วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ฆราวาสอย่างเราๆ จะมีปัญญา เครื่องเจาะแทงกิเลสได้อย่างไร การเห็นอริยสัจ๔ ...


เอาละทีนี้..จับมือ..ครูแนนๆ..แล้วค่อยๆ ก้าว.ขึ้นทีละขั้น.จนถึงสุดทาง..แล้วไปเดินขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง.ซิ🙏🙏🙏รู้สึกประมาณนี้เลย🙏🙏🙏ท่านพระอาจารย์เมตตาสูงมาก ธรรมะชั้นลึก ละเอียด ลึกซึ่ง ปราณีต ง่ายต่อการปฏิบัติไปเลย🙏🙏🙏
การสังเกตุอาการจิต.ในชีวิตประจำวัน.เราจะมีปัญญา.เจาะแทงกิเลสได้อย่างไร(เห็นเกิด-ดับ)🙏🙏🙏อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) 🙏🙏🙏.เห็นอริยสัจ๔.เป็นผู้มีอำนาจเหนือครรลองแห่งจิตได้อย่างไร.เพียรฝึกสังเกตุเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์🙏🙏🙏
ฆราวาสอย่างเราๆ จะมีปัญญา เครื่องเจาะแทงกิเลสได้อย่างไร การเห็นอริยสัจ๔ ในชีวิตประจำวัน Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
**
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php
💞💞💞
CR.
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
https://youtu.be/y6XJSdcBvNc
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ประธานสงฆ์วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
💞💞💞
" สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา...
สิ่งทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา..."
ชาติธรรมวรรคที่ ๔
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็น
ธรรมดาคืออะไรเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ
จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา
ฯลฯ
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ฯลฯ
ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งใน มโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
[๓๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา ... ฯ
[๓๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ... ฯ
[๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ... ฯ
[๔๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... ฯ
[๔๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ... ฯ
[๔๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ... ฯ
[๔๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ... ฯ
[๔๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีเหตุให้เกิดเป็นธรรมดา ... ฯ
[๔๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความดับไปเป็นธรรมดา คืออะไรเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ
จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดาแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัยก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ฯลฯ
ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา
ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบชาติธรรมวรรคที่ ๔
- ไทย(ฉบับหลวง) ๑๘/๒๔/๓๖-๔๕.
🙏🙏🙏
อาการทุกข์เกิดขึ้นจากเบญจขันธ์

ภิกษุ ท. ! ความเป็นสมุทัยแห่งรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? และความเป็นสมุทัยแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่. เขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในรูป ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในเวทนา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในสัญญา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น, ความเพลินใดในสังขารทั้งหลาย ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในวิญญาณ ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๘.
🙏🙏🙏
" ความดับทุกข์มี เพราะความดับไป แห่งความเพลิน (นันทิ) "
ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี, เสียง ที่ฟังด้วย หู
ก็ดี, กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี, รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น ก็ดี,
โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี, ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้ง
ด้วย ใจ ก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่ง
ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำ หนัดย้อมใจ มีอยู่;
ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก
ซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ
สรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่,
นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.
ปุณณะ ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือ
ของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน”
ดังนี้ แล.
อุปริ. ม. ๑๔/๔๘๑/๗๕๖.
---
‪#‎อสังขตลักษณะ‬
ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ);
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
--
พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๓๐๕
(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗.
--
‪#‎ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ‬
“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า :
นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”
--
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑.
--
‪#‎ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียดเมื่อเห็นอนัตตา‬
ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา : เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทุกประการ)
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้,
ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมไม่มี;
เมื่ออปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี;
เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจางคลายกำหนัด ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น;
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว
จึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่
จึงยินดีร่าเริงด้วยดี;
เพราะยินดีร่าเริงด้วยดี
จึงไม่หวาดสะดุ้ง;
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง
ย่อมปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตนนั่นเทียว
เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
---
ปฐมธรรม หน้า ๓๐๖
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๕/๙๓.
--

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เหตุใดการละนันทิจิตจึงหลุดพ้นด้วยดี ด้วยการเชื่อมโยงพระสูตรที่แท้มันคือส...


ดูท่านพระอาจารย์โยงพระสูตร.รัวๆ.  #เหตุใดละนันทิจิตหลุดพ้น. เหมือนกำลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์แก้ปัญหาสมการอยู่เลย🤩🤩x=2y อะไรประมาณนั้น😁😁พระพุทธเจ้าเราสุดยอดมากๆ🙏🙏🙏
เหตุใดละนันทิแล้วจิตจึงหลุดพ้นด้วยดี ด้วยการเชื่อมโยงพระสูตร ทีแท้มันคือสิ่งเดียวกันอย่างไร  Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
**
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php
🙏🙏🙏
อ่านพระสูตรที่เกี่ยวข้องได้จาก blog พุทธวจน
https://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;; คลิปนี้พร้อมพระสูตร
💞💞💞
CR.
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
https://youtu.be/y6XJSdcBvNc
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
🙏🙏🙏
ละนันทิ
🙏🙏🙏
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕.
สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
นันทิกขะยา ราคักขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ (คือความเพลิน) จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
ราคักขะยา นันทิกขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้
🙏🙏🙏
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยการละนันทิ
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยแยบคาย และเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

เพราะสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้

( ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ )

- สฬา.สํ.๑๘/๑๘๐/๒๔๘.
🙏🙏🙏
มีความเพลิน คือมีอุปาทาน
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งรูป
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในรูป
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งเวทนา

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งเวทนา
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในเวทนา
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งสัญญา

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งสัญญา
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในสัญญา
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งสังขาร

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งสังขาร
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในสังขาร
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งวิญญาณ

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งวิญญาณ
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในวิญญาณ
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘-๑๙/๒๘ )
🙏🙏🙏
สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นอย่างไร ?
และตัวอุปาทานเป็นอย่างไรเล่า ?
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยมธมฺม) และตัวอุปาทาน.
พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นอย่างไร ? และตัวอุปาทานเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป(กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น นั่นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปทาน ในเวทนานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เป็นสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปทาน ในสัญญานั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในวิญญาณนั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในวิญญาณนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะนี้ เรียกว่า ตัวอุปาทาน แล.
-ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๙.
(ในสูตรอื่นทรงแสดง อุปาทานิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๖๐) และอายตนะภายนอกหก
(๑๘/๑๓๖/๑๙๐)
🙏🙏🙏
สังโยชน์และที่ตั้งแห่งสังโยชน์ (ความยึดถือหรือเครื่องร้อยรัดจิต)
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน (สฺโญชนิยธมฺม)
และ ตัวสัญโญชน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟงขอนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เปนอยางไร ?
และ ตัวสัญโญชน์ เปนอยางไรเลา ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป (กาย) เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน.
ฉันทราคะ (ความกําหนัดเพราะพอใจ) ใด เขาไปมีอยูในรูปนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในรูปนั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในเวทนานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในเวทนานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในสัญญานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสัญญานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในสังขารทั้งหลายเหลานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสังขารทั้งหลายเหลานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในวิญญาณนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในวิญญาณนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ขันธเหลานี้ เรียกวา สิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน ;
ฉันทราคะนี้เรียกวา ตัวสัญโญชน แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๒๗.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๙/๓๐๘.
🙏🙏🙏
อนุสยสูตร‬ (อนุสัย ๗)
🙏🙏🙏
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่

‪#‎อนุสัยคือกามราคะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม)
‪#‎อนุสัยคือปฏิฆะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต)
‪#‎อนุสัยคือทิฏฐิ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น)
‪#‎อนุสัยคือวิจิกิจฉา‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย)
‪#‎อนุสัยคือมานะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว)
‪#‎อนุสัยคือภวราคะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ)
‪#‎อนุสัยคืออวิชชา‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความไม่รู้)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้แล.
● ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย ๗ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ฯลฯ.
: พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๘๘ ข้อที่ ๓๔๑-๓๔๒.
🙏🙏🙏
สังโยชน์ ๑๐
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะ, พยาบาท
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจ, อวิชชา
เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗
(ไทย) ทสก. อํ.  ๒๔/๑๖/๑๓
🙏🙏🙏

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กับการสร้างกรรม เกิดภพ ชาติ เวียนว่ายในสังสารวัฏ...



กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กับการสร้างกรรม เกิดภพ ชาติ เวียนว่ายในสังสารวัฏ ของสัตตานัง Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
https://youtu.be/y6XJSdcBvNc
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กับการสร้างกรรม เกิดภพ ชาติ เวียนว่ายในสังสารวัฏ ของสัตตานัง Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
#สำหรับผู้ใหม่
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เรารู้จักกันอยู่นี้เอง..ต้องตั้งใจฟัง..อย่าส่งจิตไปที่อื่น..จากเรื่องพื้นๆ ที่เราเข้าใจกันอยู่แล้ว .ด้วย.อุปมา.่สู่.ธรรมะชั้นลึก..ไหลไปโดยธรรม..เข้าใจธรรมะชั้นลึก..ถึงอาการ..เปลี่ยน..ของ..จิต..มโน..วิญญาณกันเลยทีเดียว..แล้วจะสัมผัส.นี้น่าจะเป็น..คำว่า..ธรรมอันไม่เสื่อม..ข้ามภพ..ข้ามชาติ..เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ..เข้าใจแล้ว เข้าใจเลย..ไม่ลืม..🙏🙏🙏
CR.
#พุทธวจน #วัดนาป่าพง
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
https://youtu.be/y6XJSdcBvNc