วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

การที่วัดต่างๆ ออกซองกฐินระบุว่าเป็นปัจจัยเพื่อสร้างฯลฯ ถือว่าถูกต้องตาม...



#พระขอของจากโยมที่ไม่ได้ปวารณาไว้ไม่ได้

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

             [๖๔] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหา

เจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

             เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนแล้ว ถึงการ

กำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

             เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้า

เรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

             เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ...  ต้องอาบัติทุกกฏ.

             เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ...  ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

             เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

             [๖๕] ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้ ๑ ภิกษุขอ

เพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง

ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘

https://www.youtube.com/watch?v=jaI50-gdMsw

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq การตั้งจิตอธิษฐาน กับการขอพร เพื่อให้ได้ซึ่งสิ่งที่ปรารถนา ม...



‪#‎อธิษฐานความเพียร‬

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ

ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ)

ในกุศลธรรมทั้งหลาย

และความเป็น ผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี)

ในการทำความเพียร.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่ง

ความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต)

ว่า

“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่,

เนื้อและ เลือดในสรีระจักเหือดแห้ง ไปก็ตามที;

ประโยชน์ใด อันบุคคลจะ บรรลุได้ด้วยกำลัง

ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,

ถ้ายังไม่บรรลุ ประโยชน์นั้นแล้ว

จักหยุด ความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! การตรัสรู้ เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว

ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคัก เขมธรรม

ก็เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วย

ความไม่ประมาท.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ถ้าแม้ พวกเธอ

พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ

(ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า

“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่,

เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้ง ไปก็ตามที;

ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง

ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,

ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว

จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้

แล้วไซร้; ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอ

ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า

อันเป็นประโยชน์ที่ ต้องการของกุลบุตร

ผู้ออกบวชจากเรือน

เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ,

ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม

เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.

ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.

---------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

--

https://www.youtube.com/watch?v=W-a0FI-bxH0

---

#สร้างเหตุให้ถูก

ภูมิชะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมันจึงเที่ยวเสาะหา

น้ำมัน เกลี่ยงาป่นลงในรางแล้วคั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ

ถ้าแม้ ทำความหวังแล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน …

ถ้าแม้ ทำความไม่หวังแล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน ...

ถ้าแม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว เกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน ...

ถ้าแม้ ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้ว เกลี่ยงาป่นลงในรางคั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน

นั่นเพราะเหตุไร

ภูมิชะ ! เพราะเขาสามารถได้น้ำมันโดยวิธีแยบคาย ฉันใด

ภูมิชะ ! ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มี

สัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ …

ถ้าแม้ ทำความหวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล …

ถ้าแม้ ทำความไม่หวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล …

ถ้าแม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล...

ถ้าแม้ ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล… นั่นเพราะเหตุไร

ภูมิชะ ! เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย …ฯ…

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๙/๔๑๕.

---

#การรู้อริยสัจควรแลกเอา #แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี

การรู้อริยสัจควรแลกเอา

แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี

พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี

อย่างนี้ว่า “เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ !

เขาจักแทงท่านด้วยหอกร้อยเล่ม

#ตลอดเวลาเช้า #ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง #ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็น.

ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ

จนมีอายุร้อยปี

มีชีวิตอยู่ร้อยปี ;

โดยล่วงไปแห่งร้อยปี แล้ว

#ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ท่านยังไม่รู้

เฉพาะแล้ว” ดังนี้.



ภิกษุ ท. ! #กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ #ควรจะตกลง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. !

เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคล

ไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว

ดังนั้นเบื้องต้นและที่สุดแห่งการประหารด้วยหอก

ด้วยดาบด้วยหลาวด้วยขวาน

ก็จะไม่ปรากฏ, นี้ฉันใด ;

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น :



เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่

ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์กับด้วยโทมนัสก็หามิได้ ;

แต่ เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่

ว่าเป็ นไปกับด้วยสุขกับด้วยโสมนัสทีเดียว.



อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ

#อริยสัจคือทุกข์

#อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์

#อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

#อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.



ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้

เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็ นเครื่องกระทำให้รู้ว่า

“ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๘.

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น คืออย่างไร?



ผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น



[๗๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น อย่างไร?

ที่ชื่อว่า รักษาผู้อื่น ด้วยการส้องเสพ ด้วยการเจริญ ด้วยการกระทำให้มาก

บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่า รักษาผู้อื่น อย่างนี้แล.



[๗๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตนอย่างไร

ที่ชื่อว่า รักษาตน ด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีจิต

ประกอบด้วยเมตตา ด้วยความ เอ็นดู บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน

อย่างนี้แล.



[๗๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาตน

พึงเสพ สติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น

บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น

บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน.



จบ สูตรที่ ๙

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๑๘๖/๔๖๙ ข้อที่ ๗๖๐-๗๖๔

https://www.youtube.com/watch?v=ru7uVmoZhzo

พุทธวจน faq การขอ อโหสิกรรม หรือ ขอขมา มีในพุทธวจนหรือไม่



อโหสิกรรม แปลว่า ได้มี ได้เป็น..พระศาสดาใช้..อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน
----
ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต.
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้
อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ; ครั้นให้
อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อม
เป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ
เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคย
ถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต
อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่สี่)
เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก
เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน.
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากอทินนาทานแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้
อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ; ครั้น
ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว
ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.
ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สอง เป็นมหาทานรู้จักกันว่า
เป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูก
ทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูก
ทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธาร
แห่งบุญ (อันดับที่ห้า) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุด
อันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
อันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร.
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารแล้วย่อมชื่อว่า
ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มี
ประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มี
ประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อันไม่มีประมาณ.
ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สาม เป็นมหาทาน
รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ
ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจัก
ไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็น
ท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่หก) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อ
ยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อ
ความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๐๘๔
(ไทย)อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๙๑/๑๒๙.
----
พระภัททาลิขอขมาพระพุทธเจ้า
ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันช่วยกันทำจีวรกรรมสำหรับพระผู้มีพระภาค ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดยล่วงไตรมาส. ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ โดยปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวว่า ดูกรภัททาลิผู้มีอายุ จีวรกรรมนี้แล ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำสำหรับพระผู้มีพระภาค ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดยล่วงไตรมาส. ดูกรภัททาลิผู้มีอายุ เราขอเตือน ท่านจงมนสิการความผิดนี้ให้ดีเถิด ความกระทำที่ยากกว่าอย่าได้มีแก่ท่านในภายหลังเลย.
ท่านพระภัททาลิรับคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกอบความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ขอพระผู้มีพระภาคจงรับโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.
ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา
ดูกรภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว
ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็ มิได้แทงตลอดแล้ว.
ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุณีมากด้วยกันเข้าจำพรรษา อยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณีเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.
ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสกมากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสกเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์สิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.
ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสิกามากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสิกาเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.
แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอด ว่าสมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกันเข้าอยู่กาลฝนในพระนครสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้น จักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิสาวกของพระสมณโคดม เป็นพระเถระองค์หนึ่ง ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษเพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.
ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่ออุภโตภาควิมุต เราพึงกล่าวแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่ม ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?
ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่อปัญญาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี เป็นอริยบุคคลชื่อทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?
ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.
ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยนั้น เธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธรรมานุสารี หรือสัทธานุสารี บ้างหรือหนอ?
มิได้เป็นเลย พระเจ้าข้า.
ดูกรภัททาลิ ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่หรือ?
เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.
ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่ เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ.
(ไทย) ปญฺจก. อํ. ๑๓/๑๓๐-๑๓๒/๑๖๒-๑๖๕
---
https://www.youtube.com/watch?v=yXBo9qg9_bA

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการ



คิลายนสูตร ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน พระเจ้ามหานามศากยราช ได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยินมาว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้หม่อมฉันยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า อุบาสกผู้มีปัญญาพึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.

พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา พึงปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า ท่านจงเบาใจเถิดว่า ท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา ครั้นปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการนี้แล้ว

พึงถามอย่างนี้ว่า ท่านมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่หรือ? ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในมารดาและบิดาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยในมารดาและบิดาของเราแล้ว.

อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านยังมีความห่วงใยในบุตรและภริยาอยู่หรือ? ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในบุตรและภริยาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในบุตรและภริยาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยในบุตรและภริยาของเราแล้ว

อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ? ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่า ประณีตกว่า กามอันเป็นของมนุษย์ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากกามอันเป็นของมนุษย์ แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว.

อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทพชั้นจาตุมหาราช แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์เถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว

อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นยามายังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ... พวกเทพชั้นดุสิตยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นยามา ... พวกเทพชั้นนิมมานรดียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดุสิต ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นนิมมานรดี ... พรหมโลกยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้วน้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว จิตของเราน้อมไปในพรหมโลกแล้ว.

อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพรหมโลกแล้ว เรานำจิตเข้าไปในความดับสักกายะแล้ว

ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพไม่กล่าวถึงความต่างอะไรกันของอุบาสก ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี คือ พ้นด้วยวิมุติเหมือนกัน.

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๖/๑๖๒๗-๑๖๓๓
https://www.youtube.com/watch?v=gMKdthaagjY

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq อภิชชาและโทมนัส V sndl 05Mar2011



‪#‎อภิชฌาและโทมนัส‬ คืออะไร
ละความพอใจ ไม่พอใจ ความยินดี ยินร้าน ในกามคุณทั้ง ๕
บางส่วนจาก สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
https://www.youtube.com/watch?v=wSqFESIxQGI
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่ง การชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยาย เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสนั้นเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกามความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความ ดับกาม
เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่ง เวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา
เธอทั้งหลาย พึงทราบสัญญา เหตุ เกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับสัญญา
เธอทั้งหลาย พึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบาก แห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ
เธอทั้งหลาย พึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรมความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับกรรม
เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม นั้น เรา อาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่น ที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อ ว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณในวินัยของพระอริยะเจ้า ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัส คาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วย สามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความ พอใจ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกาม ทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่งกามในเสียงเป็น อย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่งกามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกามเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยัง อัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกามเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกามเพราะผัสสะดับ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ แห่งกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกามเหตุเกิดแห่งกาม ความ ต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็น ที่ดับแห่งกาม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุ เกิดแห่งเวทนา ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุก ขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ นี้เรียกว่าความต่างแห่ง เวทนา วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา ก็ความ ดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริย มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติ ที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิด แห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนาปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อม ทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้ นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯปฏิปทาที่ให้ ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญารสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เหตุเกิดแห่ง สัญญาเป็นไฉน คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่งสัญญา ในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างแห่งสัญญา ก็วิบากแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลย่อมรู้สึกโดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็นผู้มีความ รู้สึกอย่างนั้นนี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ ความดับแห่ง สัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่ง สัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายอาสวะ ๓ ประการ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน คืออาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิด สัตวดิรัจฉานก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษย์โลกก็มี ที่เป็นเหตุให้ ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ การที่บุคคล มีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน คือความดับแห่งอาสวะย่อมเกิด เพราะความดับแห่งอวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อม ทราบชัดอาสวะเหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด พรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เรา ย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่ เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรมความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวก นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ ต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิด แห่งทุกข์ ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์ ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง ก็หรือบางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่ามีความหลงใหลเป็นผล หรือว่ามีการแสวงหาเหตุปลดเปลื้อง ทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์ ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ความดับแห่ง ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งตัณหา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับ แห่งทุกข์ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ฯ
(ไทย)ฉกฺก. อ. ๒๒/๓๖๕-๓๖๙/๓๓๔

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

สนทนาธรรมเช้าเสาร์ที่ 05 มีนาคม 2559



#พระพุทธบัญชาให้แต่งจีวร (พระมีผ้าแค่  ๓ ผืน) ห้ามใช้เป็นผ้าพื้นเดียว ต้องตัดมาเย็บต่อกัน.. เป็นลักษณะความมักน้อย สันโดน..ตามพระศาสดาบัญญัติ 
    [๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ในพระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์
แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางทักขิณาคิรีชนบท 
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นนาของชาวมคธ
ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม 
พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง 
พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ 
พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง 
ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไป ครั้นแล้ว 
รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า 
อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดิน
ขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยมพูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง 
พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนา สั้นๆ 
พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง 
ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่?
    อา. เห็นตามพระพุทธดำรัส พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย
ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?
    อา. สามารถ พระพุทธเจ้าข้า.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ 
ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ 
แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีก 
ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป 
ครั้นแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า 
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทอดพระเนตรจีวร
ที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
            ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา 
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น 
แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์
ได้ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อ
ได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้ากุสิก็ได้ 
ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ 
ทำผ้าชื่ออัฑฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อวิวัฏฏะก็ได้ 
ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ 
ทำผ้าชื่อคีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆยยกะก็ได้ 
และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้
จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา 
สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด 
ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้าอันตรวาสกตัด.
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๕
วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒
หน้าที่ ๑๖๐ ข้อที่ ๑๔๙
---
http://etipitaka.com/read/thai/5/160/?keywords=%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4
----
https://www.youtube.com/watch?v=EZptpCxYuhU&feature=youtu.be

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

01020044 V 20121003 sivalee 3



#เพื่อความสิ้นอาสวะ จะต้องปฏิบัติอย่างไร

#ฌาน ที่มีสัญญา ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ในตัว

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ



เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยทุติยฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยตติยฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยจตุตถฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง;



เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง;



เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง;



เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง;







ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า



“ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น  



เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า?  



ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้  ภิกษุสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม  เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร  มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.  ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร  วิญญาณ  (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่);  เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น  โดยความเป็นของไม่เที่ยง   โดยความเป็นทุกข์  เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา)  เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม(คือขันธ์ทั้งห้า)  เหล่านั้น(อันประกอบด้วยลักษณะ  ๑๑  ประการ  มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ  นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา  เป็นความจางคลาย  เป็นความดับ  เป็นนิพพาน” ดังนี้.  เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น  ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;   ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ  ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพาน ในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ  และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.



ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา  ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง  กะรูปหุ่นดินบ้าง; สมัยต่อมา  เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล  ยิงเร็ว  ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.



ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น  ที่ภิกษุสงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม  เข้าถึงปฐมฌาณอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ (เธอนั้นกำหนดเบญจขันธ์โดยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมตธาตุคือนิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น)  ดังนี้.



ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า



“ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.



(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย ตติยฌาน บ้าง เพราะอาศัยจตุตถฌาน บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมณานข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เองโดยอาศัยข้อความที่กล่าวแล้วข้างบนนี้  จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป  จึงเว้นเสียสำหรับ ทุติยฌาน  ตติยฌาน และจตุตถฌาน; ต่อไปจะข้ามไปกล่าวถึงอรูปสัญญาในลำดับต่อไป :- ).



ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า  “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้น อาสวะ  เพราะอาศัย  อากาสานัญจายตนะบ้าง”



ดังนี้นั้น  เราอาศัยอะไรเล่า?



ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวงเพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่.  ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์  เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ  เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.  เธอดำรงจิตด้วยธรรม  (คือขันธ์เพียงสี่)  เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)



ด้วยการกำหนดว่า   “นั่นสงบระงับ  นั่นประณีต   :   นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง  ธัมมราคะ  ธัมมนันทิ  (อันเกิดจากความพอใจและความเพลินที่ยังละไม่ได้) นั้นๆ  นั่นเอง.



ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา  ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง   กะรูปหุ่นดินบ้าง; สมัยต่อมา  เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล  ยิงเร็ว  ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.



ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น   ที่ภิกษุ   เพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง  เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา  จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ  อันมีการไม่ทำในใจว่า  “อากาศไม่มีที่สุด”  ดังนี้แล้วแลอยู่.  (เธอนั้นกำหนดขันธ์เพียงสี่๒  ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ  มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น  แล้วน้อมจิตไปสู่อมตธาตุคือนิพพาน  ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น  หรือมิฉะนั้นก็เป็นอนาคามี  เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น) ดังนี้.



ภิกษุ ท. !  ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า  “ภิกษุ ท. !  เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง”   ดังนี้นั้น



เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.



(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตนะ บ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะ บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้   ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา  ผิดกันแต่ชื่อแห่งสมาบัติเท่านั้น  ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง  โดยอาศัยข้อความที่กล่าวข้างบนนี้  จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับวิญญาณัญจายตนะและอากิญจัญญายตนะ จนกระทั่งถึงคำว่า .... เราอาศัยข้อความนี้กล่าวแล้ว  อันเป็นคำสุดท้ายของข้อความในกรณีแห่งอากิญจัญญายตนะ.    ครั้นตรัสข้อความในกรณีแห่งอากิญจัญญายตนะจบแล้ว   ได้ตรัสข้อความนี้ต่อไปว่า)



ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล  เป็นอันกล่าวได้ว่า  สัญญาสมาบัติ  มีประมาณเท่าใด



อัญญาปฏิเวธ (การแทงตลอดอรหัตตผล) ก็มีประมาณเท่านั้น.







ภิกษุ ท. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ  กล่าวคือ  เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ  และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ (๗ประการ)  เหล่านั้น นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ  ฉลาดในการออกจากสมาบัติ  จะพึงเข้าสมาบัติ  ออกจากสมาบัติ แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ๓  ดังนี้.







อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๙๑๑-๙๑๖

 (บาลี) นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘/๒๔๐.

---

#ปฏิจจสมุปบาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น



จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว







ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย



เพราะ  อวิชชา         เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร



               เพราะ  สังขาร         เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ



เพราะ  วิญญาณ      เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป



เพราะ  นามรูป         เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ



เพราะ  สฬายตนะ    เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ



เพราะ  ผัสสะ          เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา



เพราะ  เวทนา         เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา



เพราะ  ตัณหา         เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน



เพราะ  อุปาทาน      เป็นปัจจัย จึงมีภพ



เพราะ  ภพ              เป็นปัจจัย จึงมีชาติ



เพราะ  ชาติ            เป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส



ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ







(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒/๔-๕.

---

ภิกษุ ท. ! ถ้าไม่มีราคะ  ไม่มีนันทิ   ไม่มีตัณหา



ในอาหารคือคำข้าว ก็ดี



ในอาหารคือผัสสะ  ก็ดี



ในอาหารคือมโนสัญเจตนา ก็ดี



ในอาหารคือ วิญญาณ ก็ดี  แล้วไซร้,



วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้น ๆ.















วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้  ในที่ใด,



การก้าวลงแห่งนามรูป  ย่อมไม่มี  ในที่นั้น ;  







การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย    ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย  ไม่มีในที่ใด,



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป   ไม่มีในที่ใด,



ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด,  



ภิกษุ ท. !   เราเรียก “ที่” นั้นว่าเป็น “ที่ไม่โศก  ไม่มีธุลี  และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.







ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก. ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา   แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว  จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?



“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์  จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก  พระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. !  ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น  จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?



           “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !    แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น  จักปรากฏที่พื้นดิน  พระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ?



 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก?



“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น  ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้วพระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล :



ภิกษุ ท. ! ถ้าไม่มีราคะ  ไม่มีนันทิ   ไม่มีตัณหา



ในอาหารคือคำข้าว ก็ดี



ในอาหารคือผัสสะ  ก็ดี



ในอาหารคือมโนสัญเจตนา ก็ดี



ในอาหารคือ วิญญาณ ก็ดี  แล้วไซร้,







วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้น ๆ.







วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้  ในที่ใด,



การก้าวลงแห่งนามรูป  ย่อมไม่มี  ในที่นั้น ;  



การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย    ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย  ไม่มีในที่ใด,



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป   ไม่มีในที่ใด,



ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด,  



ภิกษุ ท. !   เราเรียก “ที่” นั้นว่าเป็น “ที่ไม่โศก  ไม่มีธุลี  และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.







 



(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๑-๑๐๒/๒๔๘-๒๔๙.

---

https://www.youtube.com/watch?v=2dfTbFiD-ac