วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความจริงของอุปาทาน ขันธ์ห้า(เสียงสาธยายพระสูตรโดยภิกขุเอเอ)(แสดงธรรมโดยท...





การปล่อยวางอุปาทาน ขันธ์ห้า(เสียงสาธยายพระสูตรโดยภิกขุเอเอ)(แสดงธรรมโดยท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์) 
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=Y5ZX1oq6lGE
คลิปเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/100012502933592/videos/252945745132188/
#ขันธ์๕
#อุปาทานขันธ์๕
#ที่ตั้้งแห่งอุปาทานขันธ์๕
#อุปาทานขันธสูตร
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑ เวทนูปาทานักขันธ์ ๑ สัญญูปาทานักขันธ์ ๑ สังขารูปาทานักขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ อุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯ 
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)
--------------------
พุทธพจน์ #แสดงขันธ์ ๕ #และอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญจขันธสูตร
[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)
--------------------------
"ภิกษุทั้งหลาย 
เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 
และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
http://etipitaka.com/read/thai/17/47/
------------
#สิ่ง #สิ่งหนึ่ง
ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้:“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง 
ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง 
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่ม­ีที่สุด 
แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดย­รอบ,นั้นมีอยู่. 
ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง”
นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ.
นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”.
บาลี เกวัฏฏสูตร สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓. 
ตรัสแก่เกวัฏฏะคหบดี ที่ปาวาริกัมพวัน เมืองนาลันทา. 
---
#สัตว์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้, 
อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า พระเจ้าข้า 
ราธะ !
ฉันทะ (ความพอใจ) 
ราคะ (ความกําหนัด) 
นันทิ (ความเพลิน) 
ตัณหา (ความอยาก)
ใดๆ มีอยูใน
#รูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น 
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้.
ราธะ ! 
ฉันทะ 
ราคะ 
นันทิ 
ตัณหา
ใดๆ มีอยูใน
#เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์) 
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น 
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! 
ฉันทะ 
ราคะ 
นันทิ 
ตัณหา
ใดๆ มีอยู่ใน
#สัญญา (ความหมายรู้) 
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น 
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! 
ฉันทะ 
ราคะ 
นันทิ 
ตัณหา
ใดๆ มีอยู่ใน
#สังขารทั้งหลาย (ความปรุงแต่ง) 
เพราะการติดแล้ว 
ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น 
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! 
ฉันทะ 
ราคะ 
นันทิ 
ตัณหา
ใดๆ มีอยูใน
#วิญญาณ 
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น 
เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว์” ดังนี้แล.
พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๒๓.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๑/๓๖๗.
---
-
วิญญาณหลุดออกจาก 4 ธาตุ ก็ไม่สามารถปรุงแต่งรูปนามได้
#
เมื่อหลุดพ้นก็ตั้งมั่น..อะไรตั้งมั่น..(((สิ่งๆ หนึ่ง)))
---
ภิกษุทั้งหลาย ! 
ถ้าราคะในรูปธาตุ 
ในเวทนาธาตุ 
ในสัญญาธาตุ 
ในสังขารธาตุ 
ในวิญญาณธาตุ 
เป็นสิ่งที่ ภิกษุละได้แล้ว; 
-
เพราะละราคะได้ 
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง 
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี, 
-
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม 
หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง, 
-
เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น, 
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง, 
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว, 
เมื่อไม่หวั่นไหว 
ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.
-
ย่อมรู้ชัดว่า 
“ชาตินี้สิ้นแล้ว 
พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว, 
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว, 
กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
-
ตามรอยธรรม หน้า ๔๗
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕ 
--- 
http://etipitaka.com/read/thai/17/53/
--
ประมาณนาทีที่ 15.30 
(((จิต มโน วิญญาณ)))....กับ...(((สัตว์)))..
นวสูตร
......... กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา 
วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช 
ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง 
-
((วิญญาณ))...ประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลวของ..(((สัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ)))) .....
-
ด้วยประการฉะนี้ 
จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก............
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๒๑๑ ข้อที่ ๕๑๖
---
http://etipitaka.com/read/thai/20/211/
#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา
กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..
17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube;https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข 
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน 
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว 
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา 
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว 
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต 
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม 
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม 
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง 
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต 
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ 
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย 
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม 
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ 
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์ 
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น 
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม. 
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐. 
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น