วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561
คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว.VS.คนดียิ่งกว่าคนดี..การประพฤติ กุศลกรรมบถ ๑๐ & อกุ...
คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว.VS.คนดียิ่งกว่าคนดี..การประพฤติ กุศลกรรมบถ ๑๐ & อกุศลกรรมบท ๑๐ ใน ๔ แง่มุม🙏🙏🙏
Cr.คลิปวีดีโอจากเพจ วัดนาป่าพง www.watnapp.com
ช่องยูทูป... nirdukkha
https://www.youtube.com/user/nirdukkha
อกุศลกรรมบถ(๔๐)ทำแล้วจะเป็นผู้ถูกถอดทิ้งไว้ในนรก..กุศลกรรมบถ(๔๐)ทำแล้วจะเป็นผู้ถูกเชิญไว้ในสวรรค์
🙇♂️🙇♂️🙇♂️
------
กุศลกรรมบถ แบ่งออกเป็น ๓ ประการ คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
กุศลกรรมบถทางกายกรรม มี ๓ ประการ คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามกุศล
กรรมบถทางวจีกรรม มี ๔ ประการ คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๓. เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๔. เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
กุศลกรรมบถทางมโนกรรม มี ๓ ประการ คือ
๑. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
๒. ไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
๓. มีความเห็นชอบ
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ หมายถึง การที่บุคคลใดเป็นผู้มีความเมตตากรุณา ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ อีกทั้งมีความเอ็นดูหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง
การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์นั้นครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ หมายถึง การที่บุคคลใดเป็นผู้ไม่ถือเอาทรัพย์สิ่งของที่บุคคลอื่น ไม่ได้ให้โดยทางทุจริต
การเว้นขาดจากการลักทรัพย์นั้นครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการลักทรัพย์
๓. พอใจในการเว้นจากการลักทรัพย์
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม หมายถึง การที่บุคคลใดเว้นจากการล่วงเกินในสตรีที่อยู่ในความปกครองดูแลรักษาของมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว
น้องสาว ญาติ ศาสนา สตรีมีสามี สตรีที่มีคู่หมั้น
การเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๓. พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม
เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดเท็จ หมายถึง การที่บุคคลใดเว้นจากการเจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความจริง เมื่อรู้
สิ่งใดก็พูดสิ่งนั้น เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ เมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น
การเว้นขาดจากการพูดเท็จนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดเท็จ
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด หมายถึง การที่บุคลใดฟังความข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือสมานคนที่แตกร้าว หรือ ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วให้ชื่นชอบยินดี ให้เพลิดเพลินในความพร้อมเพรียง รวมถึงการกล่าวแต่คำที่ทำให้เกิด
ความพร้อมเพรียงกัน
การเว้นขาดจากการพูดส่อเสียดนี้ ครอบคลุม ถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ ดังนี้คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ หมายถึง การที่บุคคลใดกล่าววาจาที่ไม่มีโทษ ไพเราะหู ชวนให้รัก จับใจ ประกอบด้วย
คำสุภาพ เป็นที่พอใจ รักใคร่ของผู้ฟัง
การเว้นขาดจากการพูดคำหยาบนี้ ครอบคลุม ถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดคำหยาบ
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง การที่บุคคลใดพูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิงและมีประโยชน์
การเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อนี้ ครอบคลุม ถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓. พอใจในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๔. กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น หมายถึง การที่บุคคลใดไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นในทาง มิชอบการไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นนี้
ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. ไม่อยากได้ของของผู้อื่นด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่อยากได้ของของผู้อื่น
๓. พอใจในการไม่อยากได้ของของผู้อื่น
๔. กล่าวสรรเสริญการไม่อยากได้ของของผู้อื่น
ไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
ไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น หมายถึง การที่บุคคลใดไม่มีความชั่วร้ายในใจ เป็นผู้ไม่จองเวร ไม่มีความมุ่งร้ายผู้อื่น ปรารถนาให้ผู้อื่นไม่มีทุกข์ มีแต่ความสุข
การไม่มีจิตคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่นนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. มีจิตไม่คิดปองร้ายด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่คิดปองร้าย
๓. พอใจในการไม่คิดปองร้าย
๔. กล่าวสรรเสริญการไม่คิดปองร้าย
มีความเห็นชอบ
มีความเห็นชอบ หมายถึง การที่บุคคลใดมีความเห็นไม่วิปริตว่าทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลของกรรมดีกรรมชั่วมโลกนี้โลกหน้ามี มารดาบิดามีคุณ นรกสวรรค์มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ได้เองโดยชอบมี
การมีความเห็นชอบนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. มีความเห็นชอบด้วยตนเอง
๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีความเห็นชอบ
๓. พอใจในความเห็นชอบ
๔. กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
หน้าที่ ๒๗๗ ข้อที่ ๑๙๘ - ๑๙๙
---
link โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/24/277/?keywords=%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20%E0%B9%91%E0%B9%90%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3
วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561
เจริญบุญกิริยา วัตถุ ๓ ทาน ศีล ภาวนา ที่วัดนาป่าพง เช้าวันอาทิตย์ที่ 21 ...
[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
- บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑
- บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑
- บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้น กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรกย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสยามเทพบุตรในชั้นยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นยามาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสันดุสิตเทพบุตรในชั้นดุสิตนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นดุสิตโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในชั้นนิมมานรดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นนิมมานรดีโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯโผฏฐัพพทิพย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวปรนิมมิตวสวัตตีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๑๘๗ - ๑๘๙ ข้อที่ ๑๒๗
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)