วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

ก่อนตาย วางจิตอย่างไรไม่ไปอบาย พุทธวจน





ก่อนตาย วางจิตอย่างไรไม่ไปอบาย :: เอาจิตอยู่กับกายหรือฟังคำตถาคต..

link ;; สาธยายปฏิจจสมุปบาท ไทย-อังกฤษ

 http://buddhawajana252.blogspot.com/2016/09/blog-post_99.html

link ;; สาธยายปฏิจจสมุปบาท ภาษาเยอรมัน

http://buddhawajana252.blogspot.com/2016/09/blog-post_23.html

****

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันกลับจาก

บิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อ

สนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่า

เป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ-

*อรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามี

ผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่

เพียงเท่านี้แล ฯ

[๒๙๓] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่

ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะ

ที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง ฯ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์

กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา

เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง

ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามี

ผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างของ

พวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้ พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ฯ

[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอัน

ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง

ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก

มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ

เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น

หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้

กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ

เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกาย

สังขาร หายใจเข้า เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่

อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น

ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า

กำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือ

นอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่า

กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน

ธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ

พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ

รู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน

และเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม

เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่ง

นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป

ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ

พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้

แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ

เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด

ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ

มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ ข้าวสาลี

ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว

พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสาร

ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล

ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วย

ของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่

ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ

เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้

เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญ

กายคตาสติ ฯ

[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้

แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ

ธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคน

ฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่

ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ

ธาตุลม เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้

ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน

เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน

ป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มี

น้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็น

ธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี

ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย

ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่

แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า

เจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน

ป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง

หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ

ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือน

อย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่

ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่

อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น

ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้

ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน

ป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือด เส้นเอ็นผูกรัดไว้...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่

เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อ

และเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูก

รัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้า

อยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอว

อยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูก

หน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคอ

อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่

ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็น

ธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี

ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย

ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่

แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า

เจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน

ป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกิน

ปีหนึ่ง...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก ผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามาเปรียบ

เทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่

ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่

อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้

จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอ

ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มี

เอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรง-

*สนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะสำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้

เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึม เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างใน

ข้างนอก และกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน

กันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข

เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

จะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้

ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน

เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน มี

ความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก

เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่ง

กายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก

ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล

ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุก

เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่

น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อม

ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ

ดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภาย

ในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย

แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะ

หน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่

พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้

คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกาย

ทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน

ดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด ในกอบัวขาบ

หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ

จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอด

และเหง้า ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว

ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เมื่อ

ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ

พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายใน

เท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้

อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน

อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้

มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่ว

กายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่

ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้าขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ

ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง

แผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์

ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่

อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น

ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

[๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว

ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง

อันรวมอยู่ในภายในด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม

นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสาย

หนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้

มาก ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฯ

[๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก

ซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ

เหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียกหรือ

หนอ ฯ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ

ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ

[๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทันใดนั้น มี

บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็นไม้สี

ไฟแล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟ ทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ

ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ

[๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำว่างเปล่า อัน

เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือ

หนอ ฯ

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ

ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ

[๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำ

ให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน

บุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กลุ่มด้ายเบาๆ นั้นจะพึงได้

ช่องบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วนหรือหนอ ฯ

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ

กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ

[๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ทันใดนั้น มี-

*บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟ ทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็นไม้สีไฟ

แล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ

กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้อารมณ์ ฯ

[๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม

เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษ

มาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือหนอ ฯ

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกาย-

*คตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ

[๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ

ให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง

อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อ

มีสติเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม

เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษมีกำลังมายัง

หม้อกรองน้ำนั้นโดยทางใดๆ จะพึงถึงน้ำได้โดยทางนั้นๆ หรือ ฯ

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ

กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง

นั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ

[๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ใน

ภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้

บุรุษมีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใดๆ จะพึงถึงน้ำทางด้านนั้นๆ ได้

หรือ ฯ

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญ

กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความ

รู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ

[๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้า

แล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้ง ๒ จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔

แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสาย

บังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอ

ย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตน

น้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ

[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่

เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการ

นี้ คือ

(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี

ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัว

ครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว

ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อ

ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็น

ทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ

(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน

ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้

หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอก

ภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน

เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ

โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพ

มากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและ

ที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ

(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิต

มีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็

รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า

จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่

จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็น

มหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า

หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือ

จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่

หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ

(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ

ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ

บ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง

พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ-

*วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้

มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจาก

ชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้

เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติ

ก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ

(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ

ดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ฯลฯ ๑- ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม

ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ

(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ

อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำ

ให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว

อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ กายคตาสติสูตร ที่ ๙

******

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๑๘๒ - ๔๔๙๖. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๙๐

******************

*************

#อานิสงส์ในการฟังธรรมก่อนตาย

***

#ฟังธรรม..

-จากตถาคต

-สาวกตถาคต

-ระลึกถึงบทแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

***

-จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้(อนาคามี)

-ที่ละได้แล้วจะน้อมไปเพื่อนิพพาน

***

ดูกรอานนท์

อานิสงส์

#ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

#ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร

๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

-

ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และในเวลา

ตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์

ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้น

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้ว

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกร อานนท์

จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้

ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

#เธอได้เห็นตถาคต

ตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ

-

จิตของเธอย่อมหลุดพ้น

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีก ประการหนึ่ง

จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย

#แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต

สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ

จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอไม่ได้เห็นตถาคต

และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย

แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

#ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา

ได้เรียนมาอยู่

จิตของเธอย่อมหลุดพ้น

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓

ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม

โดยกาลอันควร ฯ

-

ดูกร อานนท์

จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้

ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

#เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต

พระตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น ... แก่ เธอ

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต

#แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต

สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต

และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย

#แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม

ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖

ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม

โดยกาลอันควร

-

ดูกรอานนท์

อานิสงส์ในการฟังธรรม

ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร

๖ ประการนี้แล ฯ

-

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๔๓/๓๒๗

-

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=343&volume=22




วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

บรรยายธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดูคาติ ไทยแลนด์: พุทธวจน





บรรยายธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดูคาติ ไทยแลนด์((วันพฤหัสที่ 29 กันยายน 2559)) 

เมื่อเห็นนรก สวรรค์ สัตว์ ญาติในอดีต ควรวางจิตอย่างไร:: พุทธวจน


เมื่อเห็นนรก สวรรค์ สัตว์ ญาติในอดีต ควรวางจิตอย่างไร: พุทธวจน

******

#สัทธาสัปทา

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้

ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ:-

สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑

สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑

จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) ๑

ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .

คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า

“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้

อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มี

ความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.



ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๓



(ไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑

**************

*********

#พยากรณ์วิชชา ๓

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่



ชื่อว่าตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบาง

อย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้ จะพึงติเตียนเล่า.



                  ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะดังนี้แล เป็นอันกล่าว ตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่า



ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะ

ไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียนเลย.



                    ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ



บ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ



บ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็น อันมาก



บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มี



กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว



พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน



ภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.



                    ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิว



พรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้



ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เข้าถึง



อบาย ทุคติวินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ



ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง สุคติ โลก สวรรค์ ดูกรวัจฉะ เราทำให้



แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้า

ถึงอยู่.



                ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะเป็นอันกล่าวตามคำที่เรา กล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่



เราด้วยคำไม่เป็นจริง เป็นอันพยากรณ์ถูก สมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถง

ฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียน.



(ไทย) ๑๓/๑๘๕/๒๔๒.คลิกดูพระสูตร

                                                                                                                                                                 (บาลี) ๑๓/๑๒๗/๒๔๒

*****************

*************

#เนื้อที่ควรบริโภค ไม่ควร บริโภค

 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนครราชคฤห์.



ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ



ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า



“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระ



สมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชน



เหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่



ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไม่ชื่อ



ว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตาม



ที่ชอบธรรม จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ ? ”



 ชีวก ! ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์ เจาะจงพระสมณโคดมพระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้น



อยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้



ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง



 ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตน



รังเกียจ ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล



ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ



เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น



เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน



เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ



 ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.



 (ไทย) ม. ม. ๑๓/๔๒/๕๖-๕๗.

***************

***********

#กายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม

นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น

มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;



เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่

ย่อมละความระลึกและความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้.

เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี

เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.



อานาปานสติ หน้า  ๔๗–๔๘

(บาลี)  อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๔/๒๙๔.

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

อาหาร 4 ว่าด้วยลักษณะอาหารสี่ โดยอุปมา

อาหาร 4 ว่าด้วยลักษณะอาหารสี่ โดยอุปมา :
วิธีปฏิบัติต่ออาหารที่สี่ ในลักษณะที่เป็นปฏิจจสมุปบาท ว่าด้วยลักษณะอาหารสี่ โดยอุปมา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย.
อาหาร ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ
(๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
(๒) ผัสสะ
(๓) มโนสัญเจตนา
(๔) วิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็กพฬีการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนภรรยาสามีสองคน ถือเอาสะเบียงสำหรับเดินทางเล็กน้อย เดินไปสู่หนทางอันกันดาร สองสามีภรรยานั้น มีบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูอยู่คนหนึ่งเมื่อขณะเขาทั้งสองกำลังเดินไปตามทางอันกันดารอยู่นั้น สะเบียงสำหรับเดินทางที่เขามีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้น ได้หมดสิ้นไป หนทางอันกันดารนั้น ยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองนั้นยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนั้นไปได้ ครั้งนั้นแล สองภรรยาสามีนั้นได้มาคิดกันว่า
"สะเบียงสำหรับเดินทางของเราทั้งสองที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนี้ได้หมดสิ้นลงแล้ว หนทางอันกันดารนี้ยังเหลืออยู่ ทั้งเราก็ยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนี้ไปได้ อย่ากระนั้นเลย เราทั้งสองคนพึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนี้เสีย แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้ออย่าง บริโภคเนื้อบุตรนี้แหละเดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นี้กันเถิด เพราะถ้าไม่ทำ เช่นนี้ พวกเราทั้งสามคนจะต้องพากันพินาศหมดแน่" ดังนี้.
ครั้งนั้นแล ภรรยาสามีทั้งสองนั้น จึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนั้น แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนั้นเทียว เดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น สอง ภรรยาสามีนั้น บริโภคเนื้อบุตรไปพลางพร้อมกับค่อนอกไปพลาง รำพันว่า "บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย" ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร?
สองภรรยาสามีนั้นจะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานบ้าง เพื่อความมัวเมาบ้าง เพื่อความประดับประดาบ้าง หรือเพื่อตบแต่ง (ร่างกาย) บ้าง หรือหนอ?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลว่า "ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า!" แล้วตรัสต่อไปว่า "ถ้าอย่างนั้นสองภรรยาสามีนั้น จะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร" เพียงเพื่อ (อาศัย) เดินข้ามหนทางอันกันดารเท่านั้น ใช่ไหม? "ใช่ พระเจ้าข้า!".
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้มีอุปมาฉันใด,เราย่อมกล่าวว่า กพฬีการาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนเนื้อบุตร) ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อกพฬีการาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, ราคะ(ความกำหนัด)ที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อราคะที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้ว, สังโยชน์ชนิดที่อริยสาวกประกอบเข้าแล้วจะพึงเป็นเหตุให้มาสู่โลกนี้ได้อีก ย่อมไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม: ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงฝาอยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยฝาเจาะกิน; ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงต้นไม้อยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยต้นไม้ไชกิน; ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงลงไปแช่น้ำอยู่ไซร้ มันก็พึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำ ตอดกัดกิน; ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงยันอาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัดจิกกิน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม่โคนมที่ปราศจากหนังหุ้มนั้น จะพึงไปอาศัยอยู่ในสถานที่ใด ๆ ก็ตาม มันก็จะพึงถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ กัดกินอยู่ร่ำไป, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า ผัสสาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม) ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อผัสสาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เวทนาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อเวทนาทั้งสาม เป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเสมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกเกินกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวและปราศจากควันมีอยู่. ครั้งนั้น บุรุษหนึ่ง ผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคน จับบุรุษนั้น ที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าพาไปยังหลุมถ่านเพลิงนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นแล บุรุษนั้น มีความคิด ความปรารถนา ความตั้งใจ ที่จะให้ห่างไกลหลุมถ่านเพลิงนั้น.ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าบุรุษนั้น ย่อมรู้ว่า "ถ้าเราจักตกลงไปยังหลุมถ่านเพลิงนี้ไซร้ เราก็จะพึงถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ" ดังนี้, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวว่า มโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนหลุมถ่านเพลิง) ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, ตัณหาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อตัณหาทั้งสามเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็วิญญาณณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! โจรผู้นี้เป็นผู้กระทำผิดต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอใต้ฝาละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ลงโทษโจรผู้นี้ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า". พระราชามีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารชีวิตบุรุษนี้เสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้านี้" เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! นักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?". พวกเขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิม พระพุทธเจ้าข้า !". พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารนักโทษนั้นเสีย ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน" ดังนี้. พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้นจึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน. ต่อมา ในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! นักโทษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง? "เขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิมพระพุทธเจ้าข้า!". พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอีกว่า "ดูก่อนท่านทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารนักโทษนั้นเสียด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น" ดังนี้. เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น ว่าอย่างไร?
บุรุษนักโทษนั้นถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่ม ตลอดทั้งวัน เขาจะพึงเสวยแต่ทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ เท่านั้นมิใช่หรือ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษนักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารด้วยหอกแม้ (เล่มเดียว) นั่น ก็พิงเสวยทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ (มากอยู่แล้ว) ก็จะกล่าวไปไยถึงการที่บุรุษนักโทษนั้นถูกประหารด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า วิญญาณาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนนักโทษถูกประหารนั้น) ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อวิญญาณาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, นามรูปย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อนามรูปเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยาสาวกนั้น", ดังนี้ แล.
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๒๓-๓๓๔
(ไทย) นิทาน. สํ.๑๖/๙๖/๒๔๐-๒๔๙ : คลิกดูพระสูตร
(บาลี) นิทาน. สํ.๑๖/๑๑๘/๒๔๐-๒๔๙
**************
********
ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ คือ โภชเนมัตตัญญุตา เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบากแห่งกายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความดำเนินของเรา ความที่เราไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเราจักมี ดังนี้ อย่างเดียวเท่านั้น พิจารณาอาหารเปรียบด้วยน้ำมันสำหรับหยอดเพลาเกวียน ผ้าสำหรับปิดแผล และเนื้อบุตร (ของคนที่เดินทางกันดาร)
ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือ โภชเนมัตตัญญุตา ย่อมไม่ทำลายโภชเนมัตตัญญุตา อันเป็นเขตแดนในภายใน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ คือ โภชเนมัตตัญญุตา.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๘๙
(ไทย) มหานิ. ขุ. ๒๙/๔๖๖/๙๓๑.
************
********
หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักเวทนา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของเวทนา, พึงรู้จักผลของเวทนา, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา” ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง เวทนาสาม เหล่านี้; คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ผัสสะ (การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ) เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเป็นต่างกันของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิส (กามคุณ ๕) ก็มี สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส (ไม่มีกามคุณ ๕) ก็มี; ทุกขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี ทุกขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี; อทุกขมสุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ความเป็นต่างกันของเวทนา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผลของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเสวยเวทนาใดอยู่ ยังอัตภาพซึ่งเกิดแต่เวทนานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นฝ่ายบุญก็ตาม เป็นฝ่ายมิใช่บุญก็ตาม. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ผลของเวทนา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับไม่เหลือของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับไม่เหลือของเวทนา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....
ภิกษุทั้งหลาย ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักเวทนา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของเวทนา, พึงรู้จักผลของเวทนา, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา” ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๗๒-๑๗๔
(ไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๕/๓๓๔.
***********
******
ตัณหาโดยวิภาค สามอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหามีสามอย่างเหล่านี้, สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ :-
๑. กามตัณหา ตัณหาในกาม ;
๒. ภวตัณหา ตัณหาในความมีความเป็น ;
๓. วิภวตัณหา ตัณหาในความไมมี่ไม่เป็น.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ตัณหาสามอย่าง.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๘๙
(ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๕/๓๒๙.

เดรัจฉานวิชา คืออะไร ทำไมพระพุทธเจ้าจึงห้ามทำเดรัจฉานวิชา: พุทธวจน


เดรัจฉานวิชา คืออะไร ทำไมพระพุทธเจ้าจึงห้ามทำเดรัจฉานวิชา:


************

พรหมชาลสูตร

(พระสูตรบทนี้พระตถาคตตรัสเรื่องติรัจฉานวิชาไว้อย่างละเอียด)

******************************

ดูกรภิกษุทั้งหลาย !

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต

พึงกล่าวเช่นนี้ว่า

พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้



พรหมชาลสูตร(คัดลอกมาบางส่วน)

*************************

มหาศีล

ติรัจฉานวิชา

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต

พึงกล่าวเช่นนี้ว่า

๑. พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ทายอวัยวะ

ทายนิมิต

ทายอุปบาต

ทำนายฝัน

ทำนายลักษณะ

ทำนายหนูกัดผ้า

ทำพิธีบูชาไฟ

ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน

ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ

ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ

ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ

ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ

ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ

ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ

ทำพลีกรรมด้วยโลหิต

เป็นหมอดูอวัยวะ

ดูลักษณะที่บ้าน

ดูลักษณะที่นา

เป็นหมอปลุกเสก

เป็นหมอผี

เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน

เป็นหมองู

เป็นหมอยาพิษ

เป็นหมอแมลงป่อง

เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด

เป็นหมอทายเสียงนก

เป็นหมอทางเสียงกา

เป็นหมอทายอายุ

เป็นหมอเสกกันลูกศร

เป็นหมอทายเสียงสัตว์.



[๒๐] ๒. พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชา

เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ทายลักษณะแก้วมณี

ทายลักษณะไม้พลอง

ทายลักษณะผ้า

ทายลักษณะศาตรา

ทายลักษณะดาบ

ทายลักษณะศร

ทายลักษณะธนู

ทายลักษณะอาวุธ

ทายลักษณะสตรี

ทายลักษณะบุรุษ

ทายลักษณะกุมาร

ทายลักษณะกุมารี

ทายลักษณะทาส

ทายลักษณะทาสี

ทายลักษณะช้าง

ทายลักษณะม้า

ทายลักษณะกระบือ

ทายลักษณะโคอุสภะ

ทายลักษณะโค

ทายลักษณะแพะ

ทายลักษณะแกะ

ทายลักษณะไก่

ทายลักษณะนกกระทา

ทายลักษณะเหี้ย

ทายลักษณะตุ่น

ทายลักษณะเต่า

ทายลักษณะมฤค.



[๒๑] ๓. พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก

พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย

พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย

พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย

พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย

พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย

เพราะเหตุนี้ๆ.



[๒๒] ๔. พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า

จักมีจันทรคราส

จักมีสุริยคราส

จักมีนักษัตรคราส

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง

ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง

ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง

จักมีอุกกาบาต

จักมีดาวหาง

จักมีแผ่นดินไหว

จักมีฟ้าร้อง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง

จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้

แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้

ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้



[๒๓] ๕. พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า

จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง

จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก

จักมีความเกษม จักมีภัย

จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้

หรือนับคะแนนคำนวณ นับประมวล

แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์



[๒๔] ๖. พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล

ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง

ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์

ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย

ให้ยาผดุงครรภ์

ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง

ร่ายมนต์ให้คางแข็ง

ร่ายมนต์ให้มือสั่น

ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง

เป็นหมอทรงกระจก

เป็นหมอทรงหญิงสาว

เป็นหมอทรงเจ้า

บวงสรวงพระอาทิตย์

บวงสรวงท้าวมหาพรหม

ร่ายมนต์พ่นไฟ

ทำพิธีเชิญขวัญ.



[๒๕] ๗. พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด

ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ทำพิธีบนบาน

ทำพิธีแก้บน

ร่ายมนต์ขับผี

สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน

ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย

ทำชายให้กลายเป็นกะเทย

ทำพิธีปลูกเรือน

ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่

พ่นน้ำมนต์

รดน้ำมนต์

ทำพิธีบูชาไฟ

ปรุงยาสำรอก

ปรุงยาถ่าย

ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน

ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง

ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ

หุงน้ำมันหยอดหู

ปรุงยาตา

ปรุงยานัดถุ์

ปรุงยาทากัด

ปรุงยาทาสมาน

ป้ายยาตา

ทำการผ่าตัดรักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต

จะพึงกล่าวด้วยประการใด

ซึ่งมีประมาณน้อย ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลนั้นเท่านี้แล.



จบมหาศีล.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๘-๑๐/๓๘๓ ข้อที่ ๑๙-๒๕



-----------------------------------------------------------------------------



ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา

ทรงตรัสไว้กับพระราชาดังนี้ต่อไปนี้



มหาศีล



[๑๑๔] ๑.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่าง สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ทายอวัยวะ

ทายนิมิต

ทายอุปบาต

ทำนายฝัน

ทำนายลักษณะ

ทำนายหนูกัดผ้า

ทำพิธีบูชาไฟ

ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน

ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ

ทำพิธีซัด รำบูชาไฟ

ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ

ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ

ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ

ทำพิธีเสกเป่า บูชาไฟ

ทำพลีกรรมด้วยโลหิต

เป็นหมอดูอวัยวะ

ดูลักษณะที่บ้าน

ดูลักษณะที่นา

เป็นหมอ ปลุกเสก

เป็นหมอผี

เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน

เป็นหมองู

เป็นหมอยาพิษ

เป็นหมอแมลงป่อง

เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด

เป็นหมอทายเสียงนก

เป็นหมอทายเสียงกา

เป็นหมอทายอายุ

เป็นหมอเสกกันลูกศร

เป็นหมอทายเสียงสัตว์

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.



[๑๑๕] ๒.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ทายลักษณะแก้วมณี

ทายลักษณะผ้า

ทายลักษณะไม้พลอง

ทายลักษณะศาตรา

ทายลักษณะดาบ

ทายลักษณะศร

ทายลักษณะธนู

ทายลักษณะอาวุธ

ทายลักษณะสตรี

ทายลักษณะบุรุษ

ทายลักษณะกุมาร

ทายลักษณะกุมารี

ทายลักษณะทาส

ทายลักษณะทาสี

ทายลักษณะช้าง

ทายลักษณะม้า

ทายลักษณะกระบือ

ทายลักษณะโคอุสภะ

ทายลักษณะโค

ทายลักษณะแพะ

ทายลักษณะแกะ

ทายลักษณะไก่

ทายลักษณะนกกระทา

ทายลักษณะเหี้ย

ทายลักษณะตุ่น

ทายลักษณะเต่า

ทายลักษณะมฤค

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.



[๑๑๖] ๓.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า

พระราชาจักยกออก

พระราชาจักไม่ยกออก

พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด

พระราชาภายนอกจักถอย

พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด

พระราชาภายในจักถอย

พระราชาภายในจักมีชัย

พระราชาภายนอกจักปราชัย

พระราชาภายนอก จักมีชัย

พระราชาภายในจักปราชัย

พระราชาองค์นี้จักมีชัย

พระราชาองค์นี้จักปราชัย

เพราะเหตุ นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๑๗] ๔.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ พยากรณ์ว่า

จักมีจันทรคราส

จักมีสุริยคราส

จักมีนักษัตรคราส

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง

ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง

ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง

จักมีอุกกาบาต

จักมีดาวหาง

จักมีแผ่นดินไหว

จักมีฟ้าร้อง

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง

จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น อย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้

มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้

แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้

ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง จักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้

แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๑๘] ๕.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ พยากรณ์ว่า

จักมีฝนดี

จักมีฝนแล้ง

จักมีภิกษาหาได้ง่าย

จักมีภิกษา หาได้ยาก

จักมีความเกษม

จักมีภัย

จักเกิดโรค

จักมีความสำราญหาโรคมิได้

หรือนับคะแนน

คำนวณ นับประมวล

แต่งกาพย์ โลกายศาสตร์

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๑๙] ๖.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล

ให้ฤกษ์วิวาหมงคล

ดูฤกษ์เรียงหมอน

ดูฤกษ์ หย่าร้าง

ดูฤกษ์เก็บทรัพย์

ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์

ดูโชคดี

ดูเคราะห์ร้าย

ให้ยาผดุงครรภ์

ร่ายมนต์

ให้ลิ้นกระด้าง

ร่ายมนต์ให้คางแข็ง

ร่ายมนต์ให้มือสั่น

ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง

เป็นหมอ ทรงกระจก

เป็นหมอทรงหญิงสาว

เป็นหมอทรงเจ้า

บวงสรวงพระอาทิตย์

บวงสรวงท้าวมหาพรหม

ร่ายมนต์พ่นไฟ

ทำพิธีเชิญขวัญ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๒๐] ๗.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้

คือ ทำพิธีบนบาน

ทำพิธีแก้บน

ร่ายมนต์ขับผี

สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน

ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย

ทำชายให้กลายเป็นกะเทย

ทำพิธีปลูกเรือน

ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่

พ่นน้ำมนต์

รดน้ำมนต์

ทำพิธีบูชาไฟ

ปรุงยาสำรอก

ปรุงยาถ่าย

ปรุงยา

ถ่ายโทษเบื้องบน

ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง

ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ

หุงน้ำมันหยอดหู

ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์

ปรุงยาทากัด

ปรุงยาทาสมาน

ป้ายยาตา

ทำการผ่าตัด

รักษาเด็ก

ใส่ยา ชะแผล

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



[๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย

เพราะศีลสังวร

นั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์

ผู้ได้มุรธาภิเษก

กำจัดราชศัตรูได้แล้ว

ย่อมไม่ประสบภัย

แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น

สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ

เพราะศีลสังวรนั้น

ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้

ย่อมได้เสวยสุข

อันปราศจากโทษในภายใน

ดูกรมหาบพิตร

ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยศีล.



จบมหาศีล.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๖๔/๓๘๓ ข้อที่ ๑๑๔-๑๒๑

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา ศูนย์ฯ สารภี พุทธวจน



บรรยายธรรมนอกสถานที่ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา ศูนย์ฯ สารภี

มีพระสูตรบทใดสำหรับผู้ชอบเดรัจฉานวิชา: พุทธวจน


มีพระสูตรบทใดสำหรับผู้ชอบเดรัจฉานวิชา::  พุทธวจน

******

#ผลแห่งทาน

คหบดี ! บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม ให้ทาน



ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้นคือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ส่งจิตไปที่อื่นเสีย.



ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

ทั้งนี้เป็นเพราะ ผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ.



คหบดี ! บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรม ให้ทาน



ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น.



ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

ทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ.



คหบดี ! เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อ เวลามะ พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด จะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ.



คหบดี ! ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น.



คหบดี ! แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด.



คหบดี ! ทานที่บุคคลถวายให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว.



ทานที่บุคคลถวายให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ๑๐๐ ท่านบริโภค.



ทานที่บุคคลถวายให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระสกทาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.



ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอนาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.



ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ ๑๐๐ รูปบริโภค.



ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ รูปบริโภค.



ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค.



การที่บุคคล สร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค.



การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ อันมาจากจาตุรทิศ.



การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่า การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ.



การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่า การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ.



และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่า การที่บุคคลเจริญเมตตาจิต โดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.



ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๑๒๔

(ไทย) นวก. อํ. ๒๓/๓๑๕/๒๒๔

**************

********

#ปาฏิปุคคลิก

ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ ให้ทานใน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑ ให้ทานใน พระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๒  ให้ทานใน สาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๓  ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้งนี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๔ ให้ทานแก่ พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๕ ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๖ ให้ทานแก่ พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๗ ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๘ ให้ทานใน พระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๙ ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๐ ให้ทานใน บุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๑ ให้ทานใน บุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๒ ให้ทานใน ปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๓  ให้ทานใน สัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๔ ฯ



ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีลพึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ



ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓ ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ



(ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๔๓-๓๔๕/๗๑๐-๗๑๘

*******************

***************

#ผ้าเปลือกปอ

ภิกษุ ท.! ผ้าทอด้วยเปลือกปอ ถึงจะยังใหม่อยู่ สีก็ไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ

ราคาก็ถูก, แม้จะกลางใหม่กลางเก่าแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ

ราคาก็ถูกมาก, แม้จะเก่าคร่ำแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมากอยู่นั่นเอง.



ผ้าเปลือกปอ ที่เก่าคร่ำแล้ว มีแต่จะถูกใช้เช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งอยู่ตามกองขยะมูลฝอย นี้ฉันใด;



ภิกษุ ท.! ภิกษุ ที่ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน :



แม้เพิ่งบวชใหม่ เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม



ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ ว่า มีผ้าเปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ.



อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน; เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้า ก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น.เรากล่าวภิกษุนี้ ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.



อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ



ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุ ผู้อายุปูนกลาง เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกัน, เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน; เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น.เรากล่าวภิกษุนี้ ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.



อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้น ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่ามีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.



ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุ ผู้เป็นเถระ เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกัน, เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน; เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.  อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่ามีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.



อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะว่าให้ว่า “ประโยชน์อะไร”ด้วยคำพูดของท่าน ซึ่งเป็นคนพาล คนเขลา,คนอย่างท่านหรือจะรู้จักสิ่งที่ควรพูด ดังนี้. ภิกษุเถระนั้น ถูกเขาว่าให้ ก็โกรธ แค้นใจ กล่าววาจาหยาบออกมา โดยอาการที่ทำให้ตนต้องถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมในภายหลัง จึงเป็นเหมือนผ้าเปลือกปอเก่าคร่ำ ที่เขาทิ้งเสียตามกองขยะมูลฝอย ฉะนั้น แล.



                                                                                                                        (ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๒๓๕/๕๓๙

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

การเห็นการ เกิด - ดับ ของขันธ์ทั้ง ๕





#การเห็นการเกิด  -ดับ  #ของขันธ์ทั้ง  ๕


#เห็นการเกิดดับในขันธ์ทั้ง๕

...ฯลฯ...

ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็น..ความเกิด..ความดับ.

.ในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า

-

ดังนี้รูป

ดังนี้ความเกิดแห่งรูป

ดังนี้ความดับแห่งรูป

-

ดังนี้เวทนา

ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา

ดังนี้ความดับแห่งเวทนา

-

ดังนี้สัญญา

ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา

ดังนี้ความดับแห่งสัญญา

-

ดังนี้สังขาร

ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร

ดังนี้ความดับแห่งสังขาร

-

ดังนี้วิญญาณ

ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ

ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ

-

นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘

เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา

อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป

เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

--

(ไทย) อุปริ. ม. ๑๑/๒๖๙/๔๔๔.

--

http://etipitaka.com/read/thai/11/269/

---

--

วิญญาณ และนาม-รูปต่างอาศัยกันละกันเกิดขึ้น

ถ้าไม่มีนาม-รูป วิญญาณก็ดับ

-

ถ้าไม่มีวิญญาณ นาม-รูปก็ดับ

-

ดังอุปมาของพระสารีบุตร เหมือนไม้ 2 กำพิงกัน

อาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้

หากดึงกำที่เป็นวิญญาณออก กำที่เป็น นาม-รูป ก็ล้ม

-

หากดึงกำที่เป็น นาม-รูป ออก กำที่เป็นวิญญาณก็ล้ม

-

อุปมาของพระศาสดา..

-

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่

ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก.

ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์

ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว

จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?

-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์

จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า

แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏที่ไหน ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

จักปรากฏที่ไหนอีก?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น

ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว

พระเจ้าข้า !”

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๐๑ ข้อที่ ๒๔๘ - ๒๔๙

---

http://etipitaka.com/read/thai/16/101/…

----

‪#‎ขันธ์๕‬

‪#‎อุปาทานขันธ์๕‬

‪#‎ที่ตั้้งแห่งอุปาทานขันธ์๕‬

‪#‎อุปาทานขันธสูตร‬

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑ เวทนูปาทานักขันธ์ ๑ สัญญูปาทานักขันธ์ ๑ สังขารูปาทานักขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ อุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯ

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)

--------------------

พุทธพจน์ ‪#‎แสดงขันธ์‬ ๕ ‪#‎และอุปาทานขันธ์‬ ๕

ปัญจขันธสูตร

[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"

"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....

[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....

(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)

--------------------------

"ภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"

(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)

(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)

---

อ่านพระสูตรเพิ่มเติมจากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read/thai/17/47/…

--

link ; วิญญาณ  นามรูป

http://etipitaka.com/read/thai/16/101/…

--

ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก faq

พุทธวจน faq การเห็นการเกิด-ดับ ของขันธ์ทั้ง ๕

http://faq.watnapp.com/th/practice/84-new-practice/220-01-01-0048

---

ประโยชน์ของการมี..ปัญญา..เห็น..เกิด ดับ..ของ..ขันธ์๕..เราจะรู้ด้วยปัญญาว่า..มันกะเรา..ไม่ใช่ตัวเดียวกัน..เราจะปล่อยวางไม่อาลัยอาวรณ์..เมื่อขันธ์๕ แตกสลายไป..เราก็จะหลุดพ้นจาก..การเกิด..แก่..ตาย..หลุดพ้นไป.

พุทธวจน faq “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” หมายความว่าอย่างไร และมีนัยเกี่ยวกับอนัตตา และ นิพพาน อย่างไร

. http://faq.watnapp.com/.../84-new-practice/130-01-01-0039

คนที่มีอาการป่วยทางจิตจะปฏิบัติธรรมได้หรือไม่? : พุทธวจน


คนที่มีอาการป่วยทางจิตจะปฏิบัติธรรมได้หรือไม่? : พุทธวจน

********
#สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวว่า โลกได้ขณะจึงทำกิจๆ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้
๘ ประการเป็นไฉน
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง นำความสงบมาให้เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ฯ
๒. อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม และธรรมอันพระผู้มี พระภาคย่อมทรงแสดง ... แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒ ฯ
๓. อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัยเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้ มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ฯ
๔. อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืน ชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ฯ
๕. อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทและอยู่ในพวกมิลักขะ ไม่รู้ดีรู้ชอบ อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปมา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕ ฯ อีกประการหนึ่ง ฯลฯ
๖. แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบาก แห่งกรรมดี กรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลาย ที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖ ฯ
๗. อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้ ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ฯ
๘. อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติแล้วในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ธรรมอัน นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว แต่พระตถาคตมิได้แสดง ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบทและมีปัญญา ไม่บ้าใบ้ ทั้งสามารถ จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘
(ไทย)สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๗๓/๑๑๙
******************
link ;; โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/23/173/
*****