วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน faq การตั้งจิตอธิษฐาน กับการขอพร เพื่อให้ได้ซึ่งสิ่งที่ปรารถนา ม...



‪#‎อธิษฐานความเพียร‬

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ

ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ)

ในกุศลธรรมทั้งหลาย

และความเป็น ผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี)

ในการทำความเพียร.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่ง

ความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต)

ว่า

“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่,

เนื้อและ เลือดในสรีระจักเหือดแห้ง ไปก็ตามที;

ประโยชน์ใด อันบุคคลจะ บรรลุได้ด้วยกำลัง

ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,

ถ้ายังไม่บรรลุ ประโยชน์นั้นแล้ว

จักหยุด ความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! การตรัสรู้ เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว

ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคัก เขมธรรม

ก็เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วย

ความไม่ประมาท.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ถ้าแม้ พวกเธอ

พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ

(ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า

“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่,

เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้ง ไปก็ตามที;

ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง

ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ,

ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว

จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้

แล้วไซร้; ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอ

ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า

อันเป็นประโยชน์ที่ ต้องการของกุลบุตร

ผู้ออกบวชจากเรือน

เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ,

ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม

เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.

ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.

---------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

--

https://www.youtube.com/watch?v=W-a0FI-bxH0

---

#สร้างเหตุให้ถูก

ภูมิชะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมันจึงเที่ยวเสาะหา

น้ำมัน เกลี่ยงาป่นลงในรางแล้วคั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ

ถ้าแม้ ทำความหวังแล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน …

ถ้าแม้ ทำความไม่หวังแล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน ...

ถ้าแม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว เกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน ...

ถ้าแม้ ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้ว เกลี่ยงาป่นลงในรางคั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน

นั่นเพราะเหตุไร

ภูมิชะ ! เพราะเขาสามารถได้น้ำมันโดยวิธีแยบคาย ฉันใด

ภูมิชะ ! ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มี

สัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ …

ถ้าแม้ ทำความหวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล …

ถ้าแม้ ทำความไม่หวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล …

ถ้าแม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล...

ถ้าแม้ ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล… นั่นเพราะเหตุไร

ภูมิชะ ! เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย …ฯ…

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๙/๔๑๕.

---

#การรู้อริยสัจควรแลกเอา #แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี

การรู้อริยสัจควรแลกเอา

แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี

พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี

อย่างนี้ว่า “เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ !

เขาจักแทงท่านด้วยหอกร้อยเล่ม

#ตลอดเวลาเช้า #ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง #ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็น.

ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ

จนมีอายุร้อยปี

มีชีวิตอยู่ร้อยปี ;

โดยล่วงไปแห่งร้อยปี แล้ว

#ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ท่านยังไม่รู้

เฉพาะแล้ว” ดังนี้.



ภิกษุ ท. ! #กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ #ควรจะตกลง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. !

เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคล

ไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว

ดังนั้นเบื้องต้นและที่สุดแห่งการประหารด้วยหอก

ด้วยดาบด้วยหลาวด้วยขวาน

ก็จะไม่ปรากฏ, นี้ฉันใด ;

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น :



เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่

ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์กับด้วยโทมนัสก็หามิได้ ;

แต่ เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่

ว่าเป็ นไปกับด้วยสุขกับด้วยโสมนัสทีเดียว.



อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ

#อริยสัจคือทุกข์

#อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์

#อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

#อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.



ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้

เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็ นเครื่องกระทำให้รู้ว่า

“ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๘.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น