วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ปฏิจสมุปบาท สังสารวัฏ มค.55 พุทธวจน



พระอาจารย์แจกแจง..เรื่องกรรมที่ควรทราบ..กรรมที่เป็นอจินไตย..และเรื่องอจินไตย ประมาณนาทีที่ 1.26

https://www.youtube.com/watch?v=86Q27k0xknI

‪#‎เรื่องที่ไม่ควรคิด‬

‪#‎อจินติตสูตร‬

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้

อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด

พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน

อจินไตย ๔ ประการ เป็นไฉน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑

ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑

วิบากแห่งกรรม ๑

ความคิดเรื่องโลก ๑

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อจินไตย ๔ ประการนี้แล

ไม่ควรคิด

เมื่อบุคคลคิด

พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า

เดือดร้อน ฯ

จบสูตรที่ ๗

-

(องฺ.จตกฺก.21/76/104)

--

#กรรมที่ควรทราบ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น

-

เราอาศัยอะไรกล่าว ..

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

-

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ..

ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

-

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ..

กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี

ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี

ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี

ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี

ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี

นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

-

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ

เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ ..

กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑

กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑

กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑

นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม

-

ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ..

ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ

-

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ..

สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม

---

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม

เหตุเกิดแห่งกรรม

ความต่างแห่งกรรม

วิบากแห่งกรรม

ความดับแห่งกรรม

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ

--

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส

เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกรรมฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น