วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 (วันมาฆะบูชา)



‪#‎สุตตะคือกระแสแห่งธรรมถูกต้องบุคคล‬ วิมุตติจากการฟังธรรม
‪#‎ผู้เงี่ยโสตลงฟัง‬ ชื่อว่า ‪#‎เป็นผู้มีอุปนิสัย‬
ประโยชน์ของการประชุมสนทนากัน คือ วิมุตติ
https://www.youtube.com/watch?v=ZssWVzDSBT0&feature=youtu.be
กถาวัตถุสูตร
[๕๐๗] ๖๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ อย่างหนึ่ง 
๓ อย่างเป็นไฉน คือ พูดถ้อย
-
คำปรารภถึงอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้ ๑ 
พูดถ้อยคำปรารภถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้ ๑ 
พูดถ้อยคำปรารภถึงปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลย่อมมีอย่างนี้ ๑ 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
จะพึงทราบบุคคลว่า 
‪#‎ควรพูดหรือไม่ควรพูด‬ ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา 
ไม่เฉลยโดยส่วนเดียว 
ซึ่งปัญหาที่ควรเฉลยโดยส่วนเดียว 
ไม่จำแนกเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกเฉลย 
ไม่สอบถามเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรสอบถามเฉลย 
ไม่หยุดปัญหาที่ควรหยุด 
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
แต่ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา
ย่อมเฉลยโดยส่วนเดียว
ซึ่งปัญหาที่ควรเฉลยโดยส่วนเดียว 
ย่อมจำแนกเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรจำแนก
เฉลย่อมสอบถามเฉลย 
ซึ่งปัญหาที่ควรสอบถามเฉลย 
ย่อมหยุดปัญหาที่ควรหยุด
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
จะพึงทราบบุคคลผู้ควรพูดหรือไม่ควรพูด 
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ไม่ดำรงอยู่ในฐานะและอฐานะ 
ไม่ดำรงอยู่ในปริกัป 
ไม่ดำรงอยู่ในวาทะที่ควรรู้ทั่วถึง 
ไม่ดำรงอยู่ในปฏิปทา
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ดำรงอยู่ในฐานะและอฐานะ 
ดำรงอยู่ในปริกัป 
ดำรงอยู่ในวาทะที่ควรรู้ทั่วถึง 
ดำรงอยู่ในปฏิปทา 
เมื่อเป็นเช่นนี้
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
จะพึงทราบบุคคลว่า ควรพูดหรือไม่ควรพูด
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา 
พูดกลบเกลื่อน 
พูดนอกเรื่องนอกราว 
แสดงความโกรธ 
ความขัดเคือง
และความเสียใจให้ปรากฏ
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ไม่---พูดกลบเกลื่อน 
ไม่พูดนอกเรื่องนอกราว 
ไม่แสดงความโกรธ 
ความขัดเคือง
และความเสียใจให้ปรากฏ 
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จะพึงทราบบุคคลว่า ควรพูดหรือไม่ควรพูด 
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
-
ถ้าบุคคลถูกถามปัญหา 
พูดฟุ้งเฟ้อ 
พูดวุ่นวาย 
หัวเราะเยาะ 
คอยจับผิด 
เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรพูด 
-
แต่ถ้าบุคคลเมื่อถูกถามปัญหา 
ไม่พูดฟุ้งเฟ้อ 
ไม่พูดวุ่นวาย 
ไม่หัวเราะเยาะ 
ไม่คอยจับผิด 
เมื่อเป็นเช่นนี้ 
บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้ควรพูด 
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
พึงทราบบุคคลว่า ‪#‎มีอุปนิสัยหรือว่าไม่มีอุปนิสัย‬ 
ก็ด้วยประชุมสนทนากัน 
ผู้ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนไม่มีอุปนิสัย
ผู้ที่เงี่ยโสตลงฟัง ชื่อว่าเป็นคนมีอุปนิสัย 
เมื่อเขาเป็นผู้มีอุปนิสัย ย่อมจะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมจะกำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง 
ย่อมจะละธรรมอย่างหนึ่งย่อมจะทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง 
เมื่อเขารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง
กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่งละธรรมอย่างหนึ่ง 
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอย่างหนึ่ง 
ย่อมจะถูกต้องวิมุตติโดยชอบ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
‪#‎การสนทนามีข้อนี้เป็นประโยชน์‬ 
‪#‎การปรึกษาหารือมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬ 
‪#‎อุปนิสัยมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬
‪#‎การเงี่ยโสตลงฟังมีข้อนี้เป็นประโยชน์‬ 
คือ 
‪#‎จิตหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น‬ ฯ
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๑๘๘/๒๙๐ ข้อที่ ๕๐๗
http://etipitaka.com/read
---

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น