วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq เราจะปล่อยวางอทุกขมสุขได้อย่างไร



#อนุสัยไม่อาจเกิดเมื่อรู้เท่าทันเวทนาในปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  !



(๑) เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ;



การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป + จักขุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ;



เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.



บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมก อยู่,



อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น;



เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ระทมใจ ย่อมไม่ คร่ำครวญ ย่อมไม่ตีอกร่ำไห้



ย่อมไม่ถึงความหลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น;







เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อม รู้ตามเป็นจริง



ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย



ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนานั้นด้วย



ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย



ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย



ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย,



อนุสัยคืออวิชชา ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.











ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นหนอ ละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาเสียได้แล้ว; บรรเทาปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาเสียได้แล้ว; ถอนอวิชชานุสัย อันเกิดจากอทุกขสุขเวทนาเสียได้แล้ว; เมื่อละอวิชชาเสียได้แล้ว และทำวิชชาให้ เกิดขึ้นได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น; ข้อนี้เป็น ฐานะที่จักมีได้.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  !



(๒) เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (หู + เสียง + โสตวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น; ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  !



(๓) เพราะอาศัยจมูกด้วย   กลิ่นทั้งหลายด้วยจึงเกิดฆานวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก + กลิ่น +ฆานวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน)นี้ได้ นั้น; ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  !



(๔) เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ; ...ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน)นี้ได้ นั้น; ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  !



(๕) เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วยจึงเกิดกายวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (กาย + โผฏฐัพพะ +กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ; ...ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น; ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  !



(๖) เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วยจึงเกิดมโนวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาอันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.



บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่,



อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้)แก่บุคคลนั้น;



เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ระทมใจ ย่อมไม่คร่ำครวญ ย่อมไม่ตีอกร่ำไห้



ย่อมไม่ถึงความหลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น;



เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย)ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย,  อนุสัยคืออวิชชา  ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้)  แก่บุคคลนั้น.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ! บุคคลนั้นหนอ



ละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาเสียได้แล้ว;



บรรเทาปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาเสียได้แล้ว;



ถอนอวิชชานุสัยอันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนาเสียได้แล้ว;



เมื่อละอวิชชาเสียได้แล้ว และทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว



เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น;



ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้, ดังนี้.







ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๔๓-๓๔๖

https://www.youtube.com/watch?v=fG3kQXrjc0c

(ภาษาไทย) อุปริ. ม.๑๔/๓๙๒/๘๒๓.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น