วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

ภพ ชาติ คืออะไร สร้างภพ สร้างชาติคืออะไร ขยายความคำว่าภพ ทำอย่างไรไม่ให้...





ภพ ชาติ คืออะไร สร้างภพ สร้างชาติคืออะไร ขยายความคำว่าภพ ทำอย่างไรไม่ให้เกิด

รักษาศาสนา..ด้วยการ..ช่วยกันศึกษา..ปฏิบัติ..เผยแผ่..แต่คำตถาคต

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/.....

คลิปเพจ

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/posts/266518753806032

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=Qa96obxwvv8

ติดตามการเผยแผ่ พุทธวจน ได้ที่..

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386/

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดยตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (รวมภาพ + คลิป)

https://www.facebook.com/groups/812413695492875/

#ตัณหา คือ #เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันเป็นเหตุเกิดทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิด ถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ)

ย่อมดำริ ถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ)

และย่อมมีใจฝังลงไป ในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ)

(อารมฺมณเมตํ โหติ วิญฺญาณสฺส ฐิติยา)

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

(อารมฺมเณ สติ ปติฏฺฐา วิญฺญาณสฺส โหติ)

เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี

(ตสฺมึ ปติฏฺฐิเต วิญฺญาเณ วิรูเฬฺห นติ โหติ)

เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว,

ย่อมมีการน้อมไป (นติยา สติ อาคติคติ โหติ)

เมื่อมีการน้อมไป, ย่อมมีการไปการมา

(อาคติคติยา สติ จุตูปปาโต โหติ) เมื่อมีการไปการมา,

ย่อมมีการเคลื่อนการบังเกิด เมื่อมีการเคลื่อนการบังเกิด,

ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะฯจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี

ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !

ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด

แต่เขายังมีใจปักลงไปในสิ่งใดอยู่

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.

เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี

เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว,

ย่อมมีการน้อมไป เมื่อมีการน้อมไป,

ย่อมมีการไปการมา เมื่อมีการไปการมา,

ย่อมมีการเคลื่อนการบังเกิด เมื่อมีการเคลื่อนการบังเกิด,

ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะฯจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี

ด้วยอาการอย่างนี้.

อินทรีย์สังวร หน้า ๔๑

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๕/๑๔๙ :

***

#เมื่อคิดถึงสิ่งใด แสดงว่าพอใจในสิ่งนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ) ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ) และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ) สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.

เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี; เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี; เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

อินทรีย์สังวร หน้า ๓๔

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕ :

----

#ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ

ภิกษุทั้งหลาย !

คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด,

ภิกษุทั้งหลาย !

สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน,

แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.

เอก. อํ. ๒๐/๔๖/๒๐๓.

(พระสูตรต่อไป ทรงตรัสถึง มูตร น้ำลาย หนอง โลหิต ด้วยข้อความเดียวกัน)

****

#ผู้ได้ชื่อว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา

โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑.

****

#ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละขาดซึ่งภพ

สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า ย่อมกล่าวซึ่งโรคนั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน

เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น

สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.

เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.

พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพ ว่ามีได้เพราะวิภพ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้ ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง เพราะความสิ้นไปแห่ง อุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอัน อวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพได้.

ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง

ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ เขาย่อมละภวตัณหาได้ และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหาด้วย.

ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือ นิพพาน.

ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงพ้นภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้คงที่ ดังนี้แล.

หนังสือภพภูมิ หน้า ๕๑๓

(ไทย)อุ.ขุ. ๒๕/๘๗/๘๔:*

****

#ผู้มีหลักเสาเขื่อน

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีสังวรนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้น, สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย,รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ; ก็ไม่สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก ไม่เครียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ มีจิตหาประมาณไม่ได้, ย่อมรู้ตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับแห่งบาปอกุศลที่เกิดแล้ว แก่เขานั้นโดยสิ้นเชิง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจระเข้,จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก, และจับลิงมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้วนำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้นมีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยและที่เที่ยวของตนๆ: งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ,นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, และลิงก็จะไปป่า. ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว,ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า, อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง. ข้อนี้ฉันใด;

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุรูปใด ได้อบรมกระทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตาก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ,รูปที่ไม่น่าพอใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; หูก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง, เสียงที่ไม่น่าฟังก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; จมูกก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม, กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;ลิ้นก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่น่าชอบใจ, รสที่ไม่น่าชอบใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; กายก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่น่ายั่วยวนใจ, สัมผัสที่ไม่น่ายั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; และใจก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่น่าถูกใจ, ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย !ภิกษุผู้มีสังวร เป็นอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “เสาเขื่อนหรือเสาหลัก” นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อ แห่งกายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรมกระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไปกระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล.

( บาลี พระพุทธภาษิต สฬา. ส°. ๑๘/๒๔๗/๓๕๙, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.)

******

#กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืมอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม ฯ

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ. ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ. ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ. ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ดังนี้ แล.

มหาวาร. สํ ๑๙/๒๒๖-๒๒๗/๗๖๔–๗๖๖. เอก. อํ. ๒๐/๕๙/๒๓๕,๒๓๙.

#ผู้ใดชอบธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

กราบนมัสการ..พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์สาวก..ด้วยเศียรเกล้า..

17 มีนาคม · เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

พอจ.ท่านเป็นคนที่พามหาชนเข้าเฝ้าพระตถาคตโดยตรง มหาชนข้องใจเรื่องใด ก็เข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอด ท่านตรงไปตรงมา มีแอปพลิเคชั่น ให้เทียบเคียงพระพุทธวจน ด้วย ไม่ปกปิดข่าวสานน์ ไม่ตระหนี่ธรรม

ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))

link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn

link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312

link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/

link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312

link ;; facebook ; 5 เฟส

เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592

เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827

เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee

เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268

เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน

โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี

เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน

ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***

ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง

http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย

**********

******

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย

บุคคลใด...

#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ

#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...

----------

#บุคคล๖จำพวก

(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข

-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน

(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว

-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา

(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว

-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา

-------------------------------

-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต

-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

----------------------------

-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง

-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต

-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ

-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ

--------------------------------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕

-------------------------------

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-----------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

*****

----------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

******

#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..

"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"

*******************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๓. จันทูปมสูตร

*****

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.

#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น