วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

มโนปวิจารคือ เวทนาทางจิต หมายความว่าอย่างไร Buddhakos media งานถวายผ้ากฐ...

                                             มโนปวิจารคือ เวทนาทางจิต หมายความว่าอย่างไร
Buddhakos media งานถวายผ้ากฐินบ่ายวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ ศ 2562
CR. Buddhakos media งานถวายผ้ากฐินบ่ายวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ ศ 2562 https://www.youtube.com/watch?v=EtIUpMoh5nk&t=10s

🙏🙏🙏 🙏🙏🙏
สฬายตนวิภังคสูตร โดยละเอียด ((วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559))

 #ผัสสะเป็นปัจจัย #จึงเกิดเวทนา 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(อายตนะภายใน)
และรูป(อายตนะภายนอก) เกิดจักษุวิญญาณ(วิญญาณ ๖)

 -------
 ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ คือผัสสะ 
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) 
เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา)
 มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา)
 (ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวธรรม)
 (ฉฉักกสูตร, ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)

 --- คลิปยูทูป
 https://youtu.be/WScZpPkJWF4

 ๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)
 [๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
 อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว 
พระผู้มี พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
 พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น
 จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
 ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ฯ -

 [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
 พวกเธอพึงทราบ

อายตนะภายใน ๖
 อายตนะภายนอก ๖
 หมวดวิญญาณ ๖
 หมวดผัสสะ ๖
 ความนึกหน่วงของใจ ๑๘
 ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น
พวกเธอจงอาศัย ทาง ดำเนินของสัตว์นี้
 ละทางดำเนินของสัตว์นี้

 และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ 
อันเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
 ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
 นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์ ฯ -

 [๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่

 - อายตนะคือจักษุ
 อายตนะคือโสต
 อายตนะคือฆานะ
 อายตนะคือชิวหา
 อายตนะคือกาย
 อายตนะคือมโน

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น
เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ

 อายตนะภายนอก ๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ -

 อายตนะคือรูป
 อายตนะคือเสียง
 อายตนะคือกลิ่น
 อายตนะคือรส
 อายตนะคือโผฏฐัพพะ
 อายตนะคือธรรมารมณ์

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าพึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น
เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ --

 [๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น
เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ -

 จักษุวิญญาณ
 โสตวิญญาณ
 ฆานวิญญาณ
 ชิวหาวิญญาณ
 กายวิญญาณ
 มโนวิญญาณ

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่นเราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -- 

[๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น
เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ -

 จักษุสัมผัส
 โสตสัมผัส
 ชิวหาสัมผัส
 กายสัมผัส
 มโนสัมผัส

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยสัมผัสดังนี้กล่าวแล้ว ฯ - 

[๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

** เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
 นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
 นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

** เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
** เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
** เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
** เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
** เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

 ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็น   **ที่ตั้งแห่งโสมนัส
 นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็น               **ที่ตั้งแห่งโทมนัส
 นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็น               **ที่ตั้งแห่งอุเบกขา

ฉะนี้ เป็นความนึกหน่วง
 ***ฝ่ายโสมนัส ๖
 ***ฝ่ายโทมนัส ๖
 ***ฝ่าย อุเบกขา ๖

 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น
เราอาศัยความนึกหน่วงดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

 โสมนัสอาศัยเรือน ๖
 โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
 โทมนัสอาศัยเรือน ๖
 อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖

ฯ - [๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น
 โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ

 บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ 
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ 
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ
 หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน 
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว
 ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
 โสมนัสอาศัยเรือน

 บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ... 
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... 
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ... 
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...

 -- บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน 
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ 
ประกอบด้วยโลกามิสโดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ 
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อนอันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว
ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
โสมนัสอาศัยเรือน

 เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ - 
[๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น
โสมนันอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
 แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
 รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
 โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
 โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ

 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ... 
-บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล 

แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
 ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา 
ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า
 โสมนัสอาศัย เนกขัมมะ

 เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ - 
[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ
- บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
 อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้
 เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้ เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้วแปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส
โทมนัสเช่น นี้นี่เราเรียกว่า
โทมนัสอาศัยเรือน

 - บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
- บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
- บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ... 
-บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ... 
-บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์
ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ 
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ 
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อนอันล่วงไปแล้ว
 ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส
โทมนัสเช่นนี้นี่ เราเรียกว่า
 โทมนัสอาศัยเรือน

เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ -
 [๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
 คือ

-บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
 แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า 
รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
 มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
 แล้วย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
 เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน อนุตตรวิโมกข์ 
ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
 ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
 โทมนัสเช่นนี้นี่เรา เรียกว่า
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของเสียงทั้งหลาย นั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของกลิ่นทั้งหลาย นั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรสทั้งหลาย นั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของโผฏฐัพพะ ทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของธรรมารมณ์ ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น 
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
 ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
 เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ 
ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
 ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
 โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

 เหล่านี้โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ -
 [๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น
อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
 คือ

เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
 เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น 
เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน

 -เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
- เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
- เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
- เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
- เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

 ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
 ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ 
เป็นคนหนาแน่นอุเบกขาเช่นนี้นั้น
ไม่ล่วงเลย ธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน

เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ -
 [๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน
 คือ
 บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล
 แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

 รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
 ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น
 ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย
 และความดับของรสทั้งหลายนั่นแล ...
- บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของโผฏฐัพพะ ทั้งหลายนั่นแล ...
 - บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย 
และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล 

แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
 ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น 
อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้เพราะฉะนั้น
 เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

 เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ๖
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น
เราอาศัยทาง ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -
 [๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น
พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้
 ละทางดำเนินของสัตว์นี้

 นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย
คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือ ล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ

อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ
 อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ โทมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้

 - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 แล้วละคือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆได้
 เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น
 พวกเธอจงอาศัย คือ อิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
 อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้
 เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ -

 [๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆก็มี
อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน
คือ อุเบกขา ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
 นี้อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
 อาศัยอารมณ์ต่างๆ

 ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ
อุเบกขาที่มี
 อาศัยอากาสานัญจายตนะ
 อาศัยวิญญาณัญจายตนะ
 อาศัยอากิญจัญญายตนะ
 อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
 นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง
 พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
 อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี ความเป็นต่างๆ
 อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
 อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น
อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
 เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า

ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น
 พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้
 ละทางดำเนินของสัตว์นี้
นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
 ที่ พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น
 เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ฯ -

 [๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู
 แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
 นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
 ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
และ ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
 ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม
 และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑
 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน หมู่ ฯ - 

[๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
 ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
 อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
 นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
 เหล่าสาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี
 ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
 และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
 บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา - 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม
 ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม 
เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว
 เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒
 ที่พระอริยะเสพซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า
 เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ -

 [๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
 ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
 อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
 นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ 
เหล่าสาวกของศาสดานั้นย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ 
ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
 ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่

 - ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓
 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ 
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดา
 ควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ - 

[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว -

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง
 ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก
หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่ ควรฝึก
อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน
 คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ 
โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ ฝึกโคขับให้วิ่ง
 ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศ ตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้

แต่บุรุษที่ควรฝึก
 อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
 - ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง๘ ทิศ คือ
 ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้นี้ทิศที่ ๑

 ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒ 

ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓

 ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจ
 นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔

 ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ 
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕

 ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะ อยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง 
เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ 

ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่
 เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗

 ย่อมเข้าสัญญา เวทยิตนิโรธอยู่
 เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก
 อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่งย่อมวิ่งไปได้ ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้
 ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก
 บุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยม กว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
 นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
 ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
 พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล ฯ
 จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
 _______________ --
 พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
 สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
 หน้าที่ ๓๐๑ ข้อที่ ๖๑๗ - ๖๓๗ ---
 http://etipitaka.com/read/thai/14/301/…
 --- 🙏🙏🙏

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น