข
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไรๆ โดยความเป็นตัวตน
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์ โดยโกตุหลมงคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคล ภายนอกจากศาสนานี้.


ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

หนังสือโสดาบัน หน้า ๑๑๐
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๔.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙/๓๖๔
*********
*****
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน
นัยที่ ๒

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ : -


ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระธรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระสงฆ์
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในสิกขา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา)
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น


ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

คู่มือโสดาบัน หน้า๑๑๒
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๓.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙/๓๖๓.
*********
******
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน
นัยที่ ๓

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ : -


เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ปลงชีวิตมารดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ปลงชีวิตบิดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ปลงชีวิตพระอรหันต์
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง คิดประทุษร้ายตถาคตแม้เพียงทำโลหิตให้ห้อ
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ทำให้สงฆ์ให้แตกกัน
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ถือศาสดาอื่น (นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)


ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

คู่มือโสดาบัน ๑๑๕
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๕.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙/๓๖๕.
********
******
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน
นัยที่ ๔

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า? หกประการ คือ : -


ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องใครอื่นทำให้เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง

ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าเหตุ (แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้วโดยแท้จริงและธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

คู่มือโสดาบัน ๑๑๗
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๓/๓๖๖.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๖.
*********
*****
#กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.
อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
มม. ๑๓๓๕๕๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖๘๔๑๕๔


ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ความสิ้นสุดของโลก
นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
เมื่อความน้อมไป ไม่มี, การมาและการไป ย่อมไม่มี
อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ
เมื่อการมาและการไป ไม่มี, การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
เอเสวันโต ทุกขัสสะนั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.
อุทานขุ. ๒๕๒๐๘๑๖๑

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ
สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ;
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
นันทิกขะยา ราคักขะโย;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ(คือความเพลิน) จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ(คือความพอใจ)
ราคักขะยา นันทิกขะโย;
เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่ง นันทิ
นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๖.)
********
*****
#ชื่อของโสดาบัน
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว
ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว
ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำาแรกกิเลส
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ
นิทาน. สํ. ๑๖/๙๕-๙๖/๑๘
*******
****
#โสดาบัน ๓ จำพวก
เสขสูตรที่ ๔
[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่ง
กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น
รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉนคือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา
สิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ
ให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน
สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า
เมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด
วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป
ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมด สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อ
ยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และ
เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึงยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะ
สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบันเพราะสังโยชน์
๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือ
ว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะ
สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
*******
*****
ดาวน์โหลดหนังสือ คู่มือ โสดาบัน พุทธวจน
http://buddhaoat.blogspot.com/p/blog-page_13.html

พุทธวจน ทำไมต้องสวดมนต์และได้ประโยชน์อะไร

ทำไมต้องสวดมนต์และได้ประโยชน์อะไร::

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
********
****
#ประโยชน์ของการสาธยายธรรม
๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ
(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.
๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน
อฎฺก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕.
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน
(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.
๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘
*********
******
#เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ
..มีบทสรุปเดียวกันคือ..
.... เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว
ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว
ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติข้อที่ ๑,๒,๓,๔,๕
---
เหตุวิมุตติ (อย่างย่อ)
๑.ขณะรับการแสดงธรรมจากพระศาสดาเพื่อนสพรหมจารีก็บรรลุธรรม
๒.ขณะภิกษุนั้นเองแสดงธรรมก็บรรลุธรรม
๓.ขณะภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับก็ได้บรรลุธรรม
๔.ขณะภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับก็บรรลุธรรม
๕.สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งเธอเล่าเรียนมาด้วยดีทำไว้ในใจด้วยดีทรงไว้ด้วยดีแทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ก็บรรลุธรรม
-----------
#วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น
ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ใน
ฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว
ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติข้อที่ ๑
------------------------
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น
ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรม
เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...
--------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียน
มาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ...
---------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจเธอย่อมเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...
---------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่
ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอด
ด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิต
อย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อ
เธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิด
ปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
----------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม
อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
จบสูตรที่ ๖
------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๐/๔๐๗ ข้อที่ ๒๖
----------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-------------------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
*******
*****
ดาวน์โหลดหนังสือ #สาธยายธรรม พุทธวจน
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1719064278325108

พุทธวจน สังโยชน์กับการได้ภพ

สังโยชน์กับการได้ภพ ::

#สังโยชน์และที่ตั้งแห่งสังโยชน์
(ความยึดถือหรือเครื่องร้อยรัดจิต)
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน (สฺโญชนิยธมฺม)
และ ตัวสัญโญชน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟงขอนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เปนอยางไร ?
และ ตัวสัญโญชน์ เปนอยางไรเลา ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป (กาย) เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน.
ฉันทราคะ (ความกําหนัดเพราะพอใจ) ใด เขาไปมีอยูในรูปนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในรูปนั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในเวทนานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในเวทนานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในสัญญานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสัญญานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในสังขารทั้งหลายเหลานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสังขารทั้งหลายเหลานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในวิญญาณนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในวิญญาณนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ขันธเหลานี้ เรียกวา สิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน ;
ฉันทราคะนี้เรียกวา ตัวสัญโญชน แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๒๗.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๙/๓๐๘.
********
****
#อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน
"ภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
**********
****
#เครื่องนำไปสู่ภพ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้ ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า ! และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า !
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี ตัณหา (ความอยาก) ก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และอุปาทาน (ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส) อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใดๆ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’
ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส มีฉันทะ ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง.
ภพภูมิ หน้า ๘
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๒/๓๖๘.
***********
******
#ความม่ีขึ้นแห่งภพ(นัยที่๑)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ–ภพ’ ดังนี้
ภพ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า!
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ภพภูมิ หน้า ๔
(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๒๑๑/๕๑๖.
*********
*****
#ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน น ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.
ภพภูมิ หน้า ๙-๑๐
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕. :
**********
*****
#ภพคืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่า นี้คือ :-
กามภพ รูปภพ อรูปภพ.2
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภพภูมิ หน้า ๓
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๙/๙๑.

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน พระอาจารย์เมตตาแจกแจงพระสูตร โสดาบัน อาคามี อนาคามี


พระอาจารย์เมตตาแจกแจงพระสูตร โสดาบัน อาคามี อนาคามี ::

"อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล ๖ ประการ "
ภิกษุ ท. ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล ๖ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
หกอย่างเหล่าไหนเล่า ? หกอย่าง คือ : -
เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม;
เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม;
ทุกข์ดับไป ทุกขั้นตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว
เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ
(ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น) ;
เป็นบุคคลผู้ เห็นธรรมที่เป็นเหตุ และ
เห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการ
แห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
(ไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๔/๓๖๘.
---------
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยกามโยคะ๑ ประกอบด้วยภวโยคะ๒ ย่อมเป็นอาคามี มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ แต่ยังประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ ไม่ประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็นพระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะ."
-
อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓
----------------------------------
๑. กามโยคะ เครื่องมัดสัตว์คือกาม ความใคร่
๒. ภวโยคะ เครื่องมัดสัตว์คือภพ ความพอใจในความีความเป็น
-------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
***
link พระสูตร
link พระสูตร :: #ให้ทานอย่างไร.ได้ความเป็นอริยะ..ให้ทานวางจิตละความตระหนี่..(โสดาปัตติผล.)
https://plus.google.com/+ChaleepornInrodBNNo312/posts/K29qrWoFjRu
link พระสูตร :: ผลของทานในแต่ละบุคคล
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1652724441625759
link พระสูตร :: การวางจิต ละความตะหนี่
#การวางจิตให้ทาน เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เกิดเป็นเทวดา และไม่ต้องกลับมาอีก
#ให้ทานละความตระหนี่ เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต**
***การวางจิต
---ให้ของที่พอใจ
--ให้แล้วไม่คิดเอาคืน
--บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยาก
----
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1618665005031703
link พระสูตร :: การวางจิตให้ทาน
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1652726354958901
link พระสูตร :: ลำดับการให้ทาน
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1652727834958753
link พระสูตร :: ทายกและปฎิคาหก (ผู้ให้ , ผู้รับ ทาน)
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1652726868292183
link พระสูตร :: ผลการวางจิตให้ทาน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1602332359998301&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=3&permPage=1
link พระสูตร :: เหตุแห่งการให้ทาน
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1618665005031703

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน ผีมีจริงใหม และเราควรกลัวหรือไม่


ผีมีจริงใหม่ และเราควรกลัวหรือไม่.
"ผี.เป็นคำไทย" พระพุทธเจ้าจะชี้ลงไปเลย..ภพภูมิใด..ในคติ.๕

******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
คติ ๕ และอุปมา
สารีบุตร ! คติ ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
๕ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ :-
(๑) นรก
(๒) กำเนิดเดรัจฉาน
(๓) เปรตวิสัย
(๔) มนุษย์
(๕) เทวดา
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก
ทางยังสัตว์ให้ถึงนรก
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนรก
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน
ทางยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย
ทางยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย
อนึ่ง สัตว์ผู้ ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์
ทางยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมบังเกิดในหมู่มนุษย์
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย
ทางยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน
ทางยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน
และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน
อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด
ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า ถึงแล้ว แลอยู่
เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
อุปมาการเห็นคติ
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง
ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง
ปราศจากเปลว ปราศจากควัน
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิงนั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้ทีเดียว”
โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขาตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า
เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ดวยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคลนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนหลุมคูถ
ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถ
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อน
แผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถนี้ทีเดียว”
โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
จักเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน
โดยสมัยต่อมาเราย่อมเห็นบุคคลนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เข้าถึงแล้ว ซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อน
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ
มีใบอ่อนและใบแก่อันเบาบาง มีเงาอันโปร่ง
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว”
โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขานั่งหรือนอนในเงาต้นไม้นั้น
เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
จักเข้าถึงเปรตวิสัย
โดยสมัยต่อมาเราย่อมเห็นบุคคลนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย
เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอ
มีใบอ่อนและใบแก่อันหนา มีเงาหนาทึบ
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว”
โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขานั่งหรือนอนในเงาต้นไม้นั้น
เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้
ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า
บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
จักบังเกิดในหมู่มนุษย์
โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บังเกิดแล้วในหมู่มนุษย์
เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนปราสาท
ในปราสาทนั้นมีเรือนยอด ซึ่งฉาบทาแล้ว
ทั้งภายในและภายนอก หาช่องลมมิได้
มีวงกรอบอันสนิท มีบานประตู และหน้าต่างอันปิดสนิทดี
ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว
ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว
ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ
มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด
มีเพดานกั้นในเบื้องบน
มีหมอนแดงวาง ณ ข้างทั้งสอง
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว”
โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขานั่งหรือนอนบนบัลลังก์ในเรือนยอด ณ ปราสาทนั้น
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนสระโบกขรณี
มีน้ำอันเย็น ใสสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์
และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ
ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา
เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย
มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณีนี้ทีเดียว”
โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น
พึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น
อาบและดื่ม ระงับความกระวนกระวาย
ความเหน็ดเหนื่อย และความร้อนหมดแล้ว
ขึ้นไปนั่งหรือนอนในแนวป่านั้น
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
ฉันนั้นเหมือนกันว่า
บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น
และขึ้นสู่หนทางนั้น
จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่
เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว.
มู. ม. ๑๒/๑๔๗-๑๕๓/๑๗๐-๑๗๖.
1. คติ : ทางไปของสัตว์. (ที่นำไปสู่ภพ)
2. อบาย ทุคติ วินิบาต นรก : ที่เกิดของสัตว์ตํ่ากว่ามนุษย์.

พุทธวจน การฟังธรรมก่อนตายทำไมถึงละสังโยชน์๕ ได้ ? กับ ๕ พระสูตรที่สอดรับกัน


#การฟังธรรมก่อนตายทำไมถึงละสังโยชน์๕ ได้ กับ..๕ พระสูตร..ที่สอดรับกัน (((เจริญโพชฌงค์ ๗ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ อานาปานสติ.)))
***********************
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
--------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
------------------------------
เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
---------------------------
เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
-------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-----------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
---------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ http://www.watnapp.com
***
--------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
*******
#ทิฏฐิดับ ความสงสัยในสิ่งที่เราไม่พยากรณ์จึงไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว..
((ทิฏฐิ ก็คือ ความเห็นการที่เราคิด เรานึก เรารู้สึก ขึ้นมา นั่นคือ ภพ..นั่นเอง.รู้จัก ความดับแห่งภพ ความดับแห่งกรรม..ก็จะไม่สงสัยในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์..เพราะความเห็น.มีเกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป..รู้หลักการ..ภาพรวม..))
กลายเป็นสงสัยในพระพุทธเจ้าอีก อยู่ในฝั่ง ฝ่ายปุถุชน
--
อัพยากตสูตร
[๕๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ความสงสัยในวัตถุที่พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์
ไม่เกิดขึ้นแก่
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ฯ
-
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
เพราะทิฐิดับ ความสงสัยในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์
จึงไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
-
ดูกรภิกษุ ทิฐินี้ว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
-
ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อม
ไม่รู้ชัดทิฐิ
เหตุเกิดทิฐิ
ความดับทิฐิ
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทิฐิ
-
ทิฐินั้นเจริญแก่ปุถุชนนั้น
เขาย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ย่อมทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า
ไม่พ้นไปจากทุกข์
-
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมรู้ชัดทิฐิ
เหตุเกิดทิฐิ
ความดับทิฐิ
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทิฐิ
-
ทิฐิของอริยสาวกนั้นย่อมดับ
อริยสาวกนั้นย่อมพ้น
-
จากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า
ย่อมพ้นไปจากทุกข์
-
ดูกรภิกษุอริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ...
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
-
ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่พยากรณ์
ในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้
-
อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่พรั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว
ไม่ถึงความสะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์ ฯ
-
ดูกรภิกษุ
ความทะยานอยาก
ความหมายรู้
ความสำคัญ
ความซึมซาบ
ความถือมั่น
ว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ...
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
นี้เป็นความเดือดร้อน
-
ดูกรภิกษุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อม
ไม่รู้ชัดความเดือดร้อน
เหตุเกิดความเดือดร้อน
ความดับ ความเดือดร้อน
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับความเดือดร้อน
-
ความเดือดร้อนย่อมเจริญแก่เขา
เขาย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
-
เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
-
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม
รู้ชัดความเดือดร้อน
เหตุเกิดความเดือดร้อน
ความดับความเดือดร้อน
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับความเดือดร้อน
ความเดือดร้อนของอริยสาวกนั้นย่อมดับ ฯลฯ
-
อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อม
ไม่พรั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว
ไม่ถึงความสะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์
-
ดูกรภิกษุนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัญ
เครื่องให้ถึงความสงสัยในวัตถุ
ที่เราไม่พยากรณ์
ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ ฯ
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๖๑ ข้อที่ ๕๑
**************************************
**************************************
#ฟังธรรมก่อนตายละสังโยชน์๕ได้
#อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ
อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?
-
[๓๘๒] คือ
(๑)
ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
(๒)
ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้น
จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
(๓)
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๔)
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๕)
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอานาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๖)
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๗)
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ๕ สิ้นไป
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.
จบ สูตรที่ ๓
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๙๗ ข้อที่ ๓๘๑ - ๓๘๒
http://etipitaka.com/read/thai/19/96/?keywords=%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%20%E0%B9%97
----
#เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ
[๑๐๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้
อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์
ฯลฯ
ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว
พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?
คือ
-
จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อนจะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ ทีนั้นจะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
-
เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
พึงหวัง ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๖
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๒๕๗ ข้อที่ ๑๐๖๙
----
#อิทธิบาท ๔ ว่าด้วยผลานิสงส์ ๗
[๑๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้
อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิและปธานสังขาร
...
วิริยสมาธิ
...
จิตตสมาธิ
...
วิมังสาสมาธิ
และปธานสังขาร
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
-
[๑๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ
ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้
แล ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ เป็นไฉน? คือ
-
จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าในปัจจุบันไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ
ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๒๙๕ ข้อที่ ๑๒๑๘ - ๑๒๑๙
---
http://etipitaka.com/read/thai/19/295/?keywords=%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%20%E0%B9%97%20%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%20%E0%B9%94
---
#อานาปานสติ
ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ
[๑๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
-
[๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
(พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง
ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[๑๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
-
จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕
----
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๓๒๑ ข้อที่ ๑๓๑๔ - ๑๓๑๕
----
https://www.youtube.com/watch?v=9GZ_LsJ5F_Y&feature=share
----
#ฟังธรรมละสังโยชน์๕ได้
ปุริสคติสูตร
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-
ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
-
ได้ความวางเฉยว่า
-
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบัน ก็ไม่พึงมีแก่เรา
-
ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว
เราย่อมละได้
-
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่
ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล
-
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ
อนุสัยคือภวราคะ
อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
-
ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ...
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว
เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
...
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่
ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล
-
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ
...
อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพาน
โดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตี
แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันเผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
--
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้
ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและ ควันแล้ว
เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป
ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
-
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้อย่างนี้ คือ
-
ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้
...
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
...
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่
ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ
...
อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟ
และควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันเผากองหญ้า
หรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
-
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ
และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว
เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป
ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
#เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
-
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว
เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป
แล้วพึงลามไปไหม้
ไม้กอและป่าไม้ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว
ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการ
นี้แล ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ส่วน
#อนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
-
ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง
ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว
โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ
...
อนุสัยคืออวิชชา
เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุปาทาปรินิพพาน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๒
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒
*******************************************
#อานิสงส์ในการฟังธรรมก่อนตาย
*
#ฟังธรรม..
-จากตถาคต
-สาวกตถาคต
-ระลึกถึงบทแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
*
-จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้(อนาคามี)
-ที่ละได้แล้วจะน้อมไปเพื่อนิพพาน
*
ดูกรอานนท์
อานิสงส์
#ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร
#ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร
๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
-
ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และในเวลา
ตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้ว
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกร อานนท์
จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้
ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ในเวลาใกล้ตาย
#เธอได้เห็นตถาคต
ตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ
-
จิตของเธอย่อมหลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีก ประการหนึ่ง
จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย
#แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอไม่ได้เห็นตถาคต
และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย
แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
#ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา
ได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมหลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
โดยกาลอันควร ฯ
-
ดูกร อานนท์
จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้
ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ในเวลาใกล้ตาย
#เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต
พระตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น ... แก่ เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต
#แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต
และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย
#แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม
ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
โดยกาลอันควร
-
ดูกรอานนท์
อานิสงส์ในการฟังธรรม
ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร
๖ ประการนี้แล ฯ
-
(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๔๓/๓๒๗
-
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=343&volume=22
**************************************************
**************************************************
#สัตบุรุษย่อมเห็นสัตบุรุษ , อสัตบุรุษ
จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐)
[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา
วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม
เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล
พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ประทับนั่งกลางแจ้ง
ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น
เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ
-
[๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดู
ภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ
จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-
อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ
-
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
-
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ
ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ
นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึง
รู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า ฯ
-
ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
-
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ
แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า
ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ฯ
-
[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมของอสัตบุรุษ
ภักดีต่ออสัตบุรุษ
มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ
มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ
มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ
มีการงานอย่างอสัตบุรุษ
มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ
ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมของอสัตบุรุษอย่างไร คือ
อสัตบุรุษในโลกนี้
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม
มีปัญญาทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างไร คือ
อสัตบุรุษในโลกนี้
มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม
มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ
อสัตบุรุษในโลกนี้
ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง
นี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้
ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิดในกาม
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ
อสัตบุรุษในโลกนี้
เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี
ทำชั่วแล้ว ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
-
ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล
อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ
ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน
ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน
ให้ทานอย่างไม่เข้าใจ
เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล ให้ทาน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
อสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษนั่นแหละ
-
เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้
ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้
มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
-
แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร
คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ฯ
-
[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า
ผู้นี้เป็นสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ
-
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
-
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า
ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า ฯ
-
ภิ. รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
-
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
-
[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ
ภักดีต่อสัตบุรุษ
มีความคิดอย่างสัตบุรุษ
มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
มีการงานอย่างสัตบุรุษ
มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ
ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ
มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร
คือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ
มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา
เป็นมิตร เป็นสหาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้
ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง
ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ
งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ
งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ
ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์
เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ
-
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ
เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้
ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้
มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้
มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้
มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้
มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้
มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้
ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว
-
เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร
คือ ความเป็นผู้มีตนควรบูชาในเทวดา
หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ จูฬปุณณมสูตร ที่ ๑๐
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๘๕ ข้อที่ ๑๓๐ - ๑๓๑
--
http://etipitaka.com/read/thai/14/85/…

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน ธรรมอันเป็นเหตุ ธรรมเกิดแต่เหตุ แห่งความรักใคร่ปรองดอง

เหตุปัจจัยของการทะเลาะวิวาท.((คือ ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) )) เกิดจาก.(( สิ่งที่เป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก))...ถ้าเราไม่ละ..ธรรมอันเป็นเหตุ..แล้วธรรมที่เกิดมาแต่เหตุ..คือความสามัคคี..จะมีขึ้นได้มั๊ย...ไม่ได้..ต้องทำให้สิ่งนี้มี...สิ่งนี้จึงมี..ต้องให้ศีลธรรมกับคน..ต้องพัฒนาคน..ให้เป็น..อริยะ..มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไม่หวั่นไหว..มีศีลอันเป็นที่รักของอริยเจ้า(ศีล๕)
******************************
ละธรรม ๓ อย่าง..เจริญ..ธรรม ๓ อย่าง..เหตุแห่งความรักใคร่ปองดอง.

***
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
--------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
------------------------------
เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
---------------------------
เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
-------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-----------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
---------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ http://www.watnapp.com
***
--------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
****
ภิกษุ ท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) มีในธรรมวินัยนี้แหละ ; สมณะที่สอง มีในธรรมวินัยนี้ ; สมณะที่สาม มีในธรรมวินัยนี้ ; สมณะที่สี่ มีในธรรมวินัยนี้. ลัทธิอื่น ว่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น :
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงบันลือสีหนาทโดยชอบ อย่างนี้เถิด.
------------------------------
- มู. ม. ๑๒/๑๒๘/๑๕๔.
******
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
ดูกรสุภูติ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลาย
1. เป็นผู้มีศีล... สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นผู้มีสุตะมาก... ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามากทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
3. เป็นผู้มีมิตรดี... มีสหายดี มีเพื่อนดี
4. เป็นผู้ว่าง่าย... ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพ
5. เป็นผู้ขยัน... ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจทั้งสูงและต่ำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้นอาจทำ อาจจัดได้
6. เป็นผู้ใคร่ธรรม... กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง
7. เป็นผู้ปรารภความเพียร... เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม
8. เป็นผู้ได้ตามปรารถนา... ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน (ทั้ง) ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
9. ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก...(ได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
10. เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ...(ได้จุตูปปาตญาณ)
11. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
------------------------
สุภูติสูตร (ไทย) เอกาสทก.อํ. ๒๕/๓๑๒-๓๑๖/๒๒๑
*******
**
ละธรรม ๓ อย่าง..เจริญธรรม ๓ อย่าง..
ภิกษุ ท ! ในทิศใดพวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิงต่อกันและกัน
ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับน้ำม องดูกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่
ภิกษุ ท ! ทิศนั้น เป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย)
จะป่วยการกล่าวไปใยถึงการที่เพียงแต่นึกถึง ในกรณีนี้
เราเชื่อแน่แก่ใจว่าเป็นเพราะภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่างเสียแล้ว
และพากันมาถือกระทำให้มากในธรรมสามอย่าง
ธรรมสามอย่างอะไรบ้างเล่าที่เธอละทิ้งเสียแล้ว ? สามอย่างคือ
๑. กามวิตก ความตรึกในกาม
๒. พยาปาทวิตก ความตรึกในทางมุ่งร้าย
๓. วิหิงสาวิตก ความตรึกที่ก่อให้เกิดความลำบากทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเสียแล้ว
ก็ธรรมสามอย่างอย่างไรเล่า ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ
กระทำเพิ่มพูนให้มาก สามอย่างคือ
๑.เนกขัมมวิตก ความตรึกในการหลีกออกจากความพัวพันในกาม
๒.อัพยาปาทวิตก ความตรึกในการไม่ทำความมุ่งร้าย
๓.อวิหิงสาวิตก ความตรึกในการไม่ทำตนและผู้อื่นให้ลำบาก
ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ ทำเพิ่มพูนให้มาก
ภิกษุ ท ! ในทิศใด พวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิงต่อกันและกัน
ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เข้ากันและกันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับน้ำ
มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่
ภิกษุ ท ! ทิศนั้นเป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป(อย่างเหน็ดเหนื่อย) จ
ะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่เพียงแต่นึกถึง ในกรณีนี้ เ
ราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะพวกภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นเสียแล้ว
และพากันมาถือ กระทำให้มากในธรรมสามอย่างเหล่านี้แทน
ติก. อํ. ๒ๆ/๓๕๕/๕๖๔
--
จอมเทพ !
ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่(มัจฉริยะ) นั่นแล
เป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาคคนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่)
ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก
ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน
แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก
ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันได้
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น
มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย)
มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ)
เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงมี
เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงไม่มี พระเจ้าข้า”
จอมเทพ !
ความอิจฉา และความตระหนี่ นั้น
มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺปิย) นั่นแล
เป็นต้นเหตุ... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่
ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก
นั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ...ฯลฯ...
เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี
เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มีพระเจ้าข้า ”
จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น
มีฉันทะ (ความพอใจ ) เป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่
สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...
มหา. ที. ๑๐/๓๑๐/๒๕๕.

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน ถ้าเราไปด่าตอบเขา จิตเราก็เป็นอกุศลด้วย..เรียกว่าบริโภคอกุศลร่วมกัน

ถ้าเราไปด่าตอบเขา จิตเราก็เป็นอกุศลด้วย..เรียกว่าบริโภคอกุศลร่วมกัน :: นาทีที่ 15.21>>>
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ 2015 05 16
การที่ใครคิดอกุศล อกุศลก็เป็นของคน คนนั้น
เพราะคนนั้นเข้าไปยึดสิ่งนั้นอยู่..แต่..ถ้าเราไปด่าตอบเขา
จิตเราก็เป็นอกุศลด้วย..เรียกว่าบริโภคอกุศลร่วมกัน.
******
พระศาสดาก็เลยบอกว่า..ไม่ให้..ไปโกรธตอบ..ด่าตอบ..
**เพราะอารมณ์ต่างๆ นั้น คือ ภพ
คือที่ตั้งของวิญญาณ..คือ.ภพ..คือ..ที่เกิด..คือ..กรรม
ซึ่งจะมีอัตภาพ..ดี..ไม่ดี..ตามพื้นนาที่เป็นลักษณะของกรรม.
.อันเป็นพื้นนาเลว
พื้นนาปลานกลาง
พื้นนาดี
พระองค์ตรัสว่า..
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ)
ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ)
และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ)
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่,
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี;
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว,
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ;
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี,
ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
------------------
นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.
--
จิตไปตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น สัตว์ปล่อยการยึดถือซึ่งกาย..
แล้วก็ไปตั้งอาศัย..ใน.อารมณ์นั้น..ขณะตั้งอาศัยอยู่ในอารมณ์นั้น
อยู่ที่ว่า..อารมณ์นั้น..เป็นกุศล..หรือ...อกุศล
--
ตั้งอาศัยแล้วก็..เราก็ผูกติดกับอารมณ์นั้นไป..ด้วยอำนาจของความเพลิน
ก็เรียกว่า..เจริญงอกงามไพบูรณ์..ใน..อารมณ์นั้น..
--
หรือเปลี่ยบเหมือนเมล็ดพื้นปลิวตกลงไปในพื้นนาแล้วงอกออกมาเป็นต้น
เพลินพอใจกับอารมณ์นั้น..หรือ..ผูกติดกับอารมณ์.
.อัตภาพก็จะได้ไปตามอารมณ์นั้น..
--
-ถ้าร่างกายตายไป..จิตไปอยู่ตรงไหน..ความเป็นเรายังอยู่ในจิต
..จิตไปอยู่ใน..พื้นนาใด..อัตภาพเราจะได้ตามพื้นนานั้นต่อไป
--
พระศาสดาจึงตรัสให้เราละอกุศลวิตกให้ไว..ที่สุด
อกุศลเกิดมาแล้ว..ก็ต้องดับให้ไว..ที่สุด..
-
ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ (ความพอใจ)
วายามะ (ความพยายาม)
อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขมักเขม้น)
อัปปฏิวานี (ความไม่ถอยหลัง)
สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า
เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
เช่นเดียวกับ บุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว
จะพึงกระทำ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี
สติและสัมปชัญญะอันแรงกล้า
เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย,
ฉันใดก็ฉันนั้น.
ทสก. อํ. ๒๔/๙๗/๕๑.
----
การไปโกรธตอบหรือบริภาษ..ผู้ที่โกรธเราแล้ว..
..พระศาสดาไม่ให้ด่าตอบ...นาทีที่ 15.21>>>
พระศาสดาบอกว่า
--
ดูก่อนพราหมณ์
ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่
โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่
หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่
ดูก่อนพราหมณ์
ผู้นี้เรากล่าวว่า
ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบกัน
-
เรานั้นไม่บริโภคร่วม
ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด
-
ดูก่อนพราหมณ์
เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น
เป็นของท่านผู้เดียว
-
--พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
หน้าที่ ๑๙๕/๒๘๙ ข้อที่ ๖๓๑
----------
อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…#
-----
"การที่ใครคิดอกุศล อกุศลก็เป็นของคน คนนั้น
เพราะคนนั้นเข้าไปยึดสิ่งนั้นอยู่..แต่..ถ้าเราไปด่าตอบเขา
จิตเราก็เป็นอกุศลด้วย..เรียกว่าบริโภคอกุศลร่วมกัน.
พระศาสดาก็เลยบอกว่า..ไม่ให้..ไปโกรธตอบ..ด่าตอบ..
**เพราะอารมณ์ต่างๆ นั้น คือ ภพ
คือที่ตั้งของวิญญาณ..คือ.ภพ..คือ..ที่เกิด..คือ..กรรม
ซึ่งจะมีอัตภาพ..ดี..ไม่ดี..ตามพื้นนาที่เป็นลักษณะของกรรม.
.อันเป็นพื้นนาเลว
พื้นนาปลานกลาง
พื้นนาดี
พระองค์ตรัสว่า..
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ)
ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ)
และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ)
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่,
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี;
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว,
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ;
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี,
ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
------------------
นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.
--
จิตไปตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น สัตว์ปล่อยการยึดถือซึ่งกาย..
แล้วก็ไปตั้งอาศัย..ใน.อารมณ์นั้น..ขณะตั้งอาศัยอยู่ในอารมณ์นั้น
อยู่ที่ว่า..อารมณ์นั้น..เป็นกุศล..หรือ...อกุศล
--
ตั้งอาศัยแล้วก็..เราก็ผูกติดกับอารมณ์นั้นไป..ด้วยอำนาจของความเพลิน
ก็เรียกว่า..เจริญงอกงามไพบูรณ์..ใน..อารมณ์นั้น..
--
หรือเปลี่ยบเหมือนเมล็ดพื้นปลิวตกลงไปในพื้นนาแล้วงอกออกมาเป็นต้น
เพลินพอใจกับอารมณ์นั้น..หรือ..ผูกติดกับอารมณ์.
.อัตภาพก็จะได้ไปตามอารมณ์นั้น..
--
-ถ้าร่างกายตายไป..จิตไปอยู่ตรงไหน..ความเป็นเรายังอยู่ในจิต
..จิตไปอยู่ใน..พื้นนาใด..อัตภาพเราจะได้ตามพื้นนานั้นต่อไป
--
พระศาสดาจึงตรัสให้เราละอกุศลวิตกให้ไว..ที่สุด
อกุศลเกิดมาแล้ว..ก็ต้องดับให้ไว..ที่สุด..
-
ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ (ความพอใจ)
วายามะ (ความพยายาม)
อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขมักเขม้น)
อัปปฏิวานี (ความไม่ถอยหลัง)
สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า
เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
เช่นเดียวกับ บุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว
จะพึงกระทำ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี
สติและสัมปชัญญะอันแรงกล้า
เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย,
ฉันใดก็ฉันนั้น.
ทสก. อํ. ๒๔/๙๗/๕๑.

พุทธวจน อานิสงส์ในการฟังพุทธวจนเนื่องๆ.. ไปเกิดเป็นเทวดาและจะบรรลุธรรม



อานิสงส์ในการฟังพุทธวจนเนื่องๆ ขาดสติตอนตาย จะได้ไปเกิดเป็นเทวดาและจะบรรลุธรรมในภพนั้น
มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น
-
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล
-
ฟังเนืองๆ
คล่องปาก
ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
-
อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
-
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้น
เป็นธรรมอันภิกษุนั้น
ฟังเนืองๆ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
-
เธอมีสติ หลงลืมเมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
-
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ
-
ผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น
ฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
-
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต
แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
-
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า
เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
-
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต
ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล
พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า
เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด
-
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า
ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน
บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า
สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้
เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๑๙๑
-
http://etipitaka.com/read/thai/21/186/…
-
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)
มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ
ตามรู้ซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้
เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี
หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่
ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น
เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น
ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ลำดับนั้น เขา :-
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี
ศรัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย
อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,
เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,
ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน
ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ
(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.
ภารท๎วาชะ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
-------------------
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง(สจฺจานุปตฺติ)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง
ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ
ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ
การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ
ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
ภารท๎วาชะ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.
*******
****
#ท่องจำไปก่อนคะ.. เป็นปฏิจจสมุปบาทแห่งการตามรู้ซึ่งพระสัทธรรม
#การทรงจำธรรมนั้นไว้มีอุปการระมากแก่การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้
การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้มีอุปการระมากแก่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์
ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอุปการระมากแก่ฉันทะ
ฉันทะมีอุปการระมากแก่ความอุตสาหะ
ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา
ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร
ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุซึ่งสัจธรรม
---
#การทรงจำเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก พระศาสดาตรัสไว้ดังนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------
กา. ท่านพระโคดม ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
จึงจะเชื่อว่าเป็นการตามรักษาสัจจะ
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตาม
รักษาสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา
เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า
-
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
-
ดูกรภารทวาชะ
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
-
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน
ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ
... มีการฟังตามกัน
... มีความตรึกตามอาการ
... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ
เขากล่าวว่า การทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้
ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า
-
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
-
ดูกรภารทวาชะ
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
-
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
กา. ท่านพระโคดม
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่า
ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็ง
การรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
-
ท่านพระโคดม
ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม
ถึงการตรัสรู้สัจจะ?
-
พ. ดูกรภารทวาชะ ได้ยินว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคมแห่งหนึ่งอยู่.
คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี
เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว
ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม ๓ ประการ คือ
-
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑
-
ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำแล้ว
เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ.
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่
ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า
-
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำ
ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น
หรือว่าสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.
อนึ่ง ท่านผู้นี้มี
-
กายสมาจาร
วจีสมาจาร
เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภฉะนั้น
ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้
ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย.
-
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัด
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า
ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ
เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ได้หรือหนอ.
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ
เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ไม่มีเลย.
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร
เหมือนของบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น
ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิต
พึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย.
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ย่อมเห็น
แจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
เมื่อนั้นเขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า
ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ
เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ.
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ
เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น
ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก
ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขาเกิดศรัทธาแล้ว
ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง
เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ
เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น
ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง
ครั้นเทียบเคียงแล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่
ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่เชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมตรัสรู้
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการบรรลุสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้น
แล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูกรภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติ
เพียงเท่านี้.
กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุ
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้า
ขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้า
ไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมี
อุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูล
ถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึง
อุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่
ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น
ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่
การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญ
เนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมี
อุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?
พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ
ถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญ
เนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรม
ก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะ
มากแก่การทรงจำธรรม.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง
ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมาก
แก่การฟังธรรม. กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้
ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะ
มากแก่การเงี่ยโสตลง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา
ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้า
ไปนั่งใกล้.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึง
เข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมทรง
พยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น
ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่
ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจ ทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมี
อุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใดๆ
ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า
พวกสมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะ
รู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทำความรักสมณะในสมณะ ความเลื่อมใสสมณะใน
สมณะ ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักพระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า
ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
------------------------------------------------------------------------------
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.
*******
******
*****
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/