#ความคิดความเชื่อ ...ในมุมพระพุทธเจ้า..ธรรมะที่พระมหาอัครสาวกบรรลุโสดาบัน...
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุ
แห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.
ธรรมะที่พระสารีบุตร และ พระโมคลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา
ได้ยินได้ฟังจนบรรลุ
เป็นโสดาบัน
และเข้ามาบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา...
2 อัครสาวกได้พบกับพระอัสชิ หนึ่งในปัจจวัคคี และได้ฟังธรรมจนได้เข้า
มาบวชกับพระศาสดา..
***
***
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา
พระอัสสชิเถระ
[๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์
พร้อมด้วย
ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน.
ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ
ประพฤติ
พรหมจรรย์อยู่ในสำนักสญชัยปริพาชก.
ท่านทั้งสองได้ทำกติกากันไว้ว่า
ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน
ผู้นั้นจงบอกแก่อีกคนหนึ่ง.
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า
ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสกแล้ว
ถือบาตรจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์
มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน
น่าเลื่อมใส
มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ.
สารีบุตรปาริพาชกได้เห็นท่านพระอัสสชิ
กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน
เหยียดแขน น่าเลื่อมใส
มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ
ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า
บรรดาพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก
ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่
ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า
ท่านบวชเฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร?
แล้วได้ดำริต่อไปว่า ยังเป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้
เพราะ
ท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต
ผิฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆ
เพราะเป็น
ทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ.
ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร
ราชคฤห์
ถือบิณฑบาตกลับไป. จึงสารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูด
ปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
สารีบุตรปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคำนี้
กะท่านพระอัสสชิว่า
อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ท่านบวช
เฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?
อ. มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตร
เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เรา
บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา
และเรา
ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.
สา. ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?
อ. เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้
ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่าน
ได้กว้างขวาง
แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ.
สา. น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้อง
การใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.
***
พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
***
[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้
:-
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
เหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติ
ทรงสั่งสอนอย่างนี้.
***
สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม
***
[๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทินว่า
สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา
ได้เกิดขึ้นแก่
สารีบุตรปริพาชก
ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น
ท่านทั้งหลายจงแทง
ตลอดบทอันหาความโศกมิได้
บทอันหาความโศกมิได้นี้
พวกเรายังไม่เห็น
ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์.
สารีบุตรปริพาชกเปลื้องคำปฏิญญา
[๖๗] เวลาต่อมา สารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาโมคคัลลานปริพาชก.
โมคคัลลานปริพาชก
ได้เห็นสารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้ถามสารีบุตรปริพาชกว่า
ผู้มีอายุ อินทรีย์
ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ท่านได้บรรลุอมตธรรมแล้วกระมังหนอ?
สา. ถูกละ ผู้มีอายุ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว.
โมค.
ท่านบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร ด้วยวิธีไร?
สา. ผู้มีอายุ วันนี้เราได้เห็นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
มี
มรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน
น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึง
พร้อมด้วยอิริยาบถ
ครั้นแล้วเราได้มีความดำริว่า บรรดาพระอรหันต์หรือท่านผู้ได้บรรลุอรหัตมรรค
ในโลก
ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้
แล้วถามว่า
ท่าน
บวชเฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร
เรานั้นได้ยั้งคิดว่า ยัง
เป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้
เพราะท่านยังกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้น
เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆ เพราะเป็นทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ
ลำดับ
นั้น พระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์
ถือบิณฑบาตกลับไปแล้ว ต่อมา เราได้เข้า
ไปหาพระอัสสชิ
ครั้นถึงแล้ว ได้พูดปราศรัยกับพระอัสสชิ
ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็น
ที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เรายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ต่อพระอัสสชิว่า
อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์
ผุดผ่อง
ท่านบวชเฉพาะใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?
พระอัสสชิตอบว่า มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล
เรา
บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า
ก็พระศาสดาของ
ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า
ก็พระศาสดาของ
ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?
พระอัสสชิตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมา
สู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ เรา
ได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด
ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้องการ
ใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.
[๖๘] ผู้มีอายุ ครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้ ว่าดังนี้
:-
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุ
แห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.
***
โมคคัลลานปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม
***
[๖๙] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา
ได้เกิดขึ้นแก่
โมคคัลลานปริพาชก
ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น
ท่านทั้งหลายจงแทงตลอดบทอันหาความ
โศกมิได้
บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้ว
หลายหมื่นกัลป์.
สองสหายอำลาอาจารย์
[๗๐] ครั้งนั้น โมคคัลลานปริพาชกได้กล่าวชักชวนสารีบุตรปริพาชกว่า
ผู้มีอายุ เรา
พากันไปสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระศาสดาของเรา.
สารีบุตรปริพาชกกล่าวว่า ผู้มีอายุ ปริพาชก ๒๕๐ คนนี้อาศัยเรา เห็นแก่เรา จึงอยู่ใน
สำนักนี้ เราจงบอกกล่าวพวกนั้นก่อน พวกนั้นจักทำตามที่เข้าใจ.
ลำดับนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพากันเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
คำนี้ต่อพวกปริพาชกนั้นว่า ท่านทั้งหลาย เราจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาค
นั้นเป็นพระศาสดาของเรา.
พวกปริพาชกตอบว่า พวกข้าพเจ้าอาศัยท่าน เห็นแก่ท่านจึงอยู่ในสำนักนี้ ถ้าท่าน
จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ พวกข้าพเจ้าทั้งหมด ก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระมหาสมณะด้วย.
ต่อมา สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปหาท่านสญชัยปริพาชก ครั้นถึงแล้วได้เรียน
ว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระ
ศาสดาของพวกกระผม
สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เราทั้งหมด ๓ คน
จักช่วยกันบริหารคณะนี้.
แม้ครั้งที่ ๒ ...
แม้ครั้งที่สาม สารีบุตรโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ต่อสญชัยปริพาชกว่า ท่านขอรับ พวก
กระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระศาสดาของพวกกระผม.
สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เราทั้งหมด ๓ คน
จักช่วยกันบริหารคณะนี้.
ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพาปริพาชก ๒๕๐ คนนั้น มุ่งไปทางที่จะไปพระวิหาร
เวฬุวัน. ก็โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากสญชัยปริพาชกในที่นั้นเอง.
ทรงพยากรณ์พระอัครสาวก
[๗๑] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นสารีบุตรโมคคัลลานะมาแต่ไกลเทียว ครั้น
แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนนั้น คือโกลิตะ และอุปติสสะ
กำลังมานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยมของเรา
ก็สหายสองคนนั้นพ้นวิเศษแล้ว ในธรรมอันเป็น
ที่สิ้นอุปธิ อันยอดเยี่ยม มีญาณวิสัยอันลึกซึ้ง
ยังมาไม่ทันถึงพระวิหารเวฬุวัน พระศาสดา
ทรงพยากรณ์ ว่าดังนี้
สหายสองคนนี้คือ โกลิตะและอุปติสสะกำลัง
มานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญ
ชั้นเยี่ยมของเรา.
เข้าเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท
[๗๒] ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว
ได้ซบเศียรลงที่พระบาทของผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอ
พวกข้าพระพุทธเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอัน
เรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
ข้อที่ 64-72 หน้าที่ 56-60
*****
กฏอิทัปปัจจยตา หรือ หัวใจปฏิจจสมุปบาท
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ นโหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงดับไป
ม. ม. ๑๓/๓๕๕/๓๗๑.
นิทาน.สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔,...ฯลฯ...
****
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ”
https://faq.watnapp.com/.../84-new-practice/130-01-01-0039
***
🙏🙏🙏
ธรรมญาณ อันวยญาณ
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วย ธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้ สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของ อริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้างผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้างประกอบด้วยวิชชา ของพระเสขะ บ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิด ประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๓
พระไตรปิฎกฉบับหลวง (ไทย) เล่มที่ ๑๖
หน้าที่ ๕๕ ข้อที่ ๑๒๔ - ๑๒๕
🙏🙏🙏
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น