วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน ภิกษุที่ควรเสพ ควรคบเป็นมิตรควรเข้าไปนั่งใกล้แม้ถูกขับไล่



ภิกษุที่ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้แม้ถูกขับไล่

 #ภิกษุที่ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่

#ภิกษุที่น่าเคารพ(พระสูตรขยายความ)

#ภิกขุผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ(พระสูตรขยายความ)

#ภิกขุที่ดี

สขสูตรที่ ๒

[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร

ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่

ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

-

ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑

เป็นที่เคารพ ๑

เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑

เป็นผู้ฉลาดพูด ๑

เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑

พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ๑

ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล

ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ฯ

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๓ ข้อที่ ๓๔

--

#ภิกษุที่น่าเคารพ(พระสูตรขยายความ)

ภิกษุ ท.!ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยธรรมเจ็ดอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่

น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน.

ธรรมเจ็ดอย่างอะไรบ้างเล่า ? เจ็ดอย่าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ :

(๑) เป็นผู้ไม่ต้องการลาภ,

(๒) เป็นผู้ไม่ต้องการสักการะ,

(๓) เป็นผู้ไม่ต้องการทำตัวให้เด่น,

(๔) เป็นผู้มีความละอาย (ต่อการเป็นทาสกิเลส),

(๕) เป็นผู้มีความกลัว (ต่อการเป็นทาสลิเก),

(๖) เป็นผู้มีความต้องการน้อย,

(๗) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้องตามคลองธรรม.

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยธรรมเจ็ดอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ

น่าเคารพ น่าสรรเสริญของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันแล.

---------------------------------

บาลี พระพุทธภาษิต สตฺตก. อํ. ๒๓/๑/๑.

--

#ภิกขุผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ(พระสูตรขยายความ)

ภิกษุ ท! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยธรรม ๘ อย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ธรรม ๘ อย่างอะไรบ้างเล่า? ๘ อย่างคือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่ต้องการลาภ

๒. เป็นผู้ไม่ต้องการสักการะ

๓. เป็นผู้ไม่ต้องการทำตัวเด่น

๔. เป็นผู้รู้จักกาล

๕. เป็นผู้รู้จักประมาณ

๖. เป็นคนใจสะอาด

๗. ไม่เป็นคนพูดมาก

๘. ไม่เป็นคนมักว่าร้าย เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน

ภิกษุ ท! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่น่ารัก น่าพอใจ น่าเคารพ น่าสรรเสริญ ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันแล

อฎฐก. อํ. ๒๓/๑๕๘/๙๔.

--

ภิกษุที่ดี

----------

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ดี :

(๑) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ลาภ ที่เกิดขึ้น

(๒) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมลาภ ที่เกิดขึ้น

(๓) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ยศ ที่เกิดขึ้น

(๔) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมยศ ที่เกิดขึ้น

(๕) พึงทำตนให้อยู่เหนือ สักการะ ที่เกิดขึ้น

(๖) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมสักการะ ที่เกิดขึ้น

(๗) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความปรารถนาที่เลวทราม ที่เกิดขึ้น

(๘) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความได้เพื่อนไม่ดี ที่เกิดขึ้น

“เราทั้งหลาย จักทำตนให้อยู่เหนือลาภ เหนือความเสื่อมลาภ เหนือยศ

เหนือความเสื่อมยศ เหนือสักการะ เหนือความเสื่อมสักการะ เหนือความ

ปรารถนาที่เลวทราม เหนือความมีเพื่อนไม่ดี ที่เกิดขึ้นแล้วๆ”

ภิกษุ ท. พวกเธอพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

-----------------------------

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๖๓/๙๗.

--

การคบกันของสัตบุรุษ..ยืนยาว..ไพเราะนัก .

#การสมาคมของสัตบุรุษมั่นคงยืดยาว ย่อมเป็นอย่างนั้น #ตราบเท่ากาลที่พึงดำรงอยู่

สุวิทูรสูตร

[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการ นี้

๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

ฟ้ากับแผ่นดิน

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๑

ฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งสมุทร

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๒

พระอาทิตย์ยามขึ้นและยามอัสดงคต

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๓

ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ

นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๔

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔

ประการนี้แล ฯ

-

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า

ฟ้ากับดินไกลกัน

ฝั่งสมุทรก็ไกลกัน

พระอาทิตย์ส่องแสงยามอุทัยกับยามอัสดงคตไกลกัน

บัณฑิตกล่าวว่า

ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

การสมาคมของสัตบุรุษมั่นคงยืดยาว

ย่อมเป็นอย่างนั้นตราบเท่ากาลที่พึงดำรงอยู่

-

ส่วนการสมาคมของอสัตบุรุษ ย่อมจืดจางเร็ว

เพราะฉะนั้น

ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากธรรมของอสัตบุรุษ ฯ

จบสูตรที่ ๗

---

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๕๐ ข้อที่ ๔๗ - ๔๘

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น