วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน สัตบุรุษ.จะรู้จัก.สัตบุรุษ และ อสัตบุรุษ. และ .หลักการติเตียนและสรรเสริญ


#หลักการติเตียน สรรเสริญ บุคคล

ดูก่อนโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้

มีปรากฏอยู่ในโลก คือ

---

ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่)

ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

---

ผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร (แต่)

ไม่ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑

----

ผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร

ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

----

ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร

ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

----

“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้

บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร

และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร นี้

เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้

-----

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาล

ในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”

-----

(ไทย) จตุกฺก. อํ ๒๑/๙๙/๑๐๐.

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การกล่าว อาราธนา พระสงฆ์ แสดงธรรม **พุทธวจน**



การกล่าว อาราธนา พระสงฆ์ แสดงธรรม **พุทธวจน**

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต

เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ

ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;

เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน

จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า

“ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.

-

ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.

ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้,

ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้

ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒

**********

จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน

...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป

เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน

เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล

เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย



...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น

งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย

...ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ

ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง



สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่

สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม

สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่ ... .



-บาลี มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน ถ้ามีคนมาด่าเรา โกรธเรา เราควรปฏิบัติตอบอย่างไรดี





"ถ้ามีคนมาด่าเรา โกรธเรา เราควรปฏิบัติตอบอย่างไรดี
หลังฉัน ช่วงที่หนึ่ง วัดนาป่าพง อันตรายจะมีกับบุคคลที่มีอกุศลวิตก
https://www.youtube.com/watch?v=wVLZF...
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว 
ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลนั้นแหละ 
เพราะการโกรธตอบนั้น 
บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว 
ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก 
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว 
เป็นผู้มีสติ
สงบเสียได้ 
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย 
https://www.facebook.com/fata.chalee/...
-

#เมื่อโดนโกรธ #เมื่อโดนด่า
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว 
มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว 
เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน 
-
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว 
ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลนั้นแหละ 
เพราะการโกรธตอบนั้น 
บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว 
ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก 
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว 
เป็นผู้มีสติ
สงบเสียได้ 
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย 
-
คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น 
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย 
คือของตนและของบุคคลอื่น 
ชนทั้งหลาย
ผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า 
เป็นคนเขลา
ดังนี้ ฯ
--
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน แม่ป้อมรายงานพอจ.เรื่องโรงเรียนที่เปลี่ยน เป็นพุทธวจน แล้วผลการเรียนของเ...



แม่ป้อมรายงานพอจ.เรื่องโรงเรียนที่เปลี่ยน
เป็นพุทธวจน 100% ทั้งครู เด็กนักเรียน ภารโรง แม่ครัว เด็กนักเรียนท่องพระสูตร แล้วผลการเรียนของเด็กดีขึ้น 4.00 ค่อนโรงเรียนเลย..😇

พุทธวจน การพยากรณ์อรหันตผลโดยไม่น้อมเข้ามาในตน



#การพยากรณ์อรหันตผลโดยไม่น้อมเข้ามาใส่ตน

พรรณนาคุณของพระขีณาสพ
[๓] ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่า ถ้ากระไร

#เราพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาค 
แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค ว่าดังนี้:-
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ของตนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลส
เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่
เหตุ ๖ สถาน คือ
๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา
๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด
๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน
๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน
๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ
๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงไหล
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัย
คุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึง
เห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่า
ตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา โดยที่ตน
ปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ
จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธ-
เจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้
ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึง
น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความ
เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตน
ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้
พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควร
ทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความ
ไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจ
ไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจ
ไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
... จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจ
ไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ
ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้น
อันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็น
ความเกิดและความดับของจิตนั้น
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มี
จิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับของจิตนั้น
พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน
ไม่ได้เลย
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน
ไม่ได้เลย แม้ฉันใด.
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ
ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของ
ภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อม
พิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น.
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับของจิตนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
นิคมคาถา
[๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัด
แห่งใจ ๑ ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่
ความสิ้นอุปาทาน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้น้อม
ไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑ ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดย
ชอบ เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ
ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ
สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี เปรียบ
เหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
ทรงอนุญาตรองเท้า
[๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ด้วยวิธีอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย
#ที่พวกกุลบุตรพยากรณ์อรหัตกล่าวแต่เนื้อความ #และไม่น้อมเข้าไปหาตน ก็แต่ว่า
#โมฆบุรุษบางจำพวกในธรรมวินัยนี้พยากรณ์อรหัต ทำทีเหมือนเป็นของสนุก ภายหลังต้องทุกข์เดือดร้อน ดังนี้.
-
ต่อแต่นั้นพระองค์รับสั่งกะท่านพระโสณะว่า ดูกรโสณะ เธอเป็นสุขุมาลชาติ
เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียวแก่เธอ.
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าละเงินประมาณ ๘๐ เล่มเกวียน และละกองพล
กอปรด้วยช้าง ๗ เชือก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว จักมีผู้กล่าวแก่พระพุทธเจ้าว่า
โสณโกฬิวิสะละเงินประมาณ ๘๐ เล่มเกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง ๗ เชือก ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว เดี๋ยวนี้ยังข้องอยู่ในเรื่องรองเท้าชั้นเดียว ถ้าพระผู้มีพระภาคจักได้
ทรงอนุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าจักใช้สอย ถ้าจักไม่ทรงอนุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์
แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ใช้สอย พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ภิกษุ
ไม่พึงสวมรองเท้า ๒ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้า ๓ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้น รูปใดสวม
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๕
วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒
หน้าที่ ๖ ข้อที่ ๓

พุทธวจน ภิกษุที่ควรเสพ ควรคบเป็นมิตรควรเข้าไปนั่งใกล้แม้ถูกขับไล่



ภิกษุที่ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้แม้ถูกขับไล่

 #ภิกษุที่ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่

#ภิกษุที่น่าเคารพ(พระสูตรขยายความ)

#ภิกขุผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ(พระสูตรขยายความ)

#ภิกขุที่ดี

สขสูตรที่ ๒

[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร

ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่

ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

-

ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑

เป็นที่เคารพ ๑

เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑

เป็นผู้ฉลาดพูด ๑

เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑

พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ๑

ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล

ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ฯ

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๓ ข้อที่ ๓๔

--

#ภิกษุที่น่าเคารพ(พระสูตรขยายความ)

ภิกษุ ท.!ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยธรรมเจ็ดอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่

น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน.

ธรรมเจ็ดอย่างอะไรบ้างเล่า ? เจ็ดอย่าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ :

(๑) เป็นผู้ไม่ต้องการลาภ,

(๒) เป็นผู้ไม่ต้องการสักการะ,

(๓) เป็นผู้ไม่ต้องการทำตัวให้เด่น,

(๔) เป็นผู้มีความละอาย (ต่อการเป็นทาสกิเลส),

(๕) เป็นผู้มีความกลัว (ต่อการเป็นทาสลิเก),

(๖) เป็นผู้มีความต้องการน้อย,

(๗) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้องตามคลองธรรม.

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยธรรมเจ็ดอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ

น่าเคารพ น่าสรรเสริญของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันแล.

---------------------------------

บาลี พระพุทธภาษิต สตฺตก. อํ. ๒๓/๑/๑.

--

#ภิกขุผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ(พระสูตรขยายความ)

ภิกษุ ท! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยธรรม ๘ อย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ธรรม ๘ อย่างอะไรบ้างเล่า? ๘ อย่างคือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่ต้องการลาภ

๒. เป็นผู้ไม่ต้องการสักการะ

๓. เป็นผู้ไม่ต้องการทำตัวเด่น

๔. เป็นผู้รู้จักกาล

๕. เป็นผู้รู้จักประมาณ

๖. เป็นคนใจสะอาด

๗. ไม่เป็นคนพูดมาก

๘. ไม่เป็นคนมักว่าร้าย เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน

ภิกษุ ท! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันแล

อฎฐก. อํ. ๒๓/๑๕๘/๙๔.

--

ภิกษุที่ดี

----------

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ดี :

(๑) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ลาภ ที่เกิดขึ้น

(๒) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมลาภ ที่เกิดขึ้น

(๓) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ยศ ที่เกิดขึ้น

(๔) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมยศ ที่เกิดขึ้น

(๕) พึงทำตนให้อยู่เหนือ สักการะ ที่เกิดขึ้น

(๖) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมสักการะ ที่เกิดขึ้น

(๗) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความปรารถนาที่เลวทราม ที่เกิดขึ้น

(๘) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความได้เพื่อนไม่ดี ที่เกิดขึ้น

“เราทั้งหลาย จักทำตนให้อยู่เหนือลาภ เหนือความเสื่อมลาภ เหนือยศ

เหนือความเสื่อมยศ เหนือสักการะ เหนือความเสื่อมสักการะ เหนือความ

ปรารถนาที่เลวทราม เหนือความมีเพื่อนไม่ดี ที่เกิดขึ้นแล้วๆ”

ภิกษุ ท. พวกเธอพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

-----------------------------

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๖๓/๙๗.

--

การคบกันของสัตบุรุษ..ยืนยาว..ไพเราะนัก .

#การสมาคมของสัตบุรุษมั่นคงยืดยาว ย่อมเป็นอย่างนั้น #ตราบเท่ากาลที่พึงดำรงอยู่

สุวิทูรสูตร

[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการ นี้

๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

ฟ้ากับแผ่นดิน

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๑

ฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งสมุทร

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๒

พระอาทิตย์ยามขึ้นและยามอัสดงคต

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๓

ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๔

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔

ประการนี้แล ฯ

-

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า

ฟ้ากับดินไกลกัน

ฝั่งสมุทรก็ไกลกัน

พระอาทิตย์ส่องแสงยามอุทัยกับยามอัสดงคตไกลกัน

บัณฑิตกล่าวว่า

ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

การสมาคมของสัตบุรุษมั่นคงยืดยาว

ย่อมเป็นอย่างนั้นตราบเท่ากาลที่พึงดำรงอยู่

-

ส่วนการสมาคมของอสัตบุรุษ ย่อมจืดจางเร็ว

เพราะฉะนั้น

ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากธรรมของอสัตบุรุษ ฯ

จบสูตรที่ ๗

---

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๕๐ ข้อที่ ๔๗ - ๔๘

พุทธวจน การใคร่ครวญธรรม


การใคร่ครวญธรรม ก็เป็นเหตุให้บรรลุธรรมได้

#เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ
..มีบทสรุปเดียวกันคือ..
.... เมื่อเธอเข้าใจอรรถ 
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ 
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว 
ย่อมเกิดปีติ 
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว 
ย่อมได้เสวยสุข 
เมื่อมีสุข 
จิตย่อมตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติข้อที่ ๑,๒,๓,๔,๕
---
เหตุวิมุตติ (อย่างย่อ)
๑.ขณะรับการแสดงธรรมจากพระศาสดาเพื่อนสพรหมจารีก็บรรลุธรรม
๒.ขณะภิกษุนั้นเองแสดงธรรมก็บรรลุธรรม
๓.ขณะภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับก็ได้บรรลุธรรม
๔.ขณะภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับก็บรรลุธรรม 
๕.สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งเธอเล่าเรียนมาด้วยดีทำไว้ในใจด้วยดีทรงไว้ด้วยดีแทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ก็บรรลุธรรม
-----------
#วิมุตติสูตร
------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๐/๔๐๗ ข้อที่ ๒๖
----------------------
#อานิสงส์ในการฟังธรรมก่อนตาย
***
#ฟังธรรม.. 
-จากตถาคต
-สาวกตถาคต
-ระลึกถึงบทแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
***
-จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้(อนาคามี)
-ที่ละได้แล้วจะน้อมไปเพื่อนิพพาน
***
ดูกรอานนท์ 
อานิสงส์
#ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร 
#ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร 
๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
-
ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และในเวลา
ตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้ว
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกร อานนท์ 
จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
-
ในเวลาใกล้ตาย 
#เธอได้เห็นตถาคต 
ตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด 
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ 
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ

จิตของเธอย่อมหลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น 
-
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ 
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ 
-
อีก ประการหนึ่ง 
จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
-
ในเวลาใกล้ตาย 
เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย 
#แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต 
สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด 
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ 
บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ 
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ 
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น 
-
ดูกรอานนท์ 
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ 
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง 
จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
-
ในเวลาใกล้ตาย 
เธอไม่ได้เห็นตถาคต 
และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย 
แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ 
#ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา 
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ 
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา 
ได้เรียนมาอยู่ 
จิตของเธอย่อมหลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
-
ดูกรอานนท์ 
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ 
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
โดยกาลอันควร ฯ 
-
ดูกร อานนท์ 
จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ 
ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส 
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ 
-
ในเวลาใกล้ตาย 
#เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต 
พระตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น ... แก่ เธอ 
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส 
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ 
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น 
-
ดูกรอานนท์ 
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ 
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง 
จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ 
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส 
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ 
-
ในเวลาใกล้ตาย 
เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต 
#แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต 
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ 
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน 
เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส 
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ 
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น 
-
ดูกรอานนท์ 
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ 
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง 
จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ 
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน 
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส 
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ 
-
ในเวลาใกล้ตาย 
เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต 
และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย 
#แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม
ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา 
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ 
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส 
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ 
-
ดูกรอานนท์ 
นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ 
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
โดยกาลอันควร 
-
ดูกรอานนท์ 
อานิสงส์ในการฟังธรรม 
ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร 
๖ ประการนี้แล ฯ
-
(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๔๓/๓๒๗ 
-

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ท่องจำไปก่อน.. เป็นปฏิจจสมุปบาทแห่งการตามรู้ซึ่งพระสัทธรรม



#ท่องจำไปก่อน.. เป็นปฏิจจสมุปบาทแห่งการตามรู้ซึ่งพระสัทธรรม
#การทรงจำธรรมนั้นไว้มีอุปการระมากแก่การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้
การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้มีอุปการระมากแก่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์
ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอุปการระมากแก่ฉันทะ
ฉันทะมีอุปการระมากแก่ความอุตสาหะ
ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา
ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร
ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุซึ่งสัจธรรม
---
#การทรงจำเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก พระศาสดาตรัสไว้ดังนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------
กา. ท่านพระโคดม ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร 
จึงจะเชื่อว่าเป็นการตามรักษาสัจจะ
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร 
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตาม
รักษาสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา 
เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ 
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า 
-
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า 
-
ดูกรภารทวาชะ 
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
-
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน 
ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ
... มีการฟังตามกัน
... มีความตรึกตามอาการ 
... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ 
เขากล่าวว่า การทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้ 
ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ 
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า 
-
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า 
-
ดูกรภารทวาชะ 
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
-
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
กา. ท่านพระโคดม 
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
บุคคลชื่อว่า
ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็ง 
การรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ 
-
ท่านพระโคดม 
ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร 
บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร 
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม 
ถึงการตรัสรู้สัจจะ?

พ. ดูกรภารทวาชะ ได้ยินว่า 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคมแห่งหนึ่งอยู่. 
คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี 
เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว 
ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม ๓ ประการ คือ 
-
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑ 
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ 
-
ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ 
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำแล้ว 
เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น 
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล 
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น 
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ. 
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ 
ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า 
-
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ 
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำ 
ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น 
หรือว่าสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล 
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น 
ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย. 
อนึ่ง ท่านผู้นี้มี
-
กายสมาจาร 
วจีสมาจาร 
เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภฉะนั้น 
ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต 
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้
ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย. 
-
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัด 
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ 
เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า 
ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย 
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ 
เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น 
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล 
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น 
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ได้หรือหนอ. 
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า 
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย 
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ 
เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น 
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล 
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น 
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ไม่มีเลย. 
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร 
เหมือนของบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น 
ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต 
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิต
พึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย. 
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ย่อมเห็น
แจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย 
เมื่อนั้นเขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า 
ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง 
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ 
เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น 
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ. 
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า 
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง 
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ
เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น 
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล 
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น 
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย. 
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น 
ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก 
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก 
ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย 
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขาเกิดศรัทธาแล้ว 
ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ 
เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม 
ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง 
เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ 
เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น 
ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง 
ครั้นเทียบเคียงแล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่ 
ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่เชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมตรัสรู้
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการบรรลุสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้น
แล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูกรภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติ
เพียงเท่านี้.
กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุ
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ? 
พ. ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้า
ขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้า
ไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมี
อุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูล
ถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึง
อุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ? 
พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่
ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น
ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่
การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญ
เนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมี
อุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?
พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ
ถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญ
เนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรม
ก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะ
มากแก่การทรงจำธรรม.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง
ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมาก
แก่การฟังธรรม. กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้
ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะ
มากแก่การเงี่ยโสตลง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา
ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้า
ไปนั่งใกล้.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึง
เข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมทรง
พยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น
ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่
ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจ ทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมี
อุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใดๆ
ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า 
พวกสมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะ
รู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทำความรักสมณะในสมณะ ความเลื่อมใสสมณะใน
สมณะ ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักพระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย 
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า
ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
------------------------------------------------------------------------------
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.