วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

01020044 V 20121003 sivalee 3



#เพื่อความสิ้นอาสวะ จะต้องปฏิบัติอย่างไร

#ฌาน ที่มีสัญญา ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ในตัว

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ



เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยทุติยฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยตติยฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยจตุตถฌาณบ้าง;



เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง;



เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง;



เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง;



เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง;







ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า



“ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น  



เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า?  



ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้  ภิกษุสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม  เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร  มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.  ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร  วิญญาณ  (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่);  เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น  โดยความเป็นของไม่เที่ยง   โดยความเป็นทุกข์  เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา)  เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม(คือขันธ์ทั้งห้า)  เหล่านั้น(อันประกอบด้วยลักษณะ  ๑๑  ประการ  มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ  นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา  เป็นความจางคลาย  เป็นความดับ  เป็นนิพพาน” ดังนี้.  เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น  ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;   ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ  ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพาน ในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ  และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.



ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา  ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง  กะรูปหุ่นดินบ้าง; สมัยต่อมา  เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล  ยิงเร็ว  ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.



ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น  ที่ภิกษุสงัดจากกาม  สงัดจากอกุศลธรรม  เข้าถึงปฐมฌาณอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ (เธอนั้นกำหนดเบญจขันธ์โดยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมตธาตุคือนิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น)  ดังนี้.



ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า



“ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.



(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย ตติยฌาน บ้าง เพราะอาศัยจตุตถฌาน บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมณานข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เองโดยอาศัยข้อความที่กล่าวแล้วข้างบนนี้  จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป  จึงเว้นเสียสำหรับ ทุติยฌาน  ตติยฌาน และจตุตถฌาน; ต่อไปจะข้ามไปกล่าวถึงอรูปสัญญาในลำดับต่อไป :- ).



ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า  “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้น อาสวะ  เพราะอาศัย  อากาสานัญจายตนะบ้าง”



ดังนี้นั้น  เราอาศัยอะไรเล่า?



ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวงเพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่.  ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์  เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ  เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.  เธอดำรงจิตด้วยธรรม  (คือขันธ์เพียงสี่)  เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)



ด้วยการกำหนดว่า   “นั่นสงบระงับ  นั่นประณีต   :   นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง  ธัมมราคะ  ธัมมนันทิ  (อันเกิดจากความพอใจและความเพลินที่ยังละไม่ได้) นั้นๆ  นั่นเอง.



ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา  ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง   กะรูปหุ่นดินบ้าง; สมัยต่อมา  เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล  ยิงเร็ว  ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.



ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น   ที่ภิกษุ   เพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง  เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา  จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ  อันมีการไม่ทำในใจว่า  “อากาศไม่มีที่สุด”  ดังนี้แล้วแลอยู่.  (เธอนั้นกำหนดขันธ์เพียงสี่๒  ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ  มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น  แล้วน้อมจิตไปสู่อมตธาตุคือนิพพาน  ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น  หรือมิฉะนั้นก็เป็นอนาคามี  เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น) ดังนี้.



ภิกษุ ท. !  ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า  “ภิกษุ ท. !  เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง”   ดังนี้นั้น



เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.



(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตนะ บ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะ บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้   ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา  ผิดกันแต่ชื่อแห่งสมาบัติเท่านั้น  ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง  โดยอาศัยข้อความที่กล่าวข้างบนนี้  จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับวิญญาณัญจายตนะและอากิญจัญญายตนะ จนกระทั่งถึงคำว่า .... เราอาศัยข้อความนี้กล่าวแล้ว  อันเป็นคำสุดท้ายของข้อความในกรณีแห่งอากิญจัญญายตนะ.    ครั้นตรัสข้อความในกรณีแห่งอากิญจัญญายตนะจบแล้ว   ได้ตรัสข้อความนี้ต่อไปว่า)



ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล  เป็นอันกล่าวได้ว่า  สัญญาสมาบัติ  มีประมาณเท่าใด



อัญญาปฏิเวธ (การแทงตลอดอรหัตตผล) ก็มีประมาณเท่านั้น.







ภิกษุ ท. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ  กล่าวคือ  เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ  และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ (๗ประการ)  เหล่านั้น นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ  ฉลาดในการออกจากสมาบัติ  จะพึงเข้าสมาบัติ  ออกจากสมาบัติ แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ๓  ดังนี้.







อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๙๑๑-๙๑๖

 (บาลี) นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘/๒๔๐.

---

#ปฏิจจสมุปบาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น



จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว







ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย



เพราะ  อวิชชา         เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร



               เพราะ  สังขาร         เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ



เพราะ  วิญญาณ      เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป



เพราะ  นามรูป         เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ



เพราะ  สฬายตนะ    เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ



เพราะ  ผัสสะ          เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา



เพราะ  เวทนา         เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา



เพราะ  ตัณหา         เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน



เพราะ  อุปาทาน      เป็นปัจจัย จึงมีภพ



เพราะ  ภพ              เป็นปัจจัย จึงมีชาติ



เพราะ  ชาติ            เป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส



ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ







(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒/๔-๕.

---

ภิกษุ ท. ! ถ้าไม่มีราคะ  ไม่มีนันทิ   ไม่มีตัณหา



ในอาหารคือคำข้าว ก็ดี



ในอาหารคือผัสสะ  ก็ดี



ในอาหารคือมโนสัญเจตนา ก็ดี



ในอาหารคือ วิญญาณ ก็ดี  แล้วไซร้,



วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้น ๆ.















วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้  ในที่ใด,



การก้าวลงแห่งนามรูป  ย่อมไม่มี  ในที่นั้น ;  







การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย    ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย  ไม่มีในที่ใด,



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป   ไม่มีในที่ใด,



ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด,  



ภิกษุ ท. !   เราเรียก “ที่” นั้นว่าเป็น “ที่ไม่โศก  ไม่มีธุลี  และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.







ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก. ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา   แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว  จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?



“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์  จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก  พระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. !  ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น  จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?



           “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !    แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น  จักปรากฏที่พื้นดิน  พระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ?



 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก?



“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น  ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้วพระเจ้าข้า !”







ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล :



ภิกษุ ท. ! ถ้าไม่มีราคะ  ไม่มีนันทิ   ไม่มีตัณหา



ในอาหารคือคำข้าว ก็ดี



ในอาหารคือผัสสะ  ก็ดี



ในอาหารคือมโนสัญเจตนา ก็ดี



ในอาหารคือ วิญญาณ ก็ดี  แล้วไซร้,







วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้น ๆ.







วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้  เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้  ในที่ใด,



การก้าวลงแห่งนามรูป  ย่อมไม่มี  ในที่นั้น ;  



การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย    ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย  ไม่มีในที่ใด,



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป   ไม่มีในที่ใด,



ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ;



ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด,  



ภิกษุ ท. !   เราเรียก “ที่” นั้นว่าเป็น “ที่ไม่โศก  ไม่มีธุลี  และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.







 



(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๑-๑๐๒/๒๔๘-๒๔๙.

---

https://www.youtube.com/watch?v=2dfTbFiD-ac

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น