วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

สัตว์ยึดขันธ์๕ :ผู้มีอุปาทานคือสัตว์:อาการอุปาทานคือสังโยชน์:ที่ตั้งของอ...



#สัตว์ยึดขันธ์๕ :ผู้มีอุปาทานคือสัตว์:อาการอุปาทานคือสังโยชน์:ที่ตั้งของอุปาทานคือขันธ์ ๕: พระอาจารย์เมตตาเชื่่อมโยงพระสูตร(อาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 61)
link fb พระสูตร
https://www.facebook.com/BuddhawajanaBn.312FantaChaleeporn/videos/1887212824921352/
ฟังพุทธวจนเนืองๆ ไปแต่ทางเจริญไม่ไปทางเสื่อมถึงแต่ความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม(ฟังนำไปปฏิบัติพระพุทธเจ้าพูดจากการปฏิบัติของท่านเอง)
(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๗๙/๑๔๘👼👼👼
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=FUqCTCMEc5Y
👼👼👼สัตว์ยึดขันธ์ ๕👼👼👼
สัตว์(ผู้ยึดติด)มี(ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา=สังโยชน์=อุปาทาน)ในขันธ์ ๕(ที่ตั้งของสังโยชน์=ที่ตั้งอุปาทาน)😊😊😊
💕💕💕สัตว์ - ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้งห้า💕💕💕
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ที่เรียกกันว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้
อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า ?
ราธะ !
( ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความอยาก )
ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา
ใด ๆ มีอยู่ในรูป
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้
ราธะ !
( ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความอยาก )
ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา
ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้
ราธะ !
( ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความอยาก )
ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา
ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้
ราธะ !
( ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความอยาก )
ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา
ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้
ราธะ !
( ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความอยาก )
ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา
ใด ๆ มีอยู่ในวิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้
( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒-๒๓๓/๓๖๗ )
👼👼👼
💕💕💕อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน
( ขันธ์ห้า )💕💕💕
ภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นอย่างไร ?
อุปาทานเป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย !
รูป เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในรูป
ชื่อว่า อุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย !
เวทนา เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา
ชื่อว่า อุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย !
สัญญา เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา
ชื่อว่า อุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย !
สังขาร เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร
ชื่อว่า อุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณ เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ
ชื่อว่า อุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย !
ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ นี้เรียกว่า
อุปาทาน
( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒-๒๐๓/๓๐๙ )
👼👼👼
💕💕💕ที่ตั้งของสังโยชน์ และสังโยชน์💕💕💕
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นอย่างไร
และสังโยชน์เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
(ฉนฺทราคะ) นี้เรียกว่า สังโยชน์.
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘.
(ในสูตรอื่นทรงแสดง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ด้วยอายตนะภายในหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๕๙.
และอายตนะภายนอกหก-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๕/๑๘๙. -ผู้รวบรวม)
👼👼👼
ฟังพุทธวจนเนืองๆ ไปแต่ทางเจริญไม่ไปทางเสื่อมถึงแต่ความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม(ฟังนำไปปฏิบัติพระพุทธเจ้าพูดจากการปฏิบัติของท่านเอง)
(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๗๙/๑๔๘👼👼👼

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น