วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559



..ผู้โจทก์ประสงค์โจทผู้อื่น...

https://www.youtube.com/watch?v=mLSHtITyXYo&feature=youtu.be

อัตตาทานวรรคที่ ๕

หน้าที่ของโจทก์

[๑๑๘๓] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า?

พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม ๕ อย่างไว้ในตน

แล้วโจทผู้อื่น. ธรรม ๕ อย่าง อะไรบ้าง? คือ:

๑. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือ ธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี?

ดูกรอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวน จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านศึกษาความประพฤติทางกายก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้.

๒. ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์

ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่?

ดูกรอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวน จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญทานศึกษาความประพฤติทางวาจาก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้.

๓. ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้ว่า เมตตาจิต ไม่มีอาฆาต เราเข้าไปตั้งไว้แล้วในหมู่เพื่อนสพรหมจารีหรือธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี?

ดูกรอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ได้เข้าไปตั้งเมตตาจิต ไม่มีอาฆาตในหมู่เพื่อนสพรหมจารี จะมีผู้กล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในหมู่เพื่อนสพรหมจารีก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้

๔. ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้นเราได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี?

ดูกรอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เธอหาได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาไม่ จะมีผู้กล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเรียนคัมภีร์ก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้.

๕. ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะคล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือ ธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี?

ดูกรอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสอง โดยพิสดาร สวดไพเราะคล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะไม่ได้ มีผู้ถามว่า ท่าน สิกขาบทนี้

พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ที่ไหน เธอถูกถามดังนี้ ย่อมตอบไม่ถูกต้อง จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเรียนวินัยก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้.

ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์โจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่นเถิด.

หน้าที่ของโจทก์อีกนัยหนึ่ง

[๑๑๘๔] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า?

พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น.

ธรรม ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:

๑. เราจักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร

๒. เราจักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วยคำเท็จ

๓. เราจักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ

๔. เราจักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์

๕. เราจักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด

ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่นเถิด.

โจทก์ควรใฝ่ใจถึงธรรม

[๑๑๘๕] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้า?

พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น. ธรรม ๕ อย่าง อะไรบ้าง? คือ:

๑. ความการุญ

๒. ความหวังประโยชน์

๓. ความเอ็นดู

๔. ความออกจากอาบัติ

๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องต้น

ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทำโอกาส

[๑๑๘๖] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า?

พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส.

องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:

๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์

๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

๕. ถูกซักเข้า ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซัก

ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส.

องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทำโอกาส

ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:

๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์

๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์

๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์

๔. เป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด

๕. ถูกซักเข้า อาจให้คำตอบข้อที่ซัก

ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส. สงฆ์ควรทำโอกาส.

- ฉบับหลวง ๘/๔๒๙-๔๓๒/๑๑๘๓-๖

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq เทวตาพลี คือ อะไร



#เทวตาพลี  #‎เจริญพรหมวิหาร‬

รักษาศาสนาพุทธ.ด้วยการ.ช่วยกัน.ศึกษา.ปฏิบัติ.เผยแผ่.แต่.คำ.ตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

---

https://www.youtube.com/watch?v=aWJRWaoig_Y

"เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน

และธรรม อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น

ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน

และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

ไม่ครอบงำจิตได้

เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่ง

-

เมตตาเจโตวิมุตติ,

กรุณาเจโตวิมุตติ,

มุทิตาเจโตวิมุตติ,

อุเบกขาเจโตวิมุตติ

-

ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง

ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว

-

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์

พ้นแล้วจากบาปอกุศลที่เกิดขึ้น

ปราโมทย์ก็เกิด

เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว

ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว

กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข

จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ

-

เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น

-

และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา

อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง

เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

-

มีจิตสหรคตด้วยกรุณา

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น

และเธอมีจิตสหรคตด้วยกรุณา

อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง

เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

-

มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น

และเธอมีจิตสหรคตด้วยมุทิตา

อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง

เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

-

มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น

และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา

อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

-

สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด

มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่

ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ

อันความร้อนแผดเผาเร่าร้อน ลำบาก ระหาย

อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว

ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ

และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้

แม้ฉันใด เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว

เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น

ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง

-

เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์

ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด

ในเมตตาเจโตวิมุตติ

(กรุณาเจโตวิมุตติ..,มุทิตาเจโตวิมุตติ...,อุเบกขาเจโตวิมุตติ...)

ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด

ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น

-

เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น

เธอจักเดินไปทางใดๆก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ

ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ

นั่งอยู่ในที่ใดๆก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ

นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ

-

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ

อันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว

ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว

ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ

ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว

พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

หลับเป็นสุข ๑

ตื่นเป็นสุข ๑

ไม่ฝันร้าย ๑

เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑

เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑

เทพยดารักษา ๑

ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศาตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น ๑

จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑

สีหน้าผุดผ่อง ๑

ไม่หลงทำกาละ ๑

เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว

ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง

ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว

อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๑

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๒๗๕/๓๖๔ ข้อที่ ๕๗๔

http://etipitaka.com/read

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq ลักษณะการพูดของสัตตบุรุษ คืออย่างไร



#ลักษณะการพูดของสัตบุรุษ

https://www.youtube.com/watch?v=0QOGjckLNnM

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ

๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

 (๑) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษในกรณีนี้

แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น

ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ

จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม;

ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น

ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง

กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ

-

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก

คือ แม้ไม่ถูกใครถามอยู่

ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ

จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม;

ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น

ก็นำเอาปัญหา ไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน

กล่าวความดีของผู้อื่น โดยพิสดารบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ

-

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก

คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน

ก็ยังนำเปิดเผยทำให้ปรากฏ

ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า;

ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน

ก็ไม่นำเอาปัญหา ไปหาทางทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว

แต่กล่าวความไม่ดีของตนโดยพิสดารเต็มที่

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ



 (๔) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก

คือ แม้มีใครถามถึงความดีของตน

ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ

ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามเล่า;

ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน

ก็นำเอาปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อนหลีกเลี้ยวเสีย

กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ



ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล

เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ



ปฐมธรรม  หน้า ๕๓

(ไทย) จตุกฺก. อํ.  ๒๑/๗๖/๗๓.

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2559 (วันปีใหม่ 2559)



‪#‎อยู่ด้วยความไม่ประมาท‬ : กายคตาสติ ‪#‎ละนันทิ‬ สติเฝ้าประตูเมือง : เป็นผู้มีอำนาจเหนือครรลองแห่งจิต

https://www.youtube.com/watch?v=N-nSAeY6UwA&feature=share

‪#‎ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีการกระทำในใจ‬ (มนสิการ) เป็นแดนเกิด

‪#‎มีผัสสะเป็นเหตุเกิด‬ มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง

‪#‎ผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว‬ สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖

‪#‎มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ‬ พึงรู้ความดับกิเลสของตน

-

หยั่งเปรียบดั่งแม่น้ำทั้งหลายมีมหาสุมทรเป็นที่หยั่งลงภายใน

มหาสมุทรเปรียบดั่งกายคตาสติ(ความไม่ประมาท)

แม่น้ำทั้งหลาย เป็นอุปมาของธรรมทั้งหลายเหล่านี้ อันได้แก่

-

‪#‎อานาปานสติสมาธิ‬

เป็นธรรมอันเอก เป็นวิหารธรรมของพระศาสดาเมื่อปลีกวิเวก เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ด้วยการพิจารณาว่า ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก นั้นเป็นกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย ดังนี้ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การรู้อิริยาบถ‬ เดิน ยืน นั่ง นอน

เรา เดินอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า “เราเดินอยู่”

เมื่อยืน ย่อมรู้ชัดว่า "เรายืนอยู่"

เมื่อนั่ง ย่อมรู้ชัดว่า "เรานั่งอยู่"

เมื่อนอน ย่อมรู้ชัดว่า "เรานอนอยู่"

เมื่อเราตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใด ก็ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น

ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การมีสัมปชัญญะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม‬

ในกรณีการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับหลัง การเหลียวดูแลดู การคู้ การเหยียด ... ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง พระองค์ทรงตรัสถึงการเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การพิจารณากายในเรื่องของความไม่งาม‬(อสุภะสัญญา)

พิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ

เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆว่า ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก...

ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การพิจารณากายโดยความเป็นธาตุมีอยู่ในกายนี้‬(ดิน น้ำ ไฟ ลม)

พิจารณากายนี้

รู้โดยความเป็นธาตุดิน

รู้โดยความเป็นธาตุน้ำ

รู้โดยความเป็นธาตุไฟ

และ รู้โดยความเป็นธาตุลม ว่าไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุเหล่านี้ ไม่ยินดีและไม่สำคัญว่าเป็นเรา ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีการกระทำในใจ (มนสิการ) เป็นแดนเกิด

มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง

ผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖

มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ พึงรู้ความดับกิเลสของตน

-

กายคตาสติของเรานี้ จักเป็นสิ่งที่เราอบรม

กระทำให้มาก

กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป

กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้

เพียงตั้งไว้เนืองๆ

เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ

เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี ดังนี้

-

กายคตาสติ (การมีความระลึกรู้อยู่ที่กาย)

พระศาสดาตรัสว่า สติเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวง

ผู้ใดไม่เจริญกระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ

ผู้นั้นเป็นผู้หลงลืมอมตะ(ความไม่ตาย) เป็นผู้ประมาท(ต่อความตาย)

ผู้ประมาทคือผู้ที่ไม่สังวรอินทรีย์

ผู้ที่ไม่สำรวมอินทรีย์คือผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ

-

พระตถาคตตรัสอุปมาว่าแม่น้ำทั้งหลายย่อมไหลไปสู่ โน้มไปสู่ น้อมไปสู่ โอนไปสู่สมุทร ฉันใด

กุศลธรรมเหล่าใดซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ฉันนั้น

ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีเบื้องต้นคือศีลและทิฏฐิที่ตั้งไว้ตรง เป็นเบื้องต้น

ดุจดั่งพระราชาทั้งหลายย่อมเดินตามพระมหาจักพรรดิ์ผู้เป็นยอดของพระราชาเหล่านั้น

-

พระพุทธเจ้าตรัสว่าสิ่งที่เรียกว่า จิตก็ดี มโนก็ดี วิญญาณก็ดี ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวันตลอดคืน

ปุถุชนผู้มิได้สดับในธรรมไม่อาจรู้ธรรมอันเป็นเครื่องเกิดปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ

พระองค์เปรียบอุปมากายของเรานี้อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูติรูป ๔

เพราะเหตุแห่งการบังเกิดขึ้น การเสื่อมลงไป การถูกยึดครอง หรือแม้แต่การตายก็ดี

ปุถุชนผู้มิได้สดับในธรรมนี้ก็ยังพอจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางลงได้บ้างในกาย

กายจึงเปรียบเหมือนเสาเขื่อนเสาหลัก ยึดกาย จึงดีกว่ายึดจิต ดังนี้

-

จึงควรมีสติเข้าไปตั้งไว้ในกาย นี้จึงเป็น กายคตาสติ

อันพระองค์สรรเสริญว่าเป็น

หนทางที่ให้ไปถึงธรรมในเบื้องหน้า

หนทางให้ไปถึงอสังขตะ

ทางคือความสิ้นไปแห่ง ราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ

-

กายคตาสติ เป็นธรรมที่พระองค์สรรเสริญว่า

เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อปัญญาเจริญไพบูลย์

มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ดังนี้แล้ว

กายคตาสติจึงเป็นธรรมที่เอื้อต่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน