วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2559 (วันปีใหม่ 2559)



‪#‎อยู่ด้วยความไม่ประมาท‬ : กายคตาสติ ‪#‎ละนันทิ‬ สติเฝ้าประตูเมือง : เป็นผู้มีอำนาจเหนือครรลองแห่งจิต

https://www.youtube.com/watch?v=N-nSAeY6UwA&feature=share

‪#‎ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีการกระทำในใจ‬ (มนสิการ) เป็นแดนเกิด

‪#‎มีผัสสะเป็นเหตุเกิด‬ มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง

‪#‎ผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว‬ สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖

‪#‎มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ‬ พึงรู้ความดับกิเลสของตน

-

หยั่งเปรียบดั่งแม่น้ำทั้งหลายมีมหาสุมทรเป็นที่หยั่งลงภายใน

มหาสมุทรเปรียบดั่งกายคตาสติ(ความไม่ประมาท)

แม่น้ำทั้งหลาย เป็นอุปมาของธรรมทั้งหลายเหล่านี้ อันได้แก่

-

‪#‎อานาปานสติสมาธิ‬

เป็นธรรมอันเอก เป็นวิหารธรรมของพระศาสดาเมื่อปลีกวิเวก เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ด้วยการพิจารณาว่า ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก นั้นเป็นกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย ดังนี้ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การรู้อิริยาบถ‬ เดิน ยืน นั่ง นอน

เรา เดินอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า “เราเดินอยู่”

เมื่อยืน ย่อมรู้ชัดว่า "เรายืนอยู่"

เมื่อนั่ง ย่อมรู้ชัดว่า "เรานั่งอยู่"

เมื่อนอน ย่อมรู้ชัดว่า "เรานอนอยู่"

เมื่อเราตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใด ก็ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น

ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การมีสัมปชัญญะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม‬

ในกรณีการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับหลัง การเหลียวดูแลดู การคู้ การเหยียด ... ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง พระองค์ทรงตรัสถึงการเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การพิจารณากายในเรื่องของความไม่งาม‬(อสุภะสัญญา)

พิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ

เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆว่า ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก...

ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

‪#‎การพิจารณากายโดยความเป็นธาตุมีอยู่ในกายนี้‬(ดิน น้ำ ไฟ ลม)

พิจารณากายนี้

รู้โดยความเป็นธาตุดิน

รู้โดยความเป็นธาตุน้ำ

รู้โดยความเป็นธาตุไฟ

และ รู้โดยความเป็นธาตุลม ว่าไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุเหล่านี้ ไม่ยินดีและไม่สำคัญว่าเป็นเรา ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

-

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีการกระทำในใจ (มนสิการ) เป็นแดนเกิด

มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง

ผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖

มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ พึงรู้ความดับกิเลสของตน

-

กายคตาสติของเรานี้ จักเป็นสิ่งที่เราอบรม

กระทำให้มาก

กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป

กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้

เพียงตั้งไว้เนืองๆ

เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ

เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี ดังนี้

-

กายคตาสติ (การมีความระลึกรู้อยู่ที่กาย)

พระศาสดาตรัสว่า สติเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวง

ผู้ใดไม่เจริญกระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ

ผู้นั้นเป็นผู้หลงลืมอมตะ(ความไม่ตาย) เป็นผู้ประมาท(ต่อความตาย)

ผู้ประมาทคือผู้ที่ไม่สังวรอินทรีย์

ผู้ที่ไม่สำรวมอินทรีย์คือผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ

-

พระตถาคตตรัสอุปมาว่าแม่น้ำทั้งหลายย่อมไหลไปสู่ โน้มไปสู่ น้อมไปสู่ โอนไปสู่สมุทร ฉันใด

กุศลธรรมเหล่าใดซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ฉันนั้น

ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีเบื้องต้นคือศีลและทิฏฐิที่ตั้งไว้ตรง เป็นเบื้องต้น

ดุจดั่งพระราชาทั้งหลายย่อมเดินตามพระมหาจักพรรดิ์ผู้เป็นยอดของพระราชาเหล่านั้น

-

พระพุทธเจ้าตรัสว่าสิ่งที่เรียกว่า จิตก็ดี มโนก็ดี วิญญาณก็ดี ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวันตลอดคืน

ปุถุชนผู้มิได้สดับในธรรมไม่อาจรู้ธรรมอันเป็นเครื่องเกิดปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ

พระองค์เปรียบอุปมากายของเรานี้อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูติรูป ๔

เพราะเหตุแห่งการบังเกิดขึ้น การเสื่อมลงไป การถูกยึดครอง หรือแม้แต่การตายก็ดี

ปุถุชนผู้มิได้สดับในธรรมนี้ก็ยังพอจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางลงได้บ้างในกาย

กายจึงเปรียบเหมือนเสาเขื่อนเสาหลัก ยึดกาย จึงดีกว่ายึดจิต ดังนี้

-

จึงควรมีสติเข้าไปตั้งไว้ในกาย นี้จึงเป็น กายคตาสติ

อันพระองค์สรรเสริญว่าเป็น

หนทางที่ให้ไปถึงธรรมในเบื้องหน้า

หนทางให้ไปถึงอสังขตะ

ทางคือความสิ้นไปแห่ง ราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ

-

กายคตาสติ เป็นธรรมที่พระองค์สรรเสริญว่า

เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อปัญญาเจริญไพบูลย์

มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ดังนี้แล้ว

กายคตาสติจึงเป็นธรรมที่เอื้อต่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น