วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จิตและเจตสิกอยู่ในขันธ์ห้าหรือไม่?



คำถาม

1.เจตสิก คืออะไร มีความหมายอย่างไร

2.เจตสิก ทำงานอย่างไร

3.เจตสิก ในพุทธวจน มีกี่ดวง

4.เจตสิก มีความสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อประกอบในการปฏิบัติ ด้วยหรือไม่

5.เจตสิก เกี่ยวข้องกับการเจริญสติปักฐาน 4 เพื่อความพ้นทุกข์ ด้วยหรือไม่

---

https://www.youtube.com/watch?v=114jV8TT_tU

Cr.คุณคมสัน ห้องแบ่งปันธรรม วัดนาป่าพง

เจตสิกที่พระองค์ตรัสว่า เป็นคำที่ใช้ร่วมกับคำอื่น เช่น

เจตสิกมฺปิ

เจตสิกํ ทุกฺข

เจตสิกํ อสาต

อาภิเจตสิกาน

เจตสิกฺจ

ซึ่งคำ“เจตสิก” จะมีความหมายคล้ายกันคือ

หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดทางใจ

โดยมีความแยกสภาวธรรมนี้ต่างจากทางกายเป็นความเปรียบเทียบ

หากท่านสนใจจริงๆ ให้ไปค้นหา โดยพิมพ์คำว่า เจตสิก ในการค้นหาภาษาบาลี

และลองเทียบเคียงกับภาษาไทย โดยอาศัยการแปลอักษรแบบตัวต่อตัว

จะได้ความรู้จากตรงนี้ครับ

--

คำถาม

1.เจตสิก คืออะไร มีความหมายอย่างไร

เป็นสภาวะธรรมอันเนื่องด้วยจิต

2.เจตสิก ทำงานอย่างไร

ไม่มีการทำงานของเจตสิก เพราะเป็นสภาวะธรรมอันเกิดจากจิต(ผู้รู้แจ้งในอารมณ์) เข้าไปตั้งอาศัยแล้วในนามรูป จึงเกิดสภาวะเจตสิกเหล่านี้ขึ้น

3.เจตสิก ในพุทธวจน มีกี่ดวง

เท่าที่ภันเตโตโตค้นหาได้ในพุทธวจน มี กล่าวคำว่า เจตสิก ๙ แห่ง เจตสิกไม่ได้ถือการนับว่าเป็นดวง

4.เจตสิก มีความสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อประกอบในการปฏิบัติ ด้วยหรือไม่

อาการใดของจิตอันเกิดจากการตั้งอาศัยแล้วในนามรูป อาการเหล่านั้น พึงรู้ได้ด้วยสติ เป็นธรรมเครื่องกั้นกระแสแห่งธรรมทั้งหลายอันเกิดขึ้นแก่จิต แล้วนำกลับเข้ามาสู่กาย อันเป้นเสาเขื่อนเสหลักแห่งจิต เพราะจิตนั้นเป็นธรรมชาติที่เกิดและดับไปตลอดวันตลอดคืน ยากที่จะเห็นถึงความไม่เที่ยง แต่กายนี้ ที่เป็นเครื่องอยู่ของจิต แม้เสื่อมไปเพราะคงอยู่ไม่ได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ มีความคับแค้น เป็นไปเพื่ออาพาธ แปรปรวนไปได้ ก็ยังจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงถึงความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนของเราของสิ่งที่เรียกว่า กาย เห็นได้ง่ายกว่าจิต นี้เป็นการเห็นถึงอริยสัจ ๔ อันเป็นสิ่งที่มนุษย์เกิดมาต้องรู้เป็นอันดับแรก

5.เจตสิก เกี่ยวข้องกับการเจริญสติปักฐาน 4 เพื่อความพ้นทุกข์ ด้วยหรือไม่

เจตสิกนั้น เป็นสภาวะธรรมอันเกิดเนื่องด้วยจิต หากเข้าไปประกอบกับคำอื่นๆ ก้เป็นการขยายความหมายของคำที่มาร่วมประกอบนั้นโดยเป้นอาการที่เกิดขึ้นจากจิตนั้นครับ เช่น เจตสิกํ ทุกฺข แปลว่า ทุกขเวทนาอัน

เกิดขึ้นในจิตกระทบเข้าแล้ว

--

ส่วนที่สาวกบัญญัติขึ้นมาเองนั้น เจตสิกเป็นดวงๆมีหลายๆดวงนั้น

นั่นไม่ใช่เป้นสิ่งที่ต้องเงี่ยโสตลงฟัง

เป็นคำแต่งใหม่ ไม่ควรฟังด้วยดี และตั้งจิตไปเพื่อจะรู้ทั่วถึงคำเหล่านั้น

พึงละทิ้งไปเสียครับ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือซึ่งทุกข์เลย

ควรมาศึกษาอริยสัจ ๔ นะครับ

1 ความคิดเห็น: