แม้การทำความเพียรในที่สงัด
ก็ยังต้องปรารภขันธ์ห้า ตามวิธีการของปฏิจจสมุปบาท
ถ้าเห็นว่า..ขันธ์ ๕..ไม่ใช้ตัวตน..แล้วไม่ไปยึดก็จบ..นิพพานเลย..แต่.ยังยึด..ก็ต้องเดินมรรค.ต้องเห็น.อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.ของขันธ์ ๕.....
คลิปยูทูปช่วงที่ตัด
https://youtu.be/yO13nqlzMws
คลิปเพจพระสูตร
https://www.facebook.com/BuddhawajanaBn.312FantaChaleeporn/videos/1843344825974819/
เรียนเชิญเป็นเจ้าภาพ ร่วม กับมูลนิธิพุทธโฆษณ์. ในงาน
รัก. ศรัทธา ตถาคต ๒๕๖๑
LOVE. FaIth Tathagata 2018
สอบถามรายละเอียดได้ที่. Tel.0822225790-94
Line.ID 0822225790
Line.ID 0822225791
Line.ID 0822225792
Line.ID 0822225793
Line.ID 0822225794
---------
ร่วมเป็นเจ้าภาพได้ที่. ชื่อบัญชี. "มูลนิธิพุทธโฆษณ์"
ธนาคารไทยพาณิชย์. เลขบัญชี
318-249-6086
...............
ช่วง. วิสขาบูชา
เดือนพฤษภาคมนี้
เราพบกันนะคะ
...................
ทานของคนดี (นัยที่ ๒)
ภิกษุทั้งหลาย !
สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ย่อมให้ทานด้วยศรัทธา
(๒) ย่อมให้ทานโดยเคารพ
(๓) ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร
(๔) เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
(๕) ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว
ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก
ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว
ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน
เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๘.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๔๐/๑๒๒.
#แม้การทำความเพียรในที่สงัด
ก็ยังต้องปรารภขันธ์ห้า ตามวิธีการของปฏิจจสมุปบาท
พระอานนท์ ได้กราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียวเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว (ในธรรมปฏิบัติ) อยู่เถิด พระเจ้าข้า!”. พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า:-
ดูก่อนอานนท์ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? (“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? (“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา; นั่นเป็นเรา; นั่นเป็นตัวตนของเรา” ; ดังนี้ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”).
ดูก่อนอานนท์! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา; นั่นไม่ใช่เรา; นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา; เธอพึงเห็นซึ่งข้อนั้น ด้วย ยถาภูตสัมมัปปัญญา (ความรู้ทั่วถึงถูกต้องตามเป็นจริง) อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัสถาม, ทูลตอบ. และตรัส อย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).
ดูก่อนอานนท์ ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด; เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวกนั้นว่า “หลุดพ้นแล้ว” ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้กระทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นเพื่อทำความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”, ดังนี้ แล.
[ หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า “การเห็นชอบตามที่เป็นจริง” นั้น มิได้มีความสำคัญเพียงใดเรื่องราวอันเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นปฏิจจสมุปบาท แม้ในการทำความเพียรใด ๆ ก็ตาม ย่อมปรารภยถาภูตสัมมัปปัญญา คือการเห็นชอบตามที่เป็นจริง ด้วยกันทั้งนั้น ดังที่ได้ยกมาให้เห็นเป็นตัวอย่างเรื่องหนึ่ง คือเรื่องนี้. ผู้ศึกษาพึงเห็นความสำคัญ ของการเห็นชอบตามที่เป็นจริง เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ห้าดังนี้เถิด.]
________________________________
( สูตรที่ ๑๐ ทิฏฐิวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๘/๓๖๔, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่เชตวัน.)
************************
.ทรมาน ควบคุม รักษา สำรวม...
*** ทรงเป็นผู้ข่มอินทรีย์ได้ ***
มาคัณฑิยะ! จักขุเป็นสิ่งซึ่งมีรูปเป็นที่ยินดี กำหนัดแล้วในรูป อันรูปทำให้บันเทิงพร้อมแล้ว, จักขุนั้น อันตถาคตทรมาน ควบคุม รักษา สำรวมไว้ได้แล้ว และตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อการสำรวมจักขุนั้นด้วย.
มาคัณฑิยะ! โสตะเป็นสิ่งซึ่งมีเสียงเป็นที่ยินดี---ฯลฯ---*, ฆานะ เป็นสิ่งซึ่งมีกลิ่นเป็นที่ยินดี ฯลฯ, ชิวหาเป็นสิ่งซึ่งมีรสเป็นที่ยินดี ฯลฯ, กายะเป็นสิ่งซึ่งมีโผฏฐัพพะเป็นที่ยินดี---ฯลฯ---, ใจเป็นสิ่งซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี กำหนัดแล้วในธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ทำให้บันเทิงพร้อมแล้ว, ใจนั้นอันตถาคตทรมาน ควบคุม รักษา สำรวม ไว้ได้แล้ว และตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั้นด้วย.
บาลี มาคัณฑิยสูตร ม.ม. ๑๓/๒๗๒/๒๗๙. ตรัสแก่มาคัณฑิยปริพพาชก ที่โรงบูชาไฟแห่งหนึ่ง. .
* ที่ละ...ฯลฯ... เช่นนี้ เติมให้เต็มเหมือนในข้อจักขุเอาเองได้.
*****************
เรียนเชิญเป็นเจ้าภาพ ร่วม กับมูลนิธิพุทธโฆษณ์. ในงาน
รัก. ศรัทธา ตถาคต ๒๕๖๑
LOVE. FaIth Tathagata 2018
สอบถามรายละเอียดได้ที่. Tel.0822225790-94
Line.ID 0822225790
Line.ID 0822225791
Line.ID 0822225792
Line.ID 0822225793
Line.ID 0822225794
---------
ร่วมเป็นเจ้าภาพได้ที่. ชื่อบัญชี. "มูลนิธิพุทธโฆษณ์"
ธนาคารไทยพาณิชย์. เลขบัญชี
318-249-6086
...............
ช่วง. วิสขาบูชา
เดือนพฤษภาคมนี้
เราพบกันนะคะ
...................
ทานของคนดี (นัยที่ ๒)
ภิกษุทั้งหลาย !
สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ย่อมให้ทานด้วยศรัทธา
(๒) ย่อมให้ทานโดยเคารพ
(๓) ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร
(๔) เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
(๕) ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว
ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก
ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว
ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน
เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๘.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๔๐/๑๒๒.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น