วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq ทำไมต้องนิพพาน_1



#ความสังเวชเป็นเหตุให้ปรารภความเพียร
ภิกษุทั้งหลาย. ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก เหล่านี้ มีอยู่ 
หาได้อยู่ในโลก.
สี่จำพวก เหล่าไหนเล่า ? สี่จำพวก คือ :-
๑. ภิกษุทั้งหลาย. ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคน ในกรณีนี้ 
ได้ยินว่า
"ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ 
หรือทำกาลกิริยา"
ดังนี้ แล้ว เขาก็สังเวช ถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น; 
ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่ม
ตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมะ
ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย 
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ 
ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญที่พอเห็นเงา
ของปฏักก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.
 
๒. ภิกษุทั้งหลาย. ! จำพวกอื่นยังมีอีก : 
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้
ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น 
มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือ
ทำกาลกิริยา, แต่เขาได้เห็นหญิงหรือชาย
ผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง 
เขาก็สังเวชถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น ; 
ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย 
มีตนส่งไปในแนวธรรมมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วย
นามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ 
ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ถูกเขาแทงด้วยปฏัก
ที่ขุมขนแล้ว ก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.
 
๓. ภิกษุทั้งหลาย. ! จำพวกอื่นยังมีอีก : 
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้ 
ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น 
มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือ
ทำกาลกิริยา, ทั้งเขาไม่ได้เห็นหญิงหรือชาย
ผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง, 
แต่ญาติหรือสาโลหิตของเขา
เป็นผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา เขาก็
สังเวชถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น; 
ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย 
มีตนส่งไปในแนวธรรมะ 
ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. 
ภิกษุทั้งหลาย. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญ
ที่ถูกเขาแทงด้วยปฏักที่หนังก็
สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.
 
๔. ภิกษุทั้งหลาย. ! จำพวกอื่นยังมีอีก : 
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้
ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น 
มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือ
ทำกาลกิริยา และเขาไม่ได้เห็นหญิงหรือชาย
ผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง,
ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขาเป็นผู้ถึงความทุกข์
หรือทำกาลกิริยา
แต่ว่าเขาเองถูกต้องแล้วด้วยทุกขเวทนา
ที่เป็นไปในสรีระ ซึ่งกล้าแข็ง แสบเผ็ดไม่น่ายินดี
ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย 
เขาก็สังเวชถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น;
ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย 
มีตนส่งไปในแนวธรรมะ
ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย 
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ 
ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ถูกเขาแทงด้วยปฏักถึงกระดูก ก็สังเวชถึงความสลดใจฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล 
บุรุษอาชาไนยผู้เจิญ ๔ จำพวก ซึ่งมีอยู่หาได้ อยู่ในโลก.
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๑๓๖
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๑๔/๑๑๓ 
--
#ถ้าไม่รู้อริยสัจที่สุดแห่งการทิ่มแทงด้วยหอกหลาวย่อมไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี 
พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า
“เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เขาจักแทงท่านด้วยหอกร้อยเล่ม
ตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็น.
ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ 
จนมีอายุร้อยปี
มีชีวิตอยู่ร้อยปี ; โดยล่วงไปแห่งร้อยปีแล้ว
ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่  ที่ท่านยังไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย. ! กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะเหตุว่า 
สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว
ดังนั้นเบื้องต้นและที่สุดแห่งการประหารด้วย
หอกด้วยดาบด้วยหลาวด้วยขวาน ก็จะไม่ปรากฏ,
นี้ฉันใด ; ภิกษุทั้งหลาย. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น :
เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ 
ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์กับด้วยโทมนัสก็หามิได้ ;
แต่เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ 
ว่าเป็นไปกับด้วยสุขกับด้วยโสมนัสทีเดียว.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ 
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
หนังสืออริยสัจจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ 
- เรื่องควรทราบก่อนเกี่ยวกับจตุราริยสัจ หน้า ๙๙
 (ภาษาไทย) มหาวาร. สํ.. ๑๙/๔๓๖/๑๗๑๘. 
--
#สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ 
กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า.
ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ 
เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น 
เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี 
ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ 
ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค
(ส่วนเสี้ยว)”.
ภิกษุทั้งหลาย. ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : 
สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย ; 
สัตว์ที่เกิดกลับเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ 
มีมากกว่าโดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย. ! 
ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. 
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ 
เธอพึงประกอบโยคกรรม 
( โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ 
อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ 
เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย 
เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “โยคะ”, 
เป็นคำกลางใช้กันได้ระหว่างศาสนาทุกศาสนา.)
อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า  “ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.
 [ในกรณีที่ไม่เห็นอริยสัจนั้น ยังมีผลทำให้ :
สัตว์มาเกิดในมัชฌิมชนบท มีน้อย (๑๙/๕๗๘/๑๗๕๘).
สัตว์มีปัญญาจักษุ มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๕๙).
สัตว์ไม่เสพของเมา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๐).
สัตว์เกิดเป็นสัตว์บก มีน้อย (สัตว์น้ำมาก) (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๑).
สัตว์เอื้อเฟื้อมารดา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๑).
สัตว์เอื้อเฟื้อบิดา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๒).
สัตว์เอื้อเฟื้อสมณะ มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๓).
สัตว์เอื้อเฟื้อพราหมณ์ มีน้อย (๑๙/๕๘๐/๑๗๖๔).
สัตว์อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้อย (๑๙/๕๘๐/๑๗๖๕).
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๘
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ.. ๑๙/๔๕๗/๑๗๕๗. 
--
https://www.youtube.com/watch?v=2cdbLdcu1X8

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าวันพฤหัสที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559



#ฟังพุทธวจนก่อนตายผิวพรรณผ่องละสังโยชน์๕ได้อนาคามี 
ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ
และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก
 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร
จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้ว
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
link พระสูตรเต็มๆ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1592996564265214&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=3&permPage=1
--
***การเจริญอานาปานสติ**
(ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร)
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ
โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม, ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
(ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอเป็นผู้มีสติ
หายใจเข้า มีสติหายใจออก (๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัด
ว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเรา
หายใจออกยาว; หรือว่า (๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า
เราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเรา
หายใจออกสั้น, (๓) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เรา
เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า, เราเป็น
ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก, (๔) เธอ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้รำงับ
จักหายใจเข้า, เราทำกายสังขารให้รำ งับ จักหายใจออก,
เช่นเดียวกับนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึง
ผู้ชำ นาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึง
ยาว, เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น,
ฉันใดก็ฉันนั้น.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณา
เห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็น
ภายนอกอยู่ บ้าง, ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง;
และเป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรม อันเป็นเหตุเกิดขึ้น
ในกายอยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง,
เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง,
ก็แหละ สติ ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่
เธอดำ รงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก, ที่แท้
เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่น
อะไรๆ ในโลกนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
มหาวาร. สํ. ๑๐/๓๒๒-๓๒๔/๒๗๔.,
มู. ม. ๑๒/๑๐๓-๑๐๕/๑๓๓. -
  อยู่ที่อินทรีย์ ห้า ของแต่ละคน
1.ศรัทธา
2.วิริยะ
3.สติ
4.สมาธิ
5.ปัญญา
ดาวน์โหลดไฟล์หนังสืออานาปานสติ
http://buddhaoat.blogspot.com/p/blog-page_141.html
ดาวน์โหลดเสียงอ่านอานาปานสติ
https://www.youtube.com/watch?v=JDzh1ZZQKAw
--
http://www.oknation.net/blog/buddha2600/2012/07/30/entry-2

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 (วันมาฆะบูชา)



#โลกธรรมแปดกระทบเรา.อย่าไปสนใจอะไร..ชีวิตนี้น้อยนัก
#ธรรมดาของโลก
มีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ
สุข และ ทุกข์
แปดอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในหมู่มนุษย์
ไม่ยั่งยืนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
ผู้มีปัญญา มีสติ รู้ความข้อนี้แล้ว
ย่อมเพ่งอยู่ในความแปรปรวน
เป็นธรรมดาของโลกธรรมนั้น.
อฏฐก. อํ. ๒๓/๑๕๙/๙๖.
‪#‎ชีวิตมนุษย์‬ ‪#‎อุปมาหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า‬ เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว ‪#‎ไม่ตั้งอยุ่นาน‬ ‪#‎แม้ฉันใด‬ ชีวิตมนุษย์นั้น ไม่ตั้งอยู่นาน รีบหา "ทรัพย์ ทางธรรม"
‪#‎ชีวิตมนุษย์‬
‪#‎อุปมาหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า‬
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว
‪#‎ไม่ตั้งอยุ่นาน‬ ‪#‎แม้ฉันใด‬
ชีวิตมนุษย์นั้น ไม่ตั้งอยู่นาน
รีบหา "ทรัพย์ ทางธรรม"
อย่าปล่อยชีวิตที่เกิดมาไปตาม"
••• ยถากรรม? ••• (บาลี : ยถากมฺมํ )
--
‪#‎อรกานุสาสนีสูตร‬
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว
ศาสดาชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิ
ปราศจากความกำหนัดในกาม
ก็อรกศาสดานั้นมีสาวกหลายร้อยคน
เธอแสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า
ดูกรพราหมณ์
""" ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดหน่อย
รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้ว
จะไม่ตายไม่มี """
ดูกรพราหมณ์
"หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา ย่อมแห้งหายไปได้เร็ว
••• ไม่ตั้งอยู่นาน ••• แม้ฉันใด"
""" ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน """
นิดหน่อย รวดเร็ว
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด
ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ
ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์
มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรพราหมณ์ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ
ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา
ไหลไปไกล กระแสเชี่ยว พัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัด
ไปได้ ไม่มีระยะเวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด
แต่ที่แท้แม่น้ำนั้นมีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา
ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุรุษมีกำลัง อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น
แล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนก้อนเขฬะฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกะทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน
ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้น
เหมือนกัน ... ฯ
ดูกรพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือด
ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า
ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้น
เหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้น
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงควรแก่การมีสามี
ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธ ๖ อย่างเท่านั้น
คือ เย็น ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อรกศาสดานั้น
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนตั้งอยู่นาน
มีอาพาธน้อยอย่างนี้ จักแสดงธรรมให้สาวกฟังอย่างนี้ว่า
ดูกรพราหมณ์ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย
นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์เพราะสัตว์ที่เกิด
มาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้
เมื่อจะกล่าวโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์
ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
ควรกระทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
● ในปัจจุบันนี้ คนที่มีอายุอยู่ได้นาน
ก็เพียงร้อยปีหรือน้อยกว่านั้นบ้าง เกินกว่าบ้าง
ก็คนที่มีอายุอยู่ถึงร้อยปี ย่อมอยู่ครบ ๓๐๐ ฤดู
คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๐๐ ฤดู ย่อมอยู่ครบ ๑,๒๐๐ เดือน
คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ เดือน ฤดูร้อน ๔๐๐
เดือน ฤดูฝน ๔๐๐ เดือน
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๑,๒๐๐ เดือน ย่อมอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ
ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือนฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน
คนที่มีอายุอยู่ครบ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน
ย่อมอยู่ครบ ๓๖,๐๐๐ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑,๒๐๐ ราตรี
ฤดูร้อน ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูฝน ๑,๒๐๐ ราตรี
คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี
ย่อมบริโภคอาหาร ๗๒,๐๐๐ เวลา คือ
ฤดูหนาว๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ เวลา
ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ เวลา พร้อมๆ กับดื่มนม
มารดาและอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร ใน ๒ ประการนั้น
● อันตรายแห่งการบริโภคอาหาร
มีดังนี้ คือ คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร
คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภค
อาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่บริโภคอาหาร
เพราะไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร
••• ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราได้กำหนดอายุ ประมาณแห่งอายุ ฤดู ปี เดือน
กึ่งเดือน ราตรี วัน การบริโภคอาหาร
และอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร
ของมนุษย์ผู้มีอายุร้อยปี ด้วยประการดังนี้แล้ว
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลายกิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์เอื้อเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวก
กิจนั้นเรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
ขอเธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ
อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย
นี้คืออนุศาสนีของ
เราสำหรับเธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๑๐๗/๓๗๙ ข้อที่ ๗๑
•••••••••••••••••••
ธนสูตรที่ ๒
●●● [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
๑.• ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑
๒.• ศีล ๑
๓.• หิริ ๑
๔.• โอตตัปปะ ๑
๕.• สุตะ ๑
๖.• จาคะ ๑
๗.• ปัญญา ๑
๑.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระ
อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือ
ศรัทธา ฯ
๒.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ
๓.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริตละอายต่อการถูกต้อง
อกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ
๔.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ
สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว
ต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่าทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ
๕.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ
เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ
๖.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ
ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่า
ทรัพย์คือจาคะ ฯ
๗.• ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ
เป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่าทรัพย์คือปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
●●● ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ
ชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของ
ผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา
ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๖
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๔/๓๗๙ ข้อที่ ๕-๗
●●●●●●●●●●●●
https://www.youtube.com/watch?v=ZssWVzDSBT0

สนทนาธรรมเช้าวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 (วันมาฆะบูชา)



‪#‎สุตตะคือกระแสแห่งธรรมถูกต้องบุคคล‬ วิมุตติจากการฟังธรรม
‪#‎ผู้เงี่ยโสตลงฟัง‬ ชื่อว่า ‪#‎เป็นผู้มีอุปนิสัย‬
ประโยชน์ของการประชุมสนทนากัน คือ วิมุตติ
https://www.youtube.com/watch?v=ZssWVzDSBT0&feature=youtu.be
กถาวัตถุสูตร
[๕๐๗] ๖๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ อย่างหนึ่ง 
๓ อย่างเป็นไฉน คือ พูดถ้อย
-
คำปรารภถึงอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้ ๑ 
พูดถ้อยคำปรารภถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้ ๑ 
พูดถ้อยคำปรารภถึงปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลย่อมมีอย่างนี้ ๑ 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
จะพึงทราบบุคคลว่า 
‪#‎ควรพูดหรือไม่ควรพูด‬ ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา 
ไม่เฉลยโดยส่วนเดียว 
ซึ่งปัญหาที่ควรเฉลยโดยส่วนเดียว 
ไม่จำแนกเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกเฉลย 
ไม่สอบถามเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรสอบถามเฉลย 
ไม่หยุดปัญหาที่ควรหยุด 
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
แต่ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา
ย่อมเฉลยโดยส่วนเดียว
ซึ่งปัญหาที่ควรเฉลยโดยส่วนเดียว 
ย่อมจำแนกเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรจำแนก
เฉลย่อมสอบถามเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรสอบถามเฉลย 
ย่อมหยุดปัญหาที่ควรหยุด
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
จะพึงทราบบุคคลผู้ควรพูดหรือไม่ควรพูด 
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ไม่ดำรงอยู่ในฐานะและอฐานะ 
ไม่ดำรงอยู่ในปริกัป 
ไม่ดำรงอยู่ในวาทะที่ควรรู้ทั่วถึง 
ไม่ดำรงอยู่ในปฏิปทา
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ดำรงอยู่ในฐานะและอฐานะ 
ดำรงอยู่ในปริกัป 
ดำรงอยู่ในวาทะที่ควรรู้ทั่วถึง 
ดำรงอยู่ในปฏิปทา 
เมื่อเป็นเช่นนี้
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
จะพึงทราบบุคคลว่า ควรพูดหรือไม่ควรพูด
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา 
พูดกลบเกลื่อน 
พูดนอกเรื่องนอกราว 
แสดงความโกรธ 
ความขัดเคือง
และความเสียใจให้ปรากฏ
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ไม่---พูดกลบเกลื่อน 
ไม่พูดนอกเรื่องนอกราว 
ไม่แสดงความโกรธ 
ความขัดเคือง
และความเสียใจให้ปรากฏ 
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จะพึงทราบบุคคลว่า ควรพูดหรือไม่ควรพูด 
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
-
ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา 
พูดฟุ้งเฟ้อ 
พูดวุ่นวาย 
หัวเราะเยาะ 
คอยจับผิด 
เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ไม่พูดฟุ้งเฟ้อ 
ไม่พูดวุ่นวาย 
ไม่หัวเราะเยาะ 
ไม่คอยจับผิด 
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
พึงทราบบุคคลว่า ‪#‎มีอุปนิสัยหรือว่าไม่มีอุปนิสัย‬ 
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
ผู้ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนไม่มีอุปนิสัย
ผู้ที่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนมีอุปนิสัย 
เมื่อเขาเป็นผู้มีอุปนิสัย ย่อมจะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะกำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง 
ย่อมจะละธรรมอย่างหนึ่งย่อมจะทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง 
เมื่อเขารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง
กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่งละธรรมอย่างหนึ่ง 
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง 
ย่อมจะถูกต้องวิมุตติโดยชอบ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
‪#‎การสนทนามีข้อนี้เป็นประโยชน์‬ 
‪#‎การปรึกษาหารือมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬ 
‪#‎อุปนิสัยมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬
‪#‎การเงี่ยโสตลงฟังมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬ 
คือ 
‪#‎จิตหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น‬ ฯ
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๑๘๘/๒๙๐ ข้อที่ ๕๐๗
http://etipitaka.com/read
---