วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่4): พุทธวจนฉบับ ๑๖ อนาคามี อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิ...





ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่4): เสขสูตรกับความเป็นอริยบุคคล : พุทธวจนฉบับ ๑๖ อนาคามี อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต:

 เพจพุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ โดย ตะวัน พุทธวจน Bn.4386

https://www.facebook.com/groups/679713432115426/

link ;; เพจ ตะวัน พุทธวจน Bn.4386 (เผยแผ่ พุทธวจน สุคตวินโย)

https://www.facebook.com/tawanbuddhawajanaBn4386

เสขสูตรกับความเป็นอริยบุคคล :: ดาวน์โหลดคลิปเต็มๆ ได้ที่ ::

http://watnapp.com/audio/view_category/84/2510

💡💡💡ติดตามการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่::

http://watnapp.com/ (เว็บไซต์วัดนาป่าพง)

http://faq.watnapp.com/ (คำถามเกี่ยวกับพุทธวจน)

http://media.watnapahpong.org/ (สื่อต่าง ๆ ของพุทธวจน)

http://www.buddhakos.org/ (มูลนิธิพุทธโฆษณ์)

https://www.youtube.com/channel/UCNFAVAcWUuCYhYtO1RM9sLA (ช่อง ยูทูป ของ คุณป๊อก บางกรวย )

http://buddhaoat.blogspot.com/2011/07/blog-post_13.html (ดาวน์โหลด สื่อ พุทธวจนได้ฟรี โดย kunanan pakdee )

คลิปยูทูป

https://www.youtube.com/watch?v=utJ-KnIfkL8

เสขสูตรที่ ๔

[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่ง

กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น

รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉนคือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา

สิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ

ให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด

เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน

สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมด สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อ ยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และ เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึงยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบันเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือ ว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้เพียงบางส่วน ผู้ทำให้ บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ



พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๒๓ - ๒๒๔ ข้อที่ ๕๒๘.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น