วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560

ปุริสคติสูตร อนาคามีปรินิพพานภายหลังกายแตกทำลาย(พระอาจารย์เมตตาแจกแจงโดย...





ปุริสคติสูตร อนาคามีปรินิพพานภายหลังกายแตกทำลาย(พระอาจารย์เมตตาแจกแจงโดยละเอียด)12 เม.ย. 60: Cr.คุณป๊อก บางกรวย
:: ลงทะเบียนจองที่นั่งงานรัก ศรัทธา ตถาคต 2560 ได้ที่ : http://bbw2560.watnapp.com (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จะได้รับแจกหนังสือ+แผนผัง อนาคามีทุกที่นั่ง ) #สัปดาห์วิสาขะ
คลิปเพจ
https://www.facebook.com/groups/812413695492875/videos/
คลิปยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=mCpIDLlmPuc
**อนาคามี ปรินิพพาน ภายหลังกายแตกทำลาย**‪
#‎อนาคามี‬ ๕ จำพวก
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
--
ปุริสคติสูตร
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ
และอนุปาทาปรินิพพาน
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
-
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่
ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน
เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ
และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง
ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว
เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป
แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว
ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
-
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๒
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒
-
-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;
link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…
--
เชื่อมโยงกับพระสูตรข้างบน..บุคคล ๔ จำพวก
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็น สสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน
ด้วย ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบันเทียว
( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม สสงฺขารปรินิพฺพายี )
๒. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี
( บาลี : กายสฺส เภทา สสงฺขารปรินิพฺพายี )
๓. บางคนเป็น อสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน
ด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบัน
( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม อสงฺขารปรินิพฺพายี )
๔. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี
( บาลี : กายสฺส เภทา อสงฺขารปรินิพฺพายี )
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
● มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
● มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
● พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
● และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา
● ทั้งอินทรีย์๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของ
เธอปรากฏว่าแก่กล้า
● เธอย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันเทียว
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ

๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ
● อินทรีย์ ๕ ประการคือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ...ของเธอปรากฏว่าอ่อน
● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อ่อน

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุจตุตถฌาน
● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา ... ปัญญา
● อินทรีย์๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า
● เธอเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ

๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
● แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า อ่อน
● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
__________

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๔๗/๒๔๐ ข้อที่ ๑๖๙.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น