วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ให้เป็นผู้จับฉวยได้ไวในกุศลธรรมทั้งหลาย ......................... ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า. เอก. อํ. ๒๐/๕๔ - ๕๕/๒๒๔. ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ ; คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี. มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖ - ๓๙๗/๑๓๑๑ -- ๑๓๑๓.

อยากพ้นอบาย เวลาป่วยต้องทำอย่างไร...ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ ; ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ดังนี้ แล. มหาวาร. สํ ๑๙ / ๒๒๖-๒๒๗ / ๗๖๓--๗๖๖. เอก.อํ ๒๐ / ๕๙ / ๒๓๕,๒๓๙.

อย่าใช้วันทั้งวันให้สิ้นเปลื่องไปกับการศึกษาเล่าเรียน ................................... ให้ฟังธรรมสั่งสมสุตตะ ๑-๒ ชั่วโมง/วัน ถ้าเป็นบรรพชิตปฏิบัติ ๑๖ ชั่วโมง/วัน .................................. พระสูตรที่เกี่ยวข้อง ชาคริยานุโยคคือส่วนประกอบของความเพียร ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจาก อาวรณียธรรม (กิเลสที่กั้นจิต) ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี, ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น, ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง อีก. ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๑๔๑ ตามรอยธรรม หน้า ๕๕ (ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๖/๓๑๙.

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แสดงธรรมที่ระยอง

ธรรมเป็นเครื่องเบาใจ ๔ ประการ

ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน : หลักมหาปเทศ ๔


#ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน

๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ
พระศาสดา”...

๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่
พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
คำสอนของพระศาสดา”...

๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุ
ผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน
ของพระศาสดา”...

เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง
สันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุ
นี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง
ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”เธอทั้งหลายพึงจำ
มหาปเทส.. นี้ไว้

อุปริ. ม. ๑๔ / ๕๓ / ๔๑
อริยวินัย น. ๓๙๙
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๑๐๑/๒๖๑ ข้อที่ ๑๑๐-๑๑๒
**********************************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้ จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=มหาป&language=thai&number=101&volume=10#
**********************************
ฟังพุทธวจน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ

ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ โดยพิศดาร : พุทธวจน : วัดนาป่าพง

พุทธวจน : วัดนาป่าพง

อริยญายธรรม


***อริยญายธรรม***
********************
- ธรรมะที่ทำคนธรรมดา-ให้เป็นอริยะ-
- ผู้ใดเห็นปฏิจสมุทปบาท..ผู้นั้นเห็นธรรม-
- ผู้ใดเห็นธรรม..ชื่อว่าเห็นเรา..ตถาคต-
******************** 
***มาตามเห็น...ตามรู้..ร่างที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้กันค่ะ
--- อาศัยเป็นยาน-เครื่องนำไป-เป็นที่พึง-ที่อาศัยได้--
-------------------------
***ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล.****
http://etipitaka.com/read?keywords=ปฏิจจสมุปบาท+&language=thai&number=253&volume=12
--------------------------
#ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

★ กฎอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.
………………………...
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุป ปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.

(ม.ม.๑๓/๓๕๕/๓๗๑, นิทาน.สํ.๑๖/๘๔/๑๕๔..) ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ หน้า 23, 663.

★ ปัจจยาการแม้เพียงอาการเดียว ก็ยังตรัสเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (อิทัปปัจจยตา)๑

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;

● คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
● คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
● คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา : อิทปฺปจฺจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัต ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อัน

● เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
● เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น,
● เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
● เป็น อิทัปปัจจยตา (อิทปฺปจฺจยตา) คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;

●●● ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;

● คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
● คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
● คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา : อิทปฺปจฺจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัต ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อัน

● เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
● เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น,
● เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
● เป็น อิทัปปัจจยตา (อิทปฺปจฺจยตา) คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;

●●● ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

๑ สูตรที่ ๑๐ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
*************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=ปฏิจจสมุปบาท+&language=thai&number=135&volume=14
**************
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ

บันทึกแห่งความทรงจำ_โยมแม่นฤมล อินทรสาร_Theme_2

บันทึกแห่งความทรงจำ_โยมแม่นฤมล อินทรสาร_Theme_1

แสดงธรรมวันเสาร์_ช่วงเย็น_วันเผาศพโยมแม่นฤมล_ตามแนวทางพุทธวจน_2014-07-26

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พระศาสดารับประกันการบรรลุธรรมของผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน๔


#พระศาสดารับประกันการบรรลุธรรมของผู้ที่เจริญสติปัฎฐาน๔
***********************************************************
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
------
#ตลอด๗ปี 
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
------
๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้
-------
#ตลอด๖ปี
#ตลอด๕ปี
#ตลอด๔ปี
#ตลอด๓ปี
#ตลอด๒ปี
#ตลอด๑ปี
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
--------
๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้
--------
#ตลอด๗เดือน
เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
-------
๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
-------
#ตลอด๖เดือน
#ตลอด๕เดือน
#ตลอด๔เดือน
#ตลอด๓เดือน
#ตลอด๒เดือน
#ตลอด๑เดือน
#ตลอดกึ่งเดือน
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
---------
กึ่งเดือนยกไว้ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้
--------
#ตลอด๗วัน
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ
-------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

#หนทางนี้คือสติปัฏฐาน๔ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว
ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ
จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๓๒/๒๖๑ ข้อที่ ๓๐๐
---------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=แตกทำลาย+&language=thai&number=227&volume=10#
-------------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การพิจารณาธรรมในธรรม ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ...


***การพิจารณาธรรมในธรรม...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ****
***หมวด...ธัมมานุปัสสนา...***

[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน 
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ 
สัมมาทิฏฐิ 
สัมมาสังกัปปะ 
สัมมาวาจา 
สัมมากัมมันตะ 
สัมมาอาชีวะ 
สัมมาวายามะ 
สัมมาสติ 
สัมมาสมาธิ
----------
ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน 
ความรู้ในทุกข์ 
ความรู้ในทุกขสมุทัย 
ความรู้ใน ทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา 
อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
----------
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน 
ความดำริในการออกจากกาม 
ความดำริในความไม่พยาบาท 
ความดำริในอันไม่เบียดเบียน 
อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
----------
สัมมาวาจา เป็นไฉน 
การงดเว้นจากการพูดเท็จ 
งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ 
งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 
อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
----------
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน 
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 
งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ 
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 
อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
----------
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน 
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ 
ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย 
สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ 
อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
-----------
สัมมาวายามะ เป็นไฉน 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
เกิดฉันทะพยายาม 
ปรารภความเพียร 
ประคองจิตไว้ 
ตั้งจิตไว้ 
เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น 
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว 
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น 
เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย 
เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น 
เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว 
อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
------------- 
สัมมาสติ เป็นไฉน 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ 
มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ 
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ 
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ 
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ 
พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ 
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ 
กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ 
อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
---------------
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม 
สงัดจาก อกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน 
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ 
เธอบรรลุทุติยฌาน 
------
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน 
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น 
เพราะวิตกวิจารสงบไป 
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ 
เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ 
เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน 
--------
ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ 
เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข 
เธอบรรลุจตุตถฌาน 
---------
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ 
และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ 
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ 
อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
---------- 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
-----------
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง

ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง 
สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ 
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 

เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว 
และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล 
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ

จบสัจจบรรพ
จบธัมมานุปัสสนา

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๓๑/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๙
---------------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=แตกทำลาย+&language=thai&number=227&volume=10#
---------------------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม..ทุกขนิโรธอริยสัจฯ...

***การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม...ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ....***
****************************
[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน 
ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ 
ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง 
ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น 
ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน 
ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
-------
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคล จะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ 
-------
รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
-------
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ 
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
------
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส 
กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
------
จักขุสัมผัสสชาเวทนา 
โสตสัมผัสสชาเวทนา 
ฆานสัมผัสสชาเวทนา 
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา 
กายสัมผัสสชาเวทนา 
มโนสัมผัสสชาเวทนา 
เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก 
ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
-------
รูปสัญญา 
สัททสัญญา 
คันธสัญญา 
รสสัญญา 
โผฏฐัพพสัญญา 
ธัมมสัญญา 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
--------
รูปสัญเจตนา 
สัททสัญเจตนา 
คันธสัญเจตนา 
รสสัญเจตนา 
โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
---------
รูปตัณหา 
สัททตัณหา 
คันธตัณหา 
รสตัณหา 
โผฏฐัพพตัณหา 
ธัมมตัณหา 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
---------
รูปวิตก 
สัททวิตก 
คันธวิตก 
รสวิตก 
โผฏฐัพพวิตก 
ธัมมวิตก 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
----------
รูปวิจาร 
สัททวิจาร 
คันธวิจาร 
รสวิจาร 
โผฏฐัพพวิจาร 
ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ 
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ***ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ***
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๓๐/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๘
-------------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติม ได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=แตกทำลาย+&language=thai&number=227&volume=10#
-----------------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม..ทุขสมุทัยอริยสัจฯ..

***การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม..ทุกขสมุทัยอริยสัจฯ..***
************************************************
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน 
ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก 
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน 
เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
คือ 
-กามตัณหา -ภวตัณหา -วิภวตัณหา ฯ
---------
๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น 
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน 
ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้น 
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ 
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
------
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
------
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
------
จักขุวิญญาณ 
โสตวิญญาณ 
ฆานวิญญาณ 
ชิวหาวิญญาณ 
กายวิญญาณ 
มโนวิญญาณ
เป็นที่รักที่เจริญในโลก 
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
------
จักขุสัมผัส 
โสตสัมผัส 
ฆานสัมผัส 
ชิวหาสัมผัส 
กายสัมผัส 
มโนสัมผัส 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
------
จักขุสัมผัสสชาเวทนา 
โสตสัมผัสสชาเวทนา 
ฆานสัมผัสสชาเวทนา 
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา 
กายสัมผัสสชาเวทนา 
มโนสัมผัสสชาเวทนา 
เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก 
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในที่นี้ ฯ
-------
รูปสัญญา 
สัททสัญญา 
คันธสัญญา 
รสสัญญา 
โผฏฐัพพสัญญา 
ธัมมสัญญา 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
-------- 
รูปสัญเจตนา 
สัททสัญเจตนา 
คันธสัญเจตนา 
รสสัญเจตนา 
โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
--------
รูปตัณหา 
สัททตัณหา 
คันธตัณหา 
รสตัณหา 
โผฏฐัพพตัณหา 
ธัมมตัณหา 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
---------
รูปวิตก 
สัททวิตก 
คันธวิตก 
รสวิตก 
โผฏฐัพพวิตก 
ธัมมวิตก 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
----------
รูปวิจาร 
สัททวิจาร 
คันธวิจาร 
รสวิจาร 
โผฏฐัพพวิจาร 
ธัมมวิจาร 
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก 
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ 
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
-------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ***ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ***
---------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๓๐/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๘
------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=แตกทำลาย+&language=thai&number=227&volume=10#
-----------------------
ฟังพุทธวจนบรรยายได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม..ทุกขอริยสัจฯ...

 
***การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม.. ทุกขอริยสัจ ฯ..***
***************************************************
[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔
อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
_________
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า...
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
_______
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
แม้ชาติก็เป็นทุกข์
แม้ชราก็ เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์
แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
_______
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน
ความเกิด
ความบังเกิด
ความหยั่งลงเกิด
เกิดจำเพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์
ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
_______
ก็ชราเป็นไฉน
ความแก่
ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่าชรา ฯ
_______
ก็มรณะเป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ
ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้
ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ
อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
_______
ก็โสกะเป็นไฉน
ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
เรียกว่าโสกะ ฯ
________

ก็ปริเทวะเป็นไฉน
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ
กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ
ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคล
ผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว
อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
_________
ก็ทุกข์เป็นไฉน
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย
ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
__________
ก็โทมนัสเป็นไฉน
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส
อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
___________
ก็อุปายาสเป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น
ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
___________
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน
ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์
ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลปรารถนาความไม่ผาสุก
ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ
___________
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม
ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์
ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก
ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้อง
หญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ
____________
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึงมี...ความ เกิด.....เป็นธรรมดา
ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนา สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
_____________
ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเรา ไม่พึงมี...ความแก่....เป็นธรรมดา
ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
______________
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความเจ็บ..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความเจ็บ...เป็นธรรมดา
ขอ..ความเจ็บ..อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
_______________
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความตาย..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความตาย..เป็นธรรมดา
ขอ..ความตาย..อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์
----------------
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..
เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึง..มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..เป็นธรรมดา
ขอ..โสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ
-----------------
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

-------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ***ทุกขอริยสัจ ฯ***
-------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๒๖/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๔
-------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=แตกทำลาย+&language=thai&number=227&volume=10#
------------
ฟังพุทธวจน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijika และ 2 อื่นๆ


วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โลก


#‎สงสารวัฏน่ากลัวมากๆๆๆๆๆ‬ ‪#‎กัปป์หนึ่ง‬ จักวาลหล่มสลาย
link ;; https://plus.google.com/…/+ChaleepornInro…/posts/WDNZqpxZows 
link ;; ตายจากความมนุษย์คราวนี้แล้ว.รอพระพุทธเจ้าองค์หน้าอุบัติจะได้เกิดอีกครั้ง
https://plus.google.com/+ChaleepornInrodBNNo3…/…/Va4Qt56GWWi
link ;; สร้างเหตุเป็นโสดาบัน พ้นแล้วจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1723452057886330

***โลก***
*******************
[๕๖] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้งบางคราว
โดยล่วง ระยะกาลยืดยาว ช้านานที่โลกนี้จะพินาศ
เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่า
สัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสร พรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง
สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิต อยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน
_______
ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ มีสมัยบางครั้ง บางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน
ที่โลกนี้จะกลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญ อยู่โดยมาก
เหล่าสัตว์พากันจฺติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้
และ สัตว์นั้น ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง
สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน
ก็แหละ สมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้ แลเป็นน้ำทั้งนั้น
มืดมนแลไม่เห็นอะไร
ดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฎ
ดวงดาวนักษัตร ทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฎ
กลางวันกลาง คืนก็ยังไม่ปรากฎ
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฎ
ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฎ
เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฎ
สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่า สัตว์เท่า นั้น
_________
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน
เกิด ง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป
ได้ปรากฎแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยว
ให้งวด แล้ว ตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน
ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี
ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น ฯ
______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมามีสัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลนพูดว่า
ท่าน ผู้เจริญทั้งหลาย นี่จักเป็นอะไร
แล้วเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู
เมื่อเขาเอา นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดูอยู่
ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว เขาจึงเกิดความอยาก ขึ้น
______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
แม้สัตว์ พวกอื่นก็พากันกระทำตามอย่างสัตว์นั้น
เอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู
เมื่อสัตว์เหล่านั้นพากัน เอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดูอยู่
ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว
สัตว์เหล่านั้นจึงเกิดความอยากขึ้น
ต่อมาสัตว์ เหล่านั้นพยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือแล้วบริโภค
_______
ดูกรเสฏฐะและ ภารทวาชะ ในคราวที่พวกสัตว์พยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ
ด้วยมือแล้วบริโภคอยู่ นั้น
เมื่อรัศมีกายของสัตว์เหล่านั้นก็หายไปแล้ว
ดวงจันทร์และดวง อาทิตย์ก็ปรากฏ
เมื่อดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ปรากฏแล้ว
ดวงดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็ปรากฏ
เมื่อดวงดาวนักษัตรปรากฏ แล้ว
กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อ
กลางคืนและกลางวันปรากฏแล้ว
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนปรากฏอยู่
ฤดูและปีก็ปรากฏ
______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วย เหตุเพียงเท่านี้แล โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นมาอีก ฯ
_______
[๕๗] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมาสัตว์เหล่านั้นพากันบริ โภคง้วนดิน
รับประทานง้วนดิน
มีง้วนดินเป็นอาหาร
ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่า นั้น
มัวเพลินบริโภคง้วนดินอยู่
รับประทานง้วนดิน
มีง้วนดิน เป็นอาหาร
ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้า นาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที
ทั้ง ผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป สัตว์ บางพวกมีผิวพรรณงาม
สัตว์บางพวกมี ผิวพรรณไม่งาม
ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มี ผิวพรรณงามนั้นพากันดูหมิ่น
สัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน
พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้
เมื่อสัตว์ทั้งสองพวกนั้นเกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน ขึ้น
เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย
ง้วนดินก็หายไป
เมื่อง้วนดินหายไป แล้ว
สัตว์เหล่านั้นจึงพากันจับกลุ่ม
ครั้นแล้ว ต่างก็บ่นถึงกันว่า รสดีจริง รส ดีจริง ดังนี้ ถึงทุกวันนี้ ก็เหมือนกัน
คนเป็นอันมากได้ของที่มีรสดีอย่างใดอย่าง หนึ่ง มักพูดกันอย่างนี้ว่า
รสอร่อยแท้ๆ
รสอร่อยแท้ๆ ดังนี้
พวกพราหมณ์ ระลึกได้ถึงอักขระ ที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณนั้นเท่านั้น
แต่ไม่รู้ชัดถึง เนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ
________
[๕๘] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา
เมื่อง้วนดินของสัตว์ เหล่านั้นหายไปแล้ว
ก็เกิดมีกระบิดินขึ้น
กระบิดินนั้นปรากฏลักษณะคล้ายเห็ด
กระบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีเหมือนเนยใส หรือเนยข้นอย่างดีฉะนั้น
ได้มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ฉะนั้น
______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น
สัตว์เหล่านั้นพยายามจะบริโภคกระบิดิน
สัตว์เหล่านั้น บริโภคกระบิดินอยู่
รับประทานกระบิดิน มีกระบิดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลนาน
_____
ดูกร วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคกระบิดินอยู่
รับประทานกระบิดิน
มีกระบิดินเป็นอาหาร
ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน
สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้า ขึ้นทุกที
ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป
สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์ บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม
ในสัตว์ทั้งสองจำพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม พากันดูหมิ่นสัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า
พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้
เมื่อสัตว์ทั้งสอง พวกนั้น เกิดมีการไว้ตัวดู
หมิ่นกันขึ้น
เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย
กระบิดินก็ หายไป
เมื่อกระบิ ดินหายไปแล้ว
 ________
ก็เกิดมีเครือดินขึ้น
เครือดินนั้นปรากฏคล้ายผลมะพร้าว ทีเดียว
เครือดินนั้น ถึงพร้อมด้วยสี รส กลิ่น มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น
ได้มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ฉะนั้น ฯ
_________
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพยายามจะบริโภค
เครือดิน สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดินอยู่
รับประทานเครือดิน
มีเครือดินเป็น อาหาร
ดำรงมาได้สิ้นกาล ช้านาน
โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดินอยู่
รับประทานเครือดิน
มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร
ดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที
ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตก ต่างกันไป
สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม
ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม
พากันดูหมิ่นพวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า
พวกเรามี ผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้
เมื่อสัตว์ทั้งสอง พวกนั้นเกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน
เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย
เครือดิน ก็หายไป
เมื่อเครือดินหายไปแล้ว สัตว์เหล่า นั้น
ก็พากันจับกลุ่ม
 ครั้นแล้วต่างก็ บ่นถึงกันว่า เครือดินได้เคยมีแก่พวกเราหนอ เดี๋ยวนี้
เครือดินของพวกเราได้สูญหายเสียแล้วหนอ ดังนี้
______
ถึงทุกวันนี้ก็เหมือนกัน
คนเป็นอันมาก
พอถูกความระทมทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งมากระทบ
ก็มักบ่นกันอย่างนี้ว่า
สิ่งของของเราทั้งหลาย
ได้เคยมีแล้วหนอ แต่เดี๋ยวนี้
สิ่งของของเราทั้งหลายได้มาสูญหายเสียแล้วหนอ ดังนี้
_______
พวก พราหมณ์ระลึกได้ถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดีเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น
แต่ไม่รู้ชัดถึงเนื้อความ แห่งอักขระนั้นเลย ฯ
________
[๕๙] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา
เมื่อเครือดินของสัตว์ เหล่านั้นหายไป แล้ว
__________
ก็เกิดมีข้าวสาลี
ขึ้นเองในที่ที่ไม่ต้องไถ
เป็นข้าวไม่มีรำ
ไม่มี แกลบ
ขาวสะอาด
กลิ่นหอม
มีเมล็ดเป็นข้าวสาร
ตอนเย็นสัตว์เหล่านั้นนำเอา ข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น
ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็ งอกขึ้นแทนที่
ตอนเช้าเขาพากันไปนำเอาข้าวสาลีใดมา เพื่อบริโภคในเวลาเช้า
ตอนเย็นข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกแล้วก็งอกขึ้นแทนที่
ไม่ปรากฏว่าบก พร่อง ไปเลย
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น
พวกสัตว์บริโภคข้าวสาลี
ที่เกิด ขึ้นเอง ในที่ที่ไม่ต้องไถ
พากันรับประทานข้าวสาลีนั้น
มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร
ดำรงมาได้สิ้นกาล ช้านาน
ก็โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลีอันเกิดขึ้นเองอยู่
รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร
ดำรงมาได้สิ้นการช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที
ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่าง กันออกไป
_______
สตรีก็มีเพศหญิงปรากฏ
และบุรุษก็มีเพศชายปรากฏ
นัยว่า สตรีก็ เพ่งดูบุรุษอยู่เสมอ
และบุรุษก็เพ่งดูสตรีอยู่เสมอ
เมื่อคนทั้งสองเพศ ต่างก็เพ่ง ดูกันอยู่เสมอ
ก็เกิดความกำหนัดขึ้น
เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย
เพราะความเร่าร้อนเป็นปัจจัย
เขาทั้งสองจึงเสพเมถุนธรรมกัน ฯ
__________
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็โดยสมัยนั้นแล
สัตว์พวกใดเห็นพวก อื่นเสพเมถุน ธรรมกันอยู่
ย่อมโปรยฝุ่นใส่บ้าง
โปรยเถ้าใส่บ้าง
โยนมูลโคใส่บ้าง
พร้อมกับพูดว่า คนชาติชั่ว จงฉิบหาย คนชาติชั่ว จงฉิบหาย ดังนี้
แล้วพูดต่อไปว่า
ก็ทำไมขึ้นชื่อว่าสัตว์
จึงทำแก่สัตว์เช่นนี้เล่า
ข้อที่ว่ามานั้น จึงได้ เป็นธรรมเนียมมาจนถึงทุกวันนี้ ในชนบทบางแห่ง
คนทั้งหลาย โปรยฝุ่นใส่ บ้าง
โปรยเถ้าใส่บ้าง
โยนมูลโคใส่บ้าง
ในเมื่อเขาจะนำสัตว์ที่ประพฤติ ชั่วร้าย
ไปสู่ตะแลงแกง
พวกพราหมณ์มาระลึกถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี อันเป็นของ โบราณนั้น เท่านั้น
แต่พวกเขาไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ
__________
[๖๐] ดูกรวาเสฏฐะและภารวาชะ ก็สมัยนั้น
การโปรยฝุ่น
ใส่กันเป็นต้น นั้นแล
สมมติกันว่าไม่เป็นธรรม มาในบัดนี้
สมมติกันว่าเป็นธรรมขึ้น ก็สมัยนั้น สัตว์พวกใด
เสพ เมถุนกัน
สัตว์พวกนั้นเข้าบ้านหรือนิคมไม่ได้ สิ้นสองเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง
__________
ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ เมื่อใดแล สัตว์ทั้งหลายพา
กันเสพอสัทธรรมนั่นอยู่เสมอ
เมื่อนั้น จึงพยายาม สร้างเรือนกันขึ้น
เพื่อเป็นที่ กำบังอสัทธรรมนั้น
ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่ง เกิดความเกียจคร้านขึ้น จึงได้ มีความ เห็นอย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ เราช่างลำบากเสียนี่กระไร ที่ต้องไปเก็บข้าวสาลี
มา ทั้งใน เวลาเย็นสำหรับอาหารเย็น
ทั้งในเวลาเช้าสำหรับอาหารเช้า อย่ากระ นั้นเลย เราควรไปเก็บเอาข้าว
สาลีมาไว้เพื่อบริโภคทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวเถิด
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อแต่นั้นมา สัตว์ผู้นั้นก็ไป
เก็บเอาข้าวสาลีมาไว้
เพื่อบริโภคทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวกัน ฉะนี้แล
_______
ดูกร วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์ผู้นั้นแล้วชวนว่า
ดูกรสัตว์ผู้เจริญ มาเถิด เรา จักไปเก็บข้าวสาลีกัน
สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ฉันไปเก็บเอาข้าวสาลี
มาไว้เพื่อบริโภคพอทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวแล้ว
ต่อมา สัตว์ผู้นั้นถือตามแบบ อย่างของสัตว์ ผู้นั้น
 จึงไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้คราวเดียวเพื่อสองวัน
แล้วพูดว่า ได้ยินว่า แม้อย่างนี้ก็ดีเหมือน กันท่านผู้เจริญ
_________
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อ มาสัตว์อีกผู้หนึ่ง เข้าไปหาสัตว์ผู้นั้น แล้วชวน ว่า
ดูกรสัตว์ผู้เจริญ มาเถิด เรา จักไปเก็บข้าวสาลีกัน
สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ฉันไปเก็บเอาข้าวสาลี
มาไว้เพื่อบริโภคพอทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวแล้ว ฯ
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้นั้นถือตามแบบอย่างของ สัตว์นั้น
จึงไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว เพื่อสี่วัน
_______
แล้วพูดว่า แม้อย่างนี้ ก็ดีเหมือนกัน ท่านผู้เจริญ
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมาสัตว์อีกผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์ผู้นั้น แล้วชวนว่า
ดูกรสัตว์ผู้ เจริญ มาเถิด เราจักไปเก็บข้าวสาลี กัน
สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ไปเก็บ ข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว
เพื่อสี่วันแล้ว ครั้งนั้นแล
สัตว์ผู้นั้น ถือตามแบบอย่างของสัตว์นั้น จึงไปเก็บ ข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว เพื่อแปดวัน
________
แล้วพูดว่า แม้อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันท่านผู้เจริญ เมื่อใด
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นพยายามเก็บข้าวสาลีสะสมไว้เพื่อบริโภคกัน ขึ้น เมื่อนั้นแล
ข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวมีรำ
ห่อเมล็ดบ้าง
มีแกลบหุ้มเมล็ด บ้าง
ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับ
งอกแทน
ปรากฏว่าขาดเป็นตอนๆ (ตั้งแต่นั้นมา) จึงได้มีข้าวสาลีเป็นกลุ่มๆ ฯ
________
[๖๑] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพากันมาจับกลุ่ม ครั้น
แล้วต่างก็มาปรับทุกข์กันว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ เกิดมีธรรม
ทั้งหลายอันเลวทรามปรากฏขึ้น
ในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่า เมื่อก่อนพวกเราได้
เป็นผู้สำเร็จทางใจ
มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมี ซ่านออกจากกายตนเอง
สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม
สถิตอยู่ในวิมานนั้นสิ้นกาล ยืดยาวช้านาน บาง
ครั้งบางคราวโดยระยะยืดยาวช้านาน
เกิดง้วนดินลอยขึ้นบนน้ำ ทั่วไปแก่เรา ทุกคน
ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส
พวกเราทุกคนพยายามปั้นง้วนดินกระทำให้เป็น คำๆ
ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภค
เมื่อพวกเราทุกคน พยายามปั้นง้วนดินกระ ทำให้เป็นคำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภคอยู่
รัศมีกายก็หายไป เมื่อรัศมีกาย หายไปแล้ว
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็ปรากฏขึ้น
เมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น แล้ว
ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏขึ้น
เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้ว
กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏขึ้น
เมื่อกลางคืนและกลางวัน ปรากฎขึ้นแล้ว
เดือน หนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฏขึ้นแล้ว
ฤดูและ ปีก็ปรากฏ
พวกเราทุกคนบริโภคง้วนดินอยู่
รับประทานง้วนดิน
มีง้วนดินเป็น อาหารดำรงชีพอยู่
ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏ
ขึ้นแก่พวกเรา ง้วนดินจึงหายไป
______
เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว จึงมีกระบิดินปรากฏขึ้น
ระบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนบริโภคระบิดิน
เมื่อพวกเราทุกคนบริโภคระบิดินนั้นอยู่
รับประทานระบิดิน
มีระบิดินเป็นอาหาร
ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏ
ขึ้นแก่พวกเรา ระบิดินจึงหายไป
_______
เมื่อระบิดินหายไปแล้ว จึงมีเครือดินปรากฏขึ้น
เครือดิน นั้น ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามบริโภคเครือดิน
เมื่อพวกเรา ทุกคนบริโภค เครือดินนั้นอยู่ รับประทานเครือดิน
มีเครือดินเป็นอาหาร
ดำรงอยู่ ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมี ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่พวกเรา
เครือดินจึงหายไป
_______
เมื่อเครือดินหายไปแล้ว จึงมีข้าวสาลีปรากฏ
ขึ้นเองในที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวที่ไม่มีรำ ไม่มี แกลบ
ขาวสะอาด กลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าว สาร
ตอนเย็นพวกเราทุกคนไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใด มาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น
ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าพวกเรา
ทุกคนไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็น
ข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ด สุกก็ งอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่องไปเลย
 เมื่อพวกเราทุกคนบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดขึ้นเองในที่
ไม่ต้องไถอยู่ รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร
ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมี ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏ
__________
ขึ้นแก่ พวกเรา ข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวมีรำหุ้มเมล็ดบ้าง
มีแกลบห่อเมล็ดไว้บ้าง
แม้ต้นที่เกี่ยวแล้วก็ไม่งอกขึ้นแทนที่
ปรากฏว่าขาดเป็นตอนๆ
จึงได้มี ข้าวสาลี เป็นกลุ่มๆ อย่ากระนั้นเลย
พวกเราควรมาแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน เสียเถิด
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายจึงแบ่งข้าวสาลี ปักปันเขตแดนกัน ฯ
________
[๖๒] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคน โลภ
สงวนส่วน ของตนไว้
ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค
สัตว์ทั้งหลายจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว
ได้ตักเตือนอย่างนี้ว่า
แน่ะสัตว์ ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมชั่วช้านัก ที่สงวนส่วนของ ตนไว้
 ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่ เขาไม่ได้ให้มาบริโภค
ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่วช้าเห็นปานนี้ อีกเลย
________
ดูกร วาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์ผู้นั้นแล
รับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว แม้ครั้ง ที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓
สัตว์นั้นสงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ ให้มาบริโภค
สัตว์ เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนว่า
แน่ะ สัตว์ผู้เจริญ ท่านทำกรรมอันชั่ว ช้านัก
ที่สงวนส่วนของตนไว้ ไปเอาส่วน ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค
ท่านอย่าได้กระทำกรรมอัน ชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย
สัตว์ พวกหนึ่งประหารด้วยฝ่ามือ
พวกหนึ่งประหารด้วยก้อนดินบ้าง
พวก หนึ่งประหาร ด้วยท่อนไม้
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็นัยเพราะมีเหตุเช่นนั้นเป็นต้นมา
การ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ
______
การติเตียนจึงปรากฏ
การกล่าวเท็จ จึงปรากฏ
การถือ ท่อนไม้จึงปรากฏ
_______
ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุม กัน
ครั้นแล้ว ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า พ่อเอ๋ย
-  ก็การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ ให้จักปรากฏ
-  การติเตียนจักปรากฏ
-  การพูดเท็จจักปรากฏ
การถือท่อนไม้จัก ปรากฏ
ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้นเกิดปรากฏแล้วในสัตว์ ทั้งหลาย
อย่ากระนั้นเลย พวกเราจักสมมติสัตว์ผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ควร
ว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ
ให้เป็นผู้ขับไล่ ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ ส่วนพวก
เราจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น ดังนี้
______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้น
พากันเข้าไปหาสัตว์ที่ สวยงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า
และน่าเกรงขามมากกว่า สัตว์ทุกคน แล้ว จึงแจ้งเรื่องนี้ว่า
ข้าแต่สัตว์ผู้เจริญ มาเถิดพ่อ ขอพ่อจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว
ได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ
จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ โดยชอบเถิด ส่วน
พวกข้าพเจ้าจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่พ่อ
_______
ดูกรวาเสฏฐะและ ภารทวาชะ สัตว์ผู้นั้นแลรับคำของ สัตว์เหล่านั้นแล้ว
จึงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ
ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ
ส่วนสัตว์เหล่านั้นก็แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่สัตว์ที่เป็นหัวหน้านั้น ฯ
_______
[๖๓] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้าอัน มหาชนสมมติ ดังนี้แล
อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรก
________
เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่ง แห่งเขตทั้งหลาย ดังนี้แล
อักขระว่า กษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง
_______
 เพราะ เหตุที่ผู้เป็นหัวหน้ายังชน เหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม ดังนี้แล
อักขระว่า ราชา ราชา จึงอุบัติ ขึ้นเป็น อันดับที่สาม
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังนี้แล
การบังเกิดขึ้น แห่งพวก กษัตริย์นั้น
มีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณ อย่างนี้แล
เรื่องของสัตว์ เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือ
ไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม
_____
ดูกรวาเสฏฐะและ ภารทวาชะ ความจริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุด
ในประชุมชนทั้งในเวลา ที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ
_____
[๖๔] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์บางจำพวกได้มี
ความคิดขึ้น อย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ
การ ติเตียนจักปรากฏ
การกล่าว เท็จจักปรากฏ
การถือท่อนไม้จักปรากฏ
การขับไล่ จักปรากฏ
 ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรม เหล่านั้นเกิดปรากฏแล้วในสัตว์ ทั้งหลาย
อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรไปลอยอกุศลธรรมที่ชั่ว ช้ากันเถิด
_______
สัตว์ เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้าแล้ว
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะ เหตุที่สัตว์เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้าอยู่ ดังนี้แล
อักขระว่า พวก พราหมณ์ๆ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรก
พราหมณ์เหล่านั้นพากันสร้างกระท่อมซึ่ง มุงและบังด้วยใบไม้ใน ราวป่า
เพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ พวกเขา
ไม่มีการหุงต้ม
และไม่มีการตำข้าว เวลาเย็น เวลาเช้า
ก็พากันเที่ยวแสวงหา อาหารตามคามนิคมและราชธานี
เพื่อบริโภคในเวลาเย็น เวลาเช้า เขาเหล่านั้น ครั้นได้อาหารแล้ว
จึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วย ใบไม้ใน ราวป่าอีก
คนทั้งหลายเห็นพฤติการณ์ของพวกพราหมณ์นั้นแล้วพากันพูดอย่างนี้ว่า
พ่อเอ๋ย สัตว์พวกนี้แลพากันมาสร้างกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า
แล้วเพ่งอยู่ใน กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้
ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว เวลาเย็นเวลาเช้า ก็พากันเที่ยว
แสวงหาอาหารตามคามนิคมและราชธานี เพื่อ บริโภคในเวลาเย็นเวลาเช้า
เขาเหล่านั้นครั้นได้ อาหารแล้วจึงพากันกลับไปเพ่งอยู่
ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก ฯ
_____
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุนั้นแล อักขระว่า พวกเจริญฌาน
พวกเจริญ ฌาน ดังนี้
 จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง บรรดาสัตว์เหล่านั้นแล
สัตว์บางพวกเมื่อไม่อาจสำเร็จ ฌานได้
 ที่กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า
จึงเที่ยวไปยังคามและนิคมที่ใกล้เคียงแล้ว
ก็จัดทำพระคัมภีร์มาอยู่ คนทั้งหลายเห็น
พฤติการณ์ของพวกพราหมณ์นี้นั้นแล้ว จึงพูด อย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย ก็สัตว์เหล่านี้
ไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในทวาชะ ราวป่า เที่ยวไปยังบ้าน
และนิคมที่ใกล้เคียง จัดทำพระคัมภีร์ไปอยู่
______
ดูกรวาเสฏฐะและภาร ทวาชะ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้
พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ ดังนี้แล อักขระว่า
อชฺฌายิกา อชฺฌายิกา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม
______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็สมัยนั้น การทรงจำ การสอน การบอกมนต์
ถูกสมมติว่าเลว มาในบัดนี้
สมมติว่าประเสริฐ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
การอุบัติขึ้นแห่งพวกพราหมณ์ นั้นมีขึ้นได้
เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดีเป็น ของโบราณอย่างนี้แล
เรื่องของ สัตว์เหล่านั้นจะต่างกันหรือเหมือนกันจะไม่ต่างกันหรือไม่ เหมือนกัน ก็ด้วยธรรม เท่านั้น
ไม่ใช่นอกไปจากธรรม
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ความจริง ธรรม เท่านั้น
เป็นของประเสริฐสุดในประชุมชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลา ภายหน้า ฯ
________
[๖๕] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้นแล
สัตว์บาง จำพวกยึดมั่น เมถุนธรรม
แล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆ เพราะเหตุที่สัตว์ เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรม
แล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆ นั้นแล
อักขระว่า เวสฺสา เวสฺสา ดังนี้ จึงอุบัติขึ้น
________
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการ ดังที่กล่าวมานี้
การอุบัติขึ้นแห่งพวกแพศย์นั้นมีขึ้นได้
เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็น ของดี
เป็นของโบราณ อย่างนี้แล
เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกัน หรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น
ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ฯลฯ
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล
การอุบัติขึ้นแห่งพวก ศูทรนั้นมี ขึ้นได้
เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณ อย่างนี้แล
เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่าง กันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น
ไม่ใช่นอกไปจากธรรม
________
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ความ จริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชนทั้งใน
เวลาที่เห็นอยู่ ทั้งใน เวลาภายหน้า ฯ
________
[๖๖] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยอยู่ ที่กษัตริย์บ้าง
พราหมณ์ บ้าง
แพศย์บ้าง
ศูทรบ้าง
ตำหนิธรรมของตน จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต
ด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็น สมณะ
_________
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวก สมณะจะเกิดมีขึ้นได้ จากวรรณะทั้งสี่ นี้แล
เรื่องของ สัตว์เหล่านั้นจะต่างกัน หรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น
ไม่ ใช่ นอกไปจากธรรม
 ความจริงธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในประชุมชน ทั้งใน
เวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ
_______
[๖๗] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ...
พราหมณ์ก็ดี ...
แพศย์ก็ดี ...
ศูทรก็ดี ...
สมณะก็ดี ...
ประพฤติกายทุจริต
วจีทุจริต
มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ มิจฉาทิฐิ
เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เป็นเหตุเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งสิ้น ฯ
_______
[๖๘] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
กษัตริย์ก็ดี ...
พราหมณ์ก็ดี ...
แพศย์ก็ดี ...
ศูทรก็ดี ...
สมณะก็ดี ...
ประพฤติกายสุจริต
วจีสุจริต
มโนสุจริต
เป็นสัมมาทิฐิ
ยึดถือการกระทำด้วย อำนาจสัมมาทิฐิ
เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
_______
[๖๙] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ...
พราหมณ์ก็ดี ...
แพศย์ก็ดี ...
ศูทรก็ดี ...
สมณะก็ดี ...
มีปรกติกระทำกรรมทั้งสอง [คือสุจริตและทุจริต] ด้วย
กาย มีปรกติกระทำกรรม ทั้งสองด้วยวาจา
มีปรกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยใจ
มี ความเห็นปนกัน
ยึดถือการกระทำด้วย อำนาจความเห็นปนกัน
เพราะยึดถือการ กระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกันเป็นเหตุ
เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก
ย่อม เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ฯ
______
[๗๐] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ...
พราหมณ์ก็ดี ...
แพศย์ก็ดี ...
ศูทรก็ดี ...
สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ
อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๗ แล้ว
ย่อมปรินิพพาน
ในปัจจุบันนี้ทีเดียว ฯ
_______
[๗๑] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็บรรดาวรรณะทั้งสี่นี้
วรรณะใด เป็นภิกษุ สิ้น
อาสวะแล้ว
มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
 มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ววางภาระเสียได้แล้ว
ลุถึงประโยชน์ ของตนแล้ว
หมดเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว
หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
วรรณะนั้นปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย
โดยธรรมแท้จริง
มิใช่นอกไปจากธรรมเลย
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภาร ทวาชะ ความ จริงธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในประชุมชน
ทั้งในเวลาเห็นอยู่ ทั้งใน เวลาภายหน้า ฯ
_________
[๗๒] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สนังกุมารพรหมก็ได้ภาษิต คาถาไว้ว่า
กษัตริย์เป็นประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจ ด้วยโคตร
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ ฯ
_______
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมขับถูกไม่ผิด ภาษิต ไว้ถูก ไม่ผิด
ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
เราเห็น ด้วย ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ถึงเราก็กล่าวอย่างนี้ว่า
กษัตริย์เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจ
ด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์แล้ว
วาเสฏฐะและภารทวาชะยินดี ชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
จบ อัคคัญญสูตร ที่ ๔
_________
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๖๕/๒๘๘ข้อที่ ๕๕-๕๖
ฟังพุทธวจน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com