วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

ให้ทานวางจิตละความตระหนี่ ไปเกิดเป็นเทวดาอายุอย่างต่ำ 501กัปป์ถึงปรินิพพาน





😳ให้ทานวางจิตละความตระหนี่ 😳ไปเกิดเป็นเทวดา 😳อายุอย่างต่ำ 501กัปป์ถึงปรินิพพาน😳 ตัดต่อจากคลิปวันที่ 15 เมษา 60 ด้วยความเมตตาจาก.คุณป๊อก บางกรวย🙏🙏🙏
:: ลงทะเบียนจองที่นั่งงานรัก ศรัทธา ตถาคต 2560 ได้ที่ : http://bbw2560.watnapp.com (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จะได้รับแจกหนังสือ อนาคามีทุกที่นั่ง ) #สัปดาห์วิสาขะ
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/videos/...
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=Wc6a6l5ycnU
#ให้ทานอย่างไร.ได้ความเป็นอริยะ..ให้ทานวางจิตละความตระหนี่..(โสดาปัตติผล.)(สองพระสูตรที่สอดรับกัน)
‪#‎ได้ผลใหญ่คือ‬..ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นพรหม..
‪#‎อานิสงส์ใหญ่คือ‬..หลังจากตายจากพรหมได้อนาคามี.จะปรินิพพานในภพนั้น
‪#‎การวางจิตให้ทาน‬
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
พึงมีหรือหนอแลและทานเช่นนั้นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
พึงมีหรือพระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว
มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี
และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ
-
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว
มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผล ให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า
เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้
เขาให้ทาน
คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์
แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกรสารีบุตร
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้
-
ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แล้วให้ทาน
แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี
เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
-
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา
เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้วยังเป็นผู้กลับมา
คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
-
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า
ตา ยายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้
ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์
ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ
ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศหมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา
คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
-
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าเราหุงหากินได้
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์
ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน
เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี
วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษีวาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี
บูชามหายัญ ฉะนั้น
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนก
แจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯและภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส
เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน
คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา
คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
-
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน
คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์
แก่สมณะหรือพราหมณ์ดูกรสารีบุตร
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ
สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายเคยให้เคยทำมา
เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน
เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี
ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี
วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น
และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้
จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
-
ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย
เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว
มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
จบสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย
สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต - หน้าที่ 54-57
ทานสูตร
-
‪#‎โสดาบันอยู่ครองเรือน‬
ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
-
ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
๔ ประการ คือ :- อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
(๑) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
(๒) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
(๓) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
(๔) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน
ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๒๑๕
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๕๒/๑๔๕๑.
****
ทรงสมาธิได้ตอนตาย + เป็นผู้ได้สดับ จะไปเกิดเป็นเทวดาหลังจากตายจากเทวดา จะปรินิพพานในภพนั้น
#ตายในสมาธิ
#ตายในฌาน ๑ ๒ ๓ ๔
ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา อายุ ๑ กัป
ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ อายุ ๒ กัป
ตติยฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ อายุ ๔ กัป
จตุตถฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ อายุ ๕๐๐ กัป
--
#ตายจากเทวดา
-- ผู้ไม่ได้สดับ--ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
--ผู้ได้สดับ-- ปรินิพพานในภพนั้น
--
ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น
ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กัปหนึ่ง
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
-
ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ
ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ
ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น
น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจชอบใจตติยฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น
ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด
ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับ
คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น
น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น
ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น
ให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก
มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๒๕/๒๔๐ ข้อที่ ๑๒๓
--
http://etipitaka.com/read…#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น