วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัตว์เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ ไม่ใช่แค่เพียงชาติเดียว แต่นับไม่ถ้วน



‪#‎โดนข่มขื่นมาทำไงจะไม่ทุกข์‬..ผูกเวร...จองเวร..เราเคยทำกรรมกะเขามาเยอะแยะ..เราต้องหยุด..ออกจากระบบกรรมด้วยมรรค๘

สัตว์เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ ไม่ใช่แค่เพียงชาติเดียว แต่นับไม่ถ้วน



99.99 เติม 0 ไป อีก 24 ตัว เวียนสู่ภพภูมิที่ต่ำ...อู๊...มาเพียรเป็นโสดาบันกันค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=epDD61S3Bs4&index=9&list=LLtjV8WUE6lCKfeRf0xeMfVQ

https://www.youtube.com/watch?v=05tsv5A1w2M&index=5&list=LLtjV8WUE6lCKfeRf0xeMfVQ

ธรรมะ ๕ ประการ เพื่อบรรลุมรรคผลของคนเจ็บไข้ และบุคคลทั่วไป



ดูคลิปเต็มได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=gUQ6543n-p0
ให้กระทำไว้ในใจตามธรรมะ ๕ ประการนี้
๑. เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. เป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในอาหารอยู่
๓. เป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้­งปวงอยู่
๔. เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขาร­ทั้งปวงอยู่
๕. มีมรณะสัญญาอันเขาตั้งไว้ดีแล้วในภายในอยู­่
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คลิปนี้จะมีประโยชน์ แก่ผู้ที่กำลังป่วยไข้ รู้สึกท้อแท้ หมดกำลังใจ ญาติพี่น้องควรนำเรื่องนี้ไปบอกให้ญาติที่กำลังเจ็บป่วยได้รับทราบ ถ้าผู้ป่วยสามารถพิจารณาเห็นตามธรรม ๕ ประการนี้ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เขาจะสามารถกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ หรือ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ สาธุ ฯ
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐/๑๒๑.

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การวางจิตให้ทาน ที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีลักษณะอย่างไร



#ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต

#เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล …

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้

#จิตจะเลื่อมใส

#เกิดความปลื้มใจและโสมนัส

#แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต

เขาให้ทาน คือ ข้าว นํ้า …

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ

หมดความเป็นใหญ่แล้ว

#เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ #ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.



สารีบุตร ! นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

ให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว

มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก

และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว

#มีผลมาก #มีอานิสงส์มาก.



ภพภูมิ หน้า ๒๔๘

https://www.youtube.com/watch?v=aIM2xQYfh7E

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระโมคคัลลานะ เคยฆ่าแม่ เอาแม่ใส่ถุงแล้วทุบแม่ตาย แล้วทำไมได้เป็นพระอรหั...





“ภิกษุทั้งหลาย! สัตว์ที่ตายจากมนุษย์แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนั้น มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตายจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไปเกิดเป็นเปรต มีมากกว่ามากโดยแม้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย! สัตว์ที่ตายจากเทวดาแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตายจากเทวดาไปเกิดในนรก เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เกิดเป็นเปรต มีมากกว่ามากนัก ”

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สาธยาย อิทัปปัจจยตา และ ปฏิจจสมุปบาท ในงานฌาปนกิจศพ คุณป้า นฤมล อินทรสาร





‪#‎มาฝึกสาธยายให้คล่องปากขึ้นใจแทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็นกันค่ะ‬
‪#‎ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท‬ ‪#‎ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม‬
‪#‎ผู้ใดเห็นธรรม‬ ‪#‎ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท‬
มชฺฌิมนิกาย มูลปณฺณาสก ๑๒/๓๔๖/๓๕๙
คลิปวีดีโอ..โดย.Suwan Kowsakul
นำสาธยายโดย...พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสถิผโล..
https://www.youtube.com/watch?v=DVLsqaveZgQ
----------------
ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์
พระอานนท์ _____________
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทด้วยเหตุอันใด ฯ
พระพุทธเจ้า _____________
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ‪#‎ย่อมรู้อย่างนี้ว่า‬
ทรงแสดงธรรม
‪#‎อิทัปปัจจยตา‬
เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี
เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี
เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
(พิจารณาการเกิดของทุกข์เป็นลําดับขั้น)
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ
จึงดับสังขารได้
(พิจารณาการดับของทุกข์เป็นลําดับขั้น)
เพราะสังขารดับ จึงดับวิญญาณได้
เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้
เพราะนามรูปดับ จึงดับสฬายตนะได้
เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้
เพราะผัสสะดับ จึงดับเวทนาได้
เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้
เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้
เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้
เพราะภพดับ จึงดับชาติได้
เพราะชาติดับ จึงดับชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ได้
อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล
จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
(พระสุตตันตปิฎก เล่ม๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อ๒๔๔ หน้า๑๖๔)
****************
‪#‎อานิสงส์ของการทรงจำคำพระศาสดา‬
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อม ไม่ปรากฏแก่เธอผู้มี ความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่าเสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้น ย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่าเสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่าเสียงสังข์ทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกันบางครั้งบางคราวในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๘/๑๙๑ :
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=178&volume=21
------------
ฟังพุทธวจนบรรยายได้ที่ www.watnapp.com
คลิปวีดีโอ..โดย.Suwan Kowsakul
นำสาธยายโดย...พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสถิผโล..
https://www.youtube.com/watch?v=DVLsqaveZgQ

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะ จะอธิบายอย่างไรว่า ไม่เป็นการขาดความรับผิดชอบ





#ธรรมชาติ ๓ อย่าง #ทำให้พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก

ภิกษุ ท.! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ 
ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้, 
ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก 
เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; 
และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว 
ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. 
ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คืออะไรเล่า? คือ 
ชาติด้วย ชราด้วย มรณะด้วย.
ภิกษุ ท.! ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล 
ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้, 
ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; 
และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว 
ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. 

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุใดแล 
ที่ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก, 
เพราะเหตุนั้น 
ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; 
และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว 
จึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก. 
บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖. 
-------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

‪#‎ชีวิตมนุษย์‬ ‪#‎อุปมาหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า‬ เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว ‪#‎ไม่ตั้งอยุ่นาน‬ ‪#‎แม้ฉันใด‬ ชีวิตมนุษย์นั้น ไม่ตั้งอยู่นาน รีบหา "ทรัพย์ ทางธรรม"

‪#‎ชีวิตมนุษย์‬
‪#‎อุปมาหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า‬
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว
‪#‎ไม่ตั้งอยุ่นาน‬ ‪#‎แม้ฉันใด‬
ชีวิตมนุษย์นั้น ไม่ตั้งอยู่นาน
รีบหา "ทรัพย์ ทางธรรม"
อย่าปล่อยชีวิตที่เกิดมาไปตาม"
••• ยถากรรม? ••• (บาลี : ยถากมฺมํ )
Cr. กราบขอบพระคุึณครูโจค่ะ
‪#‎อรกานุสาสนีสูตร‬
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว
ศาสดาชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิ
ปราศจากความกำหนัดในกาม
ก็อรกศาสดานั้นมีสาวกหลายร้อยคน
เธอแสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า
ดูกรพราหมณ์
""" ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดหน่อย
รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้ว
จะไม่ตายไม่มี """
ดูกรพราหมณ์
"หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา ย่อมแห้งหายไปได้เร็ว
••• ไม่ตั้งอยู่นาน ••• แม้ฉันใด"
""" ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน """
นิดหน่อย รวดเร็ว
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด
ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ
ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์
มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรพราหมณ์ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ
ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา
ไหลไปไกล กระแสเชี่ยว พัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัด
ไปได้ ไม่มีระยะเวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด
แต่ที่แท้แม่น้ำนั้นมีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา
ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุรุษมีกำลัง อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น
แล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนก้อนเขฬะฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกะทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน
ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้น
เหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือด
ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า
ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้น
เหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้น
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงควรแก่การมีสามี
ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธ ๖ อย่างเท่านั้น
คือ เย็น ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อรกศาสดานั้น
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนตั้งอยู่นาน
มีอาพาธน้อยอย่างนี้ จักแสดงธรรมให้สาวกฟังอย่างนี้ว่า
ดูกรพราหมณ์ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย
นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์เพราะสัตว์ที่เกิด
มาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้
เมื่อจะกล่าวโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์
ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
● ในปัจจุบันนี้ คนที่มีอายุอยู่ได้นาน
ก็เพียงร้อยปีหรือน้อยกว่านั้นบ้าง เกินกว่าบ้าง
ก็คนที่มีอายุอยู่ถึงร้อยปี ย่อมอยู่ครบ ๓๐๐ ฤดู
คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๐๐ ฤดู ย่อมอยู่ครบ ๑,๒๐๐ เดือน
คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ เดือน ฤดูร้อน ๔๐๐
เดือน ฤดูฝน ๔๐๐ เดือน
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๑,๒๐๐ เดือน ย่อมอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ
ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือนฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน
คนที่มีอายุอยู่ครบ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน
ย่อมอยู่ครบ ๓๖,๐๐๐ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑,๒๐๐ ราตรี
ฤดูร้อน ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูฝน ๑,๒๐๐ ราตรี
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี
ย่อมบริโภคอาหาร ๗๒,๐๐๐ เวลา คือ
ฤดูหนาว๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ เวลา
ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ เวลา พร้อมๆ กับดื่มนม
มารดาและอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร ใน ๒ ประการนั้น
● อันตรายแห่งการบริโภคอาหาร
มีดังนี้ คือ คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร
คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภค
อาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่บริโภคอาหาร
เพราะไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร
••• ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราได้กำหนดอายุ ประมาณแห่งอายุ ฤดู ปี เดือน
กึ่งเดือน ราตรี วัน การบริโภคอาหาร
และอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร
ของมนุษย์ผู้มีอายุร้อยปี ด้วยประการดังนี้แล้ว
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลายกิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์เอื้อเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวก
กิจนั้นเรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
ขอเธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ
อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย
นี้คืออนุศาสนีของ
เราสำหรับเธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๑๐๗/๓๗๙ ข้อที่ ๗๑
•••••••••••••••••••
ธนสูตรที่ ๒
●●● [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
๑.• ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑
๒.• ศีล ๑
๓.• หิริ ๑
๔.• โอตตัปปะ ๑
๕.• สุตะ ๑
๖.• จาคะ ๑
๗.• ปัญญา ๑
๑.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระ
อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือ
ศรัทธา ฯ
๒.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ
๓.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริตละอายต่อการถูกต้อง
อกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ
๔.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ
สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว
ต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่าทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ
๕.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ
เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ
๖.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ
ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่า
ทรัพย์คือจาคะ ฯ
๗.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ
เป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่าทรัพย์คือปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
●●● ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ
ชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของ
ผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา
ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๖
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๔/๓๗๙ ข้อที่ ๕-๗
●●●●●●●●●●●●

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กายคตาสติ อุปมาหม้อน้ำมัน


‪#‎ว่าด้วยกายคตาสติ‬
‪#‎หม้อน้ำมัน‬
[๗๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะ
ชื่อเสทกะ ในสุมภชนบท ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า:
[๗๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า
มีนางงามในชนบท พึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้น
น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่งในการขับร้อง
หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า
นางงามในชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง
พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ
ครั้งนั้น
‪#‎บุรุษผู้อยากเป็นอยู่‬ ‪#‎ไม่อยากตาย‬ ‪#‎ปรารถนาความสุข‬ ‪#‎เกลียดทุกข์‬
พึงมากล่าวกะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรบุรุษผู้เจริญ ‪#‎ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยมนี้ไปใน‬
ระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท
‪#‎และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไปข้างหลังๆ‬
บอกว่า ‪#‎ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด‬
‪#‎ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว‬
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น
แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๗๖๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำอุปมานี้
เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น
เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่า
‪#‎ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม‬ ‪#‎เป็นชื่อของกายคตาสติ‬.
[๗๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
‪#‎กายคตาสติ‬ ‪#‎จักเป็นของอันเราเจริญแล้ว‬
กระทำให้มากแล้ว ‪#‎กระทำให้เป็นดังยาน‬
กระทำให้เป็นที่ตั้ง
กระทำไม่หยุด
สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๑๘๖/๔๖๙ ข้อที่ ๗๖๐-๗๖๔
--------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปด

https://www.youtube.com/watch?v=05tsv5A1w2M#t=45
คลิปโสดาบัน คลิปนี้สั้นๆ น่าเอาไปเปิดฟัง หลายๆ รอบ แล้วทรงจำให้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ เดียวจะแทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็น เมื่อใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้นั้น..แม้ขาดสติเวลาตาย..ก็จะไปเกิดเป็นเทวดา ..และจะบรรลุธรรมในภพเทวดา..อานิสงส์น่าสนใจทีเดียวค่ะ..อนุโมทนาสาธุกับน้องสุวรรณ Suwan Buddhawajana Kowsakul ผู้ตัดคลิปค่ะ

#จงสงเคราะห์ผู้อื่น #ด้วยการให้รู้อริยสัจ


#จงสงเคราะห์ผู้อื่น #ด้วยการให้รู้อริยสัจ

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง
เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม ;
ชนเหล่านั้น อันเธอพึง ชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น
ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง.

ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ? สี่ประการคือ
ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖.

..................................
อริยสัจจากพระโอษฐ์(ภาคต้น)
ภาคนำ - เรื่องควรทราบก่อนเกี่ยวกับจตุราริยสัจ หน้า ๔๘-๔๙
**************************************
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/

พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปด

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผู้มีธัมมญาณและอัน๎วยญาณ เป็นพระโสดาบัน

บุคคลชื่อว่า มืดมา... สว่างไป, สว่างมา... ก็ยังคงสว่างต่อไป เป็นอย่างไร‪#‎บุคคลผู้มืดแล้วกลับสว่างต่อไป‬ ‪#‎ตัดคลิปวีดีโอ‬..‪#‎มืดมาสว่างไปโดย‬ Suwan Buddhawajana Kowsakul มืดมา... สว่างไป, สว่างมา... ก็ยังคงสว่างไป ----------------- มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดแล้วกลับสว่างต่อไป มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ‪#‎เป็นคนเกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำทราม‬ ‪#‎คือในตระกูลจัณฑาล‬ ‪#‎ตระกูลพราน‬ ‪#‎ตระกูลจักสาน‬ ‪#‎ตระกูลทำรถ‬ ‪#‎หรือตระกูลเทหยากเยื่อ‬ ‪#‎ซึ่งเป็นคนยากจน‬ ‪#‎มีข้าวและน้ำน้อย‬ ‪#‎เป็นอยู่ฝืดเคือง‬ ‪#‎มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก‬ ‪#‎เขาเป็นผู้มีผิวพรรณทราม‬ ‪#‎ไม่น่าดู‬ ‪#‎เตี้ยค่อม‬ ‪#‎ขี้โรค‬ ‪#‎ตาบอด‬ ‪#‎ง่อยกระจอกมีตัวตะแคงข้าง‬ ‪#‎ไม่ค่อยจะมีข้าว‬ น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แม้กระนั้น ‪#‎เขาก็ประพฤติสุจริต‬ ‪#‎ด้วยกาย‬ ‪#‎วาจา‬ ‪#‎ใจ‬ ครั้นเขา ‪#‎ประพฤติสุจริตด้วยกาย‬ #วาจา ‪#‎ใจแล้ว‬ ครั้นตายไป ‪#‎ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์‬ มหาราช ! บุรุษพึงขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือพึงขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือพึงขึ้นจากหลังม้า สู่คอช้าง หรือพึงขึ้นจากคอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด มหาราช ! ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น มหาราช ! อย่างนี้ แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดแล้วกลับสว่างต่อไป . สคา. สํ ๑๕/๑๓๖/๓๙๓. ------------------------- ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระพุทธเจ้าตรัสการวางจิตก่อนตายไว้อย่างไร ?ในช่วงเวลาใกล้ตาย (มรณกาเล) หากมีโอกาสได้ฟังธรรมจาก... ★ ตถาคตโดยตรง หรือ ★ สาวกของตถาคต หรือ ★ ถ้าไม่ได้โอกาสใน ๒ ข้อแรก แต่ผู้นั้น ใคร่ครวญธรรมที่เคยได้ยิน ได้ฟังมา ด้วยตัวเขาเอง จะส่งผลอานิสงส์แก่ผู้นั้น ๖ ข้อ โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้ ____________________________________________ กลุ่มแรก :: ถ้ายังละสังโยชน์ ๕ ไม่ได้ ---> ก็จะละได้ ____________________________________________ ๑. ถ้าผู้นั้น... ยังละสังโยชน์ ๕ ไม่ได้ ในเวลาใกล้ตาย ได้มีโอกาสฟังธรรมจากตถาคตโดยตรง จะทำให้ละสังโยชน์ ๕ ได้ ๒. ถ้าผู้นั้น... ยังละสังโยชน์ ๕ ไม่ได้ ในเวลาใกล้ตาย ได้มีโอกาสฟังธรรมจากสาวกของตถาคต จะทำให้ละสังโยชน์ ๕ ได้ ๓. ถ้าผู้นั้น... ยังละสังโยชน์ ๕ ไม่ได้ ในเวลาใกล้ตาย ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากตถาคต หรือสาวกของตถาคต แต่ผู้นั้นตรึกตรองถึงธรรมที่ได้ฟังมาด้วยตัวเอง จะทำให้ละสังโยชน์ ๕ ได้ _____________________________________________ กลุ่มสอง :: ถ้าละสังโยชน์ ๕ ได้แล้ว ---> เข้านิพพาน _____________________________________________ ๔. ถ้าผู้นั้น... ละสังโยชน์ ๕ ได้แล้ว ในเวลาใกล้ตาย ได้มีโอกาสฟังธรรมจากตถาคตโดยตรง จิตย่อมน้อมไปในนิพพานได้ ๕. ถ้าผู้นั้น... ละสังโยชน์ ๕ ได้แล้ว ในเวลาใกล้ตาย ได้มีโอกาสฟังธรรมจากสาวกของตถาคต จิตย่อมน้อมไปในนิพพานได้ ๖. ถ้าผู้นั้น... ละสังโยชน์ ๕ ได้แล้ว ในเวลาใกล้ตาย ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากตถาคต หรือสาวกของตถาคต แต่ผู้นั้นตรึกตรองถึงธรรมที่ได้ฟังมาด้วยตัวเอง จิตย่อมน้อมไปในนิพพานได้