ทิฏฐิ ๖๒ เป็นผลของการไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
https://www.youtube.com/watch?v=WCtD44C7x_s
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มี ธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย; ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง, เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
https://www.youtube.com/watch?v=WCtD44C7x_s
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มี ธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย; ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง, เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า?
[ หมวด ๑ ปุพพันตกัปปิกวาท ๑๘ ประการ ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท มีปุพพันตานุทิฏฐิ [ทิฏฐิเป็นไปตามซึ่งขันธ์อันเป็นปุพพันตะ (ขันธ์ที่มีแล้วในกาลก่อน)] ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างต่างๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๑๘ ประการ. สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงบัญญัติอธิมุตติบทด้วยวัตถุ ๑๘ ประการเหล่านั้น?
(ก. สัสสตทิฏฐิ ๔ ประการ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกสัสสตวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ... (ต่อ ไปนี้จะตัดข้อความอันยืดยาวแห่งทิฏฐิหนึ่งๆให้เหลือเฉพาะแต่ใจความ นำมาเรียงลำดับติดต่อกันไปจนกว่าจะครบทั้ง ๖๒ ทิฏฐิวัตถุ และจัดเป็นหมวดย่อยๆ ตามลำดับหมวดดังที่มีอยู่ในพระบาลีนับตั้งแต่หมวด ก.ข้างบนนี้ไป):-
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่านในโลกนี้อาศัยความเพียรเผากิเลส...จึง มีเจโตสมาธิในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึงขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือระลึกได้ ๑ ชาติบ้าง,...ฯลฯ...หลายแสนชาติเป็นอเนกบ้าง;...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่า "อัตตาและโลกเป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป,แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ...เพราะว่า เราย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์ อันเคยอยู่ในกาลก่อนมีประการต่างๆเป็นอเนกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้. ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เป็นฐานะที่ ๑ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส...จึง มีเจโตสมาธิในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึงขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆเป็นอเนก คือระลึกได้ ๑ สังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...กระทั่ง สิบสังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่า "อัตตาและโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป, แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ...เพราะว่าเราย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้. ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๒ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่าน อาศัยความเพียรเผากิเลส...จึง มีเจโตสมาธิในลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกถึงขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือระลึกได้สิบสังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...กระทั่งถึงสี่สิบสังวัฏฏะ-วิวัฏฏกัปป์บ้าง...แล้วกล่าว (ตามความเห็นของตน) อย่างนี้ว่า "อัตตาและโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป, แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ... เพราะว่าเราย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์อันเคยอยู่ในกาลก่อน มีประการต่างๆ เป็นอเนกได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ดังนี้. ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๓ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์บางท่าน เป็นนักตรึกนักตรอง เขาย่อมกล่าวตามที่ความตรึกพาไป ความตรองแล่นไป ตามปฏิภาณของตนเอง ว่า "อัตตาและโลก เป็นของเที่ยง คงตัว ยืนอยู่เหมือนยอดภูเขา ตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด; แม้ (ปรากฏการณ์ของ) สัตว์ทั้งหลาย จะแล่นไป ท่องเที่ยวไป เคลื่อนไป บังเกิดไป, แต่สิ่งซึ่งเที่ยงแท้สม่ำเสมอ ยังคงอยู่นั่นเอง" ดังนี้; ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นฐานะที่ ๔ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกสัสสตวาท อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สม ณพราหมณ์ทั้งหลายเท่าใด เป็นพวกสัสสตวาท บัญญัติอัตตา และโลกว่าเป็นของเที่ยง สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด บัญญัติโดยอาศัยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ หรือว่าวัตถุประการใดประการหนึ่ง ในบรรดาวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้, วัตถุอื่นนอกจากนี้ มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคต ย่อมรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ เมื่อใครถือเอาแล้วอย่างนี้ ลูบคลำแล้วอย่างนี้ ก็จะมีคติอย่างนั้น มีอภิสัมปรายภพอย่างนั้น: ตถาคต ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อนั้นด้วย รู้ชัดซึ่งธรรมอันยิ่งไปกว่านั้นด้วย และไม่จับฉวยไว้ซึ่งสิ่งที่ตถาคตรู้แล้วนั้นด้วย และเมื่อไม่จับฉวยอยู่ ความดับเย็น (นิพฺพุติ) ก็เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้แจ้งแล้ว เฉพาะตนนั่นเทียว เพราะรู้แจ้งตามที่เป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันเลวทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความไม่ยึดมั่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง, เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูดสรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง.
(ข. เอกัจจสัสสติก - เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ ๔ ประการ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นพวกเอกัจจสัสสติก-เอกัจจอสัสสติกวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่าง ไม่เที่ยงบางอย่าง ด้วยวัตถุทั้งหลาย ๔ ประการ:
…(อ่านเพิ่มเติมได้จาก ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๓๒ – ๗๖๘)...
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๓๒ – ๗๖๘
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๔๐ - ๑๔๓
(ภาษาไทย) สี.ที. ๙/๑๑-๓๗/๒๖-๕๐.
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๔๐ - ๑๔๓
(ภาษาไทย) สี.ที. ๙/๑๑-๓๗/๒๖-๕๐.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น