วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การดับสังขาร



#การดับสังขาร (ท่านพระอาจารย์แสดงธรรมเชื่อมโยงพระสูตรมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องฟังหลายๆ รอบจะได้ เสพ รสอันเลิศกว่ารสทั้งหลาย บุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น)
การดับสังขาร..ต้องเห็นอริยสัจ.ต้องเป็นผู้ได้สดับคำตถาคต.งั้นก็..ไม่เห็น..สลัดคืนไม่ได้
💞💞💞
CR.คลิปตัดจากช่องยูทูป วัดนาป่าพง nirdukkha
https://www.youtube.com/user/nirdukkha
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ(หรือร่วมสร้างหนังสือ)ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE

💞💞💞
...ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่นฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น....
การณปาลีสูตร
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๑๐-๒๑๒ ข้อที่ ๑๙๔
💞💞💞
" อาการเกิดแห่งอกุศลวิตกหรือมิจฉาสังกัปปะ "
ภิกษุ ท. ! กามวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด (นิทาน) ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด. พ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่าง
ไม่มีเหตุให้เกิด. วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด.
ก. กรณีกามวิตก
ภิกษุ ท. ! กามวิตก (ความตริตรึกในกาม) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยกามธาตุ จึงเกิดกามสัญญา;
เพราะอาศัยกามสัญญา จึงเกิดกามสังกัปปะ;
เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงเกิดกามฉันทะ;
เพราะอาศัยกามฉันทะ จึงเกิดกามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้กาม);
เพราะอาศัยกามปริฬาหะ จึงเกิดกามปริเยสนา (การแสวงหากาม)
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.
ข. กรณีพ๎ยาปาทวิตก
ภิกษุ ท. ! พ๎ยาปาทวิตก [ความตริตรึกในพ๎ยาบาท (มุ่งร้าย)] ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยพยาปาทธาตุ จึงเกิดพยาปาทสัญญา;
เพราะอาศัยพยาปาทสัญญา จึงเกิดพยาปาทสังกัปปะ;
เพราะอาศัยพยาปาทสังกัปปะ จึงเกิดพยาปาทฉันทะ;
เพราะอาศัยพยาปาทฉันทะ จึงเกิดพยาปาทปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ทำการพยาบาท);
เพราะอาศัยพยาปาทปริฬาหะ จึงเกิดพยาปาทปริเยสนา.
ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาพยาบาท ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.
ค. กรณีวิหิงสาวิตก
ภิกษุ ท. ! วิหิงสาวิตก [ความตริตรึกในวิหิงสา (เบียดเบียน)] ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท. ! เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ จึงเกิดวิหิงสาสัญญา;
เพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา จึงเกิดวิหิงสาสังกับปะ เพราะอาศัยวิหิงสาสังกัปปะ จึงเกิดวิหิงสาฉันทะ;
เพราะอาศัยวิหิงสาฉันทะ จึงเกิดวิหิงสาปริฬาหะ- (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ทำการเบียดเบียน);
เพราะอาศัยวิหิงสาปริฬาหะ จึงเกิดวิหิงสาปริเยสนา.
ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.
- นิทาน.สํ.๑๖/๑๘๑/๓๕๕ - ๓๕๖
💞💞💞💞
ปฏิจจสมุปบาทแห่งอารัมมณลาภนานัตตะ (การได้อารมณ์ หก)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ (ธาตุนานาชนิด) จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ (สัญญานานาชนิด);
เพราะอาศัย สัญญานานัตตะ จึงมีความเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ (ความตริตรึกนานาชนิด);
เพราะอาศัย สังกัปปนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ผัสสนานัตตะ (ผัสสะนานาชนิด);
เพราะอาศัย ผัสสนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เวทนานานัตตะ (เวทนา นานาชนิด);
เพราะอาศัย เวทนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ฉันทนานัตตะ (ความ พอใจนานาชนิด);
เพราะอาศัย ฉันทนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริฬาหนานัตตะ (ความ เร่าร้อนนานาชนิด);
เพราะอาศัย ปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริเยสนานานัตตะ (การ แสวงหานานาชนิด);
เพราะอาศัย ปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ลาภนานัตตะ (การ ได้รับนานาชนิด);

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธาตุนานัตตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ธาตุนานัตตะ คือ
รูปธาตุ
สัททธาตุ
คันธธาตุ
รสธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ
ธัมมธาตุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ธาตุนานัตตะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ ;
เพราะอาศัยสัญญานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ ;
เพราะอาศัย สังกัปปนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ผัสสนานัตตะ ;
เพราะอาศัย ผัสสนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง เวทนานานัตตะ ;
เพราะอาศัย เวทนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ฉันทนานัตตะ ;
เพราะอาศัย ฉันทนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง ปริฬาหนานัตตะ ;
เพราะอาศัยปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งปริเยสนานานัตตะ;
เพราะอาศัยปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งลาภนานัตตะ;
เป็นอย่างไรเล่า ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยรูปธาตุ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งรูปสัญญา(สัญญาในรูป) ;
เพราะอาศัยรูปสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสังกัปปะ (ความตริตรึกในรูป) ;
เพราะอาศัยรูปสังกัปปะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสะ (การสัมผัสซึ่งรูป);
เพราะอาศัยรูปสัมผัสสะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสซึ่งรูป);
เพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปฉันทะ(ความพอใจในรูป);
เพราะอาศัยรูปฉันทะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพราะรูป);
เพราะอาศัยรูปปริฬาหะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปปริเยสนา (การแสวงหาซึ่งรูป);
เพราะอาศัยรูปปริเยสนา จึงมีการเกิดขึ้นแห่ง รูปลาภะ (การได้รับซึ่งรูป).

(หมวดเกี่ยวกับธาตุอื่น ๆ อีก ๕ ธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ และธัมมธาตุ ก็มีการจำแนกโดยนัยะอย่างเดียวกันกับหมวดรูปธาตุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบนนี้).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล (ที่เรากล่าวว่า) เพราะอาศัยธาตุนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญานานัตตะ;
เพราะอาศัยสัญญานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งสังกัปปนานัตตะ;
...ฯลฯ...
เพราะอาศัยปริฬาหนานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งปริเยสนานานัตตะ;
เพราะอาศัยปริเยสนานานัตตะ จึงมีการเกิดขึ้นแห่งลาภนานัตตะ.

[ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง ซึ่งลักษณะอย่างเดียวกันกับสูตรข้างบนนี้ทุกประการ ต่างแต่ตรัสไว้โดยย่อ คือ เว้นผัสสนานัตตะ และเวทนานานัตตะ แล้วเว้นลาภนานัตตะ ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายเสีย คงตรัสเพียงแค่ปริเยสนานานัตตะ เท่านั้น
(- สูตรที่ ๗ ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๗๓/๓๔๔).]

สูตรที่ ๙ ธาตุสังยุตต์ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๗๕/๓๔๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น