วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560
ความเช่ื่อมโยงกันขององค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท : ปฏิจฯคืออะไร อิทัปจจยตา ...
***พระศาสดาตรัสถ้าจะสรรเสริญพระองค์ให้สรรเสริญว่าพระองค์ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท**
อิทัปปัจจยตา กฎแห่งจักรวาล เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิด
***ความจริงของ ๓ โลกธาตุ(กามภพ รูปภพ อรูปภพ)***
กฏอิทัปปัจจยตา หรือ หัวใจปฏิจจสมุปบาท
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ นโหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงดับไป
ม. ม. ๑๓/๓๕๕/๓๗๑.
นิทาน.สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔,...ฯลฯ..
**อริยญายธรรม***
********************
- ธรรมะที่ทำคนธรรมดา-ให้เป็นอริยะ-
- ผู้ใดเห็นปฏิจสมุทปบาท..ผู้นั้นเห็นธรรม-
- ผู้ใดเห็นธรรม..ชื่อว่าเห็นเรา..ตถาคต-
********************
***มาตามเห็น...ตามรู้..ร่างที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้กันค่ะ
--- อาศัยเป็นยาน-เครื่องนำไป-เป็นที่พึง-ที่อาศัยได้--
-------------------------
***ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล.****
http://etipitaka.com/read…
--------------------------
#ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
★ กฎอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.
………………………...
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุป ปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
(ม.ม.๑๓/๓๕๕/๓๗๑, นิทาน.สํ.๑๖/๘๔/๑๕๔..) ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ หน้า 23, 663.
★ ปัจจยาการแม้เพียงอาการเดียว ก็ยังตรัสเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (อิทัปปัจจยตา)๑
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;
● คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
● คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
● คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา : อิทปฺปจฺจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัต ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อัน
● เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
● เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น,
● เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
● เป็น อิทัปปัจจยตา (อิทปฺปจฺจยตา) คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
●●● ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ.
(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;
● คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
● คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
● คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา : อิทปฺปจฺจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัต ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อัน
● เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
● เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น,
● เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
● เป็น อิทัปปัจจยตา (อิทปฺปจฺจยตา) คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
●●● ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
๑ สูตรที่ ๑๐ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
*************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
**************
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
---
******
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
******
#ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร บริสุทธิ์ ..
"พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเราดังนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุอย่างนี้ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตนโอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์ ฯ"
*******************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. จันทูปมสูตร
*****
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
#ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
#อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น