วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน จะเป็น อริยบุคคล ควรรู้และเข้าใจ เรื่องอะไรบ้าง



‪#‎อนาคามี‬ ละสังโยชน์๕ ได้, และ ละสังโยชน์๕ ยังไม่ได้
(เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน เรื่องที่เข้าใจผิดกันมานาน)
ตัวอย่างพระสูตร. อนาคามีละสังโยชน์ได้๕ ข้อ..
และ..อนาคามียังละสังโยชน์๕ ไม่ได้.. 
ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พอจ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล 
จัดทำคลิปโดย :Ole Joy
ประมาณนาทีที่ 19.00 https://www.youtube.com/watch?v=Wsb2d4AO1jU&feature=share
--
#อนาคามี เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้นไป 
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ (สิ้นสังโยชน์ ๕ จะปรินิพพาน ๔ จังหวะ)
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ (อุปมาช่างตีเหล็ก)
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ (อุปมาช่างตีเหล็ก)(คำแปลพระสูตรสุขา)
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ (อุปมาช่างตีเหล็ก)(ปฏิปทากับทุกขา)
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ (ไปเกิดชั้น สุทธาวาส)
---
‪#‎อนาคามีละสังโยชน์‬ ๕ ยังไม่ได้
จากการให้ทานวางจิตละความตระหนี่
‪#‎อนาคามีตายในสมาธิ‬ ปรินิพพานในภพเทวดา
--
พระศาสดาทรงอุปมา 
เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ 
ผืนนา เปรียบเหมือนภพ 
น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ
เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา 
เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ 
เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ 
เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ด้วยความกำหนัดและความเพลิน
--
ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์
ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส
-
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า
“ความบริสุทธิ์ มีได้เพราะการท่องเที่ยวในสังสารวัฏ”. 
สารีบุตร ! ก็สังสารวัฏที่เรา
ไม่เคยท่องเที่ยวมาแล้วแต่หลัง 
ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย,
เว้นเสียแต่ในหมู่เทพชั้นสุทธาวาส. 
-
สารีบุตร ! ถ้าเราท่องเที่ยวไปในหมู่เทพเหล่าสุทธาวาส, 
ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย. (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).
-
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า 
“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอุบัติ (บังเกิด)”. 
สารีบุตร ! ก็การบังเกิดที่เราไม่เคยบังเกิดมาแล้วแต่หลัง 
ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่
การบังเกิดในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส. 
-
สารีบุตร ! ถ้าเราบังเกิดในหมู่เทพ
ชั้น สุทธาวาส, ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย, 
(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).
-
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า 
“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะภพเป็นที่อยู่อาศัย”. 
สารีบุตร ! ก็ภพที่เราไม่เคยอยู่อาศัย
มาแล้วแต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น 
หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่
การอยู่อาศัยในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส. 
-
สารีบุตร ! ถ้าเราอยู่อาศัยในหมู่เทพ
ชั้น สุทธาวาส , ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย, 
(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).
-
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
ถ้าใครไม่เคยศึกษา พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ จะไม่
เคยได้ทราบถึงพระสูตรนี้ครับ....
มีถึง 3 พระสูตรที่ทรงย้ำ
พระศาสดาได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ มาเกือบหมดแล้ว ยกเว้น
ชั้นสุทธาวาส เพราะชั้นนี้เป็นที่อยู่ของพรหม
ผู้ที่ จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ต้องเคยเป็นสาวกของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระบวรพุทธศาสนา
และเจริญวิปัสสนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล
และพระอนาคามีจะสำเร็จอรหันต์พร้อมกับ นิพพานในชั้นนี้.....
เมื่อนิพพานไปแล้ว ก็ไม่สามารถมาตรัสรู้เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าได้
--
พระสูตรที่ควรทราบ..เกี่ยวกับคลิปนี้
--
link ;; พระสูตรอนาคามี 2 จำพวก อสังขารปรินิพพายี ,สสังขารปรินิพพายี 
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1713665188865017
link ;; พระสูตรอนาคามีปรินิพาน
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1713667948864741
link ;; พระสูตรอริยบุคคลมีหลายระดับ
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1713671675531035
link ;; พระสูตร#อนาคามี เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1713672068864329
link ;; พระสูตร#อนาคามี ยังละสังโยชน์ ๕ ไม่ได้
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1713672778864258
link ;; พระสูตรอนาคามีจากการให้ทาน
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1712891428942393

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

ปรินิพพานเป็นอย่างไรเล่า



‪#‎พระอริยบุคคลมีหลายระดับ‬ ( ๕ พระสูตร..ที่สอดรับกัน...)

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พอจ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

จัดทำคลิปโดย :Hotpotoffroad Chiangmai

https://www.youtube.com/watch?v=w9zrkbpqSRM&feature=share

‪#‎เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน‬

ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่.

ห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ห้าประการคือ

สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์

สตินทรีย์

สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์

แห่งอินทรีย์ห้าประการเหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.

-

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๕) :

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี

เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ;

เพราะความต่างแห่งผล

จึงมีความต่างแห่งบุคคล แล.

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๗) :

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า ผู้กระทำให้บริบูรณ์

ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ;

ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า

ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๘๗

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๘๙๙-๙๐๐

--

‪#‎อนาคามี‬ ๕ จำพวก

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg

ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ

และอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน

เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง

ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

-

-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;

link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…

--

พระศาสดาทรงอุปมา

เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ

ผืนนา เปรียบเหมือนภพ

น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ

เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา

เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ

เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ

เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้

ด้วยความกำหนัดและความเพลิน

--

(พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ )

‪#‎ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ‬ ๔ แบบ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปฏิปทา ๔ ประการ

เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕

ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน

ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ

ได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ

นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียด

ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า

เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ

ความสิ้นอาสวะได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ

อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

--

ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์

ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์ มีได้เพราะการท่องเที่ยวในสังสารวัฏ”.

สารีบุตร ! ก็สังสารวัฏที่เรา

ไม่เคยท่องเที่ยวมาแล้วแต่หลัง

ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย,

เว้นเสียแต่ในหมู่เทพชั้นสุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราท่องเที่ยวไปในหมู่เทพเหล่าสุทธาวาส,

ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย. (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอุบัติ (บังเกิด)”.

สารีบุตร ! ก็การบังเกิดที่เราไม่เคยบังเกิดมาแล้วแต่หลัง

ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่

การบังเกิดในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราบังเกิดในหมู่เทพ

ชั้น สุทธาวาส, ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย,

(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะภพเป็นที่อยู่อาศัย”.

สารีบุตร ! ก็ภพที่เราไม่เคยอยู่อาศัย

มาแล้วแต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น

หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่

การอยู่อาศัยในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราอยู่อาศัยในหมู่เทพ

ชั้น สุทธาวาส , ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย,

(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

ถ้าใครไม่เคยศึกษา พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ จะไม่

เคยได้ทราบถึงพระสูตรนี้ครับ....

มีถึง 3 พระสูตรที่ทรงย้ำ

พระศาสดาได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ มาเกือบหมดแล้ว ยกเว้น

ชั้นสุทธาวาส เพราะชั้นนี้เป็นที่อยู่ของพรหม

ผู้ที่ จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ต้องเคยเป็นสาวกของ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระบวรพุทธศาสนา

และเจริญวิปัสสนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล

และพระอนาคามีจะสำเร็จอรหันต์พร้อมกับ นิพพานในชั้นนี้.....

เมื่อนิพพานไปแล้ว ก็ไม่สามารถมาตรัสรู้เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าได้

--

ปรินิพพานเป็นอย่างไรเล่า




‪#‎พระอริยบุคคลมีหลายระดับ‬ ‪(เชื่อมโยง.พระสูตร..ต่อ..พระสูตร..)

ถ่ายทอดคำพระศาสดาโดย : พอจ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

จัดทำคลิปโดย :Hotpotoffroad Chiangmai

#‎เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน‬

ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่.

ห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ห้าประการคือ

สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์

สตินทรีย์

สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์

แห่งอินทรีย์ห้าประการเหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี.

-

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก

ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.

-

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๕) :

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี

เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ;

เพราะความต่างแห่งผล

จึงมีความต่างแห่งบุคคล แล.

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๗) :

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า ผู้กระทำให้บริบูรณ์

ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ;

ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า

ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๘๗

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๘๙๙-๙๐๐

--

‪#‎อนาคามี‬ ๕ จำพวก

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg

ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ

และอนุปาทาปรินิพพาน

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้

คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่

ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่

ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา

เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า

หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน

เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ

และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น

ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง

ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

-

เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว

เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป

แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว

ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ

หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

-

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒

-

-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;

link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…

--

พระศาสดาทรงอุปมา

เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ

ผืนนา เปรียบเหมือนภพ

น้ำเปรียบเหมือนนันทิและราคะ

เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา

เปรียบเหมือนวิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ

เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ

เปรียบเหมือนวิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้

ด้วยความกำหนัดและความเพลิน

--

(พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ )

‪#‎ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ‬ ๔ แบบ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปฏิปทา ๔ ประการ

เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕

ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน

ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ

ได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ

นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียด

ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า

เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ

ความสิ้นอาสวะได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.

แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ

อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

--

ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์

ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์ มีได้เพราะการท่องเที่ยวในสังสารวัฏ”.

สารีบุตร ! ก็สังสารวัฏที่เรา

ไม่เคยท่องเที่ยวมาแล้วแต่หลัง

ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย,

เว้นเสียแต่ในหมู่เทพชั้นสุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราท่องเที่ยวไปในหมู่เทพเหล่าสุทธาวาส,

ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย. (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอุบัติ (บังเกิด)”.

สารีบุตร ! ก็การบังเกิดที่เราไม่เคยบังเกิดมาแล้วแต่หลัง

ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่

การบังเกิดในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราบังเกิดในหมู่เทพ

ชั้น สุทธาวาส, ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย,

(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า

“ความบริสุทธิ์มีได้เพราะภพเป็นที่อยู่อาศัย”.

สารีบุตร ! ก็ภพที่เราไม่เคยอยู่อาศัย

มาแล้วแต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น

หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่

การอยู่อาศัยในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส.

-

สารีบุตร ! ถ้าเราอยู่อาศัยในหมู่เทพ

ชั้น สุทธาวาส , ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย,

(ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

-

การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

ถ้าใครไม่เคยศึกษา พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ จะไม่

เคยได้ทราบถึงพระสูตรนี้ครับ....

มีถึง 3 พระสูตรที่ทรงย้ำ

พระศาสดาได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ มาเกือบหมดแล้ว ยกเว้น

ชั้นสุทธาวาส เพราะชั้นนี้เป็นที่อยู่ของพรหม

ผู้ที่ จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ต้องเคยเป็นสาวกของ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระบวรพุทธศาสนา

และเจริญวิปัสสนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล

และพระอนาคามีจะสำเร็จอรหันต์พร้อมกับ นิพพานในชั้นนี้.....

เมื่อนิพพานไปแล้ว ก็ไม่สามารถมาตรัสรู้เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าได้

--

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

ให้ทานอย่างไร แล้วได้อานิสงฆ์อย่างไร



#ให้ทานอย่างไร.ได้ความเป็นอริยะ..ให้ทานวางจิตละความตระหนี่..(โสดาปัตติผล.)

(สองพระสูตรที่สอดรับกัน)

‪#‎ได้ผลใหญ่คือ‬..ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นพรหม..

‪#‎อานิสงส์ใหญ่คือ‬..หลังจากตายจากพรหมได้อนาคามี.จะปรินิพพานในภพนั้น

‪#‎การวางจิตให้ทาน‬

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแล

ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก

พึงมีหรือหนอแลและทานเช่นนั้นแล

ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

พึงมีหรือพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร

ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว

มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี

และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว

มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ

-

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว

มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก

อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้

ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้

ยังมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผล ให้ทาน

มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า

เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้

เขาให้ทาน

คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์

แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกรสารีบุตร

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น

บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน

มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้

เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว

ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

-

ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้

ไม่มีหวังให้ทาน

ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน

ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้

แล้วให้ทาน

แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี

เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์

ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น

บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน

ไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทาน

ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้

แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี

เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว

ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

-

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี

แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา

เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี

เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้วยังเป็นผู้กลับมา

คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

-

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า

ตา ยายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี

แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน

สมณะและพราหมณ์เหล่านี้

ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์

ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ

ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศหมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา

คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

-

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าเราหุงหากินได้

สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้

เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์

ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร

แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน

เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี

วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี

ภารทวาชฤาษีวาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี

บูชามหายัญ ฉะนั้น

เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว

ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนก

แจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน

คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯและภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า

เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส

เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน

คือ ข้าว ฯลฯ

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ

หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา

คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

-

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้

จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส

แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน

คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์

แก่สมณะหรือพราหมณ์ดูกรสารีบุตร

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้

พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น

บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน

ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน

ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายเคยให้เคยทำมา

เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้

สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้

จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน

เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน

คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี

ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี

วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น

และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้

จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส

แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต

เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว

เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว

เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

-

ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย

เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว

มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก

และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้

ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

จบสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย

สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต - หน้าที่ 54-57

ทานสูตร

-

‪#‎โสดาบันอยู่ครองเรือน‬

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

-

ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

๔ ประการ คือ :- อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

(๑) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

(๒) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

(๓) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์

(๔) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน

มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม

ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ

ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล

ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

คู่มือโสดาบัน หน้า ๒๑๕

มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๕๒/๑๔๕๑.

https://www.youtube.com/watch?v=HNZbmCEv79w&feature=share

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq สติ จัดอยู่ในขันธ์ใดของขันธ์ทั้ง ๕



‪#‎สติจัดอยู่ในสังขารขันธ์‬ (ในขันธ์๕).๔ พระสูตรที่สอดรับกัน
https://www.youtube.com/watch?t=140&v=4flmi6aVczU
ลําดับแห่งการดับของสังขาร
(อนุปุพพสังขารนิโรธ)
ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลําดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้ คือ :-
เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ แล้ว อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ ;
เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ ;
เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๖๖.
(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒.
-
http://etipitaka.com/read/pali/18/268/
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตร
ล่วง เนวสัญญานาสัญญายตน โดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่
เพราะ เห็นด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป
เธอย่อม
-
มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ที่ล่วงแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอัน
-
ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมีมา
ธรรมที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
-
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย
ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว
พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า
ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้กล่าวชอบ
พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จ
ในอริยศีล
ในอริยสมาธิ
ในอริยปัญญา
ในอริยวิมุตติ
ภิกษุรูปนั้น คือ สารีบุตรนั่นเอง
ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า
เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จ
ในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา
ในอริยวิมุตติ ฯ
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๙๔/๑๖๓-๑๖๔.
-
http://etipitaka.com/read/thai/14/94/
-
ปัญญา สติ กับนามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว
ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น
คือ ปัญญาและสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด;
ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น จะดับไปที่ไหน ?”.
อชิตะ ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใด
เราจะแก้ปัญหา ข้อนั้นแก่ท่าน :
นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด,
ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น ก็ย่อมดับไปในที่นั้น,
เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ แล.
พุทธวจน ก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้า ๑๑๘.
(บาลี) สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๐-๕๓๑/๔๒๕.
-
http://etipitaka.com/read/pali/25/530/
-
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ปฏิสรณาการ
อุณณาภพราหมณ์ ทูลถามว่า
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้
มีวิสัยต่างกันมีโคจรต่างกัน
ไม่เสวยโคจรและวิสัยของกันและกัน.
ห้าอย่างคือ
-
จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์.
-
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะ (ที่แล่นไปสู่)
ของอินทรีย์เหล่านั้น?
อะไรย่อมเสวยซึ่งโคจรและวิสัย
ของอินทรีย์เหล่านั้น? "
ดูก่อนพราหมณ์ ! ...
-
ใจ เป็นปฏิสรณะของอินทรีย์เหล่านั้น;
ใจ ย่อม เสวยซึ่งโคจรและวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของใจ? "
ดูก่อนพราหมณ์! สติแล เป็นปฏิสรณะของใจ.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของสติ? "
ดูก่อนพราหมณ์! วิมุตติแล เป็นปฏิสรณะของสติ.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของวิมุตติ? "
ดูก่อนพราหมณ์! นิพพานแล เป็นปฏิสรณะของวิมุตติ.
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของนิพพาน? "
ดูก่อนพราหมณ์! แล่นเตลิดเลยไปเสียแล้ว,
ไม่อาจถือเอาที่สุดแห่งปัญหาเสียแล้ว;
เพราะว่าพรหมจรรย์ นั้น เขาอยู่ประพฤติกัน
มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
มีนิพพานเป็นที่สุด..
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๓๕.
(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๘๘/๙๖๘-๙๗๑.
--
http://etipitaka.com/read?language=pali&number=288&volume=19
-

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

ชาวพุทธรู้หรือไม่ แค่เอาจิตมารู้ที่ลมหายใจ ก็สามารถแก้กรรมได้แล้ว อยากหม...



***ถ้าเราต้องการเป็นผู้มี #บารมีมาก #มีกุศลมาก อยู่กับลมหายใจ***

https://www.youtube.com/watch?v=6JxSS2n-SlE

#ความดับไม่เหลือแห่งกรรม มรรคแปด เท่านั้น

#มรรคมีองค์แปด

#มรรคมีองค์แปด(องค์ประกอบของมรรคมีแปดข้อ)

1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูกตรง

2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริถูกตรง

3. สัมมาวาจา-มีวาจาถูกตรง

4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ

5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ

6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ

7. สัมมาสติ-มีสติระลึกชอบ และ

8. สัมมาสมาธิ-มีสมาธิชอบ

มรรคมีองค์แปด

#ย่อลงเหลือสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

#ย่อลงอีกเหลือสอง คือ สมถ วิปัสนา

#ย่อลงอีกเหลือหนึ่ง คือ อาณาปานสติ

#มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้

1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ

3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

-----------------------------------

‪#‎สติปัฏฐานสี่‬ ‪#‎กองกุศลที่แท้จริง‬

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

--------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

---------------------------------

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืมอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม ฯ

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ

ดังนี้ แล.

มหาวาร. สํ ๑๙/๒๒๖-๒๒๗/๗๖๔–๗๖๖. เอก. อํ. ๒๐/๕๙/๒๓๕,๒๓๙.

--

link ;; พระสูตรพร้อมคลิปพระอาจารย์ วิหารธรรมเครื่องอยู่ เสาเขื่อนเสาหลักของจิต https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1674585156106354

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมผ่าน video conference จากวัดดอลาร์น่าวนาราม สวีเดน



#คนจนที่สุดในโลก

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ดุ้นฟืน

จากเชิงตะกอนที่เผาศพ

ยังมีไฟติดอยู่ทั้งสอง

ตรงกลางก็เปื้อนอุจจาระ

ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในบ้านเรือนก็ไม่ได้

ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในป่าก็ไม่ได้,

ข้อนี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาเช่นนั้น;

คือ เป็นผู้เสื่อมจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย,

ไม่ทำประโยชน์แห่งสมณะให้บริบูรณ์ ด้วย.

ประมาณนาที่ที่ <<24.10>>https://www.youtube.com/watch?v=I8UvTCMXVrA

***การบวชที่ไร้ประโยชน์**

ภิกษุ ท. ! อาชีพต่ำที่สุด

ในบรรดาอาชีพทั้งหลาย คือการขอทาน.

ภิกษุ ท. ! คำสาปแช่งอย่างยิ่ง ในโลกนี้ คือ

คำสาปแช่งว่า “แกถือกระเบื้องในมือเที่ยวขอทานเถอะ”

ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! กุลบุตรทั้งหลาย เข้าถึงอาชีพนี้

เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งประโยชน์

เพราะอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์,

ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์

ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช

ไม่ใช่เป็นคนหนีหนี้

ไม่ใช่เป็นคนหนีภัย

ไม่ใช่เป็นคนไร้อาชีพ, จึงบวช

อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว

 โดยที่คิดเช่นนี้ว่า

เราทั้งหลายเป็นผู้ถูกหยั่งเอาแล้ว

 โดยชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย

เป็นผู้อันความทุกข์หยั่งเอาแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

จะพึงปรากฏแก่เรา ดังนี้.



ภิกษุ ท. ! แต่ว่ากุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้

กลับเป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา

มีราคะแก่กล้าในกามทั้งหลาย

มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ

เป็นไปในทางประทุษร้าย

มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ

มีจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว

มีจิตหมุนไปผิดแล้ว

มีอินทรีย์อันตนไม่สำรวมแล้ว.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ดุ้นฟืน

จากเชิงตะกอนที่เผาศพ

ยังมีไฟติดอยู่ทั้งสอง

ตรงกลางก็เปื้อนอุจจาระ

ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในบ้านเรือนก็ไม่ได้

ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในป่าก็ไม่ได้,

ข้อนี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาเช่นนั้น;

คือ เป็นผู้เสื่อมจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย,

ไม่ทำประโยชน์แห่งสมณะให้บริบูรณ์ ด้วย.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๑๓/๑๖๗.

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน-ความหมายของคำว่าหลุดพ้น



‪#‎ความหมายของคำว่าหลุดพ้น‬***(เชื่อมโยง.พระสูตร ต่อ พระสูตร สู่วิมุตติ)

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

จัดทำคลิปโดย ศากยบุตร โอรสอันเกิดโดยธรรม

https://www.youtube.com/watch?v=tkmlYHm5E7k

link ;; วีดีโอ FB > พุทธวจน_ความหมายของคำว่าหลุดพ้น

จัดทำคลิปโดย ตะวัน พุทธวจนไทยประกัน บางเสาธง สมุทรปราการ ลำดับที่ 4386

https://www.facebook.com/100006612348069/videos/1627532620810467/

--

‪#‎จิตหลุดพ้นแล้ว‬ จิตหลุดพ้นจากอารมณ์

ไม่ใช่จิตเป็นตัวหลุดพ้น เพราะจิตไม่ใช่เรา

----

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว(พระสูตรภาษาไทยแปลเกิน)

จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;

เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;

เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

..ฯลฯ..(link ; http://buddhawajana252.blogspot.com/…/…/blog-post_5246.html… )

--

‪#‎สิ่งใดเปลี่ยน‬ สิ่งนั้นดับ ..ดังนัั้น ..จิตเป็นสังขตะ

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น

แม้จะอุปมาก็กระทำได้

มิใช่ง่าย ฯ

-

‪#‎สัตว์หลงขันธ์๕‬ link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1553602331537971&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

จิต มโน วิญญาณ ตัวเดียวกัน link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1551820711716133&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

---

‪#‎มโน‬ รู้ ตัวมันเองได้..

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย

(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1568285556736315&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎คิดว่าจิตเป็นเรา‬

[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง

แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่

จรมา ฯ

--

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1605593836338820&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

วิญญาณ..ฐิติ ทำให้จิตเศร้าหมอง

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1458406247724247&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎สิ่งๆ‬ หนึ่ง เป็นความว่างเป็นสูญญตาที่รองรับ ขันธ์๕ ทั้งหมด

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1553599238204947&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1683672755197594

--

‪#‎จิตหลุดพ้นจากขันธ์๔‬

‪#‎การละนันทิ‬ (ความเพลิน) จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ

จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.

(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ

ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง

จักษุ ทุกประการ.)

นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

--

‪#‎สภาพความว่างรู้จักตัวมันเอง‬

..ฯลฯ..

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว

จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;

เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;

เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

--

‪#‎อรหันต์ทั้งหลายไม่เพลินในนิพพาน‬

‪#‎ทรงรู้ยิ่ง‬

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน

ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ นิพพานแล้ว

ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน

ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน

ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน

ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา

ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า

เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะ ภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า

พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.

กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล. จบ

----

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มูลปริยายวรรค ๑. มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง

-----------

link ; พระสูตรเต็มๆ อสังขตะ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1553587994872738&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎พ่านเร็วกว่ากระพริบตามาแล้ว‬

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1564524327112438&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎พ่านโพชฌงค์‬ ๗ มาแล้ว (องค์ตรัสรู้ธรรม)

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ

--

link ; พระสูตรเต็มๆ

http://buddhawajana252.blogspot.com/…/…/mobile20140225c.html

--

link ;; วีดีโอ FB > พุทธวจน_ความหมายของคำว่าหลุดพ้น

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

จัดทำคลิปโดย ตะวัน พุทธวจนไทยประกัน บางเสาธง สมุทรปราการ ลำดับที่ 4386

https://www.facebook.com/100006612348069/videos/1627532620810467/

พุทธวจน-ความหมายของคำว่าหลุดพ้น



‪#‎ความหมายของคำว่าหลุดพ้น‬***(เชื่อมโยง.พระสูตร ต่อ พระสูตร สู่วิมุตติ)

https://www.youtube.com/watch?v=tkmlYHm5E7k

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

จัดทำคลิปโดย ตะวัน พุทธวจนไทยประกัน

บางเสาธง สมุทรปราการ ลำดับที่ 4386

‪#‎จิตหลุดพ้นแล้ว‬ จิตหลุดพ้นจากอารมณ์

ไม่ใช่จิตเป็นตัวหลุดพ้น เพราะจิตไม่ใช่เรา

----

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว(พระสูตรภาษาไทยแปลเกิน)

จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;

เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;

เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

..ฯลฯ..(link ; http://buddhawajana252.blogspot.com/…/…/blog-post_5246.html… )

--

‪#‎สิ่งใดเปลี่ยน‬ สิ่งนั้นดับ ..ดังนัั้น ..จิตเป็นสังขตะ

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น

แม้จะอุปมาก็กระทำได้

มิใช่ง่าย ฯ

-

‪#‎สัตว์หลงขันธ์๕‬ link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1553602331537971&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

จิต มโน วิญญาณ ตัวเดียวกัน link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1551820711716133&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

---

‪#‎มโน‬ รู้ ตัวมันเองได้..

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย

(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1568285556736315&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎คิดว่าจิตเป็นเรา‬

[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง

แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่

จรมา ฯ

--

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1605593836338820&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

วิญญาณ..ฐิติ ทำให้จิตเศร้าหมอง

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1458406247724247&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎สิ่งๆ‬ หนึ่ง เป็นความว่างเป็นสูญญตาที่รองรับ ขันธ์๕ ทั้งหมด

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1553599238204947&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1683672755197594

--

‪#‎จิตหลุดพ้นจากขันธ์๔‬

‪#‎การละนันทิ‬ (ความเพลิน) จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ

จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.

(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ

ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง

จักษุ ทุกประการ.)

นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

--

‪#‎สภาพความว่างรู้จักตัวมันเอง‬

..ฯลฯ..

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว

จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;

เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;

เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

--

‪#‎อรหันต์ทั้งหลายไม่เพลินในนิพพาน‬

‪#‎ทรงรู้ยิ่ง‬

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน

ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ นิพพานแล้ว

ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน

ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน

ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน

ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา

ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า

เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะ ภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า

พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.

กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล. จบ

----

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มูลปริยายวรรค ๑. มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง

-----------

link ; พระสูตรเต็มๆ อสังขตะ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1553587994872738&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎พ่านเร็วกว่ากระพริบตามาแล้ว‬

link ; พระสูตรเต็มๆ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1564524327112438&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1

--

‪#‎พ่านโพชฌงค์‬ ๗ มาแล้ว (องค์ตรัสรู้ธรรม)

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ

--

link ; พระสูตรเต็มๆ

http://buddhawajana252.blogspot.com/…/…/mobile20140225c.html

--

link ;; วีดีโอ FB > พุทธวจน_ความหมายของคำว่าหลุดพ้น

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

จัดทำคลิปโดย ตะวัน พุทธวจนไทยประกัน บางเสาธง สมุทรปราการ ลำดับที่ 4386

https://www.facebook.com/100006612348069/videos/1627532620810467/

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธวจน faq สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ มีความหมาย และเป็นองค์ประกอบในการเจริ...



‪#‎สติ‬ มี เกิด ดับ
‪#‎สติเปรียบเสมือนนายทวารประตู‬
https://www.youtube.com/watch?v=ObGxDZWiHiA
ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล 
เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง 
ก็ในอุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้
คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔
ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด
เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด
มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์
มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ
คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสนา
คำว่าเจ้าเมืองเป็นชื่อของวิญญาณ
คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็นชื่อของนิพพาน
คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
---
‪#‎ปัญญาสติ‬ กับ ‪#‎นามรูปดับ‬ เพราะ ‪#‎วิญญาณดับ‬
---
"ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว
ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น คือปัญญาและสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด;
ปัญญาและสติกับนามรูปนั้นจะดับไปในที่ไหน?
----
ดูก่อนอชิตะ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใด เราจะแก้ปัญหา
ข้อนั้นแก่ท่าน : นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด,
ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น ก็ย่อมดับไปในที่นั้น,
เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ แล.
----
- สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๐/๔๒๕. - จูฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๐-๒๑/๘๐,๗๕
--
link ;; พระสูตร สติเสมือนนายทวารประตู
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1709950015903201