สุขใจ ทุกข์ใจ หรือ เฉยๆ ผู้ได้สดับจะมีอุบายเครื่องสลัดออกไปพ้นได้แล้ว
Buddhakos media งานถวายผ้ากฐินบ่ายวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ ศ 2562
CR. Buddhakos media งานถวายผ้ากฐินบ่ายวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ ศ 2562
https://www.youtube.com/watch?v=EtIUpMoh5nk&t=10s
🙏🙏🙏
ตติยฌาน
เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑
วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑
หน้าที่ ๕ ข้อที่ ๓
http://etipitaka.com/read/thai/1/5/?keywords=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B2
🙏🙏🙏
สฬายตนวิภังคสูตร โดยละเอียด ((วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559))
#ผัสสะเป็นปัจจัย #จึงเกิดเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลอาศัยจักษุ(อายตนะภายใน) และรูป(อายตนะภายนอก)
เกิดจักษุวิญญาณ(วิญญาณ ๖)
-------
ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ คือผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)
เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา)
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา)
(ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวธรรม)
(ฉฉักกสูตร, ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)
---
คลิปยูทูป
https://youtu.be/WScZpPkJWF4
๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)
[๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
-
[๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
พวกเธอพึงทราบ
อายตนะภายใน ๖
อายตนะภายนอก ๖
หมวดวิญญาณ ๖
หมวดผัสสะ ๖
ความนึกหน่วงของใจ ๑๘
ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖
ใน ๓๖ นั้น
พวกเธอจงอาศัย
ทาง ดำเนินของสัตว์นี้
ละทางดำเนินของสัตว์นี้
และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
ที่พระอริยะเสพ
ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
อันเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์ ฯ
-
[๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ได้แก่
-
อายตนะคือจักษุ
อายตนะคือโสต
อายตนะคือฆานะ
อายตนะคือชิวหา
อายตนะคือกาย
อายตนะคือมโน
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบอายตนะภายใน ๖
นั่น
เราอาศัยอายตนะดังนี้
กล่าวแล้ว ฯ
-
[๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายนอก ๖
นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่
-
อายตนะคือรูป
อายตนะคือเสียง
อายตนะคือกลิ่น
อายตนะคือรส
อายตนะคือโผฏฐัพพะ
อายตนะคือธรรมารมณ์
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าพึงทราบอายตนะภายนอก ๖
นั่น
เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
--
[๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖
นั่น
เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่
-
จักษุวิญญาณ
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖
นั่นเราอาศัยวิญญาณดังนี้
กล่าวแล้ว ฯ
--
[๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบหมวดผัสสะ ๖
นั่น
เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่
-
จักษุสัมผัส
โสตสัมผัส
ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส
มโนสัมผัส
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น
เราอาศัยสัมผัสดังนี้กล่าวแล้ว ฯ
-
[๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘
นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ
เพราะ
เห็นรูปด้วยจักษุ
ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ฉะนี้
เป็นความนึกหน่วง
ฝ่ายโสมนัส ๖
ฝ่ายโทมนัส ๖
ฝ่าย อุเบกขา ๖
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘
นั่น
เราอาศัยความนึกหน่วงดังนี้
กล่าวแล้ว ฯ
-
[๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖
นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ
โสมนัสอาศัยเรือน ๖
โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
โทมนัสอาศัยเรือน ๖
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖
ฯ
-
[๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น
โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ
หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว
ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
โสมนัสอาศัยเรือน
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
--
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
ประกอบด้วยโลกามิสโดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อนอันล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ
-
[๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น
โสมนันอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ
-
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล
แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
โสมนัสอาศัย เนกขัมมะ
เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ
-
[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจ
เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
ประกอบด้วยโลกามิส
โดยเป็นของอันตนไม่ได้
เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้
เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้วแปรปรวนไปแล้ว
ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่น
นี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
-
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว
ย่อมเกิดโทมนัส
โทมนัสเช่นนี้นี่ เราเรียกว่า
โทมนัสอาศัยเรือน
เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ
-
[๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
คือ
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แล้วย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน อนุตตรวิโมกข์
ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า
ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
โทมนัสเช่นนี้นี่เรา
เรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
-
- บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของเสียงทั้งหลาย นั่นแล ...
-
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของกลิ่นทั้งหลาย นั่นแล ...
-
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรสทั้งหลาย นั่นแล ...
-
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของโผฏฐัพพะ ทั้งหลายนั่นแล ... -
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของธรรมารมณ์ ทั้งหลายนั่นแล
แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า
ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
เหล่านี้โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ
-
[๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส
ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น
ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
เป็นคนหนาแน่นอุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลย
ธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้
อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ
-
[๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น
ไม่ล่วงเลยรูปไปได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
-
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
-
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
-
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
--
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของโผฏฐัพพะ ทั้งหลายนั่นแล ...
-
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล
แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น
อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ๖
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖
นั่น เราอาศัยทาง ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
-
[๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖
นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้
ละทางดำเนินของสัตว์นี้
นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
นั้นๆ แล้วละ คือ
ล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖
นั้นๆ อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้
เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลายใน ๓๖ ประการนั้น
พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัส
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆแล้วละ
คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ โทมนัสนั้นๆ ได้
เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ประการนั้น
พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละคือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้
เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
พวกเธอจงอาศัย คือ อิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้
เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ
-
[๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยอารมณ์ต่างๆก็มีอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ
อุเบกขา ที่มีในรูป
ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
นี้อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยอารมณ์ต่างๆ
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน
คือ อุเบกขาที่มี
อาศัยอากาสานัญจายตนะ
อาศัยวิญญาณัญจายตนะ
อาศัยอากิญจัญญายตนะ
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง
พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ
คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี ความเป็นต่างๆ
อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย
คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ
คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น
พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้
ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง
ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
-
[๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
ที่ พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ฯ
-
[๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
เหล่าสาวกของศาสดานั้น
ย่อมไม่ฟังด้วยดี
ไม่เงี่ยโสตสดับ
ไม่ตั้งจิตรับรู้ และ
ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม
ไม่เสวยความชื่นชม
และไม่ระคายเคือง
ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน หมู่ ฯ
-
[๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
เหล่าสาวกของศาสดานั้น
บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
บางพวกย่อมฟังด้วยดี
เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้
ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในข้อนั้นตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม
ไม่เสวยความชื่นชม
ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม
ไม่เสวยความไม่ชื่นชม
เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว
เป็นผู้วางเฉย
ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒
ที่พระอริยะเสพซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ
-
[๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
เหล่าสาวกของศาสดานั้นย่อมฟังด้วยดี
เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้
ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม
และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดา
ควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ
-
[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี
ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ช้างที่ควรฝึก
อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ
ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก
หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้
ม้าที่ ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน
คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก
หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้
โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ ฝึกโคขับให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน
คือ ทิศตะวันออก หรือทิศ ตะวันตก หรือทิศเหนือ
หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก
อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
-
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง๘ ทิศ คือ
ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้นี้ทิศที่ ๑
ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน
ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒
ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓
ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา
ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจ
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔
ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕
ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะ
อยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง
เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖
ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗
ย่อมเข้าสัญญา เวทยิตนิโรธอยู่
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก
อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่งย่อมวิ่งไปได้
ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยม
กว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
_______________
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๓๐๑ ข้อที่ ๖๑๗ - ๖๓๗
---
http://etipitaka.com/read/thai/14/301/…
---
🙏🙏🙏
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น