วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เหตุใดการละนันทิจิตจึงหลุดพ้นด้วยดี ด้วยการเชื่อมโยงพระสูตรที่แท้มันคือส...


ดูท่านพระอาจารย์โยงพระสูตร.รัวๆ.  #เหตุใดละนันทิจิตหลุดพ้น. เหมือนกำลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์แก้ปัญหาสมการอยู่เลย🤩🤩x=2y อะไรประมาณนั้น😁😁พระพุทธเจ้าเราสุดยอดมากๆ🙏🙏🙏
เหตุใดละนันทิแล้วจิตจึงหลุดพ้นด้วยดี ด้วยการเชื่อมโยงพระสูตร ทีแท้มันคือสิ่งเดียวกันอย่างไร  Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
**
พิธีถวายผ้ากฐิน ตามอริยประเพณี ในแบบพุทธวจน
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ณ วัดนาป่าพง
https://katin.watnapp.com/register/register.php
🙏🙏🙏
อ่านพระสูตรที่เกี่ยวข้องได้จาก blog พุทธวจน
https://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;; คลิปนี้พร้อมพระสูตร
💞💞💞
CR.
Buddhakos media บรรยายธรรมนอกสถานที่ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
https://youtu.be/y6XJSdcBvNc
ถ่ายทอดคำตถาคตโดย : พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ณ วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง 10 ปทุมธานี
ดาวน์โหลดสือ พุทธวจน ได้ฟรีจากเวปวัด
ดาวน์โหลดไฟล์เสียง MP3 จากเวปวัดฟรี
http://watnapp.com/audio
ดาวน์โหลดหนังสือ ฟรีจากเวปวัด
http://watnapp.com/book
ต้องการหนังสือ ซีดี สื่อพุทธวจน ฟรี ท่านพระอาจารย์แจกฟรีที่วัด
สั่งซื้อ (หรือร่วมสร้างหนังสือ) ได้ที่..มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เผยแผ่ พุทธวจน
https://www.facebook.com/buddhakosfoundationbuddhaword/?__xts__%5B0%5D=68.ARA6GlWx3nuqT5_5cLYgLt8TKmzVmctAyydhSqZiuEUuzjRpG2aABReuEx1BvSYAw1rryLJY9d4P9dYQXU07rF0GdpsXWqsGAUqwEbayajQfdIgccN9lWUi5C-AXAczqhyby-LLjAq4gdV5hjzwN0WjaQsA7fw_wwmpvE4RA05kHw0btN8DxPC00R8CxqmMdr82kqnA0jonREp0xYgT8P9VA_bE
ที่อยู่..วัดนาป่าพง Watnapahpong
ที่อยู่: 29 หมู่ 7 ต.บึงทองหลาง, ลำลูกกา, ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์: 086 360 5768
🙏🙏🙏
ละนันทิ
🙏🙏🙏
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕.
สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
นันทิกขะยา ราคักขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ (คือความเพลิน) จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
ราคักขะยา นันทิกขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้
🙏🙏🙏
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยการละนันทิ
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยแยบคาย และเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

เพราะสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้

( ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ )

- สฬา.สํ.๑๘/๑๘๐/๒๔๘.
🙏🙏🙏
มีความเพลิน คือมีอุปาทาน
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งรูป
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในรูป
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งเวทนา

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งเวทนา
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในเวทนา
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งสัญญา

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งสัญญา
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในสัญญา
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งสังขาร

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งสังขาร
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในสังขาร
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งวิญญาณ

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ซึ่งวิญญาณ
ความเพลินย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใดในวิญญาณ
ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘-๑๙/๒๘ )
🙏🙏🙏
สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นอย่างไร ?
และตัวอุปาทานเป็นอย่างไรเล่า ?
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยมธมฺม) และตัวอุปาทาน.
พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นอย่างไร ? และตัวอุปาทานเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป(กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น นั่นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปทาน ในเวทนานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เป็นสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปทาน ในสัญญานั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในวิญญาณนั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในวิญญาณนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะนี้ เรียกว่า ตัวอุปาทาน แล.
-ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๙.
(ในสูตรอื่นทรงแสดง อุปาทานิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๖๐) และอายตนะภายนอกหก
(๑๘/๑๓๖/๑๙๐)
🙏🙏🙏
สังโยชน์และที่ตั้งแห่งสังโยชน์ (ความยึดถือหรือเครื่องร้อยรัดจิต)
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน (สฺโญชนิยธมฺม)
และ ตัวสัญโญชน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟงขอนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เปนอยางไร ?
และ ตัวสัญโญชน์ เปนอยางไรเลา ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป (กาย) เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน.
ฉันทราคะ (ความกําหนัดเพราะพอใจ) ใด เขาไปมีอยูในรูปนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในรูปนั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในเวทนานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในเวทนานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในสัญญานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสัญญานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในสังขารทั้งหลายเหลานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสังขารทั้งหลายเหลานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในวิญญาณนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในวิญญาณนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ขันธเหลานี้ เรียกวา สิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน ;
ฉันทราคะนี้เรียกวา ตัวสัญโญชน แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๒๗.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๙/๓๐๘.
🙏🙏🙏
อนุสยสูตร‬ (อนุสัย ๗)
🙏🙏🙏
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่

‪#‎อนุสัยคือกามราคะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม)
‪#‎อนุสัยคือปฏิฆะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต)
‪#‎อนุสัยคือทิฏฐิ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น)
‪#‎อนุสัยคือวิจิกิจฉา‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย)
‪#‎อนุสัยคือมานะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว)
‪#‎อนุสัยคือภวราคะ‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ)
‪#‎อนุสัยคืออวิชชา‬ ๑ (สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความไม่รู้)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้แล.
● ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย ๗ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ฯลฯ.
: พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๘๘ ข้อที่ ๓๔๑-๓๔๒.
🙏🙏🙏
สังโยชน์ ๑๐
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะ, พยาบาท
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจ, อวิชชา
เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗
(ไทย) ทสก. อํ.  ๒๔/๑๖/๑๓
🙏🙏🙏

3 ความคิดเห็น: