วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

nakhonsi 20150317



คลิปนี้ดีมากๆ

พระอาจารย์เชื่อมพระสูตร..หลายๆ เรื่อง..ให้เห็นเป็นรูป  เป็นร่าง.เข้าใจดีมากๆ..เช่น..ภพ = กรรม = ฐานที่ตั้งของวิญญาณ...ดูซ้ำ  ดูซ้ำ..หลายๆ  รอบ..แล้วเอาพระสูตรมาต่อกัน..สาธุ อนุโมทนาก้ับคุณชูคะ ขอบพระคุณคะ

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นบันดาล
กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากตัวเองบันดาล
กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นและตนเองบันดาล
กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆโดยปราศจากเหตุผล
**
นิทานสัมภวะ(แดนเกิด)แห่งกรรมทั้งหลายเกิด จากผัสสะ
และกัมมนิโรธ(ความดับกรรม)แห่งกรรมทั้งหลาย
ย่อมมีเพราะความดับไปแห่งผัสสะ
**
ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้
ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?" ดังนี้
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำ เฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทน า (ความ รู้สึกต่ออารมณ์)" ดังนี้
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้
ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"ดังนี้
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณ หา (ความอยาก)" ดังนี้
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้
หากเราได้กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า
"ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)" ดังนี้
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย
เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า
"ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว
นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
"เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
.
.
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๑/๒๘๘ ข้อที่ ๓๑-๓๗
..
http://etipitaka.com/read…#
--
ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด
ดูกรนายคามณี
ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง
ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ
---
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๓๑๔/๔๐๒ ข้อที่ ๕๘๙-๕๙๑
http://etipitaka.com/read…
--

กำลังคือการสงเคราะห์

‪#‎กำลังคือการสงเคราะห์‬
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน
สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
ทาน ๑
เปยยวัชชะ ๑
อัตถจริยา ๑
สมานัตตตา ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย
การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำ อันเป็นที่รัก
การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา
ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา
ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา
ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
-
พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน
พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี
พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี
พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์
นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย
-
นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ
-
(เหตุผลว่าทำไมถึงเลิศกว่า)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน
คือ
อาชีวิตภัย ๑
อสิโลกภัย ๑
ปริสสารัชภัย ๑
มรณภัย๑
ทุคติภัย ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกนั้นแลพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเล่า
เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ
กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
-
คนที่มีปัญญาทรามแล
จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คือ กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เพราะการงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ
-
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ
เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้านในบริษัท
... เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย
... เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ
ไฉนเราจักกลัวต่อภัย
คือ ทุคติเล่าเพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ
กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
-
คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คือ กลัวต่อภัยคือทุคติ
เพราะการงานทางกาย ทางวาจา และทางใจที่มีโทษ
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวภัยคือทุคติ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
---
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๒๙๓/๓๗๙ ข้อที่ ๒๐๙
---
http://etipitaka.com/read…#

ถ้าจิตไม่ไหวโคลง กายก็ไม่ไหวโคลง

#ถ้าจิตไม่ไหวโคลง #กายก็ไม่ไหวโคลง...
เจริญอานาปานสติ :
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิต
ย่อมมีขึ้นไม่ได้
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า 
ได้ทอดพระเนตร เห็นพระมหากัปปินะ
ผู้มีกายไม่โยกโคลง
แล้วได้ตรัสแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเห็นความหวั่นไหว หรือ
ความโยกโคลงแห่งกายของมหากัปปินะบ้างหรือไม่ ?
*
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
เวลาใดที่ข้าพระองค์ทั้งหลา
เห็นท่านผู้มีอายุนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก็ดี
นั่งในที่ลับคนเดียวก็ดี
ในเวลานั้นๆ
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้เห็นความหวั่นไหว
หรือความโยกโคลงแห่งกาย
ของท่านผู้มีอายุรูปนั้นเลย พระเจ้าข้า !”
*
ภิกษุทั้งหลาย !
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
มีขึ้นไม่ได้
เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด;
*
ภิกษุมหากัปปินะนั้น
เป็นผู้ได้ตามปรารถนา
ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสมาธินั้น.
*
ภิกษุทั้งหลาย !
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
มีขึ้นไม่ได้
เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิเหล่าไหนเล่า ?
*
ภิกษุทั้งหลาย !
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
ย่อมมีไม่ได้
เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.
*
ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่ออานาปานสติสมาธิ
อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
จึงไม่มี ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง
ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
*
ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่ออานาปานสติสมาธิ
อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม
ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙-๔๐๐/๑๓๒๒-๑๓๒๖.

อายุยืน มียศ

#ผู้ให้โภชนะ 
ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาน
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ 
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างแก่ปฏิคาหก 
๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ 
ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ
ครั้นให้อายุแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุ
อันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้วรรณะแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะ
อันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุข
อันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้พละแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งพละ
อันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างนี้แลแก่ปฏิคาหก.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้ใดย่อมให้โภชนะโดยเคารพ
ตามกาลอันควร
แก่ท่านผู้สำรวม
บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้เป็นอยู่
ผู้นั้นชื่อว่าให้ฐานะทั้ง ๔ อย่าง
คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
ผู้มีปกติให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ
จะเกิดในที่ใดๆ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน
มียศในที่นั้นๆ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๔/๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่าง
แก่ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุข ให้กำลัง ให้ปฏิภาณ
ครั้นให้อายุแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง อายุ
อัน เป็น ทิพย์ หรือ เป็น ของมนษุย์
ครั้น ให้วรรณะแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะ
อันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุข
อันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้กำลังแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลัง
อันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภา
อันเป็นเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แล
แก่ปฏิคาหก.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้มีปัญญา
ให้อายุย่อมได้อายุ
ให้กำลังย่อมได้กำลัง
ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ
ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ
ให้สุขย่อมได้สุข
ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้ว
จะเกิดในที่ใดๆ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน
มียศในที่นั้นๆ .
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๗.

ดิรัจฉานวิชา

ก่อนฉัน วัดนาป่าพง
พรหมชาลสูตร
(พระสูตรบทนี้พระตถาคตตรัสเรื่องติรัจฉานวิชาไว้อย่างละเอียด)
****************************** 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! 
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้

พรหมชาลสูตร(คัดลอกมาบางส่วน)
*************************
มหาศีล
ติรัจฉานวิชา
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ทายอวัยวะ
ทายนิมิต
ทายอุปบาต
ทำนายฝัน
ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า
ทำพิธีบูชาไฟ
ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน
ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ
ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ
ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ
ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ
ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ
ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ
ทำพลีกรรมด้วยโลหิต
เป็นหมอดูอวัยวะ
ดูลักษณะที่บ้าน
ดูลักษณะที่นา
เป็นหมอปลุกเสก
เป็นหมอผี
เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน
เป็นหมองู
เป็นหมอยาพิษ
เป็นหมอแมลงป่อง
เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด
เป็นหมอทายเสียงนก
เป็นหมอทางเสียงกา
เป็นหมอทายอายุ
เป็นหมอเสกกันลูกศร
เป็นหมอทายเสียงสัตว์.

[๒๐] ๒. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา
เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทายลักษณะแก้วมณี
ทายลักษณะไม้พลอง
ทายลักษณะผ้า
ทายลักษณะศาตรา
ทายลักษณะดาบ
ทายลักษณะศร
ทายลักษณะธนู
ทายลักษณะอาวุธ
ทายลักษณะสตรี
ทายลักษณะบุรุษ
ทายลักษณะกุมาร
ทายลักษณะกุมารี
ทายลักษณะทาส
ทายลักษณะทาสี
ทายลักษณะช้าง
ทายลักษณะม้า
ทายลักษณะกระบือ
ทายลักษณะโคอุสภะ
ทายลักษณะโค
ทายลักษณะแพะ
ทายลักษณะแกะ
ทายลักษณะไก่
ทายลักษณะนกกระทา
ทายลักษณะเหี้ย
ทายลักษณะตุ่น
ทายลักษณะเต่า
ทายลักษณะมฤค.

[๒๑] ๓. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย
พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย
พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย
พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย
พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย
เพราะเหตุนี้ๆ.

[๒๒] ๔. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า
จักมีจันทรคราส
จักมีสุริยคราส
จักมีนักษัตรคราส
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง
ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง
จักมีอุกกาบาต
จักมีดาวหาง
จักมีแผ่นดินไหว
จักมีฟ้าร้อง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี
แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้

[๒๓] ๕. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า
จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง
จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก
จักมีความเกษม จักมีภัย
จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้
หรือนับคะแนนคำนวณ นับประมวล
แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์

[๒๔] ๖. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล
ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์
ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย
ให้ยาผดุงครรภ์
ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง
ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
ร่ายมนต์ให้มือสั่น
ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสีย
เป็นหมอทรงกระจก
เป็นหมอทรงหญิงสาว
เป็นหมอทรงเจ้า
บวงสรวงพระอาทิตย์
บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ
ทำพิธีเชิญขวัญ.

[๒๕] ๗. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน
ร่ายมนต์ขับผี
สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย
ทำชายให้กลายเป็นกะเทย
ทำพิธีปลูกเรือน
ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่
พ่นน้ำมนต์
รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ
ปรุงยาสำรอก
ปรุงยาถ่าย
ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน
ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง
ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
หุงน้ำมันหยอดหู
ปรุงยาตา
ปรุงยานัดถุ์
ปรุงยาทากัด
ปรุงยาทาสมาน
ป้ายยาตา
ทำการผ่าตัดรักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต
จะพึงกล่าวด้วยประการใด
ซึ่งมีประมาณน้อย ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลนั้นเท่านี้แล.

จบมหาศีล.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๘-๑๐/๓๘๓ ข้อที่ ๑๙-๒๕

-----------------------------------------------------------------------------

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิช
ทรงตรัสไว้กับพระราชาดังนี้ต่อไปนี้

มหาศีล

[๑๑๔] ๑.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่าง สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ทายอวัยวะ
ทายนิมิต
ทายอุปบาต
ทำนายฝัน
ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า
ทำพิธีบูชาไฟ
ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน
ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ
ทำพิธีซัด รำบูชาไฟ
ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ
ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ
ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ
ทำพิธีเสกเป่า บูชาไฟ
ทำพลีกรรมด้วยโลหิต
เป็นหมอดูอวัยวะ
ดูลักษณะที่บ้าน
ดูลักษณะที่นา
เป็นหมอ ปลุกเสก
เป็นหมอผี
เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน
เป็นหมองู
เป็นหมอยาพิษ
เป็นหมอแมลงป่อง
เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด
เป็นหมอทายเสียงนก
เป็นหมอทายเสียงกา
เป็นหมอทายอายุ
เป็นหมอเสกกันลูกศร
เป็นหมอทายเสียงสัตว์
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.

[๑๑๕] ๒.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ทายลักษณะแก้วมณี
ทายลักษณะผ้า
ทายลักษณะไม้พลอง
ทายลักษณะศาตรา
ทายลักษณะดาบ
ทายลักษณะศร
ทายลักษณะธนู
ทายลักษณะอาวุธ
ทายลักษณะสตรี
ทายลักษณะบุรุษ
ทายลักษณะกุมาร
ทายลักษณะกุมารี
ทายลักษณะทาส
ทายลักษณะทาสี
ทายลักษณะช้าง
ทายลักษณะม้า
ทายลักษณะกระบือ
ทายลักษณะโคอุสภะ
ทายลักษณะโค
ทายลักษณะแพะ
ทายลักษณะแกะ
ทายลักษณะไก่
ทายลักษณะนกกระทา
ทายลักษณะเหี้ย
ทายลักษณะตุ่น
ทายลักษณะเต่า
ทายลักษณะมฤค
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.

[๑๑๖] ๓.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า
พระราชาจักยกออก
พระราชาจักไม่ยกออก
พระราชาภายในจักยกเข้าประชิ
พระราชาภายนอกจักถอย
พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
พระราชาภายในจักถอย
พระราชาภายในจักมีชัย
พระราชาภายนอกจักปราชัย
พระราชาภายนอก จักมีชัย
พระราชาภายในจักปราชัย
พระราชาองค์นี้จักมีชัย
พระราชาองค์นี้จักปราชัย
เพราะเหตุ นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

[๑๑๗] ๔.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ พยากรณ์ว่า
จักมีจันทรคราส
จักมีสุริยคราส
จักมีนักษัตรคราส
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง
ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง
จักมีอุกกาบาต
จักมีดาวหาง
จักมีแผ่นดินไหว
จักมีฟ้าร้อง
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น อย่างนี้
ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้
มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี
แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง จักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้
แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

[๑๑๘] ๕.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ พยากรณ์ว่า
จักมีฝนดี
จักมีฝนแล้ง
จักมีภิกษาหาได้ง่าย
จักมีภิกษา หาได้ยาก
จักมีความเกษม
จักมีภัย
จักเกิดโรค
จักมีความสำราญหาโรคมิได้
หรือนับคะแนน
คำนวณ นับประมวล
แต่งกาพย์ โลกายศาสตร์
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

[๑๑๙] ๖.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล
ให้ฤกษ์วิวาหมงคล
ดูฤกษ์เรียงหมอน
ดูฤกษ์ หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์
ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์
ดูโชคดี
ดูเคราะห์ร้าย
ให้ยาผดุงครรภ์
ร่ายมนต์
ให้ลิ้นกระด้าง
ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
ร่ายมนต์ให้มือสั่น
ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสีย
เป็นหมอ ทรงกระจก
เป็นหมอทรงหญิงสาว
เป็นหมอทรงเจ้า
บวงสรวงพระอาทิตย์
บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ
ทำพิธีเชิญขวัญ
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

[๑๒๐] ๗.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ
โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน
ร่ายมนต์ขับผี
สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย
ทำชายให้กลายเป็นกะเทย
ทำพิธีปลูกเรือน
ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่
พ่นน้ำมนต์
รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ
ปรุงยาสำรอก
ปรุงยาถ่าย
ปรุงยา
ถ่ายโทษเบื้องบน
ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง
ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
หุงน้ำมันหยอดหู
ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์
ปรุงยาทากัด
ปรุงยาทาสมาน
ป้ายยาตา
ทำการผ่าตัด
รักษาเด็ก
ใส่ยา ชะแผล
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

[๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวร
นั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์
ผู้ได้มุรธาภิเษก
กำจัดราชศัตรูได้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัย
แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น
สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ
เพราะศีลสังวรนั้น
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้
ย่อมได้เสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน
ดูกรมหาบพิตร
ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยศีล.

จบมหาศีล.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๖๔/๓๘๓ ข้อที่ ๑๑๔-๑๒๑

#ผู้มีความเพียรตลอดเวลา
ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุกำลังเดิน...ยืน...นั่ง...นอนอยู่
ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม
หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น
หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา, 
และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้
สละทิ้งไป
ถ่ายถอนออก
ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ;
ภิกษุที่เป็นเช่นนี้
แม้กำลังเดิน...ยืน...นั่ง...นอนอยู่
ก็เรียกว่าเป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส
รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก
เป็นคนปรารภความเพียร
อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗/๑๑
#เหตุเสื่อมของภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ 
ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ 
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ 
ความเป็นผู้ยินดีในการก่อสร้าง ๑ 
ความเป็นผู้ยินดีในการเจรจาปราศรัย ๑
ความเป็นผู้ยินดีในการนอน ๑
ควานเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
--
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ข้อที่ ๘๙
--
http://etipitaka.com/search/ : keyword ; ยินดีในการก่อสร้าง
๑. พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๐๐
ม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยินดีในการก่อสร้าง ๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ข้อที่ ๘๙

#ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ก็ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง 
เป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้
เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ ตาบอด
คือ
ทำลายจักษุของมาร
ให้ไม่เห็นร่องรอย
ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า
ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือ
ทำลายจักษุของมาร
ให้ไม่เห็นร่องรอย
ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

(ไทย) มู. ม. ๑๒/๒๑๗/๓๓๑.
(บาลี)มู. ม. ๑๒/๓๐๘/๓๓๑

#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ : -

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า “สุขและทุกข์ ตนทำเอง”;
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า “สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้”;
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี”;
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”;
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องใครอื่นทำให้เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”;
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”.

ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าเหตุ (แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้วโดยแท้จริง
และธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

คู่มือโสดาบัน ๑๑๗

(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๓/๓๖๖.

(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๖.
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=393&volume=22

#เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวัน
ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. 
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า
ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่
ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะต
อาศัยตนทำ ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่
ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะต
อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง
ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม
การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรม
จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ ? ”
ชีวก ! ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์
เจาะจงพระสมณโคดมพระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่
ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน
อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้
ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ
คือ เนื้อที่ตนเห็น
เนื้อที่ตนได้ยิน
เนื้อที่ตนรังเกียจ
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น
เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน
เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ
ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า
เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.
(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๔๒/๕๖-๕๗.
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=42&volume=13

#พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อบางประเภท
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่
เขาสละเนื้อของเขาถวายก็ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ 
รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
--
อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง
ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก
สมัยอัตคัตอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อช้า
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อช้าง
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จึงได้ฉันเนื้อช้างเล่า
เพราะช้างเป็นราชพาหนะ
ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบคงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะ
เหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า
สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก
สมัยอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อม้า
และถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อม้าเล่า
เพราะม้าเป็นราชพาหนะ
ถ้าพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบ
คงไม่เลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้าม
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข
สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร
ประชาชนพากันบริโภคเนื้อสุนัข
และถวายแก่พวก
ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อสุนัข
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อสุนัขเล่า
เพราะสุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียด น่าชัง
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้าม
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้องู
สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร
ประชาชนพากันบริโภคเนื้องู
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้องู
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้องูเล่า
เพราะงูเป็นสัตว์น่าเกลียดน่าชัง
แม้พระยานาคชื่อสุปัสสะก็เข้าไปในพุทธสำนัก
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า บรรดาที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีอยู่
มันคงเบียดเบียนพวกภิกษุจำนวนน้อยบ้าง
ของประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า
ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดกรุณาอย่าฉันเนื้องู
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระยานาคสุปัสสะ
เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้นพระยานาคสุปัสสะอันพระผู้มีพระภาค
ทรงให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำ
ประทักษิณกลับไป
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถ
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าราชสีห์แล้วบริโภคเนื้อราชสีห์
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
พวกภิกษุฉันเนื้อราชสีห์แล้วอยู่ในป่า
ฝูงราชสีห์ฆ่าพวกภิกษุเสีย
เพราะได้กลิ่นเนื้อราชสีห์
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือโคร่ง
แล้วบริโภคเนื้อเสือโคร่ง
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
พวกภิกษุฉันเสือโคร่งแล้วอยู่ในป่า
เหล่าเสือโคร่งฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อเสือโคร่ง
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้าม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือโคร่ง
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือเหลือง
แล้วบริโภคเนื้อเสือเหลือง
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
พวกภิกษุฉันเนื้อเสือเหลืองแล้วอยู่ในป่า
เหล่าเสือเหลืองฆ่าพวกภิกษุเสีย
เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือเหลือง
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือเหลือง
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
-
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อหมี
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าหมีแล้วบริโภคเนื้อหมี
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
พวกภิกษุฉันหมีแล้วอยู่ในป่
เหล่าหมีฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อหมี
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อหมี
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
--
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือดาว
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือดาวแล้วบริโภคเนื้อเสือดาว
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
พวกภิกษุฉันเนื้อเสือดาวแล้วอยู่ในป่า
เหล่าเสือดาวฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือดาว
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือดาว
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
(มหาวรรค วินัยปิฏก ภาค ๒ เล่ม ๕/๕๘-๖๑/๖๐)